×

AOT – ปลดล็อก Overhang

02.08.2024
  • LOADING...

เกิดอะไรขึ้น:

 

เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า คณะกรรมการบริษัทได้มีมติอนุมัติการหยุดประกอบกิจการร้านค้าปลอดอากรขาเข้าที่ท่าอากาศยาน 5 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ท่าอากาศยานดอนเมือง, ท่าอากาศยานภูเก็ต, ท่าอากาศยานเชียงใหม่ และท่าอากาศยานหาดใหญ่ สืบเนื่องจากมาตรการของรัฐบาลที่ต้องการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป

 

พื้นที่ร้านค้าปลอดอากรขาเข้าที่ขอคืนทั้งหมดจากผู้ประกอบการคือ บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด อยู่ที่ ~2,250.6 ตารางเมตร โดย AOT จะมีการปรับลดอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำ (Minimum Guarantee) ที่เรียกเก็บกับผู้ประกอบการตามสัดส่วนพื้นที่ที่ขอคืน โดย 13% ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ 10% ที่ท่าอากาศยานอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลทำให้รายได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์ของ AOT ปรับตัวลดลง

 

AOT วางแผนพัฒนาพื้นที่ที่ขอคืนเพื่อปรับปรุงการให้บริการผู้โดยสารและแก้ไขปัญหาความแออัด โดย AOT คาดว่าผลกระทบของรายได้จะลดลงในระยะกลางถึงระยะยาว เนื่องจากจะมีรายได้เพิ่มเติมจากกิจกรรมเชิงพาณิชย์อื่นๆ เช่น โครงการ Airport City (คาดในปี FY2568)

 

กระทบอย่างไร:

 

ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาหุ้น AOT ปรับลง 0.88% อยู่ที่ระดับ 56.50 บาท ขณะที่ SET Index ปรับขึ้น 2.22% สู่ระดับ 1,320.24 จุด

 

แนวโน้มผลประกอบการปี FY2567:

 

InnovestX Research ปรับประมาณการกำไรปกติของ AOT ลดลง 14% ในปี FY2567 และ 16% ในปี FY2568 เพื่อสะท้อน

  1. การหยุดประกอบกิจการร้านค้าปลอดอากรขาเข้า
  2. เพื่อให้สอดคล้องกับตัวเลขจริงใน 9MFY67 จึงปรับประมาณการจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศลดลงสู่ 74 ล้านคนในปี FY2567 และ 84 ล้านคนในปี FY2568 หรือ 88% และ 100% ของระดับก่อนเกิดโควิด (ลดลงจากประมาณการเดิมที่ 76 ล้านคนในปี FY2567 และ 88 ล้านคนในปี FY2568 หรือ 90% และ 105% ของระดับก่อนเกิดโควิด)
  3. อัตรากำไรจากการดำเนินงานที่ลดลงสู่ 45.6% ในปี FY2567 และ48% ในปี FY2568 (จากประมาณการเดิมที่ 47.6% ในปี FY2567 และ 50.3% ในปี FY2568) ทั้งนี้ หลังจากปรับประมาณการกำไร โดยประเมินกำไรปกติของ AOT ได้ที่ 2.0 หมื่นล้านบาทในปี FY2567 (เพิ่มขึ้น 116%YoY) และ 2.4 หมื่นล้านบาทในปี FY2568 (เพิ่มขึ้น 20%YoY) การปรับประมาณการกำไรลดลงส่งผลทำให้ราคาเป้าหมายสิ้นปี 2567 อ้างอิงวิธี DCF ปรับลดลงสู่ 70 บาทต่อหุ้น โดยอิงกับ WACC ที่ 7.6% และการเติบโตระยะยาวที่ 2% โดยยังคงคำแนะนำ Outperform สำหรับ AOT

 

และมองว่าเป็นการปลดล็อก Overhang และราคาหุ้น AOT ที่ปรับตัวลดลง 12% ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา บ่งชี้ว่าปัจจัยลบสะท้อนในราคาหุ้นไปมากพอสมควรแล้ว โดยยังคงมุมมองว่ากำไรของ AOT ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยที่เติบโต

 

พรีวิว 3QFY67 ประเมินกำไรปกติ 3QFY67 (เดือนเมษายน-มิถุนายน 2567) ได้ที่ 4.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 48%YoY แต่ลดลง 18%QoQ สอดคล้องกับจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศที่ 17.8 ล้านคน เพิ่มขึ้น 27%YoY แต่ลดลง 11%QoQ คิดเป็น 90% ของระดับก่อนเกิดโควิด AOT จะประกาศผลประกอบการวันที่ 14 สิงหาคมนี้

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะทำให้ความต้องการเดินทางลดลง ความเสี่ยงประเด็นสำคัญด้าน ESG คือประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม (E) และประเด็นด้านสังคม เช่น ความปลอดภัย (S)

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

X
Close Advertising