×

‘ธุรกิจตั้งรับอย่างไร? มนุษย์อยู่จุดไหนในยุคที่ AI ครองเมือง’ อ่านคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ในงาน KBTG Techtopia: A Blast From the Future [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
26.07.2024
  • LOADING...
KBTG Techtopia: A Blast From the Future

HIGHLIGHTS

10 min read
  • ปิดฉากลงอย่างงดงามกับ KBTG Techtopia: A Blast From the Future อีเวนต์ใหญ่ของ KBTG ที่ดึงผู้บริหารจากองค์กรชั้นนำ และผู้เชี่ยวชาญด้าน AI จากทั่วโลกกว่า 50 คน ผ่านเกือบ 40 เซสชัน
  • ไฮไลต์ปีนี้คือการบรรยายในหัวข้อ The Opportunities and Risks in AI โดย Andrew Ng กรรมการบริหารบริษัท Amazon และผู้ก่อตั้งบริษัท AI Fund หรือที่ทั่วโลกขนานนามให้เขาเป็นพ่อมดแห่งวงการ AI
  • อีกหนึ่งไฮไลต์คือ Exclusive Session จาก The Secret Sauce ฟังเคสธุรกิจที่น่าสนใจ และการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงจากผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจต่างๆ
  • ภายในงานยังมี Playground Workshop ที่ออกแบบโดยทีม KBTG และพาร์ตเนอร์ชั้นนำ ทั้ง AWS, Databricks, PALO IT และ Splunk และโซน Innovation Product Exhibition จากทีม KBTG Labs, KX, Kubix, Orbix, K-Tech และพาร์ตเนอร์

KBTG Techtopia อีเวนต์ใหญ่ของ KBTG ที่ต่อยอดความสำเร็จเป็นปีที่ 2 ปิดฉากลงอย่างงดงาม โดยปีนี้มาในคอนเซปต์ ‘A Blast From the Future’ ดึงผู้บริหารจากองค์กรชั้นนำ และผู้เชี่ยวชาญด้าน AI จากทั่วโลกกว่า 50 คน พาทุกคนดำดิ่งสู่โลก AI สำรวจบทบาทความสำคัญของมนุษย์ ค้นหาศักยภาพและโอกาส ไปจนถึงเทรนด์ล่าสุดผ่านเกือบ 40 เซสชัน ใน 3 เวที พร้อมบูธแสดงผลงานการวิจัยของ KBTG และเวิร์กช็อปให้ลงมือทำจริงอีกมากมาย

 

 

ทุกเซสชันอัดแน่นไปด้วยองค์ความรู้ มุมมอง แนวคิด และความเป็นไปได้มากมายในโลก AI ที่จุดประกายให้ผู้ประกอบการและนักพัฒนาชาวไทยนำศักยภาพของ AI มาใช้สร้างนวัตกรรม เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันทางธุรกิจไปจนถึงพัฒนาศักยภาพของตัวเอง

 

KBTG Techtopia: A Blast From the Future

 

A Blast From the Future โดย กระทิง-เรืองโรจน์ พูนผล

 

กระทิง-เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่ม บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) เปิดเวทีพร้อมฉายภาพจากอดีตสู่อนาคตของโลก AI ใน 4 ช่วงของวิวัฒนาการ ตั้งแต่ปี 1956-1980 เป็นยุคที่ AI เน้นเรื่องความเร็ว ปี 1980-2000 เข้าสู่ยุคแห่งการเรียนรู้ผ่านชุดข้อมูลหรือ Machine Learning จนกระทั่งปี 2000-2015 ภาพของ AI ที่มีโครงสร้างซับซ้อน สามารถวิเคราะห์ข้อมูลคล้ายสมองมนุษย์เริ่มชัดขึ้น หรือจะเรียกว่ายุคของ Deep Learning และตั้งแต่ปี 2005 ถึงปัจจุบัน เข้าสู่ยุค Generative AI

 

“ตอนนี้เราอยู่ในพีคของการทำ AI Transformation เทคโนโลยีที่ต้องโฟกัสคือ Generative AI, Computer Vision & Large Vision Model และ Composite AI จะเห็นว่าทุกวันนี้คนใช้ AI ในชีวิตราวกับว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของเรา ขณะเดียวกันหลายธุรกิจเริ่มปรับใช้ AI อย่าง ANZ Bank หรือ Amazon แต่น่าจะใช้เวลาอีก 6-10 ปีกว่าธุรกิจจะเห็นประโยชน์จาก AI เนื่องจากคนใช้นำ AI มาใช้เร็วกว่า”

 

กระทิงมองว่าปี 2030 จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของโลก โดย AI จะเข้ามายกเครื่องระบบเศรษฐกิจทั้งหมด จะได้เห็นการใช้ Domain-Specific AI (Vertical AI) ในแต่ละอุตสาหกรรมมากขึ้น

 

“AI สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับโลกได้เทียบเท่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา หรือคิดเป็นมูลค่า 15.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ภูมิภาคเอเชีย AI สามารถเพิ่ม GDP ได้ราว 10% เลยทีเดียว”

 

แล้วเราจะทรานส์ฟอร์มตัวเองอย่างไรเพื่อสร้างมูลค่าและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับธุรกิจรวมถึงศักยภาพของบุคคล กระทิงบอกว่า “สิ่งแรกคือต้องใช้ AI สม่ำเสมอ ใช้เหมือนเป็นเพื่อนคู่คิด โดยยังคงต้องมีมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจ แต่อย่ายึดติดกับเครื่องมือ เพราะ AI ที่คุณใช้วันนี้ พรุ่งนี้อาจเป็น AI ที่ห่วยที่สุดก็เป็นได้

 

“เราอยู่ในจุดหักศอกแรกของการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นต้องน้อมรับความเปลี่ยนแปลง ต้องแยกให้ออกระหว่างสัญญาณที่ถูกต้องคืออะไร และอะไรเป็นแค่เสียงรบกวนที่คุณต้องโยนมันทิ้ง และจงอดทนโฟกัสระยะยาว KBTG ทำเรื่อง AI ตั้งแต่ปี 2017 กว่าจะสำเร็จ สำคัญที่สุดคือต้องใช้ AI อย่างมีจริยธรรม และสุดท้ายอย่าลืมว่า การทรานส์ฟอร์มแล้วไม่ได้ช่วยให้ชีวิตใครดีขึ้นก็ไร้ประโยชน์ นั่นเป็นเหตุผลที่ KBTG เปลี่ยนโฟกัสมาที่ Human-First x AI-First Transformation ต้องทำให้ชีวิตผู้คนดีขึ้น”

 

 

The Opportunities and Risks in AI โดย Andrew Ng

 

ไฮไลต์สำคัญของงานครั้งนี้คือ การบรรยายในหัวข้อ ‘The Opportunities and Risks in AI’ โดย Andrew Ng Managing General Partner, AI Fund & Founder of Landing AI

 

“เราควรจะตื่นเต้นกับ AI ในเรื่องไหนบ้าง และประเทศไทยจะหาประโยชน์จากมันได้อย่างไร?” Andrew Ng เปิดเวทีด้วยคำถามชวนคิด พร้อมชวนให้ทุกคนนึกภาพ AI วันนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับการมาถึงของไฟฟ้าที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมวลมนุษยชาติ มองให้ง่ายกว่านั้น AI ก็คือ Collection of Tools กลุ่มเครื่องมือที่มาช่วยให้เราทำงานดีขึ้น อย่าง GenAI ที่วันนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวเราทุกคน

 

Andrew พูดถึง Supervised Learning ที่สามารถเปลี่ยน Input (A) เป็น Output (B) นี่เป็นสิ่งที่มีมานานแล้ว จนกระทั่งปี 2010-2020 เข้าสู่ยุคของ Large Scale Supervised Learning ทำให้เกิด Large Models AI

 

“เราเริ่มเห็นการนำ GenAI ที่สร้างโดยใช้ Supervised Learning มาขยายผลต่อเพื่อคาดการณ์สิ่งต่อไป ปี 2020 เป็นต้นมา เราเข้าสู่ยุคที่ GenAI สามารถสร้างคอนเทนต์ใหม่ๆ ตั้งแต่ ภาษา รูปภาพ เสียง วิดีโอ ไม่จนถึงการเขียนโค้ด”

 

Andrew บอกว่า GenAI ยังเข้ามาเปลี่ยนวิธีการทำงานระหว่างมนุษย์กับ AI ด้วย เช่น เปลี่ยนจากการเขียนโค้ดเยอะๆ มาเป็นการเขียน Prompt แทน ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันต่างๆ จากหลายเดือนเหลือเพียงไม่กี่ชั่วโมง

 

อีกหนึ่งตัวอย่างคือเรื่องของ LLM หรือ Large Language Models โมเดลพื้นฐานการประมวลผลของ GenAI ที่เรียนรู้ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบเชิงลึก (Deep Learning) ผ่านการเทรนด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาล ทำให้เกิดเป็นโมเดลที่มีความสามารถในการโต้ตอบ ประมวลผล และสร้างสรรค์ข้อความได้ไม่ต่างอะไรกับมนุษย์ เช่น Web-Based อย่าง ChatGPT, Gemini หรือใช้สร้าง Software Application of LLMs อย่าง Corporate AI, Customer Service Chatbots, Summarization, e-mail/Message Routing หรือ Specialized Coaching/Advice

 

AI สร้างโอกาสได้ แล้วบริษัทใหญ่ๆ จะเชื่อมต่อ AI เข้ากับธุรกิจปัจจุบันได้ เขายกตัวอย่างบริษัทญี่ปุ่นยักษ์ใหญ่อย่าง Mitsui ที่ใช้เวลาไม่กี่เดือนตั้งบริษัทใหม่ BEARING.ai ขึ้นมา

 

BEARING.ai คือตัวอย่างของสตาร์ทอัพที่นำ AI มาใช้สร้างความแตกต่างและเติบโต ด้วยการนำเซ็นเซอร์จำนวนมากไปติดบนเรือเดินสมุทร เพื่อส่งค่าต่างๆ กลับเข้าสู่ระบบ และให้ AI นำไปวิเคราะห์จนได้ข้อมูลตัวเลขเกี่ยวกับเรือแบบเรียลไทม์

 

ประเด็นที่หลายคนจับตาคือ AI จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมใดบ้าง Andrew บอกว่า นำผลการศึกษาจาก McKinsey มาฉายภาพให้เห็นว่าอาชีพและกลุ่มอุตสาหกรรมที่อาจได้รับผลกระทบก่อนคือ กลุ่มนักการศึกษา นักกฎหมาย นักสื่อสาร ฯลฯ

 

“แต่ AI ก็อาจสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นได้เช่นกัน AI จะมาช่วยเรื่องของ Automate Tasks แต่ก็ยังมีงานบางอย่างที่ AI ทำแทนมนุษย์ไม่ได้ AI จะไม่ได้มาแทนที่คน จากสถิติจะเห็นว่ามีเพียง 30% ที่งานบางส่วนถูก Automate ด้วย AI แต่มากถึง 70 ที่มนุษย์ยังต้องรับผิดชอบต่อไป ดังนั้น AI ไม่ได้มาแทนที่คน แต่คนที่ใช้ AI ได้ดีจะมาแทนที่คนที่ไม่ได้ใช้ AI”

 

“เวลาพูดถึงเรื่องความเสี่ยงของการใช้ AI จริงๆ แล้วมันเป็นความเสี่ยงจากการนำไปปรับใช้ ไม่ใช่ความเสี่ยงจากเทคโนโลยี และให้ความสำคัญกับการปกป้อง Open Source”

 

สำหรับอนาคตของ AI ในประเทศไทย Andrew มองว่าการใช้งาน AI แต่ละประเทศไม่ต้องเหมือนกัน ควรหาให้เจอว่าจุดแข็งของประเทศนั้นๆ คืออะไร

 

“ประเทศไทยมีจุดแข็ง 3 ด้านคือ การท่องเที่ยว, สาธารณสุข และการเกษตร ถ้าเราสามารถนำ AI เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ รวมไปถึงการนำ AI มายกระดับด้านการศึกษาให้ดีกว่าเดิม

 

“มันไม่สำคัญหรอกว่าคุณประสบความสำเร็จแค่ไหน สิ่งที่สำคัญคือคุณมีพลังที่จะขับเคลื่อนมันมากแค่ไหน ประเทศไทยมี AI Ecosystem ที่ดี ผมเชื่อว่า AI ในประเทศไทยมีอนาคตที่สดใสอย่างแน่นอน”

 

Exclusive Session จาก The Secret Sauce

 

“ท่ามกลางสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง บางคนสร้างกำแพง บางคนสร้างโอกาส” นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการ และบรรณาธิการบริหาร THE STANDARD เปิดเวทีด้วยการชวนทุกคนคิด พร้อมให้เฟรมเวิร์กคำถาม 3 ข้อ What, So What และ Now What “อะไรกำลังจะเกิดขึ้น สิ่งนั้นกระทบหรือเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร และตอนนี้เราควรจะทำอะไร” พร้อมชวนหาคำตอบผ่านเคสธุรกิจที่น่าสนใจ และการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงจากผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจต่างๆ บนเวทีนี้

 

ไม่ว่าจะเป็น AI ในโลกของ BioTech จะทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมที่ส่งต่อดีต่อชีวิตมนุษย์ในอนาคตอย่างไร หรือการนำนวัตกรรมมาขับเคลื่อนธุรกิจความงามผ่าน Use Case จากแบรนด์ Her Hyness หรือแม้แต่การนำไปใช้เพื่อยกระดับศึกษา ที่ KBTG ทำให้เห็นเป็นตัวอย่างก็ถูกนำมาคุยบนเวทีนี้

 

แต่ขอหยิบยกประเด็นสำคัญจาก 2 เซสชันที่น่าจะต่อยอดให้กับธุรกิจในวงกว้าง และมุมของธุรกิจที่ไม่ค่อยมีใครนึกถึง ได้แก่

 

KBTG Techtopia: A Blast From the Future

 

Tech Trends 2024 and Beyond โดย Mr.Gobind Rattivarakorn, Deloitte T&T

 

เปิดเวที Exclusive Session ด้วยการฉายภาพเทรนด์เทคโนโลยีปี 2024 ที่น่าจับตาโดย Mr.Gobind Rattivarakorn, Executive Director SEA จาก Deloitte T&T เขาบอกว่า “การคิดค้นเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมต่างๆ ที่ผ่านมาจะโฟกัสไปที่ 3 เรื่องหลัก Interaction, Information และ Computation

 

“แต่โลกวันนี้เปลี่ยนไป คำว่า Interaction จะถูกเปลี่ยนเป็น Simplicity หมายความว่า เทคโนโลยีไหนสามารถสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด เทคโนโลยีนั้นจะเป็นผู้ชนะ ในขณะที่ Information จะเปลี่ยนไปโฟกัสที่ Intelligence เพื่อช่วยทำให้คนมีศักยภาพมากขึ้น และสุดท้าย Computation จะเป็นเรื่องของ Abundance แทน”

 

Mr.Gobind ชวนโฟกัส 3 เทรนด์เทคโนโลยี 2024 ที่กำลังเกิดขึ้น และจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจในอนาคต ได้แก่

 

  • Interfaces in New Places การเปลี่ยนอุตสาหกรรมโลกเสมือนกลายเป็นเครื่องมือสำหรับองค์กร ซึ่งเทคโนโลยี Spatial Computing จะเข้ามาเปลี่ยนการทำงานในเชิงพื้นที่ โดยใช้ Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) ผสานเข้ากับข้อมูล AI เพื่อจำลองกระบวนการในโลกความจริง “ในอนาคตหมอจะสร้างโลกเสมือนของการผ่าตัดให้แม่นยำมากขึ้น ลดการผิดพลาดให้น้อยลง” Mr.Gobind กล่าว

 

  • Genie Out of the Bottle เนื่องจากปัจจุบัน GenAI กลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับธุรกิจต่างๆ เพราะมองว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ปลดล็อกศักยภาพและสร้างนวัตกรรมใหม่ได้ แต่ถ้าจะให้ได้ประโยชน์แท้จริง ต้องมีกลยุทธ์ว่าจะนำมาใช้อย่างไร

 

“ยกตัวอย่าง Shutterstock เขาจัดการอย่างไรกับการมาถึงของโปรแกรมที่สามารถ Generate รูปภาพได้ สิ่งที่เขาทำคือนำ Database ที่มีทั้งหมด Generate รูปใหม่ขึ้นมา แต่นำเงินที่ได้ส่งกลับไปหาเจ้าของภาพทุกคน เพราะเขามองว่าการที่เขาทำธุรกิจนี้ได้เกิดจากทุกคน”

 

  • Defending Reality เมื่อมีด้านดีก็มีด้านร้าย AI สามารถสร้าง Deepfake ข่าวลวงหรือข้อมูลเท็จด้วยการสร้างสื่อสังเคราะห์ ธุรกิจต่างๆ จึงจำเป็นต้องมองหากลยุทธ์หรือเครื่องมือที่น่าเชื่อถือ ไว้ใจได้ เพื่อรับมือกับภัยคุกคามจาก Synthetic Media

 

“ปัญหาการทำ Deepfake ด้วยวิดีโอ ทำให้ Intel สร้างเครื่องตรวจหาสัญญาณการไหลเวียนของเลือดบนใบหน้าของบุคคล แต่เรามองตรงนี้เป็นโอกาส เพราะความปลอดภัยจะเป็นสิ่งที่ต้องการมากขึ้น”

 

 

Global Sustainable Agricultural Innovation โดย ปีตาชัย เดชไกรศักดิ์, Jasberry

 

การนำ AI มาใช้ด้านการเกษตรเป็นภาพที่หลายคนอาจยังเห็นไม่ชัดนัก เพราะในประเทศไทยยังมี Use Case ให้เห็นน้อย หรือยังมองไม่ออกว่าท้ายที่สุดแล้วจะสร้างความยั่งยืนจนก้าวไปสู่เวทีโลกได้อย่างไร

 

ปีตาชัย เดชไกรศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท สยามออร์แกนิค จำกัด และ บริษัท แจสเบอร์รี่ จำกัด เล่าการเดินทางของ ‘แจสเบอร์รี่’ ธุรกิจที่จำหน่ายผลผลิตจากเกษตรกรรายย่อยภาคอีสานกว่า 1,000 ครัวเรือน จากธุรกิจ SE (Social Enterprise) ที่เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2011 จากความมุ่งมั่นที่จะสร้างธุรกิจเพื่อสังคม ที่สามารถแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกรไทยไปพร้อมๆ กับสร้างแบรนด์ระดับโลก

 

“ถ้าเราจะสร้างแบรนด์ระดับโลกได้เราต้องมีนวัตกรรมระดับโลก ตอนเริ่มต้นผมเจอนักวิจัยพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่ดีต่อสุขภาพที่สุดในโลก แล้วทำไมเกษตรกรไทยไม่ปลูกข้าวนี้ ตอนทำตลาดในไทยแรกๆ คนมองว่าทำไมข้าวแพง นั่นหมายความว่าเราจะเปลี่ยนทั้ง Ecosystem ผู้บริโภคต้องเห็นถึงคุณค่าของสินค้าจนเขายอมจ่าย ต้องทำให้เขามองเห็นว่านี่คือการลงทุนเพื่อสุขภาพ”

 

ปีตาชัยปรับเข็มทิศใหม่ เลือกเจาะตลาดต่างประเทศหลังทำตลาดไทยแล้วไปต่อไม่ได้ในตอนนั้น “ช่วงโควิดผมไปอเมริกาและไปเจอฝ่ายจัดซื้อของห้าง Whole Foods Market ซึ่งเป็นห้างที่ขายอาหารออร์แกนิกขนาดใหญ่ เขาพูดคำหนึ่งว่า โปรดักต์เราดีแต่เราไม่มีความเป็น World Class Brand นั่นเป็นจุดที่ทำให้ผมกลับมาโฟกัสการสร้างแบรนด์อยู่ปีกว่าๆ ในที่สุดก็ได้เข้าตลาดอเมริกาเมื่อเดือนเมษายนปีที่ผ่านมา ภายใน 1 ปี เราสามารถวางขายกว่า 3,000 สาขาในอเมริกา และห้างระดับ Top 5

 

“แบรนด์ก็เหมือนคน มันมี DNA เราจึงสื่อสารผ่านความรู้สึก เช่น แทนที่จะใช้คำว่า Rice เปลี่ยนเป็น Superfood Rice คนจะเริ่มตั้งคำถามว่ามันคืออะไร ต่างกันอย่างไร ก็ใส่เรื่องคุณประโยชน์เข้าไป ใส่ Storytelling ว่ามันดีต่อเขาอย่างไร ดีต่อเกษตรกรและโลกอย่างไร ทำให้ผู้บริโภครู้สึกดี เพราะคนยุคใหม่ต้องการสร้างอัตลักษณ์ตัวเองผ่านแบรนด์ที่ใช้ ที่สามารถสะท้อนคุณค่าในตัวเขาได้

 

“กุญแจสำคัญในการสร้าง Global Brand อย่างแรกต้องให้ความสำคัญกับคน ต้องมี Culture Strategy ด้วย ถ้าเราจะสร้าง World Class Brand เราต้องมี World Class Culture เราลงทุนเรื่องนี้มาหลายปี เรามองหาคนที่เปิดรับทุกโอกาส เพราะการที่คนจะดึงศักยภาพของตัวเองออกมาได้เขาต้องมี Mindset ที่เปิดกว้างก่อน ที่ Jasberry เราเปิดโอกาสให้พนักงานทดลอง ผิดพลาด ทำใหม่ อยู่เสมอ

 

“กุญแจที่สอง คือการสร้างโมเดลธุรกิจต้องวางวิสัยทัศน์ 3-5 ปีของธุรกิจว่าจะเป็นอย่างไร และจะเดินทางไปสู่จุดนั้นด้วยวิธีใด สิ่งต่อมาคือ นวัตกรรมและการตลาด คุณผลิตสินค้าและบริการที่ดีขึ้นมา และสื่อสารออกไปให้ได้ว่าทำไมเขาถึงต้องยอมจ่ายเพื่อสิ่งนี้ มันให้คุณค่าอะไรกับเขา

 

“นวัตกรรมไม่ต้องมองไปถึงเรื่องเทคโนโลยีก็ได้ มันมีเรื่องของการสร้างองค์กร การบริหารจัดการสินค้าและแบรนด์ พูดในมุมของนวัตกรรมได้ทั้งหมด ผมถามคนในทีมเสมอว่างานของคุณในอีก 6-12 เดือนข้างหน้ามันจะพัฒนาอย่างไรให้ได้ผลลัพธ์มากว่าเดิม

 

“ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตร นี่คือสินทรัพย์ที่ประเทศไทยมีอยู่ แต่เรายังมองไปที่เรื่องของการแปรรูป เช่น จากข้าวปกติเปลี่ยนเป็นข้าวพร้อมรับประทาน น้ำมันรำข้าว ขนม มูลค่าเพิ่มขึ้นก็จริง แต่จริงๆ มันมีมุมอื่นของคำว่านวัตกรรมที่เราพัฒนาได้ อีกทั้งเรื่องของนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ เราก็ยังไม่แข็งแรง แม้แต่โรงงานด้านอาหารบ้านเรายังเทียบกับโรงงานระดับโลกไม่ได้ ทั้งๆ ที่เราเป็นประเทศอาหาร ถ้าคนรุ่นใหม่ลงมาทำจริงๆ ผมว่ามันมีโอกาสอีกเยอะมาก”

 

KBTG Techtopia: A Blast From the Future

 

คีย์เวิร์ดสำคัญในงานนี้คือ Agriculture Intelligence แต่วันนี้เราอาจเปลี่ยนเป็น Augmented Intelligence เราต้องมองให้ออกว่าเทคโนโลยีวันนี้มา Automated บาง Task ได้จริงแค่เพียงบางส่วน คุณต้องนำจุดที่ดีของตัวเองไปผสมกับจุดที่ดีของ AI ให้ได้ และอย่าลืมเรื่องของ AI Literacy ที่ต้องคำนึงอยู่เสมอ” นครินทร์กล่าวทิ้งท้าย ก่อนจะปิดฉากเวที Exclusive Session จาก The Secret Sauce พร้อมถอดรหัส 5 เคล็ดลับ คนที่ประสบความสำเร็จนำเทคโนโลยีมาปรับใช้แบบไหน

 

  • หาตัวตนของธุรกิจและคุณค่าของตัวเองให้เจอ ไม่ว่าจะทำธุรกิจอะไร เทคโนโลยีแบบไหน ต้องถามตัวเองก่อนว่าธุรกิจนั้นเกิดมาเพื่ออะไร หรือตัวเรามีคุณค่าอะไรในองค์กร เราสร้างประโยชน์อะไรให้กับองค์กร คู่ค้า และพาร์ตเนอร์

 

  • หาจุดที่เป็นความเจ็บปวดและปัญหาของลูกค้า เพราะนั่นคือโอกาสทางธุรกิจ แต่อย่าลืมว่า Pain Point เปลี่ยนแปลงเสมอเพราะโลกมันเปลี่ยน

 

  • มองธุรกิจด้วยมุมมองระดับโลก ทุกวันนี้โลกเชื่อมกันหมด ดังนั้นการมองด้วยมุมมองระดับโลกจะทำให้ตลาดเราใหญ่กว่า และมีโอกาสขยายธุรกิจได้เร็วในวันที่พร้อม

 

  • เทคโนโลยีต้องเป็นมิตรต่อผู้ใช้และทำให้ชีวิตผู้คนดีขึ้น ไม่ว่าจะเทคโนโลยีจะไปไกลแค่ไหน สุดท้ายมันจะต้องทำงานกับคน ถ้าเราเข้าใจความรู้สึกของมนุษย์ด้วยกันก็มีโอกาสชนะในเกมธุรกิจมากกว่า

 

  • เริ่มต้นที่คนก่อนเสมอ ก่อนจะทำ AI Transformation สิ่งที่ต้องทำก่อนคือ Human Transformation คนในองค์กรพร้อมแค่ไหน ถ้ามีโอกาสแต่คนไม่พร้อมก็ไร้ประโยชน์ สิ่งต่อมาคือปรับเปลี่ยนการทำงานให้เป็นดิจิทัล เช่น การเก็บ Data เพื่อนำไปวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า

 

“วันนี้โอกาสมีอยู่มากมาย คำถามสำคัญคือ เมื่อคุณเห็นโอกาส คุณจะไขว่คว้ามันหรือเปล่า” นครินทร์กล่าวทิ้งท้าย

 

 

นอกจากเกือบ 40 เซสชันจาก 3 เวทีที่อัดแน่นทุกองค์ความรู้ด้าน AI ที่พลาดไม่ได้คือ Playground Workshop ที่ออกแบบโดยทีม KBTG และพาร์ตเนอร์ชั้นนำ ทั้ง AWS, Databricks, PALO IT และ Splunk ซึ่งทั้ง 6 เวิร์กช็อปมีผู้ลงทะเบียนและให้ความสนใจเต็มทุกห้อง ไม่ว่าจะเป็น Generative AI Gameday โดย AWS, Stable Diffusion 101: A Beginner’s Guide to Generative AI Image โดย KBTG Labs, Advance Prompt Engineering with GitHub Copilot โดย PALO IT, Data-driven Ideation Workshop for Business Leaders โดย KX, Gen AI for Marketers โดย Databricks และ Machine Leaning Primer Hand-on Workshop โดย Splunk

 

KBTG Techtopia: A Blast From the Future

 

ในขณะที่โซน Innovation Product Exhibition ปีนี้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่นำมาจัดแสดงน่าสนใจทุกโปรเจกต์ เช่น โปรดักต์จากทีม KBTG Labs อย่าง Waan.AI แพลตฟอร์มการวิเคราะห์ข้อมูลและผู้ช่วยทางการเงินที่ออกแบบมาสำหรับ SMEs, Document OCR โปรดักต์ที่ช่วยแปลงเอกสารทั้งแบบพิมพ์และแบบลายมือให้เป็นข้อความดิจิทัลในภาษาอังกฤษและภาษาไทย, Finly แพลตฟอร์มที่เปรียบเสมือนเพื่อนที่มีความรู้เฉพาะด้าน เพื่อให้ความคิดเห็นและคำแนะนำต่างๆ, THaLLE โมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่เข้าใจบริบททางด้านการเงินและการธนาคาร ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย

 

KBTG Techtopia: A Blast From the Future

 

รวมไปถึงโปรดักต์ที่ KBTG Labs พัฒนาร่วมกับ MIT Media Lab ก็นำมาจัดแสดงและให้ผู้ที่สนใจได้ทดลอง ไม่ว่าจะเป็น Future You, FinLearn, Future Jobs และคู่คิด

 

หรือบูธของ KX ก็นำเทคโนโลยี Car AI, Coral และ  AINU มาแสดง ไฮไลต์ของทีมนี้ต้องยกให้ตัว AINU โปรดักต์ที่ช่วยให้การยืนยันตัวตนผู้ใช้งานง่ายและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ความเจ๋งคือเป็นบริษัทแรกในเอเชีย และเป็นบริษัทที่ 3 ของโลกที่ผ่านการทดสอบ Face Liveness Detection จาก iBeta ระดับ 2 สำหรับโหมด Passive และ Active

 

ปีหน้า KBTG Techtopia จะกลับมาภายใต้คอนเซปต์อะไร ต้องติดตาม

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

X
Close Advertising