×

หลบภัยความขัดแย้งทั่วโลกด้วยสินทรัพย์ทางเลือก

13.07.2024
  • LOADING...

ท่ามกลางความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Risk) ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสงครามทางการค้า หรือสงครามระหว่างประเทศที่ปะทุขึ้นมาและยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ทำให้การกระจายพอร์ตลงทุน หรือ Asset Allocation มีความสำคัญมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

 

สินทรัพย์ทางเลือก (Alternative Asset) เข้ามาเป็นส่วนผสมที่เพิ่มขึ้นสำหรับพอร์ตลงทุนของนักลงทุนทั่วโลก จากการศึกษาของ CAIA Association ระบุว่า สินทรัพย์ทางเลือกเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ดั้งเดิมที่สามารถลงทุนได้เพิ่มขึ้นจาก 6% หรือประมาณ 4.8 ล้านล้านดอลลาร์ มาเป็น 12% หรือ 13.4 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2018 และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 18-24% ในปี 2025 

 

ในมุมมองของ UOB สำหรับการจัดพอร์ตการลงทุนสำหรับไตรมาส 3 ของปีนี้ สินทรัพย์ทางเลือกยังคงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ต ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในเฮดจ์ฟันด์ (Hedge Fund), สินทรัพย์นอกตลาด, น้ำมัน, โลหะพื้นฐาน อาทิ ทองแดง หรือโลหะมีค่า อาทิ ทองคำ 

 

สำหรับทองคำ เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่ UOB ยังคงมุมมองเชิงบวกในช่วง 1 ปีถัดจากนี้ โดยเชื่อว่าราคาทองคำมีโอกาสจะขยับขึ้นไปถึง 2,700 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในไตรมาส 2 ปี 2025 จากปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ประมาณ 2,330 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดย UOB ประเมินว่าราคาทองคำจะอยู่ที่ 2,500 ดอลลาร์ในสิ้นปีนี้ ก่อนจะเพิ่มขึ้นเป็น 2,600 ดอลลาร์ในไตรมาสแรกของปี 2025 

 

ปัจจัยบวกที่สำคัญต่อราคาทองคำมาจาก 2 ส่วน ได้แก่ 

 

  1. ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ดำเนินอยู่ต่อเนื่อง 
  2. ความต้องการซื้อที่ยังแข็งแกร่งของธนาคารกลางในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Market) และประเทศในแถบเอเชีย 

 

ธนาคารจีน ที่แม้ว่าจะชะลอการซื้อทองคำเพื่อเป็นทุนสำรอง แต่หากมองโดยภาพรวมแล้วจะเห็นว่า สัดส่วนทองคำในฐานะทุนสำรองของจีน ณ สิ้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ยังคงอยู่ที่เพียง 5% ของทุนสำรองทั้งหมด

 

นอกจากปัจจัยบวกทั้งสองแล้ว โอกาสการลดดอกเบี้ยของ Fed ที่ UOB คาดว่าจะลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ ครั้งละ 25 bps ในเดือนกันยายนและธันวาคม น่าจะส่งผลบวกต่อราคาทองคำด้วยเช่นกัน

 

ทั้งนี้ เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ราคาทองคำพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดตลอดกาลที่ประมาณ 2,440 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่ Michael Unger รองประธานด้าน Investments and Planning ของ Coral Gables Trust มองว่า สถิติสูงสุดใหม่ของทองคำมีแนวโน้มว่าจะดำเนินต่อไป เนื่องจากความไม่แน่นอนด้านภูมิรัฐศาสตร์ รวมทั้งท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ​ (Fed) ต่ออัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อ รวมถึงการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่กำลังจะเกิดขึ้น 

 

ขณะที่ Patrick Yip ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการพัฒนาธุรกิจของ APMEX ซึ่งบอกว่า นับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา การลงทุนในทองคำให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 9.5% ต่อปี 

 

รู้จักกองทุนน่าสนใจที่ UOB แนะนำ

 

ในปัจจุบันการลงทุนทองคำผ่านกองทุนรวมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สะดวกและใช้เงินลงทุนไม่มาก แนะนำกองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท โกลด์ ฟันด์ – H (UOBSG – H) และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์โกลด์ (SCBGOLD) กองทุนมีความเสี่ยงระดับ 8

 

ทั้งสองกองทุนมีนโยบายลงทุนในกองทุนรวม ETF ทองคำต่างประเทศ ‘SPDR Gold Trust’ ซึ่งเป็นกองทุนทองคำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของ World Gold Trust Services ซึ่งถือหุ้นโดย World Gold Council (WGC) องค์กรร่วมระหว่างบริษัทผู้ผลิตทองคำระดับโลก SPDR Gold Trust จะลงทุนเฉพาะในทองคำแท่งเพียงอย่างเดียว (100% Gold Bullion) ส่งผลให้ผลตอบแทนสุทธิหลังจากหักค่าบริหารจัดการกองทุนและค่าธรรมเนียมจะค่อนข้างใกล้เคียงกับราคาทองคำแท่งในตลาดลอนดอน LBMA Gold Price PM โดยทองคำแท่งทั้งหมดได้ถูกเก็บรักษาที่ HSBC Bank ที่สหรัฐอเมริกา

 

ปัจจุบันกองทุน SPDR Gold Trust จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 4 แห่ง ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์ประเทศญี่ปุ่น, ตลาดหลักทรัพย์ประเทศสิงคโปร์, ตลาดหลักทรัพย์ประเทศฮ่องกง และตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก 

 

กองทุน UOBSG – H และ SCBGOLD จะลงทุนในหน่วยลงทุนที่ซื้อ-ขายในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับราคาทองคำในตลาดโลกหักกับค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุน

 

จุดต่างหลักของทั้งสองกองทุนคือ นโยบายด้านอัตราแลกเปลี่ยน โดยกองทุน UOBSG – H มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ ในขณะที่ SCBGOLD ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน 

 

การลงทุนทองคำถือเป็นสินทรัพย์ทางเลือก สามารถใช้เพื่อการกระจายความเสี่ยง เนื่องจากทองคำมีลักษณะของสินทรัพย์ปลอดภัย โดยสัดส่วนการลงทุนที่แนะนำสำหรับการจัดพอร์ตคือ 5-10% 

 

ทั้งนี้ นักลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมหรือติดต่อที่ปรึกษาทางการเงิน (Client Advisor) ของ UOB Privilege Banking ได้ที่ โทร. 0 2081 0999 หรือคลิก www.uob.co.th/privilegebanking

 

อ้างอิง:

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X