×

IMF แนะสหรัฐฯ เร่งจัดการหนี้ครัวเรือน เตือนอย่าวางใจการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

28.06.2024
  • LOADING...

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยความเห็นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (27 มิถุนายน) ว่า แม้เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง แต่รัฐบาลสหรัฐฯ ก็ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ต้องบริหารจัดการเพื่อรักษาพลวัตทางเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงการหารือแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการฟื้นตัวของประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก และความคืบหน้าในการนำอัตราเงินเฟ้อมาอยู่ภายใต้การควบคุม

 

ทั้งนี้ IMF กล่าวในแถลงการณ์ปิดท้ายสำหรับการทบทวนมาตรา 4 เกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ว่า การขาดดุลและหนี้สินที่สูงนั้น สร้างความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นให้กับเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินการคลังที่สูงขึ้น และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการ Rollover ภาระผูกพันที่ครบกำหนดไถ่ถอนอย่างราบรื่น

 

ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่า “แข็งแกร่ง มีพลวัต และปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของสภาวะโลก ทำให้กิจกรรมและการจ้างงานยังคงเป็นไปตามความคาดหวัง…และกระบวนการสลายเงินเฟ้อก็มีต้นทุนน้อยกว่าที่หลายคนคาดไว้มาก”

 

นอกจากนี้ ถ้อยแถลงของ IMF ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของ GDP ของสหรัฐฯ ในปี 2024 ลงเล็กน้อยเหลือ 2.6% จากการคาดการณ์ 2.7% ใน World Economic Outlook เดือนเมษายน ขณะที่การเติบโตของสหรัฐฯ ในปี 2026 จะลดลงเหลือ 1.9% แต่โดยรวมตัวเลขการเติบโตของสหรัฐฯ โดยเฉลี่ยจะยังคงอยู่สูงกว่า 2% ไปจนถึงสิ้นทศวรรษ

 

ขณะเดียวกัน ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อ IMF คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ซึ่งวัดโดยดัชนีราคาค่าใช้จ่ายการบริโภคส่วนบุคคลจะกลับสู่เป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ภายในกลางปี 2025 ซึ่งเร็วกว่าการคาดการณ์ของ Fed ว่าจะกลับสู่เป้าหมายในปี 2026 มาก

 

Kristalina Georgieva กรรมการผู้จัดการ IMF กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า การคาดการณ์ของ IMF นั้นเป็นไปในแง่ดีมากขึ้น เนื่องจากแนวโน้มเงินเฟ้อในปัจจุบันบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อสหรัฐฯ สามารถกลับไปสู่เป้าหมายเร็วขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการใช้จ่ายของผู้บริโภคในสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่ง โดยได้แรงหนุนจากความมั่งคั่งที่สะสมไว้ในช่วงวิกฤตโควิดกำลังลดลง และตลาดแรงงานก็กำลังเย็นลง

 

อย่างไรก็ตาม IMF ก็ยังเตือนถึงตัวเลขการขาดดุลที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่น่ากังวลว่า หากสถานการณ์ดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไปจะทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อ GDP ของสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับสูงถึง 140% ภายในสิ้นทศวรรษนี้ 

 

นอกจากนี้ IMF แจงว่า การขาดดุลและหนี้สินที่สูงเช่นนี้ สร้างความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินการคลังสูงขึ้น และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการ Rollover ภาระผูกพันที่ครบกำหนดไถ่ถอนอย่างราบรื่น

 

ทั้งนี้ ถือเป็นปีที่สองติดต่อกันที่ IMF กำหนดให้สหรัฐฯ เพิ่มอัตราภาษีเงินได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงแต่สำหรับคนอเมริกันที่ร่ำรวยที่สุดเท่านั้น แต่ยังสำหรับครัวเรือนที่มีรายได้น้อยกว่า 4 แสนดอลลาร์ต่อปี ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ใช้เป็นนโยบายหาเสียงในการเลือกตั้งปลายปีนี้ว่าจะไม่เข้าไปปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ดังกล่าว

 

ยิ่งไปกว่านั้น IMF ยังแนะนำสหรัฐฯ เกี่ยวกับแนวทางการรับสมัครประชาชนเพื่อเข้าถึงบริการภาคต่างๆ อย่างรวดเร็ว โดย Georgieva ชี้ว่า IMF กำลังพยายามนำเสนอแนวทางนโยบายสำหรับสหรัฐฯ ที่จะทำให้สามารถให้บริการเศรษฐกิจและประชาชนเป็นอย่างดี พร้อมย้ำว่าขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สหรัฐฯ จะทำอะไรได้มากกว่านี้ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงต่างๆ ในอนาคต

 

ทั้งนี้ ภายหลังเปิดเผยแถลงการณ์ของ IMF ได้เพียงไม่นาน กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ก็ได้ออกถ้อยแถลงจากการที่ Janet Yellen รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ พบปะพูดคุยกับ Georgieva โดยสหรัฐฯ ย้ำถึงความสำคัญของการประเมินเศรษฐกิจสมาชิก IMF ทั้งหมดอย่างตรงไปตรงมาและละเอียดถี่ถ้วนผ่านกระบวนการเฝ้าระวังประจำปี ยิ่งไปกว่านั้น ทั้งสองยังได้หารือในเรื่องประสิทธิภาพที่โดดเด่นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ที่การเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานยังคงเกินความคาดหมาย

 

อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X