×

สื่อมาเก๊าเผย Las Vegas Sands ยืนยันลงทุนคาสิโนถูกกฎหมายในไทย ดัน ‘Fun Economy’ ไพ่ใบใหม่รัฐบาล?

23.04.2024
  • LOADING...
Las Vegas Sands

สำหรับความคืบหน้าของโครงการคาสิโนถูกกฎหมายของประเทศไทย คณะกรรมาธิการวิสามัญอยู่ระหว่างเร่งหาข้อสรุปผลศึกษาการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex) เพื่อแก้ปัญหาการพนันผิดกฎหมาย และเพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ 

 

เรียกได้ว่าแผน ‘ยังไม่สะเด็ดน้ำ’ เพราะต้องใช้เวลาพิจารณาอย่างรอบด้านถึงข้อดี-ข้อเสีย ทั้งพื้นที่ การสัมปทานเอกชน กรอบกฎหมายการควบคุมออนไลน์ และการเก็บภาษี โดยให้คณะทำงานกลับมาสรุปรายงานอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม 2024

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 


 

 

ล่าสุดมีรายงานข่าวจากสื่อมาเก๊าว่า Rob Goldstein ประธานบริหาร Las Vegas Sands (LVS) ยืนยันว่า สนใจลงทุนคาสิโนถูกกฎหมายในประเทศไทย ภายใต้โครงการสถานบันเทิงครบวงจร Entertainment Complex 

 

โดย Goldstein มองว่าการเปิดคาสิโนในประเทศไทยอาจเกิดขึ้นได้เร็วกว่าในญี่ปุ่น สอดคล้องนักวิเคราะห์บางรายที่ระบุก่อนหน้านี้ว่า ไทยจะเปิดให้บริการได้ในปี 2029 ก่อนหน้าที่ญี่ปุ่นจะเปิด MGM Osaka ที่มีกำหนดการเปิดให้บริการในปี 2030

 

“แม้ว่าจะยังต้องทำความเข้าใจและพิจารณาตัวเลข ผมมองว่าเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาก เพราะไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจและมีหลายระดับ ส่วนตัวเชื่อว่าผู้คนเปิดรับและยินดีที่จะเดินทางมาไทย เพราะเห็นได้ชัดว่าไทยเป็นเมืองพักผ่อนตากอากาศอันดับ 1 ในเอเชีย”

 

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ช่วงเดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมา สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า MGM Resorts International และ Galaxy Entertainment Group ก็อยู่ระหว่างกำลังศึกษาศักยภาพของการเปิดคาสิโนในไทยเช่นกัน

 

นอกจากนี้ Maybank ซึ่งเป็นธนาคารเพื่อการลงทุน รายงานว่า Genting Singapore อาจเข้าร่วมประมูลเพื่อประกอบกิจการคาสิโนในไทยอีกด้วย

 

รายงานข่าวระบุว่า การทำให้คาสิโนซึ่งเป็นศูนย์รวมความบันเทิงในประเทศไทยถูกกฎหมายนั้น นอกจากจะเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวของไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว คาดว่าค่าใช้จ่ายนักท่องเที่ยวโดยเฉลี่ยต่อหัวจะเพิ่มขึ้น 52% อยู่ที่ 65,050 บาท (ราว 1,790 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อทริปในไทย

 

เบื้องต้นข้อเสนอของรัฐบาลไทยมีการเสนอการจัดเก็บภาษีรายได้จากการเล่นเกมขั้นต้น (GGR) ในอัตราที่ค่อนข้างต่ำ (ร้อยละ 17)

 

ส่วนความคืบหน้าแผนการลงทุน ขณะนี้รัฐบาลไทยกำลังมองหาพื้นที่ในการออกใบอนุญาต โดยมุ่งไปที่เขตเศรษฐกิจสำคัญ เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม เช่น ภูเก็ต และเชียงใหม่  

 

Fun Economy ความหวังกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

 

จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex) ระบุว่า ปัจจุบันสถานบันเทิงครบวงจรตอบโจทย์เทรนด์ธุรกิจการท่องเที่ยวที่ปรับตัวเข้าสู่อุตสาหกรรมในกลุ่ม Fun Economy ซึ่งเติบโตรวดเร็ว ซึ่งสามารถต่อยอดไปถึงอุตสาหกรรมกีฬา สถานบันเทิง ธุรกิจการจัดประชุมและจัดนิทรรศการ (MICE)

 

อย่างไรก็ตาม การนำธุรกิจคาสิโนและการพนันถูกกฎหมายให้เข้ามาอยู่ในระบบต้องมีมาตรฐานภายใต้การควบคุมของกฎหมาย และมีการจัดเก็บรายได้และภาษีอย่างถูกต้อง

 

“Fun Economy เป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมูลค่าของอุตสาหกรรมนี้ทั้งโลกอยู่ที่ 13.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเทียบเท่า 14% ของ GDP ทั้งโลก นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่และเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมหาศาลและเกี่ยวข้องกับอีกหลายอุตสาหกรรม”

 

โดยหากดูมูลค่าทางเศรษฐกิจในปี 2022 สถานบันเทิงครบวงจรทั่วโลกมีมูลค่ามากกว่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเติบโตไปถึง 2.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2028

 

กรณีศึกษาจาก 4 เพื่อนบ้านอาเซียน  

 

4 ใน 7 ของประเทศที่มีรายได้จากสถานบันเทิงครบวงจรสูงสุดเป็นประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน

 

ดังนั้น หากมีการออกแบบสถานบันเทิงครบวงจรได้ดี จะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ชอบความบันเทิงประเภทนี้ให้เดินทางมายังประเทศไทยได้ไม่ยาก ส่งผลต่อรายได้จากการท่องเที่ยวให้เพิ่มสูงยิ่งขึ้น

 

ข้อมูลในปี 2022 พบว่าทั่วโลกมีมูลค่าสถานบันเทิงครบวงจรประมาณ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าจะเติบโตไปอยู่ที่ 2.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2028 ข้อมูลจาก Statista พบว่าประเทศที่มีได้รายได้เข้าประเทศสูงที่สุดจากอุตสาหกรรมนี้ ได้แก่ 

 

  • มาเก๊า 32,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 
  • สหรัฐอเมริกา (ลาสเวกัส) 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 
  • สิงคโปร์ 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 
  • เกาหลีใต้ 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 
  • ฟิลิปปินส์ 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • เวียดนาม 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 
  • อินโดนีเซีย 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีเสียงสะท้อนหลายฝ่าย ทั้งล่าสุดที่มีนักวิชาการจำนวน 99 รายชื่อร่วมคัดค้าน Entertainment Complex ที่มองว่าการหวังพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้วยธุรกิจอบายมุขเป็นแนวนโยบายที่พึงตรึกตรองอย่างรอบคอบกว่าการคำนึงถึงเพียงมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพราะอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานของความถูกต้องและชอบธรรมทางสังคม รวมไปถึงการควบคุมทางออนไลน์ ซึ่งต้องดูตัวอย่างจากประเทศที่ประสบความสำเร็จในการกำกับควบคุม โดยเฉพาะเรื่องติดการพนัน หรือเกิดความรุนแรง เช่น สิงคโปร์

 

เร็วๆ นี้คงต้องติดตามต่อว่ารัฐบาลจะวางไพ่ (เศรษฐกิจ) ใบนี้อย่างไรต่อไป

 

อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

X
Close Advertising