หลังจากการเลือกตั้งขั้นต้น Super Tuesday ซึ่งเป็นวันเลือกตั้งขั้นต้นที่จะบอกว่าผู้สมัครคนใดมีแนวโน้มจะได้เป็นตัวแทนของพรรคไปชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ และอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กวาดชัยชนะในการเลือกตั้งขั้นต้นนี้ไปได้ ส่งผลให้มีโอกาสที่ทั้ง 2 จะเป็นตัวแทนของทั้ง 2 พรรค เพื่อสู้ศึกเลือกตั้งอีกครั้งในปีนี้
หลังการเลือกตั้งขั้นต้นเสร็จแล้ว พรรครีพับลิกันและเดโมแครตก็จะมีการประชุมใหญ่ ที่เรียกวา ‘National Convention’ ในเดือนกรกฎาคม 2024 เพื่อให้คณะผู้แทนเลือกตั้งของพรรคนั้น เลือกผู้แทนของพรรคไปชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
อย่างไรก็ดี ระหว่างที่รายชื่อคู่ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการยังไม่เปิดเผย เช่นเดียวกับผลการเลือกตั้ง นักลงทุนควรเตรียมตัวอย่างไร เพื่อปรับพอร์ต เพื่อรับโอกาสทั้งด้านบวกและลบที่กำลังจะเกิดขึ้น
เปิดผลกระทบต่อนโยบายการคลังและเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ตามข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่า ในช่วงปีที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี รัฐบาลสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะใช้นโยบายการคลังแบบผ่อนคลาย เช่น เพิ่มการใช้จ่ายจากภาครัฐ และผ่อนคลายมาตรการจัดเก็บภาษี
โดยหากสิ่งนี้เกิดขึ้นอาจจะกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่มากก็น้อย ซึ่งตามการคำนวณของ Oxford Economics ประเมินว่า ข้อตกลงด้านภาษีอาจจะช่วยกระตุ้น GDP ที่แท้จริงได้ประมาณ 0.1% ในปี 2024 และในปี 2025
จับตาผลกระทบต่อนโยบายการเงิน
เมื่อดูบันทึกทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ปี 1983 พบว่า ในปีที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มักมีความเคลื่อนไหวน้อยลง ‘เล็กน้อย’ ในช่วงหลายเดือนก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดี เมื่อเทียบกับปีที่ไม่มีการเลือกตั้ง ก่อนที่จะค่อยกระตือรือร้นมากขึ้นในช่วงหลายเดือนหลังการเลือกตั้ง
อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์หลายสำนัก รวมถึง UOB และ Oxford Economics ไม่คิดว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2024 จะเป็นอุปสรรคต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed เนื่องจากเจ้าหน้าที่ Fed กล่าวมาโดยตลอดว่า Fed เตรียมจะลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2024 ซึ่งสอดคล้องกับฉากหลังของอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง
โดยทีม Global Economics & Markets Research ของ UOB คาดการณ์ว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ในปี 2024 นี้รวมทั้งหมด 0.75% สอดคล้องกับ Fed Dot Plot โดย UOB คาดว่าการลดดอกเบี้ยครั้งแรก จะเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน ครั้งที่สองจะเกิดในไตรมาสที่สาม และครั้งสุดท้ายน่าจะเกิดขึ้นในไตรมาสที่สี่
ส่องผลกระทบต่อราคาสินทรัพย์
ตามข้อมูลทางสถิติตั้งแต่ช่วงปี 1960-1980 ชี้ให้เห็นว่า ปีที่มีการเลือกตั้งผลตอบแทนของสินทรัพย์ต่างๆ ทั้งหุ้น พันธบัตร และหุ้นกู้ มักให้ผลตอบแทนสูงกว่าปีที่ไม่มีการเลือกตั้งอยู่เล็กน้อย (1-2% ต่อปี) ซึ่งไม่ได้แตกต่างอย่างมี “นัยสำคัญ”
การเลือกตั้งและประเด็นทางการเมืองเป็นเพียงหนึ่งในเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนได้ แต่แน่นอนว่าตลอดเส้นทางการลงทุนของนักลงทุนเราต้องเผชิญกับความเสี่ยงและความผันผวนอยู่เสมอ หลักการสำคัญที่นักลงทุนไม่ควรลืมคือ การกระจายการลงทุนและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่รับได้ ในขณะที่เราแนะนำว่าการลงทุนในช่วงนี้ควรให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินทรัพย์ ทั้งหุ้นและตราสารหนี้ ควรเลือกลงทุนในสินทรัพย์คุณภาพดี ปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง มีกระแสเงินสดที่ดี เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้พอร์ตการลงทุน
ทั้งนี้ นักลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม หรือติดต่อที่ปรึกษาทางการเงิน (Client Advisor) ของ UOB Privilege Banking ได้ที่ โทร. 0 2081 0999 หรือคลิก www.uob.co.th/privilegebanking
อ้างอิง:
- https://www.uobgroup.com/assets/web-resources/research/pdf/MO_240318.pdf
- https://www.oxfordeconomics.com/wp-content/uploads/2024/03/Breaking-out-the-presidential-election-year-playbook.pdf?pi_content=38436ebf58acbfdf6d72b7d02d644c1da1b95fc79cbc896f367037e8aaeb0ea7
- https://www.oxfordeconomics.com/wp-content/uploads/2024/03/US-presidential-election-Much-ado-about-nothing.pdf