×

TACDA ภายใต้สถาบันพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ ชวนเรียนรู้อัตลักษณ์ด้านศิลปกรรมไทยผ่านนิทรรศการ ‘Once Upon A Hair – กาลครั้งหนึ่งของผม’ [ADVERTORIAL]

03.02.2024
  • LOADING...
Once Upon A Hair

HIGHLIGHTS

  • ‘Once Upon A Hair – กาลครั้งหนึ่งของผม’ นิทรรศการที่จะพาคุณไปพบกับ อัตลักษณ์ความเป็นไทย การเปลี่ยนแปลงทางสังคม แนวคิด และความเชื่อที่ถ่ายทอดผ่าน ‘ทรงผม’ ตามความเชื่อที่แตกต่างกันตามยุคสมัย ไปจนถึงพัฒนาการการประกอบสัมมาชีพเกี่ยวกับผมของไทย และผลงานศิลปะร่วมสมัย ซึ่งสอดแทรกแนวคิดและค่านิยมผ่านการตีความของศิลปิน 
  • น่าสนใจเพราะเป็นครั้งแรกของประเทศที่มีนิทรรศการเกี่ยวกับเส้นผม
  • เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันนี้ – 4 กุมภาพันธ์ 2567 ที่เซ็นทรัล ดิ ออริจินัล สโตร์

อยากรู้เรื่องผมมั้ย?  

 

เรื่องของ ‘ผม’ ที่หมายถึง ‘เส้นผม’ ที่งอกออกมาจากหนังศีรษะของเราๆ นี่แหละ ไม่ใช่เรื่องของบุรุษนิรนามท่านใด เพราะเราจะพาคุณย้อนกลับไปยังสมัยสุโขทัยที่ ‘โซงโขดง’ หรือผมทรงเกล้ามวยกลางศีรษะ ตกแต่งด้วยรัดเกล้าหรือพวงมาลัยเป็นที่นิยม ก่อนที่ทรงมหาดไทย ทรงผมดอกกระทุ่ม ทรงผมปีกจะได้รับความนิยมแซงหน้า กว่าจะทันรู้ตัวว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แนวคิด และความเชื่อของไทยได้ถูกหลอมรวมผ่านการเปลี่ยนของ ‘ทรงผม’ และอีกหลายเรื่องของผมที่คุณต้องรู้ผ่าน นิทรรศการ ‘Once Upon A Hair – กาลครั้งหนึ่งของผม’

 

 

“ถ้าทรงผมเกาหลีเป็น Pop Culture ทรงผมของไทยก็เป็นได้เหมือนกัน และถ้าต้องการทำกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองแฟชั่น ต้องหันมาใส่ใจหลายๆ องค์ประกอบนอกเหนือจากเครื่องแต่งกาย ไม่ว่าจะเป็น เครื่องสำอาง เครื่องประดับ ช่างแต่งหน้า และช่างผม” รศ.ดร.น้ำฝน ไล่สัตรูไกล นักออกแบบ นักวิจัย นักบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ และผู้จัดงานนิทรรศการ ‘Once Upon A Hair – กาลครั้งหนึ่งของผม’ เล่าแนวคิดเริ่มต้นจนทำให้เกิดนิทรรศการที่เรื่องของผมกลายเป็นเรื่องที่ทุกคนสนใจ 

 

รศ.ดร.น้ำฝน ไล่สัตรูไกล นักออกแบบ นักวิจัย นักบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์
และผู้จัดงานนิทรรศการ ‘Once Upon A Hair – กาลครั้งหนึ่งของผม’

 

 

น่าสนใจ…เพราะเป็นครั้งแรกของประเทศที่มีนิทรรศการเกี่ยวกับเส้นผม “เคยเห็นครั้งแรกที่ปารีส และคิดว่าที่ไทยไม่เคยมีมาก่อน นิทรรศการนี้ต้องการเผยแพร่ผลงานศิลปะและงานออกแบบไทยให้เป็นที่รู้จัก และเกิดการต่อยอดสู่ผลงานร่วมสมัยผ่านเรื่องราวของศีรษะ เส้นผม และเครื่องประดับผมของไทย” รศ.ดร.น้ำฝนกล่าว  

 

 

‘Once Upon A Hair – กาลครั้งหนึ่งของผม’ จะพาเราย้อนกลับไปทำความรู้จักที่มาของร้านโกน(ตัด)ผมร้านแรกแห่งสยามบนถนนเจริญกรุง นอกจากนี้ยังชวนประหลาดใจกับเครื่องไม้เครื่องมือของช่างยุคก่อน ทั้งร้านตัดผมคุณผู้ชาย ร้านเสริมสวยสำหรับคุณผู้หญิง ตลอดจนพัฒนาการของทรงผม และการเปลี่ยนแปลงไปของทรงผมในสังคมไทยที่ได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ และนวัตกรรม แฟชั่นสมัยใหม่ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ด้านแฟชั่นทรงผม และแฟชั่นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับทรงผม เช่น งานเครื่องประดับ การแต่งกาย การโฆษณา ภาพยนตร์ ที่ได้สร้างมุมมองและการแสดงออกอย่างหลากหลายภายในสังคมไทยมากยิ่งขึ้น

 

เป็นไปได้เราไม่อยากให้คุณพลาดทุกการจัดแสดง แต่ถ้าถามว่าอะไรคือไฮไลต์ที่พลาดไม่ได้จริงๆ ก็คือ โซนจัดแสดงวิกผมโบราณ โดยสถาบันชลาชลและช่างทำผมมืออาชีพ 

 

 

มุมจัดแสดง ‘รัดเกล้าเปลว’ หนึ่งในศิราภรณ์สำหรับแสดงในนาฏศิลป์ไทย จาก มูลนิธินาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก รวมไปถึงงานศิลปะร่วมสมัยที่ผ่านการตีความความงามและสุนทรียะจากทรงผม สอดแทรกแนวคิดและค่านิยมผ่านการตีความโดยศิลปินแถวหน้าของไทย เช่น ศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์, ชลิต นาคพะวัน และอีกหลายท่าน 

 

นิทรรศการนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยที่ TACDA จัดทำภายใต้สถาบันพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ (ธัชชา) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ต้องการทำให้งานวิจัยสามารถจับต้องได้จริงและมีความร่วมสมัยมากขึ้น 

 

 

ซึ่งที่ผ่านมาสมาคมเพื่อการพัฒนาศิลปะและหัตถศิลป์ไทย (TACDA) ได้ส่งเสริมและต่อยอดศิลปหัตถกรรมและภูมิปัญญาไทยในระดับท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักในสังคมเพิ่มมากขึ้น 

 

โดยเริ่มจากทำงานสำรวจสิ่งที่น่าสนใจแต่ละพื้นที่ในจังหวัดนั้น ประเด็นไหนควรนำมาขยายความต่อ แล้วจึงหยิบสิ่งนั้นมานำเสนอ เช่น จังหวัดเพชรบุรี ที่หยิบเอาความงามของเครื่องประดับศีรษะของหัววัวมาสร้างสรรค์เป็นงานศิลปะ 

 

หรือภาคใต้ ได้มองผ่านเรื่องราววิถีชีวิตของคนใต้ที่นิยมเลี้ยงนกเขาหัวจุก ผ่านการนำเสนอด้วยกรงนกรูปแบบต่างๆ ให้เห็นถึงความประณีตและทักษะของช่างฝีมือไทย

 

นิทรรศการคันฉ่องส่องเพ็ชร์ (จังหวัดเพชรบุรี)

 

นิทรรศการร้องรำทำเพลง (จังหวัดนครศรีธรรมราช)

 

ที่ผ่านมา TACDA ได้มีการออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับพิพิธภัณฑ์ เช่น การจัดทำชุดเฉดสีจากวัดราชบพิธฯ สู่การทำผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ ทั้งนี้ สินค้าที่ระลึกประจำนิทรรศการยังเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนรายได้ให้กับพิพิธภัณฑ์อีกด้วย   

 

ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากการถอดชุดเฉดสีจากวัดราชบพิธฯ

 

รศ.ดร.น้ำฝน ไล่สัตรูไกล กล่าวว่า “พิพิธภัณฑ์ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีเยี่ยมสำหรับทุกเพศทุกวัย เปรียบเสมือนห้องสมุดและโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งก็ว่าได้”

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X