ปี 2023 เป็นปีที่การลงทุนเริ่มฟื้นตัวขึ้น ซึ่งก็แตกต่างกันไปในแต่ละตลาด ทั้งนี้ยังมีปัจจัยกดดันอยู่ตลอดทั้งปี ตั้งแต่ภาวะอัตราดอกเบี้ยระดับสูงทั่วโลก ภาวะสงคราม วิกฤตธนาคารในสหรัฐอเมริกาและยุโรป รวมไปถึงความอ่อนแอของภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน ในขณะที่ปัจจัยบวก ทั้งการกำเนิดของ Generative AI เงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง และความคาดหวังถึงการสิ้นสุดวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น ได้ส่งผลให้หลายสินทรัพย์กลับมาฟื้นตัวได้ดี และทำให้บทสรุปของผลตอบแทนสินทรัพย์ลงทุนหลักในปี 2023 ออกมาในหน้าตาที่แตกต่างกัน
จากปัจจัยเชิงบวกและลบที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ผลตอบแทนของสินทรัพย์ลงทุนหลักในปีที่แล้วนั้นแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น หุ้นสหรัฐฯ นำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ดัชนี Nasdaq +43.42%, S&P 500 +24.23% หรือทองคำที่สามารถแตะระดับ New High ใหม่ จากภาวะสงครามและความหวังเรื่องการลดดอกเบี้ย
ในทางกลับกัน สินทรัพย์ลงทุนที่เผชิญแรงกดดันอย่างต่อเนื่องอย่างหุ้นจีนที่ผิดหวังจากการเปิดประเทศ ตลอดจนวิกฤตอสังหาที่ส่งผลให้ตลาดขาดความเชื่อมั่น ทำให้ตลาดหุ้นในหลายประเทศซบเซาตลอดทั้งปี เช่นเดียวกับหุ้นไทยที่เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจซบเซาของจีน และปัจจัยอื่นๆ ในประเทศ เช่น พื้นฐานของบริษัทจดทะเบียน และการเมืองที่ไม่แน่นอน
สำหรับปี 2024 เป็นปีที่จะมีการเลือกตั้งในหลายประเทศ เริ่มกันตั้งแต่การเลือกตั้งไต้หวัน อินเดีย และสหรัฐฯ การเลือกตั้งเหล่านี้จะนำไปสู่คณะผู้นำใหม่ ทำให้เกิดความคาดหวังไปถึงการกำหนดนโยบายระดับประเทศ การกำหนดบทบาท และเป้าหมายระดับประเทศ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วผลของการเปลี่ยนแปลงนี้ก็จะส่งมาถึงโลกของการลงทุนในที่สุด
ภาพ: UOB Global Economics and Markets Research
อย่างไรก็ดี แม้จะมีความไม่แน่นอนรออยู่ แต่การบริหารจัดการการลงทุนของเราก็ไม่ควรต้องหยุดชะงัก แนวคิดหนึ่งที่ทำให้เราไม่พลาดโอกาส อีกทั้งยังสามารถทำได้โดยง่ายก็คือ ‘Stay Invested’ และนี่ก็คือ 3 เหตุผลที่ตอกย้ำว่าแค่ลงทุนอยู่เรื่อยๆ ก็ทำให้เราไม่พลาดโอกาส
1. ความผันผวนของตลาดเป็นเรื่องปกติ
ในเส้นทางการลงทุน นักลงทุนต้องเผชิญกับความผันผวนและความเสี่ยงอยู่เสมอ แม้ว่าการปรับฐานของตลาดอาจดูน่ากลัว แต่ไม่ได้บ่งชี้ถึงการขาดทุนในอนาคตเสมอไป และการทำ Market Timing อาจเป็นเรื่องยากและมีต้นทุนค่าเสียโอกาสที่มากกว่าการ Stay Invested เพราะหากดูผลตอบแทนของตลาดย้อนหลังในระยะยาว แม้ระหว่างทางจะเผชิญปัจจัยกดดัน ผลตอบแทนติดลบ หรือมีการพักฐาน แต่ระยะยาวแล้วหลายๆ สินทรัพย์ยังให้ผลตอบแทนที่ดี ตัวอย่างเช่น ดัชนี S&P 500 ที่แม้จะเผชิญความผันผวนและการปรับฐานจากหลายเหตุการณ์ ทั้ง Global Financial Crisis 2008 หรือโควิด-19 แต่ระยะยาวแล้วยังสามารถทำผลตอบแทนได้ดี
2. ผลตอบแทนที่ดีที่สุดมักเกิดขึ้นเมื่อทุกอย่างอาจดูแย่ที่สุด
วอร์เรน บัฟเฟตต์ เคยกล่าวไว้ว่า “จงกลัวเมื่อตลาดกำลังกล้า และจงกล้าเมื่อตลาดกำลังกลัว”
หลายครั้งที่เข้าลงทุนแล้วให้ผลตอบแทนดีที่สุดในช่วงตลาดหมี (ตลาดที่ประสบกับภาวะตกต่ำอย่างต่อเนื่อง และ/หรือตกต่ำอย่างมาก) ซึ่งเป็นวันที่ตลาดกำลังกลัว “สิ่งที่เราเห็นในอดีตคือ นักลงทุนที่ออกจากตลาดไปแล้วแทบไม่ค่อยกลับมาในเวลาที่เหมาะสม” เพราะโดยทั่วไปแล้วนักลงทุนจะรอข่าวดี และเมื่อถึงเวลานั้นก็จะพลาดช่วงเวลาที่ดีที่สุดของตลาดไป ซึ่งการพลาดจังหวะสำคัญเหล่านั้นสามารถสร้างความแตกต่างที่สำคัญให้กับผลตอบแทนระยะยาวได้
3. การถือเงินสดก็อาจมีความเสี่ยงเช่นกัน
จากภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นในช่วง1-2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและตราสารหนี้ระยะสั้นมีผลตอบแทนเพิ่มสูงขึ้น น่าดึงดูดสำหรับผู้ออมมากขึ้น แต่ผลตอบแทนเหล่านั้นอาจเติบโตไม่ทันกับอัตราเงินเฟ้อในระยะยาว และการถือเงินสดที่มากเกินไปก็อาจทำให้เสียโอกาสสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้
มุมมองของ UOB ในไตรมาส 1 ปี 2024 แนะนำให้ลดสัดส่วนการถือเงินสดลง เพื่อลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดีที่มีระยะยาวขึ้น เพื่อล็อกผลตอบแทนในระดับสูงก่อนที่จะมีการปรับลดดอกเบี้ยในอนาคต โดยสามารถลงทุนในหุ้นกลุ่ม Defensive และหุ้นเติบโตคุณภาพดีได้ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถรอดพ้นการเกิด Recession ได้ และการลดดอกเบี้ยจะทำให้ตลาดฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี
“ในอดีตการผสมผสานระหว่างหุ้นและพันธบัตรที่หลากหลายได้ให้โอกาสที่ดีกว่าในการแซงหน้าอัตราเงินเฟ้อในระยะยาว เมื่อเทียบกับการลงทุนในตราสารระยะสั้น”
เมื่อตระหนักถึงเหตุผลว่าทำไมเราต้องลงทุนในช่วงเวลานี้ เรามาดูกันบ้างว่าเราควรลงทุนกับสินทรัพย์ประเภทไหน กับ
เปิดเทรนด์การลงทุนปี 2024 ที่ไม่ควรพลาด
ปี 2024 เป็นปีที่ดีของ ‘ตราสารหนี้’ ซึ่งมีผลตอบแทนเทียบความเสี่ยงอยู่ในระดับน่าสนใจ การเติบโตทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัว ธนาคารกลางมีโอกาสลดดอกเบี้ย ภาวะเช่นนี้ตราสารหนี้จะได้ประโยชน์ และการลงทุนตอนนี้ยังได้อัตราดอกเบี้ยสูง พร้อมโอกาสได้กำไรจากราคาตราสารหนี้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลตอบแทนรวมจากการลงทุน
แต่ควรลงทุนตราสารหนี้ประเภทไหน?
UOB มีมุมมองบวกต่อตราสารหนี้ Investment Grade ซึ่งจะช่วยปกป้องพอร์ตเมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว และมีกระแสเงินสดสม่ำเสมอ ปัจจุบันตราสารหนี้กลุ่มนี้มีอัตราผลตอบแทน 5-8% ถือเป็นระดับที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับการลงทุนในหุ้นที่ต้องมีความผันผวนมากกว่า เราแนะนำลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง Duration เฉลี่ยที่ 5-8 ปี
สำหรับใน ‘ตลาดหุ้น’ ควรเน้นสร้างพอร์ต Defensive และเลือกลงทุนในหุ้นคุณภาพดี รวมถึงหุ้นปันผล UOB มองว่าตลาดหุ้นโลกยังเผชิญความท้าทายและความเสี่ยงระยะสั้น ก่อนจะดีขึ้นช่วงครึ่งหลังของปี หลังจากธนาคารกลางลดดอกเบี้ยในช่วงแรกของปี ตลาดคาดหวังว่าจะมีการลดดอกเบี้ยที่มากเกินไปซึ่งอาจไม่เกิดขึ้นจริง แต่หากมีการลดดอกเบี้ยรุนแรงอาจเกิดจากเศรษฐกิจชะลอตัวรุนแรงได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นเช่นกัน ทั้งนี้ความเสี่ยงด้านสงครามและการเมืองระหว่างประเทศนั้นยังคงอยู่ ในการลงทุน ผู้ลงทุนควร Stay Defensive เลือกลงทุนหุ้นใหญ่คุณภาพดี เพื่อป้องกันการเกิด Recession ด้วย เช่น ในกลุ่ม Healthcare, Utilities, Consumer Staple และควรกระจายการลงทุน
ทั้งนี้หุ้นที่น่าสนใจอีกกลุ่มยังเป็นหุ้นเอเชีย ที่ให้เงินปันผลระดับสูง กิจกรรมทางธุรกิจก็แข็งแกร่ง การซื้อขายปรับตัวดีขึ้น และประเทศอย่างเกาหลีใต้และไต้หวันก็ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของความต้องการใช้ Tech Hardware ปัจจัยเหล่านี้จะช่วยหนุนเงินทุนไหลเข้าจากต่างชาติ ท้ายที่สุด UOB ยังมีมุมมองบวกในหุ้น ASEAN โดยคาดว่านโยบายการเงินจะยังช่วยหนุน พร้อมทั้งการส่งออกที่ฟื้นตัว และ Valuation น่าสนใจ
ทั้งนี้นักลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม หรือติดต่อที่ปรึกษาทางการเงิน (Client Advisor) ของ UOB Privilege Banking ได้ที่ โทร. 0 2081 0999 หรือคลิก www.uob.co.th/privilegebanking
อ้างอิง:
- https://www.fidelity.com/learning-center/wealth-management-insights/3-reasons-to-stay-invested
- https://www.nasdaq.com/articles/warren-buffetts-top-5-investment-tips-for-2024
- https://www.forbes.com/advisor/investing/top-investing-trends-2024/