×

ทำความรู้จักกองทุนรวม Private Credit ที่มีระยะเวลาการถือครองขั้นต่ำสั้นที่สุด กองแรกในประเทศไทย [ADVERTORIAL]

09.10.2023
  • LOADING...
Private Credit

ท่ามกลางตลาดการลงทุนที่ผันผวน ทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนเพื่อเอาตัวรอดและเพิ่มโอกาสสร้างการเติบโตให้กับเงินลงทุนคือ สินทรัพย์ที่สามารถให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอระหว่างทางและราคาสินทรัพย์ผันผวนน้อย หนึ่งในนั้นคือสิ่งที่เรียกว่า Private Credit 

 

Private Credit คืออะไร?

หากพูดคำว่า Private Credit หลายคนอาจรู้สึกไม่คุ้นเคยนัก จริงๆ แล้ว Private Credit คือตราสารหนี้ประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นเงินปล่อยกู้โดยที่ผู้ให้กู้ไม่ใช่ธนาคารอย่างที่เราคุ้นชิน โดยที่เงินกู้ที่ว่านี้จะตอบสนองวัตถุประสงค์เฉพาะของผู้กู้แต่ละราย และอนุมัติได้เร็วกว่าธนาคาร ขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยของ Private Credit มักจะสูงกว่าธนาคารทั่วไป และมีการเรียกหลักประกันรวมทั้งตั้งเงื่อนไขเฉพาะเพื่อป้องกันความเสี่ยงให้กับผู้ให้กู้

 

สรุปง่ายๆ คือ การลงทุนใน Private Credit เป็นการลงทุนในสินเชื่อที่มีหลักประกันคุณภาพดีเป็นส่วนใหญ่ และช่วยลดความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ตการลงทุน พร้อมให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ 

 

หากมองในมุมของความน่าสนใจสำหรับการลงทุนใน Private Credit สิ่งหนึ่งที่เด่นชัดคือเรื่องของผลตอบแทน จากสถิติในอดีตจะเห็นว่า ‘ผลตอบแทนโดยรวม (Total Return)’ ตั้งแต่ปี 2010-2022 ของ Private Credit เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 10% ต่อปี สูงกว่าตราสารหนี้อื่นๆ เช่น หุ้นกู้ดอกเบี้ยสูง (High Yield Bonds) 5.7%, หุ้นกู้เอกชนระดับลงทุนได้ (Corporate Investment Grade Bonds) 5.5% และพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี (US 10-Year Treasury) 4.0%

 

นอกจากนี้ ความผันผวนของ Private Credit ยังต่ำกว่าตราสารหนี้อื่น ที่ผ่านมาอยู่ที่ราว 2.9% ส่วนตราสารหนี้อื่นมีความผันผวนอยู่ในช่วง 5.2-7.4% ขณะเดียวกันยังมีโอกาสสร้างรายรับอย่างสม่ำเสมอ โดยช่วงปี 2560-2564 ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยรับเฉลี่ยอยู่ที่ 10% ต่อปี 

 

โดยหลักการของการลงทุนใน Private Credit นักลงทุนจะใส่เงินลงทุนไปยังกองทุน Private Credit ก่อนที่กองทุนจะนำเงินทุนที่รวบรวมมาได้ไปปล่อยกู้ให้กับบริษัทขนาดกลางถึงขนาดเล็ก ซึ่งส่วนมากเป็นบริษัทในสหรัฐฯ และกองทุนจะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย ซึ่งจะส่งผ่านไปยังนักลงทุนอีกทอดหนึ่ง

 

Private Credit

 

นักลงทุนไทยจะลงทุนใน Private Credit ได้อย่างไร?

ในอดีตกองทุนที่เน้นลงทุนใน Private Credit ที่ยังมีไม่มากในไทย ก่อนที่ บลจ.แอสเซท พลัส จะเริ่มเปิดขายกองทุนเปิด แอสเซทพลัส สตราทีจิค เครดิต ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (Asset Plus Strategic Credit Fund Not for Retail Investors หรือ ASP-SC-UI) โดยจะเสนอขายเป็นครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 5-18 ตุลาคม 2566 ถือเป็นกองทุนแรกในไทยที่ลงทุนใน Private Credit ที่มีระยะเวลาการถือครองขั้นต่ำสั้นที่สุด 

 

นอกจากจุดเด่นที่กล่าวมาข้างต้น กองทุน Private Credit นี้ยังมีหน่วยลงทุนชนิดรับซื้อคืนอัตโนมัติ (ASP-SC-UI-R) ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการรับผลตอบแทนจากการขายคืนหน่วยลงทุนเป็นงวดๆ แต่ไม่เกินปีละ 12 ครั้ง

 

หน่วยลงทุนแบบซื้อคืนอัตโนมัติคล้ายกับการได้รับเงินปันผล แต่ต่างกันที่เงินคืนดังกล่าวมาจากการขายหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติเพื่อจ่ายให้กับผู้ลงทุน โดยบริษัทจะประกาศวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ และวันชำระเงินค่ารับซื้อคืนให้ทราบผ่านเว็บไซต์ของบริษัทจัดการและ/หรือผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี)

 

อย่างไรก็ตาม กองทุน Private Credit ยังมีข้อจำกัดและความเสี่ยงอยู่บางประการ เช่น ไม่สามารถขายให้นักลงทุนทั่วไปในตลาดรอง สภาพคล่องที่ค่อนข้างต่ำ รวมทั้งความเสี่ยงด้านการผิดนัดชำระหนี้ 

 

ทั้งนี้ กองทุน Private Credit ของ บลจ.แอสเซท พลัส ที่กำลังจะเปิดขายนี้มีมูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท จะเสนอขายให้กับนักลงทุนสถาบันรายใหญ่ โดยกำหนดมูลค่าจองซื้อขั้นต่ำครั้งแรก 500,000 บาท ครั้งถัดไป 100,000 บาท

 

Private Credit

 

จุดเด่นของกองทุน ASP-SC-UI

กองทุนรวม ASP-SC-UI ที่จะเสนอขายเป็นครั้งแรกนี้ เป็นกองทุนรวมประเภท Feeder Fund หรือกองทุนที่นำเงินไปลงทุนผ่านกองทุนรวมอื่นอีกทอดหนึ่ง โดยเน้นลงทุนในกองทุน Oaktree Strategic Credit iCapital Access Fund SPC (กองทุนหลัก) 

 

Oaktree Capital Management เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญการลงทุนด้านเครดิตมานานกว่า 30 ปี ปัจจุบันมีมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการสูงกว่า 1.79 แสนล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 6 ล้านล้านบาท) ณ เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดย 73% ของสินทรัพย์ดังกล่าวเป็นการลงทุนใน Credit 

 

หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อของ Oaktree มาบ้างก่อนหน้านี้ ในฐานะบริษัทจัดการลงทุนที่ก่อตั้งโดย Howard Marks ที่สร้างชื่อเสียงจากการลงทุนใน Distressed Credit ในช่วงวิกฤตซับไพรม์ ปี 2551

 

ในปีนั้น Howard Marks เขียนจดหมายบอกนักลงทุนว่าเป็นโอกาสที่ดีในการลงทุนในหนี้สินด้อยคุณภาพ (Distressed Credit) ทำให้เขาจัดตั้งกองทุน The OCM Opportunities Fund VIIb มูลค่าราว 10,900 ล้านดอลลาร์ (หรือประมาณกว่า 4 แสนล้านบาท) เพื่อลงทุนในหนี้สินด้อยคุณภาพ และกองทุนได้สร้างอัตราผลตอบแทนสูงถึง 20% ต่อปี ระหว่างปี 2551-2555

 

มากไปกว่านั้น Howard Marks ยังเป็นนักลงทุนที่ได้รับการยอมรับจากนักลงทุนระดับโลกอย่าง Warren Buffet ในฐานะนักลงทุนที่มีปรัชญาการลงทุนแบบเน้นคุณค่า และมีความสามารถในการวิเคราะห์และวางกลยุทธ์ในการลงทุนด้วยปัจจัยพื้นฐาน หลักจิตวิทยาตลาด และสถิติความน่าจะเป็นที่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ เพื่อใช้จับจังหวะในการลงทุน

 

Buffet เคยกล่าวถึง Marks ไว้ว่า “เมื่อผมเห็นบทความจาก Howard Marks ในอีเมล นั่นเป็นสิ่งแรกที่ผมเปิดอ่าน และผมจะได้เรียนรู้บางอย่างเสมอ”​

 

Howard Marks

Howard Marks

 

จุดเด่นของ Oaktree Capital Management คือ ‘กระบวนการคัดเลือกหลักทรัพย์อย่างเข้มข้น’ ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน อย่างในปี 2022 กองทุนพิจารณาโอกาสลงทุนมากกว่า 850 บริษัท โดยมีเพียง 15% เท่านั้นที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก จากการวิเคราะห์และการประเมินความเป็นไปได้ทางธุรกิจ (Due Diligence) และมีเพียง 5% ของบริษัททั้งหมด ที่ Oaktree เลือกลงทุนจริง 

 

หลังจากกองทุน Oaktree Strategic Credit Fund จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2565 อัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 5.54% โดยพอร์ตลงทุนของกองทุนในปัจจุบันแบ่งเป็น Private Credit 54% ด้าน Senior Loan 39% และอื่นๆ ในส่วนที่เหลือ โดยสินทรัพย์ที่ลงทุนทั้งหมดนี้มีสัดส่วนอยู่ในสหรัฐฯ 85% 

 

ด้วยจุดเด่นในเรื่องของความผันผวนที่ต่ำ และผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ ทำให้การลงทุนใน Private Credit เป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการสร้างสมดุลให้กับพอร์ตลงทุน

 

ผู้ลงทุน “โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน” และโปรดขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากบริษัทจัดการก่อนทำการลงทุน ‘การลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน จะมีความแตกต่างจากการลงทุนหรือใช้บริการผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนทั่วไป’ 

 

กองทุนนี้ไม่ถูกจำกัดความเสี่ยงด้านการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมทั่วไป จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่รับผลขาดทุนระดับสูงได้เท่านั้น กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X