×

3M ออกดัชนีสถานะวิทยาศาสตร์ไทย พบว่า คนไทยกว่า 9 ใน 10 เชื่อมั่นว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมและชีวิตจะดีขึ้นเมื่อใช้วิทยาศาสตร์เข้าช่วย

โดย THE STANDARD TEAM
05.07.2023
  • LOADING...

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566 ‘3เอ็ม’ ในฐานะองค์กรวิทยาศาสตร์ระดับโลก ได้เผยผลสำรวจดัชนีสถานะวิทยาศาสตร์ประจำปี 2566 (3M State of Science Index 2023 – SOSI 2023) ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อสำรวจความคิดเห็นและทัศนคติของผู้บริโภคเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ รวมทั้งผลกระทบของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อโลก ซึ่งข้อมูลที่ได้จากดัชนีสถานะวิทยาศาสตร์ประจำปี 2566 จะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถคาดการณ์ถึงความท้าทายในอนาคตและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อแก้ไขหรือช่วยบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความท้าทายเหล่านั้นได้

 

Ms Wiyada Srinaganand

วิยะดา ศรีนาคนันทน์ ประธานบริหาร บริษัท 3เอ็ม ประเทศไทย จำกัด


วิยะดา ศรีนาคนันทน์ ประธานบริหาร บริษัท 3เอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวถึงการจัดทำแบบสำรวจดัชนีสถานะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยว่า “เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้สำรวจดัชนีสถานะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ประจำปี 2566 ซึ่งคนไทยกว่า 91% เชื่อว่า ผลลัพธ์ในเชิงบวกจะเกิดขึ้นได้หากมีการผนึกกำลังในการนำวิทยาศาสตร์มาใช้แก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาระบบสาธารณสุข และการเกษตรที่ยั่งยืน ซึ่งข้อมูลเชิงลึกจากผลการสำรวจนี้จะช่วยให้เราสามารถขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อผู้คน ธุรกิจ และสังคมในวงกว้าง”

 

คนส่วนใหญ่เห็นความสำคัญของ STEM (STEM: วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์) แต่การส่งเสริมการศึกษาและงานยังต้องพัฒนามากกว่านี้

 

ข้อมูลจากผลสำรวจดัชนีสถานะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ประจำปี 2566 ระบุว่า 86% ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยเชื่อว่า วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มที่เปราะบางที่สุดของโลก ซึ่งหมายถึงกลุ่มคนที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษจากครอบครัว เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการ เป็นต้น และ 88% (เทียบกับ 84% ในระดับโลก) ต้องการทราบว่า นักวิทยาศาสตร์มีมุมมองอย่างไรต่อปัญหาทางด้านสังคม

 

91% ของคนไทย (เทียบกับ 94% ในระดับโลก) เชื่อว่า แนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์สามารถนำมาใช้แก้ไขปัญหาเพื่อสร้างผลลัพธ์เชิงบวกกับสังคมได้ ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาระบบสาธารณสุขและการเกษตรที่ยั่งยืน ยิ่งไปกว่านั้น 89% เชื่อว่า โรงเรียนควรกำหนดให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรวิทยาศาสตร์ที่สอนแก่นักเรียน พร้อมทั้งสนับสนุนให้เยาวชนรุ่นต่อไปมีความตระหนักรู้และมีส่วนร่วมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตั้งแต่วัยเด็ก

 

การรับรู้ถึงความสำคัญทางด้าน STEM เป็นสิ่งที่ผู้คนมีความเห็นตรงกัน โดย 89% ของคนไทยเห็นว่า ผู้เชี่ยวชาญด้าน STEM จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ของอนาคตได้ แต่อุปสรรคยังอยู่ที่แรงงานจำนวนมากไม่ได้รับโอกาสแม้จะมีศักยภาพก็ตาม จากผลสำรวจชาวไทยเห็นว่า ในปัจจุบันมีแรงงานที่มีศักยภาพแต่ยังไม่ได้รับโอกาสซ่อนอยู่ในกลุ่มแรงงานสาขา STEM ถึง 87% (เทียบกับ 82% ในระดับโลก) และ 79% (เทียบกับ 86% ในระดับโลก) ของคนไทยเห็นว่า ผู้หญิงไม่ได้นำศักยภาพด้าน STEM ของตนออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งหากกลุ่มคนเหล่านี้ได้รับโอกาส ก็จะกลายเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

 

นอกจากนี้ 86% ของคนไทยเห็นว่าจะต้องมีการดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนกลุ่มด้อยโอกาสสามารถมีส่วนร่วมในการศึกษาในสาขา STEM ได้เพิ่มมากขึ้น โดยที่ 89% (เทียบกับ 78% ในระดับโลก) กล่าวว่า กลุ่มด้อยโอกาสมักขาดการเข้าถึงการศึกษาในสาขา STEM อย่างเท่าเทียม

 

จากปัญหาดังกล่าวและความสำคัญของการบ่มเพาะนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ที่บริษัทเล็งเห็น 3เอ็ม จึงได้เดินหน้าส่งเสริมโครงการที่เกี่ยวกับการศึกษาในสาขา STEM ในประเทศไทย เช่น การจัดค่ายวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก ประจำปี 2566 กิจกรรม 3M Tech Talks สำหรับนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่หลากหลายและเท่าเทียม และในปีนี้เช่นกัน

 

นอกจากนี้บริษัทยังได้มอบทุนเพื่อสนับสนุนศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในการสร้างห้องสมุดและห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ รวมถึงอุปกรณ์การเรียนต่างๆ สำหรับนักเรียนประมาณ 300 คนที่เกือบทั้งหมดเป็นเด็กไร้สัญชาติ เพื่อการเข้าถึงการศึกษาที่เท่าเทียมและสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนเลือกศึกษาในสาขา STEM มากขึ้น


แรงงานฝีมือที่มีทักษะเฉพาะทางเสี่ยงขาดแคลน 3เอ็ม แนะเปลี่ยนทัศนคติต่ออาชีพนี้ใหม่


อีกสิ่งที่ต้องให้การสนับสนุนคือ ความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการให้โอกาสแก่ทุกคน (Diversity, Equity & Inclusion หรือ DE&I) มากขึ้น ไม่ใช่เฉพาะในสาขา STEM เท่านั้น แต่ยังรวมถึงกลุ่มแรงงานฝีมือและภาคส่วนอื่นๆ อีกด้วย โดย 91% เชื่อว่า เราจะต้องเพิ่ม DE&I ในกลุ่มแรงงานฝีมือ และ 90% (เทียบกับ 88% ในระดับโลก) เชื่อว่า เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเพิ่มเรื่อง DE&I ในสาขาการบริการด้านสุขภาพด้วย

 

ผลการสำรวจแสดงว่า 90% ของคนไทย (เทียบกับ 93% ในระดับโลก) เห็นว่า ประเทศไทยมีความต้องการแรงงานฝีมือเพิ่มขึ้นอย่างเร่งด่วน ซึ่งการขาดแคลนนี้อาจเป็นผลมากจากมุมมองของสังคมที่มีต่อแรงงานฝีมือ โดย 71% (เทียบกับ 56% ในระดับโลก) เชื่อว่า สังคมมีทัศนคติเชิงลบต่อกลุ่มแรงงานฝีมือ เช่น ช่างอุตสาหการ ช่างเครื่องกล และช่างไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับ 68% ของผู้ตอบแบบสำรวจ (เทียบกับ 58% ในระดับโลก) ที่เห็นว่า ผู้ปกครองมักไม่ส่งเสริมให้ลูกหลานของตนเลือกศึกษาในวิชาชีพทางด้านงานฝีมือ

 

ผู้ตอบแบบสำรวจ 89% เห็นว่า หากประเทศไทยไม่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานกลุ่มนี้ได้อย่างทันท่วงที จะทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต และความเสี่ยงด้านความปลอดภัย งานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภคขาดแรงงานที่มีทักษะเฉพาะทางมาดำเนินการ และเสี่ยงทำให้เกิดปัญหาความท้าทายต่อห่วงโซ่อุปทาน

 

เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น 3เอ็ม จึงได้ตั้งเป้าหมายที่มุ่งเน้นด้านการศึกษาในทั่วโลก เพื่อพัฒนาความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจด้วยการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้าน STEM และการพัฒนาทักษะด้านแรงงานฝีมือให้แก่กลุ่มผู้ด้อยโอกาสด้วยการจัดกิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้จำนวน 5 ล้านกิจกรรมภายในสิ้นปี 2568


องค์การสหประชาชาติเผย ประเทศกำลังพัฒนาเสี่ยงโดนผลกระทบจากปัญหาโลกร้อนมากที่สุด

 

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติประจำเมืองวิสคอนซินได้คาดการณ์ว่า อุณหภูมิทั่วโลกอาจสูงขึ้นมากกว่า 1.5 องศาเซลเซียสภายในปี 2593 ทำให้แนวทางเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีความจำเป็นอย่างมาก ซึ่งองค์การสหประชาชาติยังได้ออกมาเตือนว่า ประเทศที่กำลังพัฒนาเป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบทางสุขภาพที่เกิดจากสภาวะโลกร้อนมากที่สุด สำหรับประเทศไทยผู้คน 73% มีความกังวลว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติจะทวีรุนแรงขึ้น ในขณะที่ 70% กังวลเรื่องปัญหามลพิษทางอากาศ และ 69% กังวลเรื่องมลพิษพลาสติก

 

ข้อมูลเพิ่มเติมจากผลสำรวจดัชนีสถานะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2566 มีความสอดคล้องกับมุมมองทั่วไปของผู้คนกว่า 92% ที่กล่าวว่า พวกเขากังวลเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งคำตอบของการบรรเทาผลกระทบเหล่านี้ได้คือการพึ่งพาวิทยาศาสตร์ เพราะ 89% เชื่อว่า วิทยาศาสตร์จะสามารถช่วยบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้

 

การดำเนินการและนวัตกรรมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเป็นที่ต้องการอย่างเร่งด่วน ตามรายงานล่าสุดของ WMO ชี้ให้เห็นว่า อุณหภูมิของโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ภายใน 5 ปีข้างหน้า ส่งผลให้ความรับผิดชอบในการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ตกเป็นของภาคธุรกิจและประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดย 89% เห็นว่า บริษัทต่างๆ ต้องเร่งการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ในขณะที่ 88% (เทียบกับ 90% ในระดับโลก) เห็นด้วยว่า เราควรนำวิทยาศาสตร์มาทำให้โลกเกิดความยั่งยืนมากขึ้น

 

รถยนต์ไฟฟ้าจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน

 

ผลสำรวจยังพบว่า คนไทยกว่า 95% (เทียบกับ 94% ในระดับโลก) เชื่อมั่นในนวัตกรรมทางด้านการขนส่งว่ามีความปลอดภัย ซึ่งรวมไปถึงระบบขนส่งสาธารณะที่ใช้พลังงานไฟฟ้าด้วย ส่วน 94% (เทียบกับ 88% ในระดับโลก) เชื่อว่า ปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถปรับปรุงพฤติกรรมการขับขี่ให้ดีขึ้นได้

 

ในขณะที่การใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าเริ่มแพร่หลายมากขึ้นทั้งในภูมิภาคและโลก คนไทยกว่า 91% กล่าวว่า รถยนต์ไฟฟ้าจะสามารถช่วยลดมลพิษได้ อีกทั้งยังเชื่อว่า การเปลี่ยนผ่านไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าจะเกิดขึ้นทั่วโลก โดย 88% (เทียบกับ 77% ในระดับโลก) กล่าวว่า ภายในปี 2575 ประเทศต่างๆ จะต้องการให้รถยนต์ที่ผลิตขึ้นใหม่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าหรือรถยนต์ไฮบริด

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising