×

ทางเลือกหรือทางรอด? เหตุใดอินเดียยอมทุ่มเงินมหาศาลให้ผู้ผลิตแบตเตอรี่และไฮโดรเจน เพื่อดันให้เป็นแหล่งพลังงานหลักที่ใหญ่ที่สุดในโลก

28.06.2023
  • LOADING...
india

รัฐบาลอินเดียกระเป๋าหนัก! ทุ่มเม็ดเงินมูลค่า 2.6 แสนล้านรูปี (หรือ 2.6 พันล้านดอลลาร์) ให้กับบริษัทที่ผลิตแบตเตอรี่กักเก็บไฟฟ้า และประกาศสร้างระบบนิเวศจากไฮโดรเจนที่ใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมกระตุ้นให้บริษัทถ่านหินรายใหญ่เปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาด เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ แม้แต่ โกตัม อดานี ประธาน Adani Group ยักษ์พลังงานอินเดียผู้ร่ำรวยที่สุดในเอเชีย และ Total จากฝรั่งเศส ก็พร้อมขยับพอร์ตลงทุนถ่านหินสู่ไฮโดรเจน ทุ่มกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์ 

 

หลังจากที่ นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย กำหนดเป้าหมายกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียน 500 กิกะวัตต์ภายในสิ้นทศวรรษนี้ เพื่อลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน ก็ทำให้ ณ เวลานี้อินเดียกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราเร่งในการผลิตพลังงานสะอาดที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ซึ่งต้องยอมรับว่าหนึ่งในปัจจัยความสำเร็จมาจากการทุ่มเม็ดเงินมหาศาลทั้งจากรัฐบาลและเอกชน เพื่อปรับเเละเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาดทุกรูปแบบ รวมถึงไฮโดรเจนที่กำลังเป็นเทรนด์ใหม่พลังงานโลก

 

สำนักข่าว Financial Time รายงานว่า รัฐบาลอินเดียนำโดย นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรี และกระทรวงพลังงานอินเดีย เตรียมทุ่มงบประมาณเพื่อสนับสนุนผู้ผลิตแบตเตอรี่สำหรับไฟฟ้า (กริด) ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการจัดเก็บไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้มีเสถียรภาพ และรองรับความมั่นคงจากพลังงานแสงอาทิตย์และลมที่อาจไม่เสถียรตลอดทั้งวัน 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 


 

โดยแบตเตอรี่กักเก็บนี้จะแตกต่างกับแหล่งจ่ายไฟปกติที่ผลิตโดยโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่รัฐบาลพยายามปลี่ยนจากการใช้ถ่านหินเชื้อเพลิงฟอสซิลที่คิดเป็น 3 ใน 4 ของการผลิตไฟฟ้าของประเทศในปัจจุบัน ให้ปรับสู่การใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น

 

โดยกระทรวงพลังงานของอินเดียอยู่ระหว่างการหารืองบประมาณมูลค่า 2.6 แสนล้านรูปี (2.6 พันล้านดอลลาร์) ตั้งแต่ปีนี้จนถึงปี 2030 เพื่อให้แต่ละบริษัทรายใหญ่ปรับตั้งระบบการผลิตสำหรับเซลล์จากแบตเตอรี่ตามเป้าหมายให้ถึง 50 กิกะวัตต์ชั่วโมง 

 

แหล่งข่าวระบุอีกว่า อินเดียมุ่งสู่การผลิตแบตเตอรี่กริดไฟฟ้าในประเทศมากขึ้น ไม่ใช่แค่เพื่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการลดการพึ่งพาการนำเข้าแบตเตอรี่จากคู่แข่งอย่างจีนด้วย

 

“อย่างน้อย 90% ของมูลค่าจากนี้จะต้องสร้างขึ้นในประเทศ และจากนี้อินเดียต้องมุ่งจัดหาแพล่งพลังงานจากเทคโนโลยีในประเทศให้มากกว่าการนำเข้า

 

“หากอินเดียไม่ดำเนินการเร่งด่วนเพื่อกำหนดกำลังการผลิตระบบ Battery Energy Storage System (BESS) หรือระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ที่สามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้ากลับเข้าระบบได้ เราอาจต้องนำเข้าแบตเตอรี่จำนวนมากจากจีน”

 

ราชกุมาร สิงห์ รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและพลังงานหมุนเวียนของอินเดีย กล่าวว่า รัฐบาลจำเป็นต้องทุ่มเงินอุดหนุนมากขึ้น เพื่อสนับสนุนการผลิตแบตเตอรี่สำหรับโครงข่ายไฟฟ้า เนื่องจากความต้องการพื้นที่จัดเก็บของเราจะต้องมีขนาดใหญ่ และสำหรับนักลงทุนอินเดียจะเป็นตลาดที่น่าสนใจที่สุดสำหรับพลังงานหมุนเวียนในโลก ซึ่งรวมถึงการจัดเก็บแบตเตอรี่ด้วย

 

นอกจากนี้อินเดียได้ดำเนินโครงการเงินอุดหนุนหลายโครงการ เพื่อส่งเสริมการผลิตในประเทศในอุตสาหกรรมเชิงกลยุทธ์ เช่น แผงโซลาร์เซลล์จากแสงอาทิตย์และเซมิคอนดักเตอร์ การจัดเก็บแบตเตอรี่เซลล์เคมีขั้นสูง และยานยนต์ไฟฟ้า (EV) 

 

‘ไฮโดรเจน’ ความหวังอันยิ่งใหญ่ของอินเดีย

 

ขณะเดียวกันอินเดียยังมุ่งไปสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานจากไฮโดรเจนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นเชื้อเพลิงจากพลังงานสะอาด ที่ล่าสุดอินเดียเป็นหนึ่งในผู้เล่นรายใหญ่ของโลก ช่วงต้นปีที่ผ่านมารัฐบาลได้อนุมัติแพ็กเกจเงินช่วยเหลือมูลค่า 2.4 พันล้านดอลลาร์ เพื่อเปลี่ยนบริษัทต่างๆให้เป็นผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ส่งออกก๊าซชั้นนำ มุ่งสู่การพัฒนาพลังงานไฮโดรเจน

 

โดยบรรดาบริษัทรายใหญ่อินเดียมองว่า ไฮโดรเจนจะเป็นโอกาสใหม่ แม้แต่ Adani Group ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทพลังงานอินเดีย ก็กำลังเปลี่ยนการลงทุนถ่านหินไปสู่พลังงานสะอาดอย่างไฮโดรเจน โดยอดานี เศรษฐีรายใหญ่ของอินเดียผู้ร่ำรวยที่สุดในเอเชีย พร้อมด้วย Total จากฝรั่งเศส ก็วางแผนที่จะลงทุน 5 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อสร้างระบบนิเวศไฮโดรเจนสีเขียวที่ใหญ่ที่สุดในโลกในทศวรรษหน้า

 

รวมไปถึง Reliance Industries กลุ่มธุรกิจน้ำมันเป็นเคมีของ มูเกช อัมบานี ซึ่งเป็นคู่แข่ง กล่าวว่า จะเปลี่ยนเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นไฮโดรเจนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายในปี 2025 ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการยกเครื่องพลังงานสะอาดด้วยการทุ่มงบลงทุนมูลค่า 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์อีกด้วย

 

นอกจากนี้บริษัทพลังงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็น NTPC ไปจนถึง Indian Oil Corporation ก็วางแผนที่จะพัฒนาไฮโดรเจนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกัน โดย ประภัต กุมาร เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ ได้ประกาศไว้ว่า ไฮโดรเจนจะกลายเป็นแหล่งพลังงานหลักในอนาคตของอินเดีย

 

อนาคตต้องจับตาต่อไปว่า เดิมทีอินเดียพึ่งพาพลังงานนำเข้า เช่น น้ำมันดิบของรัสเซีย จีน หรือก๊าซในตะวันออกกลาง มาอย่างยาวนาน การมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานหมุนเวียนของรัฐบาลจะสำเร็จตามเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าหมุนเวียน 500 กิกะวัตต์ภายในปี 2030 หรือไม่

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X