ชาวจีนจะเลือกซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยที่ไหน? กูรูชี้การใช้จ่ายทั้งในจีนและต่างประเทศอาจอยู่ในสัดส่วนเท่ากัน แนะจับตามณฑลไหหลำ เขตปลอดภาษีสินค้าหรูราคาถูกเริ่มดึงดูดนักช้อป ด้าน Louis Vuitton-Coach เร่งเพิ่มประสบการณ์ช้อปให้ลูกค้าวีไอพี
นักวิเคราะห์กล่าวว่า หลังจากจีนเปิดประเทศ คาดว่าจะส่งผลให้ตลาดสินค้าหรูกลับมาฟื้นตัวในเดือนมกราคม 2023 เห็นได้จากความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นกลุ่มแบรนด์หรูระดับโลกพุ่งขึ้น หลังจากปักกิ่งประกาศคลายข้อจำกัดการเดินทางตั้งแต่วันที่ 8 มกราคมเป็นต้นไป ทำให้นักท่องเที่ยวชาวจีนเตรียมเดินทางออกไปช้อปปิ้งในต่างประเทศ โดยเฉพาะฝรั่งเศสและญี่ปุ่น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- ‘ตรุษจีน’ นี้ ชาวจีนเตรียมออกเที่ยวต่างแดนเพิ่มขึ้น 5 เท่า McKinsey คาดนักท่องเที่ยวจีนขาออก 6 ล้านรายต่อเดือนในปีนี้
- ผลสำรวจพบชาวจีนกว่า 60% หวั่นโควิดระบาดหนัก เลี่ยงออกไปจับจ่ายนอกบ้าน แม้ภาครัฐผ่อนคลายมาตรการแล้วก็ตาม
- สุดอั้น! ชาวฟิลิปปินส์แห่ช้อปสินค้าหรู ด้านแบรนด์เร่งทำตลาดดักกำลังซื้อ ขณะที่ ‘SSI’ มองสวน เหตุกังวลเงินเฟ้อ-เศรษฐกิจถดถอย
ทั้งนี้ ตลาดจะเติบโตมากน้อยแค่ไหนนั้นต้องประเมินสภาพตลาดอีกครั้ง เนื่องจากในช่วงโควิดตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคชาวจีนมีพฤติกรรมระมัดระวังการจับจ่ายสินค้าไฮเอนด์มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งถ้าเทียบกับช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ชาวจีนซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยมากถึง 70% ในตลาดต่างประเทศ
ขณะที่บรรดาแบรนด์หรู เริ่มตั้งแต่ Louis Vuitton และ Coach ได้ลงทุนเพิ่มประสบการณ์การช้อปปิ้งเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กับลูกค้าวีไอพี โดยเฉพาะลูกค้าชาวจีน ควบคู่กับการจัดงานแฟชั่นโชว์ขนาดใหญ่ และหากย้อนกลับไปในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แบรนด์หรูดังกล่าวมีการเติบโตขึ้น 2 เท่าตัวในจีน
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์เตือนว่า จำนวนนักท่องเที่ยวจีนอาจยังไม่มากเท่ากับช่วงก่อนโควิด เนื่องจากสายการบินต่างๆ ยังไม่สามารถกลับมาเปิดให้บริการได้อย่างเต็มรูปแบบ
ตามรายงานของ Bain & Co ระบุว่า ในช่วงปี 2019-2021 ภาครัฐมีมาตรการควบคุมโควิด ทำให้ยอดขายสินค้าฟุ่มเฟือยในจีนเพิ่มขึ้น 2 เท่า โดยมีมูลค่าตลาดกว่า 6.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ส่วนแบ่งการซื้อสินค้าของชาวจีนในตลาดโลกกลับลดลงเหลือเพียง 21%
Jonathan Yan หัวหน้าที่ปรึกษา Roland Berger ในเซี่ยงไฮ้ กล่าวว่า การใช้จ่ายของชาวจีนส่วนหนึ่งอยู่ภายในประเทศ และยังไม่มั่นใจว่าจะชาวจีนจะใช้จ่ายในต่างประเทศมากน้อยแค่ไหน หรืออาจจะอยู่ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน
ด้านผลวิจัยที่จัดทำโดย Oliver Wyman บริษัทที่ปรึกษาในฮ่องกง พบว่า ผู้ซื้อสินค้าหรูสามารถรับรู้ความแตกต่างระหว่างการช้อปปิ้งสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ และยังมองเห็นพฤติกรรมซื้อสินค้า โดยคนจีนบางกลุ่มต้องการให้ฝ่ายขายช่วยแนะนำสินค้า 70% ขณะที่ 40% สื่อสารกับพนักงานขายอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่มีข้อจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ และนโยบายท้องถิ่นของจีนต้องการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ และยังผลักดันให้ผู้บริโภคจำนวนมากเดินทางไปช้อปปิ้งสินค้าหรูที่มณฑลไหหลำ ซึ่งถือเป็นเขตปลอดภาษีสินค้า
โดยในปี 2021 มูลค่าการจับจ่ายในมณฑลไหหลำคิดเป็น 13% ของการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยในประเทศจีน ถ้าเทียบกับช่วงก่อนโควิดมีสัดส่วนเพียง 6% ประกอบกับกฎระเบียบด้านภาษีถูกกำหนดให้ผ่อนปรนต่อไป ภายในปี 2025 ซึ่งแบรนด์สินค้าหรูจะสามารถดำเนินการขายแบบปลอดภาษีได้
ทั้งนี้การเติบโตของการค้าปลีกในมณฑลไหหลำ รวมถึงการเคลื่อนไหวของปักกิ่งในการลดภาษีนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย จะสามารถดึงดูดการจับจ่ายซื้อของจากนักช้อปที่มีความต้องการสินค้าราคาเข้าถึงง่ายเพิ่มขึ้น
ภาพ: Getty Images
อ้างอิง: