มาร์เซล ไธเลียนต์ นักเศรษฐศาสตร์ญี่ปุ่นอาวุโสจาก Capital Economics กล่าวในรายการ Squawk Box Asia ของสถานีโทรทัศน์ CNBC ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นน่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้า โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการส่งออกที่ลดลง
ล่าสุดทางการญี่ปุ่นรายงานว่า ขาดดุลการค้าถึง 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนตุลาคม มากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ เนื่องจากการส่งออกโตเพียง 25.3% จากปีก่อน ชะลอตัวจาก 28.9% ในเดือนกันยายน ขณะที่การนำเข้าในเดือนตุลาคมพุ่งขึ้นถึง 53.5% จากปีก่อนที่ 45% ในเดือนก่อนหน้า
ทั้งนี้ ญี่ปุ่นมีกำหนดรายงานข้อมูลการค้าเดือนพฤศจิกายนในวันที่ 15 ธันวาคม และมีกำหนดการเผยแพร่ GDP ไตรมาสที่ 3 ฉบับปรับปรุงในวันพฤหัสบดี (8 ธันวาคม) ขณะที่ Reuters Poll แสดงให้เห็นว่า นักวิเคราะห์ประเมินว่า GDP ญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 3 น่าจะหดตัว 1.1% ในอัตรารายปี
ไธเลียนต์กล่าวอีกว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีแนวโน้มที่จะรักษาจุดยืนนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษต่อไป และจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแม้เศรษฐกิจจะหดตัว เนื่องจาก BOJ ระบุว่า ต้องการเห็นอัตราเงินเฟ้อที่ยั่งยืน ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่เห็นอยู่ตอนนี้ไม่ยั่งยืน
ขณะเดียวกันมีรายงานว่า ฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น ได้ปัดความเป็นไปได้ในการทบทวนจุดยืนปัจจุบันของ BOJ แม้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นในเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ 3.6% สูงสุดในรอบ 40 ปี และสูงกว่าเป้าหมายของ BOJ ที่ 2%
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- ต้องรีบซื้อตุน? เหตุยุค ‘เงินเยน’ อ่อนค่าอาจจบแล้ว! หลังเงินเฟ้อสหรัฐฯ แผ่วกว่าคาด ดึงดอลลาร์อ่อน
- ราคาห้องพักและโรงแรมใน ญี่ปุ่น พุ่งขึ้นแล้ว 10-20% จากนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวและเงินเฟ้อ
- ญี่ปุ่นจ๋าพี่มาแล้ว! นี่คือ 5 เซอร์ไพรส์เล็กๆ จากญี่ปุ่นที่เปิดประตูต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง
อ้างอิง: