×

อ่านสัญญาณ ‘ตลาดหุ้นจีน’ ปรับฐานเพื่อ ‘ย่อต่อหรือจ่อเด้ง’

22.11.2022
  • LOADING...

หุ้นจีนในปี 2565 ถือได้ว่าเป็นปีแห่งการปรับฐาน โดย 3 ตลาดสำคัญ ทั้งตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น ฮ่องกง รวมถึงหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจีน ล้วนพากันปรับตัวลดลงอย่างมาก จนเกิดคำถามในตลาดทุนว่า นักลงทุนควรจะมองปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นวิกฤตหรือโอกาสกันแน่ เพราะไม่มีผู้เชี่ยวชาญท่านไหนจะสามารถฟันธงได้ว่า ตลาดหุ้นจีนปรับฐานครั้งนี้ เพื่อย่อต่อหรือจ่อเด้ง

 

อย่างไรก็ตาม เราสามารถสรรหาคำตอบให้กับตัวเองเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนได้ โดยวิเคราะห์ข้อมูลทางปัจจัยพื้นฐานที่มี โดยในแง่มุมเศรษฐกิจนั้น ประเทศจีนคือหนึ่งในเขตเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก และเติบโตอย่างต่อเนื่องมาตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ทั้งการค้า การลงทุน การผลิต การบริโภค การท่องเที่ยว และยังมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แม้ต้องเผชิญกับความท้าทายมาอย่างต่อเนื่อง เช่น ความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์จากสงครามการค้าในปี 2561 หรือวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่เริ่มในปี 2563 แต่เศรษฐกิจในภาพรวมยังคงรักษาอัตราการเติบโตไว้ได้ 

 

ส่วนความผัวผวนและการปรับฐานของตลาดหุ้นนั้น หากผู้ลงทุนเคยมีประสบการณ์ลงทุนในตลาดหุ้นจีน หรือติดตามความเคลื่อนไหวอยู่แล้ว ก็จะทราบดีว่าตลาดหุ้นจีนนั้นเป็นตลาดหุ้นที่มีความผันผวนค่อนข้างมาก พิจารณาจากดัชนี CSI 300 ซึ่งผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปี ก็ไม่สามารถทำนายเทรนด์ในอนาคตได้ โดยปี 2562 ผลตอบแทนดัชนี CSI 300 เพิ่มขึ้น +35.6%, ปี 2563 ผลตอบแทนดัชนีเพิ่มขึ้น +24.8% และปี 2564 ผลตอบแทนดัชนีติดลบ -5.6%

 

ขณะที่ปี 2565 ดัชนี CSI 300 ให้ผลตอบแทนติดลบที่ -26.4% ส่วนดัชนีหุ้นเทคโนโลยีจีน HSTECH และดัชนีหุ้นเทคโนโลยีจีนที่จดทะเบียนในสหรัฐอเมริกา (NASDAQ Golden Dragon China Index) ก็ให้ผลตอบแทนติดลบที่ -44.34% และ -45.24% ตามลำดับ ซึ่งนับเป็นการปรับตัวลงหนักมากภายในเวลาไม่ถึงปี

 

5 ปัจจัยลบกดดันหุ้นจีน 

ความผันผวนของตลาดหุ้นจีนในปีนี้เกิดมาจากปัจจัยลบ ดังนี้ 

 

1. นโยบาย Zero-COVID 

ท่ามกลางประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่ก้าวออกจากความเข้มงวดเชิงนโยบายควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด แต่จีนกลับยืนยันใช้นโยบาย Zero-COVID อย่างเข้มข้น ซึ่งฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจ

 

2. ยึด One China

ผลการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้สร้างความกังวลแก่นักลงทุนต่างชาติ

ผลการเลือกคณะกรรมการสูงสุดที่เข้ามารับตำแหน่งบริหารประเทศแสดงถึงการกระชับอำนาจของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ตอกย้ำความแตกต่างทางอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างจีนและสหรัฐฯ​ มากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อความเสี่ยงด้านการเมืองระหว่างประเทศสูงขึ้น ตลาดจึงเกิดความกังวลอย่างมาก ถึงกับเทขายหุ้นออกมาเพื่อรอดูความชัดเจน 

 

3. วิกฤตอสังหาริมทรัพย์

ความกังวลเรื่องฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์จีนนั้นมีมานานแล้ว เริ่มต้นจากนักลงทุนจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะออมเงินในอสังหา แทนที่จะนำเงินมาฝากธนาคารหรือซื้อหุ้น เกิดเป็นดีมานด์มหาศาลและราคาที่เพิ่มสูงในภาคอสังหาจีน แต่พอมีการปรับเปลี่ยนนโยบาย ออกกฎระเบียบเพิ่มเงื่อนไขการกู้ยืมเงินภาคอสังหาให้ยากมากขึ้น ส่งผลให้อสังหาขายยากขึ้น ราคาเริ่มตกต่ำ อีกทั้งหลายโครงการยังสร้างไม่เสร็จ หลายคนเลือกที่จะหยุดผ่อนบ้าน ส่งผลต่อการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ของบริษัทอสังหา เป็นปัจจัยลบกดดันตลาดหุ้น 

 

4. นโยบาย Common Prosperity 

Common Prosperity คือนโยบายที่ต้องการกระจายความมั่งคั่งไปสู่คนหมู่มาก ลดความเหลื่อมล้ำ ผู้ที่ได้รับผลกระทบหลักคือบริษัทขนาดใหญ่ที่ได้เปรียบในเชิง Economy of Scale หรือเป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่มีส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 โดยรัฐบาลจีนดำเนินการเชิงนโยบายหลายอย่าง เช่น การออกกฎระเบียบที่ไม่สนับสนุนต่อความใหญ่ของกิจการ การสั่งปรับเป็นเงินจากการผูกขาดตลาด หรือในบางธุรกิจถูกออกกฎห้ามทำกำไร เช่น ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชา เป็นต้น

 

5. Regulatory Risk ผลกระทบหุ้นเทคโนโลยีจีนหนักสุด

บริษัทเทคโนโลยีจีนที่มีขนาดใหญ่ อย่างเช่น Alibaba, Tencent, DiDi, Meituan, JD.com เป็นต้น ราคาปรับลดลงจาก YTD มากกว่า 35-55% จากผลของนโยบายกำกับดูแลของภาครัฐที่ควบคุมหุ้นเทคฯ อย่างหนักในหลายรูปแบบ ทำให้ความสามารถในการทำกำไรและการเติบโตของหุ้นเทคฯ จีนสะดุดลง นักลงทุนจำนวนไม่น้อยมองว่าหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจีนไม่น่าลงทุนจากนโยบายของภาครัฐจีนเอง 

 

อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นจีนไม่ได้เผชิญความผันผวนอยู่ตลาดเดียว เพราะสถานการณ์การลงทุนทั่วโลกนั้นถูกท้าทายจากปัจจัยเชิงลบค่อนข้างมาก ทั้งปัญหาเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงในรอบหลายสิบปี, ความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย (Recession), สงครามความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ, ราคาพลังงานพุ่งสูง, การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลก และนโยบายลดสภาพคล่องลงในหลายประเทศ 

 

ปัจจัยดังที่กล่าวได้กดดันให้ผลตอบแทนของตลาดหุ้นทั่วโลกในปีนี้ YTD ( สิ้นสุดเดือนตุลาคม) ติดลบอย่างหนักเช่นกัน โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ดัชนี S&P 500 -19.1%, เกาหลีใต้ KOSPI -21.6%, ไต้หวัน TWSE -28.4% และตลาดหุ้นเวียดนาม -31% 

 

สิ่งที่เกิดขึ้นกำลังสะท้อนว่าตลาดหุ้นทั่วโลกแม้จะติดลบลงมาเหมือนกัน แต่กลับมีพื้นฐานเศรษฐกิจในปัจจุบันและภาพอนาคตที่ไม่เหมือนกัน ด้วยปัจจัยเฉพาะตัวของแต่ละประเทศ และสำหรับประเทศจีนนั้น ควาามโดดเด่นคือเขตเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก สวนทางกับดัชนีตลาดหุ้นที่ปั่นป่วนไปตามปัจจัยภายนอกจนราคาปรับลดลงจนต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นแล้วเชื่อได้ว่าเมื่อปัจจัยลบภายนอกผ่านพ้นไป หรือคลี่คลายลง หุ้นจีนจะมีโอกาสปรับตัวขึ้นเพื่อสะท้อนภาพเศรษฐกิจจริงได้อีกครั้ง   

 

โดยหากมองไปในระยะยาว ตลาดหุ้นจีนกำลังเปิดรับปัจจัยบวก ดังนี้ 

 

1. จีนอัดฉีดเศรษฐกิจเต็มที่

ในขณะที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหาเงินเฟ้อสูง หากใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตอนนี้ก็อาจเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์เงินเฟ้อให้แย่ลง แต่ในทางกลับกันประเทศจีนสามารถใช้นโยบายการเงินการคลัง (ลดดอกเบี้ย อัดฉีดสภาพคล่อง) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่มีความเสี่ยงเงินเฟ้อและสภาวะเศรษฐกิจถดถอยเหมือนในยุโรปและสหรัฐฯ

 

2. จีนผลิต จีนใช้ จีนเติบโต

คณะผู้บริหารสูงสุดของประเทศชุดใหม่จะมีนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการพลิกฟื้นประเทศด้วยการบริโภคสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ การอัปเกรดเทคโนโลยีเพื่อทดแทนการนำเข้าและลดการพึ่งพาประเทศฝั่งตะวันตก และขับเคลื่อนประเทศผ่านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ และส่งเสริมอุตสาหกรรมที่สร้างการเติบโตในอนาคต เช่น อุตสาหกรรมพลังงานสะอาด อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

 

3. กำลังซื้อในประเทศสูง

ในไตรมาส 3/65 จีนมีการเติบโตของ GDP สูงถึง 3.9% และถูกมองว่าเศรษฐกิจจีนจะแซงหน้าสหรัฐฯ ในปี 2570-2571 และมีขนาดเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัวในปี 2578 เช่นเดียวกับโครงสร้างเศรษฐกิจที่พร้อมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน จากจำนวนประชากรที่สูงถึง 1.4 พันล้านคน และมีการประเมินว่าคนชั้นกลางที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีนจะเพิ่มจำนวนขึ้นกว่า 45% ภายในปี 2568 ซึ่งจะช่วยผลักดันให้อุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวได้แข็งแกร่ง สร้างความมั่นใจด้านการลงทุนของภาคธุรกิจต่อไปในอนาคต

 

4. ปี 2566 มีโอกาสผ่อนคลาย Zero-COVID 

มีโอกาสสูงที่รัฐบาลจีนจะเริ่มผ่อนคลายมาตรการ Zero-COVID ภายในปี 2566 ทั้งนี้คาดการณ์กันว่าจะมีการเตรียมจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเรื่องการเปิดประเทศ และการทยอยผ่อนคลายกฎระเบียบในการควบคุมโควิด-19 ภายในครึ่งปีแรกของปี 2566 ซึ่งคาดว่าจะส่งผลบวกต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม

 

5. Valuation น่าสนใจ 

ตลาดหุ้นจีนได้รับปัจจัยลบกดดันมาตลอดเกือบ 2 ปี และได้ปรับตัวลงมาอย่างหนักแล้ว ทำให้ Valuation ของตลาดหุ้นจีนถูกกว่าค่าเฉลี่ยในระยะยาว และอยู่ต่ำกว่าตลาดหุ้นหลักต่างๆ ของโลกด้วย ในขณะที่คาดการณ์กำไรเติบโตโดดเด่นกว่าตลาดหุ้นอื่นๆ มีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยงที่น่าสนใจ คาดหวังการพลิกฟื้น (Turnaround) ของผลประกอบการและราคาหุ้นได้

 

หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจะพบว่าปัจจัยลบ หรือ Risk ส่วนใหญ่เกิดจากสถานการณ์ในปัจจุบันบีบคั้น และการดำเนินนโยบายเฉพาะตัวเพื่อจัดการปัญหาเฉพาะภาคส่วนเป็นหลัก และสามารถสิ้นสุดลงได้เมื่อปัญหาคลี่คลาย ขณะที่ปัจจัยบวก (Return) ที่กำลังใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล้วนเป็นปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว จึงสรุปได้ว่าไม่ว่าการปรับฐานครั้งนี้จะเพื่อย่อต่อหรือจ่อเด้ง การลงทุนในตลาดหุ้นในจังหวะนี้ก็จะได้รับ Return ในที่สุด

 

เปิดทางเลือกลงทุนจีน

1. เน้นลงทุนในหุ้นจีน ‘A-Share’ 

SCBCHA-SSF กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นจีนเอแชร์ (ชนิดเพื่อการออม) 

SCBRMCHA กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นจีนเอแชร์ เพื่อการเลี้ยงชีพ

 

ทั้ง 2 กองทุนมีนโยบายลงทุนในหุ้นที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี CSI 300 เพื่อให้ผลการดำเนินงานของกองทุนก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี CSI 300

 

โดยเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ ChinaAMC CSI 300 Index ETF (กองทุนหลัก) ซึ่งเป็นกองทุนประเภท Exchange Traded Fund (ETF) ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง บริหารงานภายใต้ความดูแลของ China Asset Management (Hong Kong) Limited และลงทุนในสกุลเงินหยวน (RMB) 

 

กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีน้ำหนักสูงในกองทุนคือ 1. กลุ่มการเงิน (18.07%) 2. กลุ่มอุตสาหกรรม (14.44%) 3. กลุ่มสินค้าจำเป็น (14.02%) และ 4. กลุ่มเทคโนโลยี (13.23%) 

 

ลงทุนในหุ้นจีน A-Share ซึ่งเป็นหุ้นศักยภาพสูงที่จดทะเบียนในจีนแผ่นดินใหญ่ แข็งแกร่งจากการบริโภคและการพัฒนานวัตกรรมในประเทศ เช่น 

  • Kweichow Moutai Co., Ltd. ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ใหญ่ที่สุดของจีน แบรนด์ Maotai
  • Contemporary Amperex Technology Co., Ltd. (CATL) ผู้นำระดับโลกด้านนวัตกรรมแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานไฟฟ้า เป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ลิเธียม-อิออนสำหรับ EV ที่ใหญ่ที่สุดในโลก 
  • Ping An Insurance Group บริษัทโฮลดิ้งขนาดใหญ่ ให้บริการหลากหลายธุรกิจการเงิน เช่น ประกัน ธนาคาร บริหารจัดการสินทรัพย์ บริการทางการเงิน รวมไปถึงบริการเฮลท์แคร์ เป็นต้น
  • China Merchants Bank ธนาคารพาณิชย์ชั้นนำใหญ่อันดับ 1 ของจีน มีการพัฒนาบริการอย่างต่อเนื่องให้บริการด้านการเงินหลากหลายประเภท 

 

2. เน้นลงทุนธีมเทคโนโลยี กับเทคฯ จีน

SCBCTECH-SSF กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ China Technology (ชนิดเพื่อการออม)

SCBRMCTECH กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ China Technology เพื่อการเลี้ยงชีพ

 

ทั้ง 2 กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ Invesco China Technology ETF (กองทุนหลัก) ซึ่งเป็นกองทุนประเภท Exchange Traded Fund (ETF) จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE Arca) สหรัฐฯ เพียงตลาดเดียว 

 

บริหารโดย Invesco Capital Management LLC และลงทุนในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) กองทุนหลักมีนโยบายลงทุนให้ผลการดำเนินงานของกองทุนก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี FTSE China Incl A 25% Technology Capped Index โดยจะลงทุนอย่างน้อยร้อยละ 90 ในหลักทรัพย์ที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี FTSE China Incl A 25% Technology Capped Index

 

กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีน้ำหนักสูงในกองทุนคือ 1. กลุ่มไอที 49.45% 2. กลุ่มบริการสื่อสาร 36.95% และ 3. กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคและกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย 10.42% 

 

ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีชั้นนำของจีน เป็นที่รู้จักระดับสากล มีศักยภาพเติบโตสูงจากการพัฒนานวัตกรรมและขยายฐานลูกค้าไปทั่วโลก เช่น 

  • Tencent หนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดของจีน มีธุรกิจแอปพลิเคชันออนไลน์ที่หลากหลาย เช่น เกมออนไลน์ โซเชียลมีเดีย บริการสตรีมมิง สื่อบันเทิง และบริการ Cloud เป็นบริษัทแพลตฟอร์มเกมจากจีนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นเจ้าของ WeChat แอปส่งข้อความที่ชาวจีนนิยมใช้มากที่สุด  
  • Meituan แอปฟู้ดเดลิเวอรีและไลฟ์สไตล์รายใหญ่ที่สุดของจีน จัดเป็น Super App ที่ครอบคลุมทุกบริการภายในแอปเดียว เช่น สั่งอาหาร จองตั๋วหนัง จองร้านอาหาร ซื้อสินค้า/บริการ และจองสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ อีกทั้งยังเป็นช่องทางที่รวบรวมดีลส่วนลดสำหรับร้านค้าไว้อย่างหลากหลาย
  • Baidu เป็นบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของจีนที่เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) บริการที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต และเป็นเจ้าของระบบเสิร์ชเอ็นจินที่มีการใช้งานสูงสุดในประเทศจีน 

 

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้าลงทุนในตลาดหุ้นจีนผ่านกองทุน SCBCHA-SSF, SCBRMCHA, SCBCTECH-SSF และ SCBRMCTECH โดยเริ่มต้นได้จาก 3 ขั้นตอน ดังนี้ 

  1. เปิดบัญชีกองทุนผ่าน SCB Easy App 
  2. ผูกบัญชีกองทุนบน SCB Easy App
  3. ซื้อกองทุนผ่าน SCB Easy App

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: 

SCBCHA-SSF https://www.scbam.com/th/fund/tax-ssf/fund-information/scbcha-ssf

SCBRMCHA https://www.scbam.com/th/fund/tax-rmf/fund-information/scbrmcha

SCBCTECH-SSF https://www.scbam.com/th/fund/tax-ssf/fund-information/scbctech-ssf

SCBRMCTECH https://www.scbam.com/th/fund/tax-rmf/fund-information/scbrmctech

 

คำเตือน:

  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน RMF/SSF ก่อนตัดสินใจลงทุน 
  • กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน รวมถึงควรลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตน และยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนได้
  • ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • กองทุนบางกองทุนมิได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน รวมถึงบางกองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนอาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ ดังนั้นควรลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตน และผู้ลงทุนยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนดังกล่าวได้ และสามารถศึกษาข้อมูลกองทุนหลักได้จากเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม และรายละเอียดเพิ่มเติมของกองทุนผ่าน SCB Easy App
  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising