×

กรมอุทยานฯ ตรวจดีเอ็นเอพิสูจน์งาช้าง ‘เปรมชัย’ มาจากไหนและถูกต้องหรือไม่

โดย THE STANDARD TEAM
15.02.2018
  • LOADING...

ความเคลื่อนไหวล่าสุดของกรณีนายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหารบริษัทอิตาเลียนไทยฯ ล่าสัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ในวันนี้ (15 ก.พ.) เจ้าหน้าที่นิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตรวจสอบหาดีเอ็นเอของงาช้างจำนวน 2 คู่ ที่ยึดได้จากบ้านของนายเปรมชัยในกรุงเทพมหานคร  พร้อมใบอนุญาตครอบครองงาช้าง จากการตรวจสอบแล้วไม่พบสติกเกอร์ ที่ปกติแล้วจะต้องติดไว้ที่งาช้างเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่างาช้างดังกล่าวได้ผ่านการตรวจสอบ

 

 

ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  ระบุว่า ในวันนี้ได้รับการประสานจาก เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ ปทส. ให้เข้ามาดำเนินการตรวจสอบว่างาช้างที่ยึดมาเป็นงาช้างเอเชียหรืองาช้างจากแอฟริกา ซึ่งทางกรมอุทยานฯ ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ ซึ่งในส่วนของการตรวจสอบงาช้างว่าเป็นของเอเชียหรือแอฟริกา ก็สามารถตรวจสอบได้ด้วยการดูภายนอกและการตรวจสอบดีเอ็นเอ ซึ่งหากเป็นงาช้างแอฟริกาจะมีขนาดใหญ่กว่าปกติมาก แต่หากขนาดไม่ได้ใหญ่ผิดปกติ ก็ต้องมาตรวจสอบดีเอ็นเออีกครั้งว่าเป็นของช้างโซนประเภทใด

 

 

ซึ่งในวันนี้จะมีการสกัดเก็บดีเอ็นเอที่บริเวณโคนของงาช้าง เพื่อนำกลับไปตรวจสอบภายในห้องแล็ป ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ถึงจะสามารถทราบผล

 

ส่วนการขออนุญาตครอบครองงาช้าง ครั้งล่าสุดที่มีการเปิดให้ผู้ที่ครอบครองงาช้างนำงาช้างมาลงทะเบียน ทราบว่า มีผู้นำงาช้างมาลงทะเบียนกว่า 4 หมื่นชิ้น โดยมีกองคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติฯ หรือ กองไซเตส ทำหน้าที่ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลไว้ ซึ่งจะนำผลดีเอ็นเอที่ตรวจได้จาก 4 คู่นี้ไปเทียบเคียงกับข้อมูลที่กองไซเตสอีกครั้งว่างาช้างดังกล่าวมีที่มาจากที่ไหนและถูกต้องหรือไม่ และหากผลการเทียบเคียงพบว่าเป็นงาช้างแอฟริกาก็จะเข้าข่ายความผิดตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือ ไซเตส ซึ่งเบื้องต้นประเมินมูลค่างาช้า 4 กิ่ง อยู่ที่ประมาณ 2 ล้านบาท

 

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X