ประเทศไทยในวันนี้กำลังเดินหน้าสู่ ‘Cashless Society’ หรือ ‘สังคมไร้เงินสด’ อย่างเต็มตัว
เรื่องนี้สะท้อนได้จากการสำรวจของ We Are Social และ Hootsuite ที่เปิดเผยข้อมูลในปี 2564 พบว่า ในปีที่ผ่านมา 68.1% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทยที่มีอายุระหว่าง 16-64 ปี ใช้โมบายล์แบงกิ้งทุกเดือน
ที่สำคัญ ‘ประเทศไทย’ เป็นประเทศที่มีสัดส่วนการใช้โมบายล์แบงกิ้งต่อประชากรที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตสูงที่สุดในโลกต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 อีกด้วย
ยืนยันอีกเสียงด้วยข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ที่พบว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดยิ่งตอกย้ำความจำเป็นของระบบ E-Payment เห็นได้จากปริมาณธุรกรรม ณ เดือนพฤษภาคม 2564 ที่เพิ่มเป็น 243 ครั้งต่อคนต่อปี เพิ่มขึ้น 80% จากปี 2562 ที่มีปริมาณการใช้งาน 135 ครั้งต่อคนต่อปี ซึ่งเป็นผลจากการซื้อขายออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงล็อกดาวน์ การชำระเงินด้วย QR Code เพื่อลดการสัมผัสเชื้อโรค เป็นต้น
Cashless Society กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนไทยแล้ว
นิลวรรณ จีระบุญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ธุรกรรมการเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ขยายความต่อว่า ก่อนสถานการณ์โควิด ภาครัฐ ธปท. และสถาบันการเงิน ล้วนเป็นกำลังหลักในการผลักดันเรื่องสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ผ่านการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินและโอนเงินแบบเรียลไทม์อย่าง ‘พร้อมเพย์’ คือสารตั้งต้นของการสร้างสังคมไร้เงินสดให้เกิดขึ้นในประเทศไทย
การมาของ ‘พร้อมเพย์’ ได้รับการพัฒนาขึ้นและเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค ธุรกิจ และหน่วยงานต่างๆ ให้ระบบการชำระเงินของไทยสะดวกมากขึ้น ดังนั้นเราจึงเห็นปริมาณธุรกรรมผ่านพร้อยเพย์ไต่ระดับเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่มีการเปิดให้บริการในปี 2561 และพร้อมเพย์กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคจำนวนไม่น้อย
จนกระทั่งในช่วง 2-3 ปี สถานการณ์โควิดที่ผู้บริโภคต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เว้นระยะห่าง ลดการสัมผัส เป็น ‘ตัวเร่ง’ สำคัญที่ทำให้ระบบการชำระเงินแบบไร้เงินสดกระจายตัวออกไปยังกลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น จากเดิมที่อาจจะกระจุกตัวอยู่ที่ผู้บริโภคกลุ่มหนึ่ง ประกอบกับโครงการของภาครัฐที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด เช่น ‘คนละครึ่ง’ ยิ่งเป็นแรงหนุนที่สำคัญให้พฤติกรรมการชำระเงินเปลี่ยนแปลงไป ทำให้กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า ร้านอาหาร ร้านค้าขนาดเล็ก กระทั่งแผงลอยมีการเปิดใช้งาน ผู้บริโภคจำนวนมากหันมาเรียนรู้ ทดลองใช้ และก้าวเข้าสู่ภาวะ ‘คุ้นเคย’ กับระบบ E-Payment ต่างๆ มากขึ้น
จนกระทั่งปัจจุบันผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยใช้ E-Payment เป็น ‘ทางเลือกหลัก’ ในการชำระเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ ในชีวิตประจำวันในแต่ละวัน ทำให้ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วง ‘สังคมที่ใช้เงินสดน้อยลง’ (Less-cash Society)
“กรุงศรีมองว่าเส้นทางของการเป็นสังคมไร้เงินของประเทศไทยกำลังขยายตัว เติบโตแบบก้าวกระโดด อย่างไรก็ตามยังมีที่ว่างอีกมากที่เราจะสามารถช่วยกันส่งเสริมและสนับสนุนให้สังคมไร้เงินสดเติบโตอย่างทั่วถึงและครอบคลุม ซึ่งกรุงศรีพร้อมเป็นหนึ่งฟันเฟืองในการขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดขึ้น”
จับมือพัฒนา ‘e-Wallet by Max Me’ แอปสดใหม่ที่คุณต้องมี
เมื่อความตั้งใจของธนาคารกรุงศรี มาเจอกับความต้องการของ บริษัท แมกซ์ โซลูชัน เซอร์วิส จำกัด บริษัทในเครือพีทีจี ที่สร้างธุรกิจนอนออยล์ให้เติบโตอย่างยั่งยืนด้วยการนำเสนอบริการใหม่ๆ หลากหลายรูปแบบที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ควบคู่ไปกับการสร้างความเชื่อมโยงระบบนิเวศทางธุรกิจ (Business Ecosystem) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) ที่ทุกสิ่งรอบตัวขับเคลื่อนไปอย่างรวดเร็ว
กลายเป็นที่มาของการพัฒนาบริการทางการเงินดิจิทัลผ่าน Max Me Wallet เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับลูกค้าผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน ให้สามารถทำธุรกรรมบนแพลตฟอร์มได้อย่างสมบูรณ์ ครบครันแบบไร้รอยต่อ
โดยลูกค้าสามารถเติมเงินเข้า Max Me Wallet ผ่านโมบายแบงกิ้ง อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง และตู้ ATM ได้ทุกธนาคาร ทำให้ทุกการชำระเงินสะดวกสบายยิ่งขึ้นเพียงสแกนจ่ายได้ง่ายๆ รวดเร็วบนมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากล แถมยังได้ส่วนลดหรือคะแนนสะสมสุดคุ้มตรงใจคนรุ่นใหม่
“เรามองเป้าหมายความสำเร็จของแอป Max Me ไว้ 2 ส่วนหลักๆ ส่วนแรกคือ ผู้ใช้บริการได้รับสิทธิประโยชน์อย่างคุ้มค่า ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ เพราะ Max Me จะเข้ามาอยู่ในทุกช่วงเวลาดีๆ ทั้งกิน เที่ยว ช้อป พร้อมเสิร์ฟความประทับใจแบบเต็มแม็กซ์ และสอง คือการสร้างความเชื่อมโยงระบบนิเวศทางธุรกิจ (Business Ecosystem) กับพันธมิตรกว่า 10,000 ราย เมื่อชำระผ่าน Max Me Wallet เพื่อเป็นการมอบความพิเศษส่งตรงถึงผู้บริโภคและสร้างการเติบโตทางธุรกิจไปพร้อมกัน” พร้อมศักดิ์ จรัญญากรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แมกซ์ โซลูชัน เซอร์วิส จำกัด
พร้อมศักดิ์กล่าวว่า Max Me ถือเป็นโจทย์ที่ท้าทายของปีนี้ เพราะปัจจุบันเรามีฐานสมาชิก Max Card อยู่กว่า 18 ล้านสมาชิก การจะสื่อสารให้เข้าถึงสมาชิกทุกคนให้สมัครและลงทะเบียนใช้แอปพลิเคชัน Max Me แทนแอป Max Rewards เดิม
“ยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แต่เชื่อว่าเมื่อสมาชิกทั้งรายเดิมและลูกค้ารายใหม่รับรู้ถึงความตั้งใจจริงที่เราต้องการพัฒนาระบบขึ้นมาเพื่อให้บริการและมอบสิทธิพิเศษที่เหนือระดับและจุใจขึ้นกว่าเดิม รวมถึงเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางสร้างชีวิตสดใหม่ไปด้วยกันน่าจะทำให้ยอดผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นตามลำดับ”
สะท้อนความเป็นผู้นำด้านดิจิทัลและนวัตกรรม
ในอีกด้านหนึ่งสำหรับธนาคารกรุงศรี ความร่วมมือในครั้งนี้จะสะท้อนความเป็นผู้นำในด้านดิจิทัลและนวัตกรรม ที่สามารถพัฒนาโซลูชันให้สามารถตอบโจทย์ของลูกค้าจนได้รับความไว้วางใจในการเป็นผู้ให้บริการ e-Wallet Solution นี้
นิลวรรณขยายความว่า ธนาคารกรุงศรี ในฐานะผู้พัฒนาโซลูชัน ได้พัฒนาในเรื่อง e-Wallet มาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่มองเห็นแนวโน้มการพัฒนาในเรื่อง Cashless Society และจากการทำงานร่วมกับลูกค้าแต่ละรายอย่างใกล้ชิด ทำให้รู้ว่าโจทย์ของลูกค้าแต่ละรายมีความแตกต่างและหลากหลาย
ดังนั้นระบบที่พัฒนาขึ้นจะต้องสามารถ Customized และสนองความต้องการเหล่านั้นได้ ซึ่งอย่างที่ทราบปัจจุบันธนาคารไม่ได้มองตัวเองเป็นเพียงธนาคาร แต่กำลังขับเคลื่อนบริการในมุมมองของการเป็น Banking-as-a-Service นำเสนอโซลูชันในเรื่องการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการทั้งของธุรกิจและผู้บริโภครายย่อย หรือ End-Consumers โดยใช้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่มี
ทำให้ผู้ใช้งานอาจจะไม่จำเป็นต้องรู้ว่ากำลังใช้บริการของกรุงศรีในการทำธุรกรรมบนแอปพลิเคชันนั้นๆ อยู่ แต่สิ่งที่สำคัญคือประสบการณ์ที่ได้รับจากการใช้งานนั้น เป็นประสบการณ์ที่ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่าแพลตฟอร์มนั้นๆ ทำให้ชีวิตของลูกค้าง่ายขึ้น สะดวกขึ้น และอยากกลับเข้ามาใช้งานอีก
“เมื่อประสบการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นผนวกกับฟีเจอร์และสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่นำเสนออยู่ในแอป Max Me ทำให้ Max Me สามารถเป็น ‘แอปที่ทุกคนต้องมี’ ที่ตอบโจทย์ลูกค้าสมาชิก Max Card ได้”
สู่เป้าหมายการเป็น Be the preferred Thai bank connecting customers’ needs across region
นิลวรรณกล่าวต่อว่า กรุงศรีได้พัฒนาและวางรากฐานทางการเงินดิจิทัลมาอย่างต่อเนื่อง เพราะเราเห็นว่าเทรนด์ในด้านบริการธุรกรรมการเงินได้เปลี่ยนไปแล้ว ธนาคารกลายเป็น Backbone สามารถเชื่อมต่อกันแบบออนไลน์ได้ และก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัลอย่างแท้จริง
ภายในแผนธุรกิจระยะกลาง 3 ปี ซึ่งครอบคลุมปี 2564-2566 กรุงศรีได้ตั้งเป้าหมายสู่การเป็น Be the preferred Thai bank connecting customers’ needs across region หมายความว่า เรามุ่งหวังที่จะเป็นธนาคารที่ตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจของลูกค้าทั่งทั้งอาเซียน ไม่เพียงเฉพาะในประเทศเท่านั้น
ซึ่งกรุงศรีนั้นมีเครือข่ายที่แข็งแกร่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะในอาเซียน ซึ่งมีทั้งธุรกิจของกรุงศรีที่ขยายไปยังต่างประเทศ และธนาคารพันธมิตรในเครือ MUFG ซึ่งปัจจุบันกรุงศรี และ MUFG มีเครือข่ายครอบคลุมถึง 9 ใน 10 ประเทศอาเซียน ทำให้กรุงศรีสามารถใช้ประโยชน์จากจุดแข็งและความเป็นเอกลักษณ์ของเราที่เป็นส่วนหนึ่งของ MUFG ในการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ ที่สอดคล้องไปกับรูปแบบธุรกรรมการเงินใหม่ๆ ในปัจจุบันที่ไร้ขอบเขต
“บริการธุรกรรมการเงินเป็นตัวขับเคลื่อนที่จะช่วยให้การบริหารจัดการการเงินของลูกค้าเป็นไปอย่างราบรื่น โดยที่ผ่านมาเราได้สร้างรากฐานการให้บริการที่แข็งแกร่งเพื่อจะเป็นก้าวที่มั่นคงต่อไปในอนาคต”
ในช่วงที่ผ่านมา กรุงศรีได้นำเทคโนโลยี API เข้ามาเป็นตัวช่วยในการเชื่อมต่อระหว่างลูกค้าและธนาคาร ทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลมีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยมากขึ้น แม้กระทั่งการโอนเงินไปต่างประเทศ ลูกค้าก็ไม่ต้องไปที่สาขาอีกต่อไป สามารถโอนผ่านโมบายแบงกิ้งได้ทันที นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐ ทำให้ยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ได้ ทำให้โครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของประเทศที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น หรือในมุมมองของลูกค้าที่เป็นร้านค้าก็ยังทำการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้การขายของหน้าร้าน ช่องทางออนไลน์ต่างๆ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
“ทั้งหมดนี้คือความมุ่งมั่นที่เราพยายามและจะทำอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นสำหรับลูกค้าด้วย Digital Technology และความ Simple” นิลวรรณกล่าวทิ้งทาย
อ้างอิง: