×

เริ่มแล้ว ‘ส่งใบสั่งทางไปรษณีย์’ พร้อมพยานหลักฐานภายใน 30 วัน หากพ้น 15 วันให้ถือว่าเจ้าของรถรับทราบ

โดย THE STANDARD TEAM
14.07.2022
  • LOADING...
ส่งใบสั่งทางไปรษณีย์

วันนี้ (14 กรกฎาคม) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศ ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการส่งใบสั่งทางไปรษณีย์ พ.ศ. 2565 พร้อมพยานหลักฐานภายใน 30 วัน หากพ้น 15 วัน ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถได้รับใบสั่งแล้ว ลงนามโดย พล.ต.อ. สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ประกาศเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565

 

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า โดยที่มาตรา 140 วรรค 2 แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมแห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2562 บัญญัติให้กรณีเจ้าพนักงานจราจรที่ออกใบสั่งไม่พบตัวผู้ขับขี่ ให้ติด ผูก หรือแสดงใบสั่งไว้ที่รถที่ผู้ขับขี่สามารถเห็นได้ง่าย หากไม่สามารถติด ผูก หรือแสดงใบสั่งไว้ที่รถโดยไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ให้ส่งใบสั่งพร้อมด้วยพยานหลักฐานทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาของเจ้าของรถหรือผู้ครอบครอง เพื่อให้ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนดในใบสั่ง

 

ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับกับกรณีที่เจ้าพนักงานจราจรพบการกระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก หรือกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับรถหรือการใช้ทาง แต่ไม่อาจทราบตัวผู้ขับขี่ โดยอนุโลม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 140 วรรค 2 แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2562 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้

 

ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า ‘ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการส่งใบสั่งทางไปรษณีย์ พ.ศ. 2565’

 

ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป)

 

ข้อ 3 การส่งใบสั่งตามมาตรา 140 วรรค 2 กรณีเจ้าพนักงานจราจรที่ออกใบสั่งไม่พบตัวผู้ขับขี่ และไม่สามารถติด ผูก หรือแสดงใบสั่งไว้ที่รถได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด และตามมาตรา 140 วรรค 3

 

กรณีไม่อาจทราบตัวผู้ขับขี่ ให้ส่งใบสั่งพร้อมพยานหลักฐานทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาของเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถ ภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานจราจรพบการกระทำความผิด และให้ถือว่าเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถได้รับใบสั่งนั้น เมื่อพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันส่ง

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X