แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energy Transition) จากแหล่งพลังงานแบบดั้งเดิม มาเป็นการใช้พลังงานรูปแบบใหม่จากแหล่งพลังงานที่แตกต่างออกไป เป็นสิ่งที่ทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานทดแทน เนื่องจากประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงถึง 9.7 พันล้านคนในปี 2050 (ข้อมูลจาก World Population Data) ทำให้มีความต้องการพลังงานมากขึ้น
นอกจากนี้ผู้นำรัฐบาลและองค์กรต่างๆ ทั่วโลก ต่างให้ความสนใจพร้อมทั้งให้การสนับสนุนและผลักดันการใช้พลังงานทดแทนนี้อย่างจริงจัง จึงนำมาสู่โอกาสการลงทุนอย่างยั่งยืนในธุรกิจด้านพลังงานทดแทน ที่จะมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องในอนาคต
เพราะพลังงานนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์และการดำเนินกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ปัจจุบันความต้องการใช้พลังงานมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้นจาก 4 ปัจจัยหลัก ประกอบด้วย
- การแพร่ระบาดของโควิด ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุปทานและการผลิตในภาคพลังงานอย่างต่อเนื่อง
- สภาพอากาศ ส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักในการผลิต และเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนความต้องการพลังงานในภาคครัวเรือน
- ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ เป็นปัจจัยผลักดันราคาพลังงานให้สูงขึ้น
- การเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมพลังงานไปสู่การใช้พลังงานสะอาด ด้วยเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและ Net Zero Emission ของหลายภาคส่วน ส่งผลให้ผู้ผลิตหลายรายชะลอหรือหยุดการลงทุนในการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียม รวมถึงการสร้างเหมืองถ่านหินใหม่ ซึ่งจะกดดันการเติบโตของอุปทานเชื้อเพลิงแบบเก่าของตลาดโลกในระยะต่อไป
ส่วนการใช้พลังงานของประเทศต่างๆ ได้มีแผนการเลิกใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า เนื่องจากเป็นการผลิตไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุด ซึ่งจากการผลิตก๊าซธรรมชาติที่สูงขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 2010 และการส่งออกก๊าซธรรมชาติของสหรัฐฯ ตั้งแต่ช่วงปี 2016 ส่งผลให้เกิดโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงมากขึ้น เนื่องจากราคาไฟฟ้าที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติสามารถแข่งขันได้กับไฟฟ้าที่ผลิตจากถ่านหินและยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าอีกด้วย เมื่อเทียบการลงทุนในโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติแล้ว จะเห็นได้ว่าการลงทุนในโรงไฟฟ้าถ่านหินลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การลงทุนในโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงมีกำลังการผลิตใหม่สูงกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินตั้งแต่ปี 2016 (อ้างอิง: IEA World Energy Investment 2021)
นอกจากนี้การพึ่งพาแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงแบบดั้งเดิมอย่างพลังงานน้ำมัน พลังงานถ่านหิน และพลังงานก๊าซธรรมชาติ ได้นำไปสู่การเผชิญหน้ากับปัญหาสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม ทำให้หลายประเทศเริ่มมองหาทางออกที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energy Transition) จากแหล่งพลังงานแบบดั้งเดิม มาเป็นการใช้พลังงานรูปแบบใหม่จากแหล่งพลังงานที่แตกต่างออกไป เช่น พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานความร้อนใต้พิภพ และพลังงานชีวมวล เป็นต้น
ดังนั้นพลังงานสะอาด โดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียน จึงเป็นทางเลือกในการยกระดับประสิทธิภาพในการบริหารจัดการพลังงาน ไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างสิ้นเชิง โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งนอกจากส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในภาคพลังงานแล้ว ยังเกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี รวมถึงการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคแห่งการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าอีกด้วย สิ่งเหล่านี้นับว่าเป็นหนึ่งในธีม ESG ที่สำคัญที่ช่วยในการเปลี่ยนผ่านพลังงาน เพื่อส่งผลต่อความยั่งยืนของโลกต่อไป
ปักหมุดการลงทุนแบบ ESG เพื่อโลก เพื่อการลงทุนที่ยั่งยืน
แนวคิดการลงทุนแบบยั่งยืน (Sustainability Investment) เป็นสิ่งที่เราได้ยินกันอย่างหนาหูในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจสิ่งแวดล้อม สังคม และการมีธรรมาภิบาล (Environmental, Social, Governance: ESG) โดยเป็นการลงทุนที่มุ่งหวังความยั่งยืนมากกว่าผลกำไรช่วงสั้น เพราะแนวทางการลงทุนดังกล่าว แม้อาจจะยังสร้างผลตอบแทนได้ไม่สูงเท่ากับแนวทางการลงทุนรูปแบบอื่นๆ แต่เป็นการสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจได้ในระยะยาว
การลงทุนแบบ ESG นี้มีโอกาสในการเติบโตอย่างต่อเนื่องทั่วโลก เนื่องจากการลงทุนแบบ ESG มีความหลากหลายทางด้านการดำเนินธุรกิจมากขึ้น ทำให้แนวทางการดำเนินธุรกิจรูปแบบใหม่แตกต่างจากในอดีตมาก ซึ่งกระแสดังกล่าวมักจะเป็นเมกะเทรนด์ เช่น บริษัทสตาร์ทอัพ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทน หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น โดยมีหลายธุรกิจในหลายๆ ประเทศได้ต่อยอดธุรกิจด้วยการเปลี่ยนผ่านพลังงาน เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทน หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น
สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในกองทุนธีม ESG และมองหาโอกาสการลงทุนที่สามารถตอบโจทย์ในการเปลี่ยนผ่านพลังงาน รวมถึงนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และพร้อมที่จะสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่มั่นคงในระยะยาว สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนที่เน้นลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energy Transition) ได้ที่นี่
รวมไปถึงกองทุนที่ลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการเติบโตที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้าแห่งอนาคต (Electric Vehicle: EV) เพราะการใช้รถยนต์ EV ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับต่ำ ทำให้หลายประเทศได้เสนอมาตรการสนับสนุนการใช้รถยนต์ EV
โดยผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ 18 ราย จาก 20 ราย ต่างมุ่งมั่นที่จะเพิ่มการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อรองรับปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้น นอกจากรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดก็มีโอกาสที่จะเติบโตควบคู่กันไปด้วยเช่นกัน ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจในยุคการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่นักลงทุนไม่ควรพลาด
อ้างอิง: