×

ราคาก๊าซธรรมชาติพุ่งสูง ส่งผลให้ไทยเสี่ยงต่อการขาดแคลนพลังงานมากขึ้น

22.06.2022
  • LOADING...
ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG)

จากราคาของก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้นำเข้า LNG ภายใต้การกำกับของรัฐบาล ตัดสินใจลดการนำเข้าลง ขณะเดียวกันก็พยายามที่จะนำเข้าพลังงานอื่นที่สามารถทดแทนกันได้ เช่น ดีเซล และน้ำมันเตา เพื่อทดแทน LNG อย่างไรก็ตาม การลดการนำเข้า LNG อาจมากเกินกว่าที่จะชดเชยด้วยพลังงานอื่น

 

ด้าน รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เราจะไม่ปล่อยให้เกิดภาวะขาดแคลนพลังงานเกิดขึ้น ประเทศไทยยังคงสามารถนำเข้าพลังงานได้ตามปกติ 

 

ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับประเทศที่ยากจนกว่าไทย เช่น ปากีสถาน และศรีลังกา ต่างกำลังเผชิญกับวิกฤตพลังาน เนื่องจากราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่สูงขึ้น ขณะที่ราคาของ LNG ในกลุ่มประเทศเอเชียเหนือเพิ่มขึ้นราว 50% ในเดือนนี้ และเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 3 เท่า หลังจากที่รัสเซียแบนการส่งออกไปยังยุโรป

 

ขณะที่ประเทศไทยยังไม่ถึงกับเผชิญวิกฤตพลังงานแต่อย่างใด แต่ก็มีความเสี่ยงต่อการเผชิญกับภาวะขาดแคลนสูงขึ้น และอาจนำไปสู่ภาวะไฟฟ้าดับ โดยช่วง 4 เดือนแรกที่ผ่านมา ประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าราว 2 ใน 3 ของปริมาณไฟฟ้าทั้งหมด และความเสี่ยงนี้ยังถูกซ้ำเติมจากความต้องการใช้ที่สูงขึ้น เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว

 

ข้อมูลจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ในปี 2020 ระบุว่า การนำเข้า LNG คิดเป็น 1 ใน 5 ของปริมาณแก๊สที่ใช้สำหรับโรงไฟฟ้า โดยการนำเข้าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เป็นการนำเข้าทางเรือมากขึ้น เพื่อชดเชยการนำเข้าผ่านท่อส่งแก๊สจากเมียนมา รวมถึงการส่งออกที่ลดลงด้วย 

 

ขณะที่ตัวแทนจาก PTT กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณาเกี่ยวกับการควบคุมการนำเข้า LNG เนื่องจากราคาที่สูงขึ้น 

 

ทั้งนี้ รัฐบาลได้ตัดภาษีสำหรับนำเข้าพลังงานออกไป เพื่อช่วยให้ต้นทุนการนำเข้าถูกลง อย่างไรก็ตาม การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานที่ก่อให้เกิดมลพิษเพิ่มขึ้นในปีนี้ โดยเฉพาะ 4 เดือนแรกที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากการนำดีเซลมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึง 14 เท่า เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 

 

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X