×

รองผู้ว่าฯ ‘ทวิดา’ ประชุมร่วมภาคีเครือข่าย วางเป้าแผนระยะสั้น-ยาว ขับเคลื่อนนโยบาย สุขภาพดี 100 วัน เห็นผลเป็นรูปธรรม

โดย THE STANDARD TEAM
03.06.2022
  • LOADING...
ทวิดา กมลเวชช

วันนี้ (3 มิถุนายน) ที่ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (รองผู้ว่าฯ กทม.) เป็นประธานในการประชุมการขับเคลื่อนนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) ด้านสาธารณสุขและพัฒนาระบบปฐมภูมิกรุงเทพมหานคร ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.), แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปและเวชศาสตร์ครอบครัว และเครือข่ายปลุกกรุงเทพฯ โดยมี พญ.วันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร และผู้แทนภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม

 

ผศ.ดร.ทวิดากล่าวว่า ทาง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ได้กำหนดนโยบายด้านต่างๆ 214 ข้อ แบ่งเป็น 9 ด้าน หนึ่งในด้านนั้นคือ สุขภาพดี จำนวน 34 ข้อ เพื่อดำเนินการด้านสุขภาพดีในทุกมิติ ทั้งกายภาพและระบบสร้างเสริมสุขภาพของคนทุกคนในกรุงเทพมหานคร พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมภาคประชาชนผ่านเครื่องมือสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร ให้เป็นเวทีกลางพัฒนาประเด็นสาธารณะสู่การปฏิบัติ เป็นกระบวนการวิเคราะห์ช่องว่างหาความร่วมมือที่สร้างสรรค์ ธรรมนูญสุขภาพในระดับเขต หรือกติกาชุมชนบางพื้นที่ เพื่อกำหนดเป็นทิศทาง โดยมุ่งเน้นให้กองทุนสุขภาพเขตสนับสนุนกลไกระดับชุมชนให้ขับเคลื่อนการทำงานในประเด็นของชุมชนเอง ซึ่งผู้ว่าฯ กทม. ได้กำหนดให้เร่งกำหนดเป้าหมาย 100 วัน ให้เห็นผลในระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว 4 ปี ต้องมีรูปธรรมเชิงระบบ ไม่เป็นนโยบายโปรเจ็กต์แล้วหายไป 

 

การขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวจะดำเนินการผ่านคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายผู้ว่าฯ กทม. ด้านสาธารณสุขและพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิกรุงเทพมหานครร่วมกับหลายองค์กร รวมถึงเครือข่ายโรงพยาบาลเอกชน, สำนักการแพทย์, สำนักอนามัย, โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม, โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงมหาดไทย, โรงเรียนแพทย์, คลินิกอบอุ่น และภาคประชาชน 

 

ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการรักษาพยาบาลและระบบสุขภาพ โดยตั้งเป็นคณะกรรมการขับเคลื่อน 5 ชุด ประกอบด้วย 

 

  • คณะกรรมการขับเคลื่อน PCC 
  • คณะกรรมการนโยบายพัฒนาระบบตรวจสอบคุณภาพ PCC 
  • คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายโรงพยาบาล 10-100 เตียงโรงพยาบาลเมือง 
  • คณะกรรมการขับเคลื่อนระบบดูแลผู้สูงอายุ IMC Palliative Care และเวชศาสตร์เขตเมือง 
  • คณะกรรมการขับเคลื่อน Sandbox Area Base

 

เบื้องต้น คณะกรรมการขับเคลื่อน PCC จะดำเนินการระยะสั้น คือ ทำ PCC Sandbox ในเขตหนองแขม เขตบางแค เขตทวีวัฒนา เขตตลิ่งชัน และเขตภาษีเจริญ การดำเนินการระยะยาว คือ ขับเคลื่อน PCC Club 6 กลุ่มคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับเขต (พชข.) 

 

คณะกรรมการนโยบายพัฒนาระบบตรวจสอบคุณภาพ PCC จะดำเนินการระยะสั้น คือ การจัดทำมาตรฐานการประเมินคลินิกอบอุ่นเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ภาคประชาชน จะดำเนินการระยะยาว คือ พิจารณางบประมาณสนับสนุนจาก สปสช. 

 

คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายโรงพยาบาล 10-100 เตียงโรงพยาบาลเมือง จะดำเนินการระยะสั้น คือ IMC Hospital + Hospital Care จะดำเนินการระยะยาว คือ ขยายเครือข่ายไปยังโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน และโรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ 

 

คณะกรรมการขับเคลื่อนระบบดูแลผู้สูงอายุ IMC Palliative Care จะดำเนินการระยะสั้น คือ 1. Community IMC 2. Home Ward 3. IMC Hospital 4. Technology Bed 5. โรงพยาบาล 10,000 เตียง จะดำเนินการระยะยาว คือ ขยายเครือข่ายไปยัง 6 กลุ่มเขต และสร้างศูนย์เวชศาสตร์เขตเมืองที่สมบูรณ์แบบ 

 

คณะกรรมการขับเคลื่อน Sandbox Area Base จะดำเนินการระยะสั้น คือ 1. สร้าง 1 ชุมชน 1 Community IMC ในเขตหนองแขม เขตบางแค เขตทวีวัฒนา เขตภาษีเจริญ 2. สร้าง 1 ชุมชน 1 Day Care ในเขตหนองแขม เขตบางแค เขตทวีวัฒนา เขตภาษีเจริญ 3. Feeder (โครงการรถรับ-ส่งผู้สูงอายุและผู้พิการ + โครงการ Free Shuttle Van) 4. Telemedicine 5. ชมรมผู้สูงอายุ และ 6. กิจกรรมในศูนย์สร้างสุขทุกวัย จะดำเนินการระยะยาว คือ การขยายเครือข่ายไปยัง 6 กลุ่มเขต 

 

ผศ.ดร.ทวิดากล่าวต่อไปว่า วันนี้ถือเป็นการเริ่มต้นขับเคลื่อนนโยบาย 9 ดี 9 ด้าน คือ ด้านสุขภาพดี ด้วยความร่วมมือของผู้แทนภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมออกแบบ ปรับตัว วางระบบรูปแบบการทำงานร่วมกัน รวมถึงร่วมกันออกแบบโมเดล Sandbox ให้เหมาะสมกับ กทม. และหน่วยงานต่างๆ ให้มากที่สุด เพื่อนำเสนอในการประชุมครั้งต่อไป และในส่วนของโครงการที่สามารถดำเนินการได้เลยก็ขอให้ดำเนินการทันทีอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้นโยบายดังกล่าวเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X