×

ก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 Data Wow ปรับทิศทางธุรกิจสู่ Digital Transformation Solutions Provider

โดย THE STANDARD TEAM
24.05.2022
  • LOADING...

จากถ่านหินและน้ำมันสู่ก๊าซธรรมชาติ จากก๊าซธรรมชาติสู่การใช้เทคโนโลยีข้อมูล และจากเทคโนโลยีข้อมูลสู่การผสานข้อมูลเข้ากับเครื่องจักรในอุตสาหกรรม จนเกิดเป็นคำพูดที่ว่า ‘Data is the new oil.’ หรือข้อมูลมีค่าเปรียบดั่งน้ำมันในอดีตกาล 

 

ทุกวันนี้โลกของเราถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การเกิดขึ้นของอุตสาหกรรม 4.0 ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่ว่า ‘ข้อมูล’ คือกุญแจที่จะทำให้ภาคธุรกิจนั้นสามารถสร้างศักยภาพทางการแข่งขันแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน และหากเราถอดรหัสกระบวนการต่างๆ จะพบว่าเบื้องหลังของการสร้างศักยภาพทางธุรกิจในยุคปัจจุบัน จำเป็นที่จะต้องมีการบริหารองค์กรโดยมีข้อมูลเป็นจุลินทรีย์สำคัญ (Data-Driven Organization) รวมไปถึงการนำข้อมูลไปเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจ นั่นทำให้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) กลายเป็นแกนกลางสำคัญที่ใช้เพื่อดำเนินธุรกิจในยุคที่โลกถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

 

อย่างไรก็ตามการนำ AI มาประยุกต์ใช้กับภาคธุรกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกระบวนการเก็บข้อมูลที่มีคุณภาพ เปรียบเสมือนการมีวัตถุดิบชั้นเลิศก่อนที่จะถูกนำไปปรุงอาหาร นั่นทำให้การทำ Digital Transformation กลายเป็นกิจกรรมสำคัญทางธุรกิจ เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนแปลงตัวเองจากการทำธุรกิจแบบดั้งเดิม มาสู่การทำธุรกิจในยุคดิจิทัล

 

‘อยากใช้ AI แต่ไม่เข้าใจมาก่อน’ เสียเวลา เสียเงิน เสียโอกาส 

 

Data Wow

 

แน่นอนว่าการทำ Digital Transformation กลายเป็นสิ่งจำเป็นในธุรกิจที่มีการบริหารแบบดั้งเดิม แต่การเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลนั้น ไม่ใช่ว่าทุกธุรกิจจะเข้าใจและทำทรานส์ฟอร์มได้อย่างถูกวิธี 

 

หลายครั้งที่ภาคธุรกิจไม่เข้าใจการทำ Digital Transformation บ้างเปลี่ยนอุปกรณ์แต่ไม่บ่มเพาะองค์ความรู้ บ้างบ่มเพาะความรู้แต่ไม่จัดระเบียบข้อมูล ผสมปนเปจนสุดท้ายก็วนกลับมาอยู่ที่เดิม 

 

 

ต้น-เจษฎากร สมิทธิอรรถกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดต้า ว้าว จำกัด หรือ Data Wow กล่าวถึงจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงทิศทางขององค์กรว่า เดิมทีบริษัทเคยประกอบธุรกิจ AI Startup มาก่อน ซึ่งพบว่ากลุ่มลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าหรือบริการ แท้จริงแล้วมีจุดประสงค์คือการทำ Digital Transformation แต่สุดท้ายกลับไม่สามารถทำการทรานส์ฟอร์มได้ในที่สุด ซึ่งปัญหาที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ 

 

1. ความพร้อมของการเก็บข้อมูล

องค์กรยังไม่ได้มีการออกแบบให้การเก็บข้อมูลเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ หรือบางองค์กรยังไม่ได้มีการเสริมทักษะด้านข้อมูล (Data Literacy) ให้กับพนักงาน 

 

2. วิธีแก้ไขปัญหาไม่สมเหตุสมผล

เนื่องจากไม่เคยมีใครมีประสบการณ์ในการทำ Digital Transformation มาก่อน นั่นทำให้หลายองค์กรแก้ปัญหาไม่ถูกจุด ทำให้สิ้นเปลืองเงินและเวลาโดยใช่เหตุ โดยต้นได้ยกตัวอย่างจากเคสที่เคยประสบกับบริษัทโดยตรง

 

“ตัวอย่างที่เคยพบ เช่น บริษัทก่อสร้าง ต้องการให้เราเข้าไปช่วยทำระบบรักษาความปลอดภัย (Security System) เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีบุคลากรเข้าไปยังพื้นที่ที่มีการก่อสร้าง ”

 

“แต่ปัญหาในส่วนนั้นจริงๆ อาจจะมีความเสี่ยงน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ด้วยซ้ำ สิ่งที่สามารถแก้ไขก่อนได้คือการออกแบบให้พื้นที่ดังกล่าวมีการจัดวางสิ่งของที่ก่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด (Optimization) ซึ่งจะใช้ต้นทุนต่ำกว่า และไม่จำเป็นต้องใช้ AI ที่ซับซ้อน” เจษฎากรกล่าว

 

ต้นยังกล่าวต่อว่า ยังมีอีกหลายองค์กรกว่า 80% ในอุตสาหกรรมที่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยการนำดิจิทัลเข้ามามีบทบาทได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะองค์กรขนาดเล็กที่ไม่ได้มีที่ปรึกษาหรือมีทีมที่เชี่ยวชาญอยู่แล้ว นั่นทำให้บริษัทหันมาให้ความสำคัญกับการทำ Digital Transformation ให้กับหลายๆ องค์กรในอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการทรานส์ฟอร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

Data Wow จาก AI Startup สู่ Digital Transformation Solutions Provider 

จากความเชี่ยวชาญเดิมของ Data Wow ที่เคยคิดค้นโซลูชันทางด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาก่อนแล้ว ทำให้เข้าใจถึงปัญหาที่ลูกค้าพบเจอ เพื่อแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงปรับทิศทางของค์กรที่จากเดิมเป็น ผู้ให้บริการ สู่การเป็น ที่ปรึกษา ที่พาธุรกิจทำ Digital Transformation ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง (End-to-End) 

 

ต้นกล่าวว่า ความตั้งใจของบริษัทคือการเข้าไปช่วยแก้ปัญหาตั้งแต่แรกให้กับลูกค้า เพื่อให้สามารถแก้ไขได้อย่างถูกจุดและยั่งยืน

 

“เราพยายามที่จะเข้าไปเป็นพาร์ตเนอร์กับลูกค้าตั้งแต่ช่วงแรก โดยเริ่มต้นเราจะพิจารณาถึงอุตสาหกรรมที่ลูกค้าอยู่ก่อน จากนั้นจึงตรวจสอบว่าปัจจุบันลูกค้ามีปัญหาอะไร นั่นทำให้เราสามารถช่วยวิเคราะห์ได้ก่อนว่าลูกค้ามีความพร้อมจะแก้ไขปัญหาใดก่อน หรือการแก้ปัญหาใดที่จะช่วยสร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุด”

 

“เราไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นผู้ให้บริการ แต่เราอยากจะเข้าไปช่วยตั้งแต่ขั้นตอนแรกๆ เพราะการทำ Digital Transformation Project นั้นแท้จริงแล้วใช้ระยะเวลาค่อนข้างยาวนาน ดังนั้นการที่ลูกค้าได้ลงทุนเพื่อแก้ไขปัญหาและได้เห็นถึงผลลัพธ์ตั้งแต่ช่วงแรก จะมีส่วนช่วยให้ธุรกิจสามารถทรานส์ฟอร์มได้ดีที่สุด” 

 

ท่ามกลางสงครามแห่งที่ปรึกษา Data Wow แตกต่างจากคนอื่นอย่างไร

 

Data Wow

 

เนื่องด้วยประสบการณ์การทำงานกับกลุ่มลูกค้าญี่ปุ่นในอดีตและมีความเชี่ยวชาญกับการทำธุรกิจทางด้านปัญญาประดิษฐ์มาก่อน นั่นทำให้ Data Wow มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ไม่ว่าจะเป็นวิศวกร (Engineer) หรือนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ซึ่งเป็นกลุ่มบุคลากรที่ยังมีอยู่น้อยมากในประเทศไทย นั่นทำให้ Data Wow มีจุดแข็งคือการเป็น Tech-Led Digital Transformation และการกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหานั้น ทุกอย่างจะถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

 

“เราเน้นเรื่องคุณภาพของทีมค่อนข้างมาก ในประเทศไทยการหาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลหรือวิศวกรนั้นเป็นเรื่องยาก แต่ที่ Data Wow เรามีบุคลากรที่เชี่ยวชาญอยู่จำนวนมาก ดังนั้นเราจึงสามารถนำจุดแข็งส่วนนี้มาช่วยบริษัทในประเทศไทยทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางได้ด้วยราคาที่เหมาะสม” เจษฎากรกล่าว

 

ใครบ้างที่สามารถทำ Digital Transformation ได้

หนึ่งในประเด็นที่ภาคธุรกิจที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำ Digital Transformation มาก่อนเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน คือคิดว่าการทำทรานส์ฟอร์มจะทำได้เฉพาะธุรกิจด้านเทคโนโลยีหรือเป็นธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ แต่แท้จริงแล้วไม่ว่าธุรกิจไหนก็สามารถทำทรานส์ฟอร์มได้ โดยเราสามารถพิจารณาออกเป็นปัจจัยได้ 2 ปัจจัย คือ ‘ขนาดของธุรกิจ’ และ ‘ประเภทของอุตสาหกรรม’

 

ขนาดของธุรกิจ

จากประสบการณ์ของ Data Wow ลูกค้าที่เข้ามาส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทระดับมหาชนที่มีความพร้อมค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านทรัพยากรข้อมูลหรือเป็นทักษะการใช้ข้อมูลให้มีประสิทธิภาพของพนักงาน 

 

อย่างไรก็ตามต้นมองว่า กลุ่มธุรกิจที่สามารถทำ Digital Transformation ได้เช่นกัน คือกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งจะก่อให้เกิดศักยภาพทางธุรกิจได้อีกมหาศาล

 

“เรารู้สึกว่าธุรกิจในประเทศไทยยังมีศักยภาพอีกมาก ในการที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพื่อที่จะสามารถสร้างผลผลิตให้มีคุณภาพ รวมถึงช่วยลดต้นทุนการผลิตได้มากขึ้น” เจษฎากรแสดงความคิดเห็น

 

ประเภทของอุตสาหกรรม

นอกเหนือจากขนาดของธุรกิจที่เป็นหนึ่งในปัจจัยของการทรานส์ฟอร์มแล้ว อีกด้านหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณาคือประเภทของอุตสาหกรรมที่หลายคนมักตั้งคำถามว่า จำเป็นหรือไม่ที่ต้องประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีถึงจะสามารถทำ Digital Transformation ได้

 

ซึ่งนั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด เนื่องจากการทำ Digital Transformation หรือการนำ AI เข้ามาใช้ในภาคธุรกิจ สิ่งที่พิจารณาจะแยกเป็นแต่ละกรณีไป (Case-by-Case) ว่าแต่ละธุรกิจมีองค์ประกอบใดบ้างที่ต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มศักยภาพ และมีส่วนใดบ้างที่ควรมีการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบใหม่ กล่าวก็คือการทำ Digital Transformation นั้นไม่ได้ถูกจำกัดด้วยขอบเขตใดๆ ทั้งสิ้น และสามารถทำได้ในทุกอุตสาหกรรม

 

ต้นได้ยกตัวอย่างการนำ AI เข้ามาใช้ในแต่ละภาคอุตสาหกรรม เช่น หากธุรกิจต้องการนำระบบตรวจจับ (Detection) เข้าไปใช้ ก็สามารถทำได้ทั้งธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่ต้องการตรวจจับการสวมใส่หมวกนิรภัยในพื้นที่ หรือเป็นการสร้างเครื่องแยกผลไม้เน่าเสียออกจากผลไม้ที่มีคุณภาพ ซึ่งก็ใช้ระบบตรวจจับเช่นกัน เพียงแค่การใช้งานได้ถูกประยุกต์ใช้ลงในคนละอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็น Business Application ที่ทาง Data Wow สามารถปรับตัวไปตามประเภทอุตสาหกรรมของลูกค้า และหาโซลูชันที่ตอบโจทย์แบบเฉพาะบุคคลในแต่ละกลุ่มธุรกิจได้

 

ถึงเวลาเริ่มทรานส์ฟอร์มร่วมกับ Data Wow บริษัทจะต้องทำอะไรบ้างแบบ Step-by-Step

 

Data Wow

 

ในการทำทรานส์ฟอร์มหรือการแก้ปัญหาในองค์กรด้วยการปรับตัวสู่โลกดิจิทัล ต้นได้กล่าวถึงการทำงานร่วมกับกลุ่มลูกค้าว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

 

1. เรียนรู้ Business Context

เพื่อให้แก้ปัญหาได้ถูกจุด Data Wow จะเข้าไปเรียนรู้ลักษณะการประกอบธุรกิจของลูกค้าที่ต้องการทำ Digital Transformation ก่อนเป็นอันดับแรก ในส่วนนี้ถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่ทำให้เกิดการทรานส์ฟอร์มอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า สอดคล้องกับทรัพยากรที่แต่ละบริษัทได้กำหนดไว้

 

“เราจะมีการเข้าไปคุยกับแผนกของเขา เอาข้อมูลของเขามาดู ผมค่อนข้างเชื่อในเรื่องของทางเลือก (Option) เพื่อแก้ปัญหา มันไม่ได้มีแค่ 2-3 ทางเลือก มันอาจจะมีทางที่ 4 หรือ 5 ก็ได้ เราก็อาจจะพยายามค้นออกมา พิจารณาระยะเวลาที่ใช้แก้ปัญหาร่วมกับลูกค้า เพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุด”

 

2. เริ่มทำการแก้ปัญหา ด้วยทางเลือกที่ตกลงร่วมกับลูกค้า

ระหว่างการแก้ปัญหา Data Wow จะมีกระบวนการทดสอบไอเดียก่อนเริ่มโปรเจกต์อย่างจริงจัง (Proof of Concept) เพื่อให้เห็นแนวทางการแก้ปัญหา และทดสอบว่าวิธีการที่ใช้สามารถแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่ 

 

หลังจากแก้ปัญหาด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปมีบทบาทในธุรกิจของลูกค้าแล้ว ถัดไปคือกระบวนการหลังการทรานส์ฟอร์มซึ่งต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถทรานส์ฟอร์มได้อย่างราบรื่น 

 

ทาง Data Wow จึงมีกระบวนการสุดท้ายคือการเข้าไปดูแลกลุ่มลูกค้าที่ทำการทรานส์ฟอร์มอย่างน้อย 1-2 ปี เพื่อปรับปรุงระบบจนกว่าการทำงานรูปแบบใหม่ที่เปลี่ยนไปจะเริ่มเสถียร และบริษัทต่างๆ สามารถดำเนินการต่อได้เอง 

 

ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าธุรกิจในอุตสาหกรรมนั้นสามารถทำ Digital Transformation ได้ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจในอุตสาหกรรมใดก็ตาม รวมถึงขั้นตอนการทำทรานส์ฟอร์มร่วมกับ Data Wow ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพูดคุยเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกัน และนำข้อมูลที่บริษัทมาร่วมวิเคราะห์เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด นั่นทำให้อีกหนึ่งปัจจัยที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญ คือเรื่องของความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Data Privacy)

 

Data Privacy กับการทำ Digital Transformation 

เพื่อให้การทำทรานส์ฟอร์มเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเปิดเผยข้อมูลเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่คำถามสำคัญก็คือแล้วบริษัทที่ต้องการทรานส์ฟอร์มจะมั่นใจได้อย่างไร ว่าข้อมูลที่นำมาใช้จะไม่ถูกเผยแพร่ หรือถูกโจรกรรมจนเกิดความสูญเสียแก่บริษัท

 

คุณต้นได้กล่าวว่า นั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่การทำทรานส์ฟอร์มร่วมกับที่ปรึกษาจึงควรมีการรับรองด้วยมาตรฐานสากล ซึ่งจะช่วยให้เกิดความคุ้มครองความปลอดภัยและเป็นส่วนตัวของข้อมูล

 

“ที่ Data Wow จะมีระบบมาตรฐานความปลอดภัยสารสนเทศ (ISO 27001) และมาตรฐานการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล (ISO 27701) ซึ่งเป็นสิ่งที่ Data Wow ให้ความสำคัญมาก”

 

นอกจากนี้สิ่งที่ยังคงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนคือ การนำข้อมูลของลูกค้ามาใช้ในการสร้างกลยุทธ์ให้กับองค์กร ซึ่งมีหลายธุรกิจเข้าใจผิดว่าการนำข้อมูลของลูกค้ามาใช้นั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ เช่น การวิเคราะห์การตลาด การออกแคมเปญที่ตอบโจทย์เฉพาะบุคคล (Personalization) แต่ในความเป็นจริงนั้นธุรกิจสามารถทำได้หากมีการยินยอมจากลูกค้า และนั่นเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การแข่งขันของธุรกิจในอนาคตวัดกันตั้งแต่มาตรฐานการเก็บข้อมูล และนำไปสู่ศักยภาพการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพในที่สุด

 

ฉากทัศน์การแข่งขันโลกธุรกิจในอนาคต

แน่นอนว่าทุกการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยตั้งแต่อุตสาหกรรม 1.0 มาจนถึงอุตสาหกรรม 4.0 ที่ธุรกิจขับเคลื่อนด้วยข้อมูลนั้น ไม่ใช่ทุกบริษัทหรือทุกองค์กรจะสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว 

 

หากพูดถึงฉากทัศน์ข้างหน้า กลุ่มธุรกิจที่มีโอกาสน้อยที่จะตกขบวนคงหนีไม่พ้นธุรกิจขนาดใหญ่ที่ปัจจุบันมีความพร้อมต่อการปรับตัวค่อนข้างสูง สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กที่อาจไม่มีศักยภาพเพียงพอ ทั้งในด้านของบุคลากรหรือต้นทุนที่จะนำมาใช้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง

 

ต้นได้กล่าวถึงช่องว่างที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทขนาดใหญ่และขนาดเล็กในช่วงของการเปลี่ยนผ่านว่าธุรกิจขนาดใหญ่นั้น มีการลงทุนอย่างมหาศาลเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ให้พร้อมสำหรับการทำงานด้วยข้อมูล ตรงกันข้ามกับธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่คิดที่จะทำการทรานส์ฟอร์มด้วยซ้ำไป

 

“สิ่งที่ผมอยากเห็นคือการที่บริษัทขนาดกลางหรือขนาดเล็ก เริ่มเอาเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ได้ โดยอาจนำเทคโนโลยีที่ไม่ได้มีราคาสูงมากเริ่มเข้ามาปรับปรุงธุรกิจ เพื่อไม่ให้ศักยภาพการแข่งขันหายไป”

 

นั่นทำให้ Data Wow สนใจในผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้ธุรกิจขนาดเล็ก ที่ต้องการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรม 4.0 แต่อาจไม่จำเป็นต้องมีบุคลากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญมาก ไม่ได้ใช้ต้นทุนสูง ก็สามารถเข้าสู่สนามธุรกิจที่แข่งขันด้วยข้อมูลได้ 

 

“ผมมองว่าการทำซอฟต์แวร์เพื่อดูแลกลุ่มบริษัทขนาดเล็กนั้นจะมีส่วนช่วยได้อย่างมาก เนื่องจากปัญหาของธุรกิจขนาดเล็กมีความคล้ายคลึงกัน เช่น ปัญหาบัญชี ปัญหาการสั่งของ การบริหารทรัพยากร ถ้าเกิดว่าเราสามารถรวบรวมปัญหาทั้งหมด และสร้างเป็นซอฟต์แวร์ราคาถูก ก็อาจช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ได้”

 

“ในปลายทางแล้วผมคิดว่าทุกๆ คนควรบริหารธุรกิจได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจเบื้องลึกทั้งหมด สามารถนำ AI เข้ามาใช้ได้ในทุกๆ อุตสาหกรรม ดังนั้นคาดว่าเทคโนโลยี Low-code No-code จะมีบทบาทอย่างมากในอนาคต” 

 

พิเศษ! สำหรับลูกค้า 10 ท่านแรกที่ติดต่อ Data Wow จาก THE STANDARD รับส่วนลดทันที 20% สำหรับทุกบริการ

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X