ย้อนไปตั้งแต่วัยเด็ก หนึ่งในเครื่องปรุงสุดคลาสสิกที่ไม่เคยร้างลาจากโต๊ะอาหารในบ้าน คือแบรนด์โรซ่า ซึ่งสร้างความผูกพันกับผู้คนโดยเฉพาะคน Gen X และ Gen Y จนเกิดกลายเป็น Brand Love เคล้าอยู่ในวิถีการกินอยู่โดยไม่รู้ตัว
ในระหว่างที่รื้อฟื้นความทรงจำกับโรซ่า เรารู้สึกว่าแบรนด์นี้มีพลังบางอย่างที่นอกเหนือกว่าการทำหน้าที่เชื่อมรสชาติความอร่อยที่เราคุ้นเคย นั่นคือการที่โรซ่าทำให้เรานึกถึงวัยเด็กบนโต๊ะอาหารที่ครอบครัวอยู่พร้อมหน้า เป็นช่วงความสัมพันธ์อิ่มเอมที่โซเชียลมีเดียยังไม่เข้ามาช่วงชิง และทำให้เราเข้าใจได้ทันทีว่าเพราะเหตุใด โรซ่าจึงสร้างแคมเปญ ‘50 ปี โรซ่า แฟมิลี่ฟู้ด เชื่อมรสชาติความสุขของครอบครัว’ ขึ้นมาในช่วงนี้ อันเป็นยุคสมัยที่ไลฟ์สไตล์ของผู้คนเปลี่ยนไป รูปแบบของครอบครัวก็มีความหลากหลายมากกว่าเมื่อก่อน เพราะครอบครัวสำหรับบางคน อาจหมายถึงครอบครัวใหญ่ที่มีคนหลากหลายเจเนอเรชันอยู่รวมกัน และครอบครัวสำหรับบางคน อาจหมายถึงครอบครัวเล็กๆ ที่มีคนเพียงหนึ่งหรือสองคนอยู่ในนิยามนั้น
แต่ไม่ว่าคุณจะมีครอบครัวเป็นแบบไหน นี่คือช่วงเวลาที่คำว่า ‘ครอบครัว’ ซึ่งอาจเคยพร่าเลือนไปตามบริบทการใช้ชีวิตยุคใหม่ ได้กลับมามีความหมายที่แน่นแฟ้นขึ้น หรือพูดง่ายๆ ว่าเป็นการสะกิดให้เรากลับมาคิดถึง ‘ครอบครัว’ ของเรา โดยมี โรซ่า เป็นสื่อกลางในการเชื่อมความสุขของครอบครัวให้กลับมาอีกครั้ง
โดยโรซ่าเลือกใช้ ‘อาหารบ้านบ้าน’ มาเป็นศูนย์กลาง เชื่อมทุกคนในครอบครัวให้มีโมเมนต์พิเศษร่วมกันอีกครั้ง ทั้งในเรื่องของรสชาติและบทสนทนาของคนในครอบครัวที่หาไม่ได้จากนอกบ้าน เพื่อคืนช่วงเวลาคุณภาพให้กับครอบครัว และเป็นการเฉลิมฉลองความสำเร็จตลอดระยะเวลาครึ่งศตวรรษ พร้อมตอกย้ำ Brand Attitude ของโรซ่า ที่ต้องการจะเป็นส่วนหนึ่งในการเชื่อมรสชาติความสุขของครอบครัวกลับคืนมา
เมื่อจุดเริ่มต้นของแคมเปญดังกล่าวมาจาก ‘ครอบครัว’ โรซ่า จึงพัฒนาแนวคิด ‘Reconnecting Family Bonds’ ให้ ‘อาหารบ้านบ้าน อาหารที่มีเรื่องเรา” หรือเมนูอาหารของครอบครัวในความทรงจำเป็นเครื่องมือสื่อสารกับกลุ่มครอบครัวไทยทั่วประเทศ แน่นอนว่าสิ่งที่โรซ่าต้องการ ไม่ใช่แค่ส่งสารแล้วจบไป หากแต่อยากให้เกิดภาพจริงของช่วงเวลาคุณภาพในครอบครัวผ่านเมนูอาหารที่มีโรซ่าเป็นส่วนหนึ่งในนั้นกลับมาด้วย มันจึงเป็นแคมเปญที่ท้าทาย ในการจะต้องคิดทำคอนเทนต์ที่กระตุ้นกลุ่มเป้าหมายให้รู้สึกร่วม การทำแคมเปญการตลาดแบบ 360 องศา ทั้งออนไลน์และออฟไลน์จึงเกิดขึ้น
เริ่มต้นจุดพลุด้วยการเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาและเว็บฟิล์มชุด ‘Home Food Story – อาหารบ้านบ้าน อาหารที่มีเรื่องเรา’ ถ่ายทอดผ่านเรื่องราวของชีวิตหลากรุ่นตามยุคสมัย ที่เจอเรื่องราวแตกต่างกันออกไปแล้วทำให้หวนคิดถึงคนในครอบครัว โดยมีอาหารบ้านบ้าน ช่วยเชื่อมความสุขนั้น ซึ่งเนื้อหาและการนำเสนอที่นำสมัย ทำให้ภาพยนตร์โฆษณาดังกล่าวเป็นที่พูดถึงของกลุ่มเป้าหมายบนโลกโซเชียลมีเดีย อีกทั้ง โรซ่า ยังจับมือกับ TV Thunder บริษัทผลิตสื่อชั้นนำ สร้างสรรค์มินิซีรีส์ ‘จากสูญถึงสิบ’ ซีรีส์แนว Drama Contemporary สะท้อนความสัมพันธ์ในการสร้าง Family Bonding ของครอบครัวรูปแบบต่างๆ หลากหลายช่วงวัย เรียกเสียงฮือฮาในวงกว้างถึงมิติใหม่ของการสอดแทรก Brand Attitude ของโรซ่าลงไปอย่างแนบเนียน
ไม่เพียงแค่นั้น โรซ่ายังจับมือกับเหล่าเซเลบริตี้และอินฟลูเอนเซอร์ที่มีชื่อเสียงทั้งในโลกออฟไลน์และออนไลน์ มาร่วมกันแชร์ประสบการณ์เมนูอาหารบ้านบ้านที่เต็มไปด้วยความทรงจำตามสไตล์ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น โต๋-ไบรท์ ที่นำเสนอคอนเทนต์ ‘โต๋ พา ไบรท์ ไปกินอาหารบ้านบ้าน แบบ Chef’s Table’ ร่วมด้วยคอนเทนต์จาก หยาดพิรุณ, TheFadd, Aum Napat ฯลฯ หรือแม้แต่ในรายการทีวีก็ได้มีการหยิบยกเรื่องราวของแคมเปญดังกล่าวมาพูดถึง เพื่อเน้นย้ำให้ผู้คนเกิดความรู้สึกอยากมีโมเมนต์ร่วมโต๊ะกับคนในครอบครัว
อันที่จริง ความทรงจำกับเมนูอาหารของครอบครัวนั้น เราต่างก็มีประสบการณ์ร่วมกันอย่างถ้วนหน้า ทางแบรนด์จึงไม่ลืมสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสื่อสารกับ Real Consumer โดยให้ทุกคนส่งเรื่องราวอาหารบ้านบ้านของตัวเองเข้ามาร่วมสนุกทาง Facebook ของโรซ่า นั่นคือที่มาของปรากฏการณ์ภาพบิลบอร์ดการร่วมโต๊ะอาหารของคนในครอบครัว ซึ่งกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ กว่า 65 แห่ง เพื่อสะท้อนรสชาติแห่งความสุขของคนในครอบครัว
ในช่วงท้ายของแคมเปญ โรซ่าได้สร้าง Family Bond Quiz เพื่อชวนเราทบทวนความทรงจำ และตั้งคำถามกับคอนซูเมอร์ให้ระลึกถึงคุณค่าและความสำคัญของการใช้เวลาคุณภาพร่วมกันกับคนในครอบครัว
เมื่อย้อนกลับไปถึงเป้าหมายหลักในการทำแคมเปญนี้ของแบรนด์โรซ่าที่บอกว่า ต้องการสื่อสารถึง Brand Attitude ที่เชื่อว่าอาหารคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรง และมีส่วนในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับคนไทย ทั้งยังทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมครอบครัวเข้าหากัน นำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีของสมาชิกในครอบครัว เราก็พบว่าแคมเปญนี้สามารถสื่อสารความหมายนั้นไปยังกลุ่มครอบครัว และทำให้เกิดการพูดถึงประเด็นการกินข้าวร่วมกันที่บ้านบนโลกโซเชียลในวงกว้าง หลากหลายคอมเมนต์กล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่า คอนเทนต์จากแคมเปญของโรซ่าทำให้พวกเขาฉุกคิดถึงครอบครัวที่บ้าน คิดถึงโรซ่าในเมนูโปรด อยากกลับไปกินข้าวกับครอบครัว
ทว่าในเชิง Emotional ที่มีความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวพัน เราเห็นว่าสิ่งที่แคมเปญนี้ประสบความสำเร็จ คือการกระตุ้นเตือนให้เรานึกถึงครอบครัว เพราะอย่างน้อยที่สุดภายใต้เรื่องราวของอาหารบ้านบ้าน ก็ทำให้เราอยากระลึกได้ว่า อยู่ร่วมโต๊ะอาหารกับครอบครัวครั้งสุดท้ายเมื่อไร และอยากกลับไปทำให้โมเมนต์แบบนั้นเกิดขึ้นอีกหลายๆ ครั้ง นี่คือความสำเร็จอย่างสวยงามที่สุดสำหรับเรา