×

โคคา-โคล่า ชวนคนไทยเปลี่ยนพฤติกรรมมาแยก (ขยะ) พร้อมร่วมกิจกรรมโดย Trash Lucky ลุ้นรางวัลใหญ่ ผ่านแคมเปญ ‘โค้กชวนแยก แลกลุ้นโชคกับ Trash Lucky’ [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
20.09.2021
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

1 min. read
  • โคคา-โคล่า ปรับดีไซน์บรรจุภัณฑ์ใหม่ภายใต้แนวคิด ‘Recycle Me’ ใช้ข้อความ ‘โปรดรีไซเคิล’ บนบรรจุภัณฑ์ กระตุ้นเตือนให้ผู้บริโภคช่วยกันแยกบรรจุภัณฑ์ออกจากขยะอื่นๆ และนำกลับมารีไซเคิล
  • จากการปรับบรรจุภัณฑ์สู่แคมเปญชวนแยก แลกลุ้น ใน ‘โค้กชวนแยก แลกลุ้นโชคกับ Trash Lucky’ โคคา-โคล่า ชวนคัดแยกขยะรีไซเคิล และ  ส่งคืน พร้อมร่วมกิจกรรมลุ้นโชคจัดโดย Trash Lucky สตาร์ทอัปเพื่อสิ่งแวดล้อม ลุ้นรางวัลมากมายรวมมูลค่ากว่า 9 แสนบาท สนับสนุนโดย โคคา-โคล่า กดดูรายละเอียด
  • ขวดพลาสติกที่เก็บได้จากแคมเปญ ‘อินโดรามา เวนเจอร์ส’ จะนำไปรีไซเคิลเป็นชุด PPE เพื่อบริจาคให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อรับมือกับวิกฤตโควิด จำนวน 1,500 ชุด 

ประเด็นเรื่องปริมาณขยะพลาสติก และการรีไซเคิล ถูกนำมาถกเถียงและยกเป็นปัญหาเร่งด่วนทุกปี นโยบายต่างๆ ก็ยังทำให้ปริมาณขยะในประเทศไทยลดลงได้ไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม หลากหลายหน่วยงานก็ยังต้องทำงานด้านนี้กันอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบจากขยะ ผลักดันให้เกิดการรีไซเคิล ลดปริมาณขยะอย่างยั่งยืนให้ได้ในที่สุด เราจึงได้เห็นแคมเปญที่เกิดจากความร่วมมือกันของแบรนด์ใหญ่ อย่างโคคา-โคล่า ที่เดินหน้าทำงานเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาเรื่องการขยะและการรีไซเคิล ที่ไปสนับสนุนของรางวัลให้กับ Trash Lucky  สตาร์ทอัปเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแยกขยะโดยมีของรางวัลใหญ่เป็นแรงจูงใจ โดยหวังจะให้การเริ่มต้นแยกขยะในครั้งนี้กลายเป็นพฤติกรรมที่ผู้บริโภคทำเป็นประจำ

 

ความสนุกของแคมเปญ ‘โค้กชวนแยก แลกลุ้นโชคกับ Trash Lucky’ ก็คือ เราสามารถเปลี่ยนขยะรีไซเคิลรอบตัว อาทิ พลาสติก อะลูมิเนียม แก้ว กระดาษ หรือโลหะ ตามปริมาณที่กำหนด ให้กลายเป็นตั๋วลุ้นรางวัล เพียงลงทะเบียนเข้าร่วมแคมเปญที่ LINE Official Account: @trashlucky  แล้วก็แยกขยะและวัสดุรีไซเคิล ทำความสะอาดให้เรียบร้อย ใส่กล่องโดยแยกวัสดุแต่ละชนิดไม่ให้ปนกัน แล้วก็ส่งไปที่ Trash Lucky ซึ่งงานนี้ โคคา-โคล่า เป็นสปอนเซอร์ใหญ่ใจป้ำ เตรียมของรางวัลมาให้ลุ้นรวมมูลค่ากว่า 9 แสนบาท โดย Trash Lucky จะจับรางวัลและมอบของรางวัลให้ผู้บริโภคทุกเดือนตั้งแต่เดือนกันยายน ถึงพฤศจิกายน 2564 เดือนละกว่า 400 รางวัล ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ ทองคำ บัตรกำนัล ของที่ระลึกจากโคคา-โคล่า นอกจากนั้นผู้บริโภคที่เข้าร่วมแคมเปญทุกคนยังมีสิทธิ์ได้ลุ้นของรางวัลใหญ่อย่างรถยนต์ในเดือนสุดท้ายของแคมเปญอีกด้วย

 

กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ประเทศไทย ก็เป็นหนึ่งในธุรกิจผู้ผลิตเครื่องดื่มรายใหญ่ที่แสดงจุดยืนเรื่องการรีไซเคิลขยะอย่างจริงจัง นับตั้งแต่ปี 2018 ที่โคคา-โคล่า ได้ประกาศวิสัยทัศน์ระดับโลก World Without Waste มุ่งใช้บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มอย่างรับผิดชอบและยั่งยืน เพื่อลดปัญหาขยะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีหนึ่งในเป้าหมายหลักคือ จัดเก็บบรรจุภัณฑ์เพื่อนำกลับมารีไซเคิลในปริมาณเทียบเท่ากับปริมาณที่จำหน่ายออกสู่ตลาดให้ได้ 100% ก่อนปี 2030

 

ก่อนหน้านี้กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ประเทศไทย ได้เดินหน้านวัตกรรมที่มีส่วนช่วยลดปริมาณขยะมาแล้วหลากหลาย อย่างเช่น ในปี 2012 ที่บริษัทได้เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดของ ‘น้ำทิพย์’ ใช้ขวด PET แบบใหม่ และนำร่องยกเลิกการใช้พลาสติกหุ้มฝาขวด และการเปลี่ยนขวด ‘สไปรท์’ จากขวดพลาสติกสีเขียวเป็นขวดพลาสติกใส เพื่อให้รีไซเคิลง่ายขึ้น

 

 

ล่าสุด เพื่อตอกย้ำภารกิจ World Without Waste โคคา-โคล่า จึงเปิดตัวดีไซน์บรรจุภัณฑ์ใหม่ภายใต้แนวคิด ‘Recycle Me’ โดยดีไซน์ผลิตภัณฑ์ใหม่จะมีการใช้ข้อความ ‘โปรดรีไซเคิล’ บนบรรจุภัณฑ์เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้บริโภคร่วมด้วยช่วยกันแยกขยะบรรจุภัณฑ์ออกจากขยะอื่นๆ และนำกลับมารีไซเคิลให้ได้มากที่สุด ซึ่งการปรับเปลี่ยนนี้ตั้งเป้าที่จะนำมาใช้กับบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มน้ำอัดลมทุกแบรนด์ในพอร์ตโฟลิโอในประเทศไทยภายในสิ้นปี 2564 ซึ่งจะเป็นแนวทางเดียวกันทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

นันทิวัต ธรรมหทัย ผู้อำนวยการองค์กรสัมพันธ์ การสื่อสาร และความยั่งยืน บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด

 

นันทิวัต ธรรมหทัย ผู้อำนวยการองค์กรสัมพันธ์ การสื่อสาร และความยั่งยืน บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เรามุ่งหวังที่จะสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภคว่า บรรจุภัณฑ์ของเราไม่จำเป็นต้องเป็นขยะ หากมีการจัดการที่ดีตั้งแต่ต้นทาง เราเริ่มต้นจากการเปลี่ยนที่ต้นทางคือ ใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ 100% และปรับดีไซน์บรรจุภัณฑ์ใหม่ ใช้ข้อความ ‘โปรดรีไซเคิล’ บนบรรจุภัณฑ์ อย่างน้อยก็เป็นการสะกิดหรือเตือนให้ผู้บริโภครับรู้ว่า บรรจุภัณฑ์นี้รีไซเคิลได้ ถ้าเขาบริโภคเรื่อยๆ มันก็เหมือนเป็นการเตือนเขาเรื่อยๆ แต่นั่นเป็นแค่ต้นทาง ถ้าเขาเริ่มแต่ปัจจัยอื่นๆ ไม่เอื้อต่อการแยกขยะเพื่อนำไปรีไซเคิล มันก็ไปต่อไม่ได้”

 

“เป้าหมายระยะยาวของโคคา-โคล่า ในตอนนี้คือ ต้องการจัดเก็บบรรจุภัณฑ์เพื่อนำกลับมารีไซเคิลในปริมาณเทียบเท่ากับปริมาณที่จำหน่ายออกสู่ตลาดให้ได้ 100% ก่อนปี 2030 แต่มันคงไม่ใช่เรื่องง่าย การปรับดีไซน์บรรจุภัณฑ์ใหม่เพียงอย่างเดียวคงไม่พอ เราจึงมองหาพันธมิตรที่มีศักยภาพด้านนี้ กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่เราได้ทำงานร่วมกับ Trash Lucky สนับสนุนของรางวัลภายใต้แคมเปญ ‘โค้กชวนแยก แลกลุ้นโชคกับ Trash Lucky’” นันทิวัตเล่าถึงที่มาของแคมเปญ

 

 

นันทิวัตกล่าวเสริมว่า “แคมเปญนี้เราจูงใจให้คนหันมาแยกขยะด้วยการให้เขาลุ้นรางวัล นอกจากนั้นขวดพลาสติก PET ทั้งหมดที่รวบรวมได้ในแคมเปญยังจะถูกส่งต่อให้กับพันธมิตรอย่างอินโดรามา เวนเจอร์ส นำไปพัฒนาเส้นใยจากการรีไซเคิลขวด PET ผลิตเป็นชุด PPE ส่งมอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อรับมือกับวิกฤตโควิด จำนวน 1,500 ชุด 

 

“สุดท้ายแล้วเราหวังว่า พฤติกรรมที่เขาได้เริ่มลงมือทำในแคมเปญนี้จะกลายเป็นพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำจริงๆ” 

 

เหมือนเป็นจิ๊กซอว์ที่ลงล็อกพอดี เพราะภารกิจของ Trash Lucky ซึ่งเป็นสตาร์ทอัปเพื่อสิ่งแวดล้อม คือการปลูกจิตสำนึกให้คนหันมารีไซเคิลขยะให้ได้มากที่สุดผ่านการสร้างแรงจูงใจ เมื่อโคคา-โคล่า เต็มใจที่จะสนับสนุนแรงจูงใจด้วยของรางวัลมากมาย เพื่อสร้างความสนใจให้คนเริ่มต้นเปลี่ยนพฤติกรรม ความร่วมมือเพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกันจึงเริ่มต้นขึ้น 

 

ณัฐภัค อติชาตการ ผู้ร่วมก่อตั้ง และกรรมการผู้จัดการ บริษัท แทรชลัคกี้ จำกัด

 

ณัฐภัค อติชาตการ ผู้ร่วมก่อตั้ง และกรรมการผู้จัดการ บริษัท แทรชลัคกี้ จำกัด กล่าวว่า “ภายใต้แคมเปญนี้ นอกเหนือจากการร่วมสนุกลุ้นรับของรางวัล โคคา-โคล่า และ Trash Lucky จะร่วมมือกันจัดกิจกรรมที่ให้ความรู้เกี่ยวกับประเภทขยะ วิธีการแยก และประโยชน์ของการรีไซเคิล ไปจนถึงปัญหาขยะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงจัดทำการศึกษากับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งก่อนและหลังแคมเปญ เพื่อเป็นการวัดผลและเป็นแนวทางในการปรับพฤติกรรมอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายสูงสุดร่วมกันคือ เปลี่ยนการแยกขยะเพียงเพื่อลุ้นของรางวัล ให้เป็นพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้ได้”

 

เมื่อถามณัฐภัคถึงปัญหาที่ทำให้การแยกขยะในประเทศไทยเดินได้ช้าเกิดจากอะไร ในฐานะของสตาร์ทอัปเพื่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวกลางระหว่าง ‘ถังขยะในบ้านคนไทย’ กับ ‘ผู้ประกอบการรีไซเคิล’ บอกว่า “เกิดจากหลายปัจจัย อย่างแรกคือโครงสร้าง หลายประเทศเขามีโครงสร้างที่พร้อมสำหรับกระบวนการรีไซเคิล อาทิ มีรถขยะที่แบ่งประเภทขยะ หรือแบ่งเป็นวันนี้เก็บขยะประเภทต่างๆ แต่ประเทศไทยยังเป็นแบบรถคันเดียวรับขยะทุกประเภท ผู้บริโภคเองก็เข้าใจว่าต่อให้เขาแยกจากที่บ้าน สุดท้ายก็ถูกนำไปรวมกันอยู่ดี มันจึงไม่ส่งเสริมให้พฤติกรรมของคนไทยเห็นถึงความจำเป็นในการแยกขยะ

 

“ประเด็นต่อเนื่องคือนโยบายต่างๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจต้องออกนโยบายเพิ่มเติม เพื่อกระตุ้นให้คนหันมาแยกขยะมากขึ้น ควบคู่ไปกับช่วยกระตุ้นให้บริษัทหรือองค์กรเห็นความสำคัญของวัสดุรีไซเคิล เช่น เพิ่มค่าขยะสำหรับบ้านที่มีขยะเยอะ หรือออกมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้เม็ดพลาสติกรีไซเคิล เพื่อเป็นแรงจูงใจให้บริษัทหรือองค์กรใช้ของเหล่านี้มากขึ้น รวมไปถึงสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงด้านข้อกฎหมายอย่างที่คุณนันทิวัตกล่าวไว้ เช่น การปลดล็อกให้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิล หรือ rPET สำหรับบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น

 

 

“สุดท้ายคือเรื่องของแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมคนได้นั้นยังไม่มากพอ นี่เป็นจุดที่เรานำเรื่องการลุ้นโชคเข้ามาเป็นตัวกระตุ้น คอนเซปต์คือ ของที่รีไซเคิลได้ ทำอย่างไรให้มันมีมูลค่า เราพบข้อมูลว่า 2 ใน 7 ของคนไทยซื้อล็อตเตอรีรวมเป็นเงินกว่า 2.5 แสนล้านบาทต่อปี แปลว่าคนไทยชอบลุ้นมาก นั่นจึงกลายเป็นไอเดียเปลี่ยนขยะเป็นตั๋วลุ้นรางวัล เพราะการเปลี่ยนพฤติกรรมหลายครั้งต้องพึ่งแรงจูงใจ

 

“ต้องขอบคุณโคคา-โคล่า ที่เป็นสปอนเซอร์ของรางวัลมากมายให้กับแคมเปญนี้ เชื่อว่าจากแรงจูงใจของรางวัลที่มากมายนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นให้แคมเปญสามารถเข้าถึงกลุ่มคนที่แยกขยะในวงกว้างมากขึ้น จากเดิมเราแบ่งกลุ่มคนออกเป็น สายกรีน สายลุ้น และสายบุญ เราพบว่า สายกรีนน่าจะเปอร์เซ็นต์น้อยที่สุดของประชากร แต่เขาจะเป็นผู้นำในเรื่องนี้ แรงจูงใจของเขาคือดูแลรักษาโลก ส่งมอบโลกสะอาดให้คนรุ่นหลัง รางวัลคือของแถม เรียกว่าช่วยโลกแถมได้ลุ้นโชค

 

“ส่วนสายลุ้น ถ้าใช้สถิติของล็อตเตอรีคือ 2 ใน 7 ของคนไทย เขาจะถูกกระตุ้นว่าทำแล้วได้อะไร เช่น ทำแล้วได้รางวัล เคยมีสมาชิกมาเล่าว่า ตัวเขาเป็นคนเดียวที่แยกขยะ แต่พอกลับไปบอกว่าแยกขยะอาจจะได้ทองนะ กลายเป็นว่าคนที่บ้านลุกขึ้นมาแยกขยะทันที นั่นแปลว่ารางวัลจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมได้ สุดท้ายสายบุญ ซึ่งเป็นจำนวนไม่น้อยในเมืองไทย โคคา-โคล่า และ Trash Lucky ก็อยากจะทำแคมเปญให้ครบลูป ให้คนเห็นว่าขยะที่เขานำส่งมารีไซเคิลมันสร้างประโยชน์ให้สังคมได้ จึงนำขยะขวดพลาสติกที่จะรวบรวมได้จากแคมเปญส่งให้อินโดรามา เวนเจอร์ส ไปรีไซเคิลเป็นชุด PPE ส่งมอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์ 1,500 ชุด ซึ่งก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างแรงจูงใจให้กับสายบุญอยากร่วมแคมเปญนี้

  

“ขณะเดียวกันเราอยากให้คนเห็นว่า การส่งต่อขยะรีไซเคิลเป็นเรื่องง่าย จึงร่วมมือกับ SPEED-D ให้พวกเขาสามารถส่งคืนขยะรีไซเคิลได้ที่ 7-Eleven ทุกสาขา โดยแยกขยะจากบ้านตามประเภทที่เรารับ ล้างให้สะอาด ตากให้แห้ง แพ็กลงกล่องพัสดุแล้วจ่าหน้าด้วยรหัสสมาชิกของ Trash Lucky ที่จะได้หลังจากเข้าไปลงทะเบียนใน LINE Official Account: @trashlucky ให้เรียบร้อย แล้วไปที่ 7-Eleven เพื่อใช้บริการขนส่งได้อย่างง่ายดาย โดยสำหรับแคมเปญนี้ทาง SPEED-D ได้มอบส่วนลดค่าจัดส่ง 5 บาทอีกด้วย” 

 

 

โดยผู้บริโภคสามารถเข้าร่วมแคมเปญ ‘โค้กชวนแยก แลกลุ้นโชคกับ Trash Lucky’ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน – 30 พฤศจิกายน 2564 กินระยะเวลานานถึง 3 เดือน ซึ่งณัฐภัคบอกกับเราว่า ระยะเวลาดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่มีการวิจัยพบว่า สามารถปรับเปลี่ยนให้กิจกรรมหนึ่งที่บุคคลทำอยู่เป็นการชั่วคราวกลายเป็นพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำได้

 

ด้านนันทิวัตกล่าวเสริมว่า “เราคงหวังผล 100% ให้คนทั้งหมดที่เข้าร่วมแคมเปญเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ได้ แต่เรามองว่า สมมติจากผู้เข้าร่วมแคมเปญ 100 คน มี 20 คนที่ยังแยกขยะต่อ ส่วนอีก 80 คนไม่แยกขยะแล้ว แคมเปญก็จะนำข้อมูลที่ได้ศึกษาจาก 80 คนนี้ มาวิเคราะห์ต่อได้ว่าทำไมพวกเขาถึงไม่ทำ แล้วนำไปปรับเป็นแนวทางการทำงานในอนาคต รวมถึงยังได้ศึกษาถึงพฤติกรรมของคนที่เข้าร่วมแคมเปญว่าเป็นไปในทิศทางไหน เพื่อที่จะออกแบบกิจกรรมหรือแคมเปญที่ช่วยแก้ปัญหา และกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างแท้จริง ข้อมูลเหล่านี้คือสิ่งที่เราคาดหวังจะได้จากแคมเปญนี้”

 

ในขณะที่ณัฐภัคก็คาดหวังว่า อย่างน้อยๆ แคมเปญนี้จะได้รับผลตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค จนได้ยอดขวดพลาสติก PET ประมาณ 27,000 ขวด เพื่อเปลี่ยนเป็นชุด PPE 1,500 ชุดตามที่ตั้งไว้ว่าจะถึงเป้า และท้ายที่สุดแคมเปญนี้จะเป็นแรงจูงใจให้คนที่ไม่เคยแยกขยะ หันมาแยกขยะกันมากขึ้น เปลี่ยนสายลุ้นและสายบุญให้กลายเป็นเลือดผสมสายกรีนสักหน่อยก็ดี 

 

“ไม่ว่าจะสายกรีน สายลุ้น สายบุญ ก็อยากให้มาร่วมสนุกกัน หรือจะชวนคนใกล้ตัว บอกต่อคนที่สนใจชอบลุ้น ชอบทำบุญด้วยก็ยิ่งดี นำบรรจุภัณฑ์ที่ผ่านการใช้งานแล้วโดยไม่จำกัดแบรนด์ ส่งมาร่วมสนุก โคคา-โคล่า เชื่อว่า แรงกระเพื่อมเล็กๆ ของทุกคนจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้อย่างแน่นอน” นันทิวัตกล่าวทิ้งท้าย 

 

ดูรายละเอียดแคมเปญเพิ่มเติมได้ที่  https://www.trashlucky.com/recycleme

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X