การแพร่ระบาดของโควิดในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ผู้คนจำนวนมากสูญเสียงานของตัวเองไปจนขาดรายได้ในการยังชีพ แต่การเข้ามาของเกมในรูปแบบ ‘Play to Earn’ บนระบบบล็อกเชน เข้ามาช่วยให้ใครหลายคนในกลุ่มนี้ยังพอจะมีรายได้จากการเล่นเกมเพื่อมาเลี้ยงชีพ
หนึ่งในเกมที่เรียกได้ว่าเป็นกระแสที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และสร้างรายได้ให้กับเหล่าเกมเมอร์จำนวนมาก คือ ‘Axie Infinity’
เกม ‘Axie Infinity’ มียอดผู้ใช้งานเติบโตอย่างรวดเร็ว จาก 30,000 รายในช่วงเดือนเมษายนปีที่ผ่านมา เป็น 1 ล้านรายในเดือนสิงหาคมปีนี้ ผู้เล่นส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ทั้งจากฟิลิปินส์ บราซิล เวเนซุเอลา
วินเซนต์ กาลลาร์ต อดีตนักวิเคราะห์ด้านไอทีชาวฟิลิปินส์ที่เพิ่งถูกให้ออกจากงานเมื่อเดือนกรกฎาคมกล่าวว่า เขาได้พบตัวช่วยทางการเงินอย่างเกม Axie Infinity ที่สามารถสร้างรายได้ให้เขาได้มากถึง 3 เท่าของรายได้ปกติที่ได้รับราว 24,000 บาท
กาลลาร์ตเล่าว่าเขารู้จักกับเกมดังกล่าวจากญาติซึ่งแนะนำให้เขาเข้าสู่วงการเกม Play to Earn ทั้งนี้ ในช่วงเริ่มต้นของการเล่มเกมดังกล่าวถือว่าไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนที่ขาดรายได้อย่างเขา เพราะเกม Axie Infinity ต้องใช้เงินเริ่มต้นการเล่มเกมอย่างต่ำประมาณ 20,000 บาท เพื่อมาซื้อตัวละครที่เรียกว่า Axie ภายในเกมจำนวน 3 ตัว
รูปแบบการเล่นเกม Axie Infinity คือการให้ผู้เล่นไปเลี้ยง ฝึก ผสมพันธุ์ และสามารถนำสัตว์เลี้ยงที่เรียกว่า Axies ไปสู้กับ Axies ตัวอื่นๆ โดยตัว Axies ภายในเกมใช้รูปแบบการทำงานเช่นเดียวกับ Non-Fungible Token (NFT) ที่สามารถนำไปใช้แลกเปลี่ยนมูลค่ากันได้ และมีโทเคนประจำแพลตฟอร์ม คือ ‘AXS’ และ ‘SLP’
จากช่องว่างดังกล่าว ในวงการนี้จึงมีกลุ่มคนที่เรียกตนเองว่า ‘สปอนเซอร์’ เกิดขึ้นมา ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ให้ยืม Axie สำหรับสำหรับมือใหม่ แต่แลกกับเปอร์เซ็นต์ของรายได้จากเกมที่หาได้ ซึ่งในบางรายโดนคิดเปอร์เซ็นต์สูงถึง 90% เลยทีเดียว
กาลลาร์ตได้ใช้เส้นทางดังกล่าวเช่นกัน เขาไปหาสปอนเซอร์จากกลุ่มใน Facebook ชื่อ Real Deal Guild ซึ่งเป็นผู้ให้การสนับสนุนเงินทุนไปกว่าร้อยคนในฟิลิปินส์ โดยข้อตกลงของกลุ่มนี้ก็คือคิดเปอร์เซ็นต์รายได้จากผู้เล่น 30%
จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าเกม Axie Infinity สามารถสร้างงานให้กับผู้คนจำนวนมาก หากมาดูในฝั่งของเจ้าของแพลตฟอร์มที่หารายได้จากค่าธรรมเนียมของธุรกรรมภายในเกมก็เป็นจำนวนที่สูงไม่แพ้กัน Axie สามารถสร้างรายได้ให้กับบริษัทแม่อย่าง Sky Mavis เป็นจำนวน 600 ล้านบาทในช่วงปี 2018 ถึง 1 กรกฎาคม และ สามารถทำรายได้กว่า 1.45 หมื่นล้านบาทในช่วงถัดจากนั้นมาจนถึงปัจจุบัน
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เกมที่สามารถซื้อขายสินค้าในโลกดิจิทัล และสามารถนำมาสร้างมูลค่าในโลกความเป็นจริงก็มีจำนวนไม่น้อย แต่เหตุผลที่ทำให้ Axie Infinity โดดเด่น คือการที่เกมดังกล่าวทำให้ผู้เล่นสามารถนำเงินออกมาได้จริงๆ โดยการเชื่อมต่อเหรียญของแพลตฟอร์มอย่าง ‘AXS’ หรือ ‘SLP’ เข้ากับศูนย์การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ที่เชื่อถือได้อย่าง ‘Binance’
อย่างไรก็ตาม วาเนสซา เชา ผู้ก่อตั้งบริษัทด้านการลงทุน BTX Capital วิจารณ์ถึง Axie Infinity ว่า “พื้นฐานของเกมนี้ไม่แข็งแรงและไม่มั่นคง เพราะเกมบังคับให้ผู้เล่นต้องจ่ายเงินก่อนที่จะเล่น มันเป็นคอนเซปต์ที่ผิด คุณไม่สามารถให้คนเล่นจ่ายเงินโดยที่ยังไม่รู้ว่าเกมเล่นอย่างไร”
*บทความนี้เป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ไม่ได้มีเจตนาชักชวนให้เล่นเกมดังกล่าวแต่อย่างใด
อ้างอิง:
เตรียมพบกับฟอรัมที่ผู้บริหาร ‘ต้องดู’ ก่อนวางแผนกลยุทธ์ปีหน้า! The Secret Sauce Strategy Forum คัมภีร์กลยุทธ์ฝ่าวิกฤตปี 2022
📌 เฟรมเวิร์กกลยุทธ์ใช้ได้จริง
📌 ฉากทัศน์เศรษฐกิจไทย–โลก
📌 เทรนด์ผู้บริโภค–การตลาด
📌 เคสจริงจากผู้บริหาร
ซื้อบัตรได้แล้วที่ www.zipeventapp.com/e/the-secret-sauce
#TheSecretSauceStrategyForum2022