×

ธีมลงทุน ‘สินค้าแบรนด์เนม’ ยังมีโอกาสเติบโตจากการเดินหน้าเปิดเมืองของสหรัฐฯ ยุโรป และจีน

07.08.2021
  • LOADING...
brand name products

ท่ามกลางวิกฤตโควิด ตั้งแต่ต้นปี 2563 หนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังเติบโตสวนทางขึ้นมาได้คือ ‘สินค้าแบรนด์เนม’ (Brand Name) 

 

เจสสิกา เกอร์เบรี นักวิเคราะห์อาวุโส จาก Calamos Investments มองว่า โครงสร้างการเติบโตของอุตสาหกรรมสินค้าหรู ทำให้หุ้นในกลุ่มนี้เปลี่ยนภาพจากการเป็นหุ้นวัฏจักรสู่หุ้นที่มีโอกาสเติบโตในระยะยาว

 

“ความแข็งแกร่งของหุ้นเหล่านี้ถูกทดสอบผ่านความไม่แน่นอนของโควิด และวิกฤตที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดมุมมองเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมนี้” 

 

ข้อมูลจาก Bain & Company ระบุว่า ในช่วงระหว่างการแพร่ระบาดของโควิดที่ผ่านมา ยอดขายสินค้าแบรนด์เนมผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นเกือบ 50% เป็น 5.9 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2563 เพิ่มจากปีก่อนหน้าที่ 3.97 หมื่นล้านดอลลาร์ และมีการคาดการณ์ว่ายอดขายผ่านออนไลน์จะยังเติบโตต่อเนื่อง

 

หนึ่งในปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของสินค้าแบรนด์เนมเหล่านี้คือ การเพิ่มขึ้นของประชากรชนชั้นกลางทั่วโลกที่คาดว่าจะแตะ 5.3 พันล้านคนในปี 2573 โดยเฉพาะในประเทศจีน 

 

ทั้งนี้ เกอร์เบรีมองว่า อุตสาหกรรมนี้จะเติบโตได้ในระดับ 5% ต่อปี พร้อมกับแนะนำ 3 เทคนิค การลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ 

 

  1. เข้าใจความแตกต่างของแต่ละบริษัท เพราะธุรกิจแบรนด์เนมแต่ละแห่งก็มีองค์ประกอบที่ต่างกัน เช่น บางบริษัทมุ่งพัฒนาเพียงแค่แบรนด์เดียว ขณะที่บางบริษัทอาจจะมีการกระจายหลายแบรนด์ หรืออย่างบริษัทขนาดใหญ่มักจะเติบโตด้วยการซื้อกิจการใหม่ๆ เข้ามาเสริม นอกจากนี้เรื่องของภูมิศาสตร์ก็มีผลต่ออุตสาหกรรมนี้ แม้ว่าหลายบริษัทในอุตสาหกรรมจะมีฐานที่ตั้งอยู่ในยุโรป แต่ฐานลูกค้าของบริษัทเหล่านี้กระจายไปทั่วโลก

 

  1. การปรับตัวเข้ากับยุคดิจิทัล นักลงทุนควรจะพิจารณาว่าแต่ละบริษัทปรับตัวในเรื่องของดิจิทัลอย่างไร เพราะไม่ใช่ทุกบริษัทที่จะสามารถพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อยกระดับประสบการณ์ให้กับลูกค้า ซึ่งความแตกต่างกันระหว่างบริษัทที่ทำได้และทำไม่ได้จะกว้างออกมากขึ้นเรื่อยๆ 

 

  1. กำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นจากจีน เป็นแรงหนุนสำคัญต่ออุตสาหกรรมสินค้าแบรนด์เนม ในปี 2562 ลูกค้าชาวจีนคิดเป็นประมาณ 35% ของยอดขายสินค้าแบรนด์เนมทั่วโลก ซึ่งตัวเลขนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 50% ในปี 2568 

 

บล.โนมูระ พัฒนสิน เปิดเผยผ่านบทความ Nomura Value Creation ว่า แม้ว่าการแพร่ระบาดของโควิดจะกระทบต่อยอดขายสินค้าหรูบ้าง เนื่องจากการปิดร้านค้า ปิดดิวตี้ฟรี รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง แต่อีคอมเมิร์ซเป็นปัจจัยหนุนยอดขายอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากสินค้าเหล่านี้มี Brand Loyalty รวมถึงผลกระทบจากโควิดต่อความมั่งคั่งของผู้มีรายได้สูงนั้นก็เกิดขึ้นเพียงจํากัด 

 

Bloomberg Consensus คาดว่ารายได้ของบริษัทผู้ผลิตสินค้าหรูทั่วโลกจะเติบโตถึง 28% ในปี 2564 จาก 17% ในปีก่อนหน้า แรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการเปิดเมือง นอกจากนี้ตลาดเอเชียโดยเฉพาะจีน จะเป็นแรงขับเคลื่อนความต้องการซื้อ (Demand) สําคัญ 

 

สําหรับบริษัทที่ทำธุรกิจสินค้าหรูหรือสินค้าแบรนด์เนมนั้น หลักๆ ได้แก่ 

 

  1. LVMH Moet Hennessy Louis Vuitton หรือ LVMH เป็นบริษัท Global Luxury

Group สัญชาติฝรั่งเศส ดําเนินธุรกิจผ่าน 75 บริษัท เช่น Louis Vuitton, Christian Dior, Givenchy และ Fendi เป็นต้น 

 

  1. Kering เป็นบริษัท Global Luxury Group สัญชาติฝรั่งเศส เป็นบริษัทแม่ของ Gucci, Saint Laurent และ Puma เป็นต้น

 

ด้าน อภิวัฒน์ น้าประทานสุข ผู้บริหารกลยุทธ์ด้านการลงทุน ธนาคารทหารไทยธนชาต เปิดเผยว่า การลงทุนในหุ้นกลุ่มสินค้าแบรนด์เนมยังน่าสนใจ โดยได้ปัจจัยหนุนจากเรื่องของการเดินหน้าเปิดเมืองเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ ทั้งในส่วนของสหรัฐฯ ยุโรป รวมถึงจีนซึ่งเป็นฐานกำลังซื้อสำคัญ 

 

“ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาผลตอบแทนของกองทุนอย่าง T-PREMIUM BRAND อยู่ที่ราว 17% ขณะที่ NAV ของกองทุนก็ใกล้จะทำจุดสูงสุดใหม่ได้แล้ว ส่วนตัวเชื่อว่าหุ้นในกลุ่มนี้ยังมีโอกาสให้เติบโตได้ต่อ” 

 

brand name products

 

อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X