เมื่อไม่นานมานี้ อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. กล่าวถึงการเตรียมงบประมาณกว่า 200 ล้านบาทเพื่อเอาไว้รับมือกับโควิด-19 ระลอกสามที่กำลังเกิดขึ้นนี้
ทั้งยังได้ทำโครงการ ‘ลมหายใจเดียวกัน’ ขึ้นมาเพื่อมอบเครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยวิกฤต (ICU Ventilator) เครื่องให้ออกซิเจนอัตราไหลสูง (High-Flow Nasal Oxygen) ที่ช่วยลดและชะลอการลุกลามของปอดอักเสบไม่ให้รุนแรงจนต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ รวมจำนวนกว่า 300 เครื่อง
รวมไปถึงการมอบงบประมาณจัดซื้อออกซิเจนเหลวเพื่อใช้ร่วมกับเครื่องช่วยหายใจ หมวกอัดอากาศป้องกันการติดเชื้อความดันบวก สนับสนุนห้องความดันลบ และอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ ที่จำเป็นกับการต่อสู้กับโควิด-19
ประเด็นที่น่าสนใจของโครงการลมหายใจเดียวกัน คืออย่างที่หลายคนรู้กันดีว่าโควิด-19 สร้างผลกระทบไปในทุกหย่อมหญ้าทั้งกับคนตัวเล็กและคนตัวใหญ่ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า ปตท. ก็เป็นหนึ่งในคนตัวใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากครั้งนี้ด้วยเช่นกัน
แล้วทำไม ปตท. ถึงยังคงใช้งบประมาณไปกับการทำ CSR ในช่วงเวลาแบบนี้?
ด้วยความที่ ปตท. เกี่ยวข้องกับผู้คนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และได้เดินเคียงข้างสังคมไทยมาโดยตลอด ดังนั้นแล้วในช่วงวิกฤตแบบนี้จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ต้องเร่งช่วยเหลือสังคม เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด และเมื่อศึกษาลงไปลึกถึงพันธกิจที่นอกเหนือไปจากเรื่องการดูแลความมั่นคงทางพลังงาน นั่นก็คือคำมั่นสัญญาที่ให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ใส่ใจสังคม โดยจะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยในการขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปด้วยกัน เพราะไม่มีทางเลยที่องค์กรหนึ่งองค์กรใดจะเติบโตอย่างยั่งยืนในระยาวได้ ในขณะที่สังคมหยุดชะงักอยู่กับที่
โดย ปตท. ยังได้นำความรู้ ความเชี่ยวชาญในการพัฒนานวัตกรรมที่มีอยู่มาช่วยกู้วิกฤตในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน
หนึ่งในนั้นก็คือการทำ ห้องความดันลบ ปตท. ได้นำความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ทางวิศวกรรมในการออกแบบ บริหารจัดการจัดทำเตียงความดันลบสำหรับผู้ป่วย โควิด-19 เพื่อปรับปรุงห้องพักผู้ป่วยปกติ ให้เป็นห้องพักผู้ป่วยแบบระบบห้องควบคุมความดันลบ
นอกจากโครงการลมหายใจเดียวกันที่ได้ดำเนินการขึ้นมาในช่วงของการระบาดของโรคโควิด-19 แล้ว อีกหนึ่งโครงการ CSR หนึ่งที่น่าสนใจของ ปตท. ก็คือโครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม ซึ่งเป็นการร่วมมือของกลุ่ม ปตท. ที่ได้นำองค์ความรู้ที่มีความเชี่ยวชาญของแต่ละบริษัทในเครือมาผสมผสานใช้ทั้งในด้านทักษะ นวัตกรรม หรือเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน จนแตกหน่อออกมาเป็นอีก 2 โครงการหลักๆ นั่นคือ
Smart Farming โครงการที่นำนวัตกรรม เทคโนโลยี และความรู้ต่างๆ มาช่วยยกระดับผลผลิตทางการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการผลผลิตได้อย่างมีคุณภาพและมีความยั่งยืนมากขึ้น
และ Smart Marketing คือการพัฒนาสินค้าหรือบริการของชุมชนให้มีคุณภาพมากขึ้น เพื่อให้สามารถขายบนช่องทางออนไลน์ได้ สามารถทำสินค้าที่ตอบโจทย์ผู้คนในยุคนี้ได้ และนี่ถือเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งมากขึ้นไปอีก
โดยทั้งสองโครงการไม่เพียงแต่สร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังสร้างโอกาสให้กับเหล่านักศึกษาจบใหม่ที่หางานยากขึ้นในช่วงโควิด-19 ที่สังคมต่างได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้าด้วยเช่นกัน
เพราะทั้ง Smart Farming และ Smart Marketing ต่างมีส่วนช่วยสนับสนุนให้เกิดการจ้างงานผ่านโครงการ Restart Thailand
โดยเป็นโครงการที่ ปตท. มีส่วนในการจ้างแรงงานและนักศึกษาจบใหม่เข้ามาร่วมงานกับกลุ่ม ปตท. โดยมีสัญญาจ้างระยะเวลา 1 ปี ในจำนวนกว่า 25,000 คน เข้ามาทำงานในด้านการพัฒนาสังคมและงานด้านอื่นๆ ของกลุ่ม ปตท.
ซึ่งนอกจากรายได้ในการหล่อเลี้ยงชีวิตแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่นักศึกษาจบใหม่เหล่านี้จะได้รับกลับไป นั่นคือการฝึกฝนวิชาต่างๆ เพื่อเสริมทักษะความรู้ที่จะนำไปต่อยอดในการทำงานเกี่ยวกับธุรกิจ สังคม ชุมชนท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อมได้ หรือต่อยอดประสบการณ์ที่ได้จากการทำงานไปพัฒนาชุมชนของตนเองต่อไป
เมื่อนำภาพการทำ CSR ของ ปตท. มาร้อยต่อกัน ทั้งเรื่องการปลูกป่า เพิ่มพื้นที่สีเขียวที่เป็นจุดเด่นในการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมที่ ปตท. ได้ทำมาต่อเนื่องยาวนาน รวมถึงในอีกหลายโครงการที่ได้กล่าวไปในข้างต้น จึงทำให้ได้เห็นว่าการทำ CSR ในยุคนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ที่องค์กรหนึ่งองค์กรใดจะทำขึ้นมาชั่วคราวแล้วจะได้ภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์เท่านั้น สำคัญคือต้องมีความตั้งใจในการทำโครงการหรือแคมเปญอย่างใจจริง จึงจะสามารถสร้างความรู้สึกรักในแบรนด์นั้นให้เกิดขึ้นได้จริงๆ
ซึ่งหากย้อนกลับไปดูข้างต้นจะเห็นได้ว่า CSR ของ ปตท. แต่ละโครงการนั้นล้วนเป็นการทำที่การคิดจากปัญหาที่มีอยู่ ณ ขณะนั้นจริงๆ และอยู่ในช่วงที่สังคม ‘ต้องการใครสักคนที่พร้อมจะเข้ามาช่วยเหลือได้อย่างเร่งด่วน’ เหมือนอย่างโครงการลมหายใจเดียวกัน
รวมถึงรูปแบบที่ใช้ทรัพยากร ความรู้ ทักษะต่างๆ ที่ ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ปตท. มีอยู่มาพัฒนาสังคมทั้งในมิติของการศึกษา สิ่งแวดล้อม หรือเศรษฐกิจ ตั้งแต่ในระดับฐานราก และตลอดระยะเวลา 1 ปีตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด-19 ขึ้นในประเทศ
ซึ่งทั้งหมดนี้คือการทำ CSR ที่สะท้อนกลับมายังแก่นแท้ของแบรนด์ได้อย่างชัดเจน นั่นคือการทำธุรกิจที่เน้นและให้ความสำคัญในเรื่อง ‘ความยั่งยืน’ อย่างแท้จริง
พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์