×

ธปท. ชี้ โควิด-19 ระลอก 3 ยิ่งซ้ำเติมประชาชน เร่งพิจารณามาตรการใหม่เพิ่มเติม

21.04.2021
  • LOADING...

สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายและกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ ธปท. ออก 2 ประกาศเกี่ยวกับมาตรการทางการเงินเพิ่มเติม เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 (มาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมฯ) มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 20 เมษายนที่ผ่านมา โดย ธปท. จะเปิดรับคำขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินรอบแรกในวันที่ 26 เมษายนนี้

ทั้งนี้ การปรับมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมฯ มีการปรับเงื่อนไขในหลายข้อ เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึงมาตรการมากขึ้น เช่น ปรับคุณสมบัติให้ผู้ไม่เคยมีสินเชื่อสามารถขอสินเชื่อได้, การปรับเพิ่มวงเงินสินเชื่อ, การปรับเพิ่มการค้ำประกันสูงขึ้น และปรับดอกเบี้ยขึ้นเพื่อรับความเสี่ยงที่สูงขึ้น ฯลฯ

 

“ตัวมาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูฯ ในครั้งนี้จะตอบโจทย์เน้นตัวลูกหนี้ธุรกิจ และตามมาตรการ พ.ร.ก. นี้คงไม่ใช่ยาขนานพิเศษที่จะแก้ไขปัญหาเกิดขึ้นจากสภาวะโควิด-19 ที่ผ่านมาของเราได้ทั้งหมด ดังนั้นการทำมาตรการเราต้องร่วมกันหลายส่วน”

 

ทั้งนี้ ด้านวงเงินรวมทั้ง 2 มาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมฯ นี้ที่ 3.5 แสนล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อฟื้นฟู 2 แสนล้านบาท และพักทรัพย์ พักหนี้ 1.5 แสนล้านบาท ทาง ธปท. ยังไม่พิจารณาถึงการเพิ่มวงเงินรวม แต่หากมาตรการใดมีความต้องการมากกว่าวงเงินเฉพาะมาตรการ อาจมีการโยกวงเงินจากส่วนที่มีความต้องการน้อยกว่าไปสู่อีกส่วนหนึ่ง 

 

นอกจากนี้เมื่อความไม่แน่นอนในปัจจุบันสูงขึ้นมาก และเกิดการระบาดซ้ำอีกหลายครั้ง ยิ่งซ้ำเติมประชาชนทุกกลุ่ม ทำให้ทาง ธปท. ใส่รายละเอียดคุณสมบัติและอื่นๆ ในประกาศฉบับรอง เพื่อสามารถปรับแก้ไขให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น หากสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลง และ ธปท. กำลังพิจารณามาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมฯ กับภาคส่วนอื่นๆ 

 

ในมิติด้านความเสี่ยงหนี้เสีย ทาง ธปท. มีการประเมินอย่างต่อเนื่อง แต่คาดว่าจะมีผลกระทบ เพราะผลการแพร่ระบาดกระจายในวงกว้างแล้ว ส่วนลูกหนี้ที่จะเข้ามาตรการล่าสุดนี้คาดว่าจะทยอยเพิ่มขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 2 และ 3 หลังเปิดให้สถาบันการเงินยื่นขอสินเชื่อกับ ธปท.

 

พิสูจน์อักษร: ชฎานิสภ์ นุ้ยฉิม

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X