×

BAM กำหนดกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลเรียกเก็บเงินสดในระยะยาว

02.03.2021
  • LOADING...

เกิดอะไรขึ้น:

วานนี้ (1 มีนาคม 2564) บมจ.บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ (BAM) ได้เปิดเผยเป้าหมายในระยะ 5 ปีข้างหน้า โดยตั้งเป้าผลเรียกเก็บเงินสดเพิ่มขึ้นในปี 2564-2568 โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจาก KPI และความมุ่งมั่นของ Front Office โดยในปี 2564 ตั้งเป้าผลเรียกเก็บเงินสดที่ 1.75 หมื่นล้านบาท (เพิ่มขึ้น 33%YoY), ปี 2565 ตั้งเป้าที่ 1.895 หมื่นล้านบาท (เพิ่มขึ้น 9%YoY), ปี 2566 ตั้งเป้าที่ 2.051 หมื่นล้านบาท (เพิ่มขึ้น 8%YoY), ปี 2567 ตั้งเป้าที่ 2.22 หมื่นล้านบาท และปี 2568 ตั้งเป้าที่ 2.404 หมื่นล้านบาท (เพิ่มขึ้น 8%YoY)

 

โดยบริษัทได้ตั้งเป้าผลเรียกเก็บเงินสดจากการบริหาร NPL ในปี 2564 เพิ่มขึ้นสู่ 1.045 หมื่นล้านบาท (เพิ่มขึ้น 24%YoY), สำหรับปี 2565 ตั้งเป้าที่  1.122 หมื่นล้านบาท (เพิ่มขึ้น 7%YoY), ปี 2566 ตั้งเป้าที่ 1.198 หมื่นล้านบาท (เพิ่มขึ้น 7%YoY), ปี 2567 ตั้งเป้าที่ 1.279 หมื่นล้านบาท (เพิ่มขึ้น 7%) และปี 2568 ตั้งเป้าที่ 1.366 หมื่นล้านบาท (เพิ่มขึ้น 7%) 

 

สำหรับกลยุทธ์ที่บริษัทจะใช้เพิ่มการเรียกเก็บเงินสดสำหรับ NPL คือ 

 

  1. คัดเลือก NPL ที่ไม่มีหลักประกันและมีหลักประกันออกมาขายให้เร็วขึ้น 
  2. สนับสนุนการพิจารณาเพื่อให้ได้ข้อยุติกับลูกหนี้ 
  3. ตั้งเป้าเพิ่มลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้มีกระแสเงินสดเข้ามาอย่างต่อเนื่องอีก 3.5 พันบัญชี
  4. เร่งกระบวนการขายทอดตลาดผ่านการประมูล

 

ขณะที่ผลเรียกเก็บเงินสดจากการบริหาร NPA บริษัทตั้งเป้าในปี 2564 เพิ่มขึ้นสู่ 7 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้น 48%YoY), ปี 2565 ตั้งเป้าที่ 7.74 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้น 11%YoY), ปี 2566 ตั้งเป้าที่ 8.53 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้น 10%YoY), ปี 2567 ตั้งเป้าที่ 9.41 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้น 10%YoY) และปี 2568 ตั้งเป้าที่ 1.037 หมื่นล้านบาท (เพิ่มขึ้น 10%YoY)

 

สำหรับกลยุทธ์ที่บริษัทจะใช้เพิ่มการเรียกเก็บเงินสดสำหรับ NPA คือ 

 

  1. เน้นการใช้กลยุทธ์ราคากับรายการที่คัดเลือกมา (กว่า 3,000 รายการ) โดยใช้แคมเปญการตลาดมากขึ้น 
  2. เพิ่มบัญชีขายแบบผ่อนชำระอีกกว่า 1,000 บัญชี ซึ่งจะส่งผลทำให้บริษัทมีผลเรียกเก็บเงินสดจำนวน 15 ล้านบาทต่อเดือน
  3. ตั้งงบจำนวน 226 ล้านบาท เพื่อปรับปรุง NPA สำหรับขาย

 

กระทบอย่างไร: 

วันนี้ (2 มีนาคม 2564) ราคาหุ้น BAM ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย 0.93%DoD สู่ระดับ 21.70 บาท (ข้อมูล ณ เวลา 12.30 น.)

 

มุมมองระยะสั้น:

ด้านแนวโน้มผลเรียกเก็บเงินสดรายไตรมาสของปี 2564 จะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นในครึ่งปีหลังของปี 2564 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจขาลงในปัจจุบันจะเปิดโอกาสให้ BAM ได้เข้าซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในราคาที่ถูกลง นอกจากนี้ BAM ยังได้ประโยชน์จากภาวะดอกเบี้ยต่ำในแง่ของต้นทุนเงินทุนที่ลดลง

 

ทั้งนี้ ต้องติดตามการตั้งบริษัทร่วมทุนแห่งใหม่เพื่อพัฒนาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในพอร์ตของ BAM ให้กลายเป็นอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตร

 

มุมมองระยะยาว:

ในระยะยาวต้องติดตามปัจจัยสำคัญต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อเป้าหมายระยะยาวของ BAM อาทิ ความต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะส่งผลต่อระยะเวลาคืนทุนและผลตอบแทนจาก NPA และ NPL ราคาอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว ซึ่งอาจสร้างแรงกดดันต่อราคาขายทรัพย์สินรอการขายในระยะสั้น รวมถึงต้นทุนเงินทุนของบริษัท

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

 


 

โอกาสของเศรษฐกิจโลกอยู่ตรงไหน ไทยตกขบวนการฟื้นตัวหรือไม่? บิตคอยน์คือ สินทรัพย์ทางเลือก หรือฟองสบู่ที่รอวันแตก? เราควรปรับพอร์ตอย่างไรเพื่อเติบโตท่ามกลางความตกต่ำ

 

ร่วมกันค้นหาคำตอบใน THE STANDARD WEALTH FORUM: Catch the Next Curve

 

สิทธิพิเศษ! ลงทะเบียนรับรหัสจำนวนจำกัด เพื่อเข้าชมถ่ายทอดสดได้ที่ thestandard.co/events

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising