×

‘TCP Spirit’ ชวนอาสาคนรุ่นใหม่ทวนสายน้ำไปเรียนรู้การ ‘พยาบาลลุ่มน้ำ’ แก้ปัญหาที่ต้นตอจากต้นน้ำ [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
30.11.2020
  • LOADING...
‘TCP Spirit’ ชวนอาสาคนรุ่นใหม่ทวนสายน้ำไปเรียนรู้การ ‘พยาบาลลุ่มน้ำ’ แก้ปัญหาที่ต้นตอจากต้นน้ำ [Advertorial]

HIGHLIGHTS

6 mins read
  • ‘TCP Spirit’ ภายใต้แนวคิด ‘พยาบาลลุ่มน้ำ’ กิจกรรมน้ำดีที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก ‘TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย’ โครงการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนของกลุ่มธุรกิจ TCP ผู้ผลิตเครื่องดื่มชั้นนำของไทย
  • หลังประสบความสำเร็จจากกิจกรรม ‘TCP Spirit พยาบาลลุ่มน้ำ’ ครั้งที่ 1 (จังหวัดน่าน) และครั้งที่ 2 (เขาใหญ่) ล่าสุด TCP Spirit เปิดหลักสูตรพิเศษ การจัดการลุ่มน้ำ Limited ยกก๊วน 60 ชีวิตไป ‘แอ่วกว๊าน’ เรียนรู้การจัดการน้ำแบบ ‘บ้านตุ่นโมเดล’ ที่ลำห้วยตุ่น จังหวัดพะเยา หนึ่งในต้นแบบการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน นำทีมโดยรุ่นพี่หัวใจสีเขียว อเล็กซ์ เรนเดลล์ TCP Spirit Brand Ambassador 

หากเรายังปล่อยให้ป่าต้นน้ำซึ่งเป็นต้นกำเนิดแหล่งน้ำถูกทำลาย ส่งผลให้ระบบนิเวศเสียสมดุล เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ปริมาณฝนลดน้อยลง ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนเช่นนี้แล้ว ดังนั้นการมีระบบการจัดการทรัพยากรน้ำที่ดีในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประเทศจนถึงระดับชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการในพื้นที่เสี่ยงต่ออุทกภัยและภัยแล้ง เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจึงมีความสำคัญยิ่ง 

 

 

การบริหารจัดการน้ำในระดับพื้นที่ลุ่มน้ำ สามารถช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง เกษตรกรมีน้ำเพียงพอในการอุปโภคบริโภคและการเกษตร เกิดประโยชน์ต่อชุมชน ทั้งทางด้านทรัพยากร สังคม และเศรษฐกิจ จากความสำคัญดังกล่าว ในปี 2562 กลุ่มธุรกิจ TCP หนึ่งในองค์กรที่ใช้น้ำเป็นวัตถุดิบหลักในการดำเนินธุรกิจ จึงกำหนดให้การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำอยู่ในกรอบการทำงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร และผลักดันให้เกิด ‘TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย’ โครงการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นการบริหารจัดการแหล่งน้ำที่หลากหลายของลุ่มน้ำไทย โดยความร่วมมือกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) มุ่งสร้างความมั่นคงให้กับชุมชนได้มีน้ำไว้ใช้ตลอดปี พร้อมสนับสนุนสถาบันวิจัยทรัพยากรน้ำใต้ดิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการศึกษาวิจัยการจัดการเติมน้ำใต้ดินเพื่อช่วยปรับสมดุลน้ำ โดยตั้งเป้า 5 ปีจะเพิ่มปริมาณน้ำมากกว่า 12 ล้านลูกบาศก์เมตร ให้ชุมชนกว่า 16,000 ครอบครัว ใน 6 จังหวัด ได้เข้าถึงแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาลุ่มน้ำให้เกิดขึ้นในวงกว้าง 

 

 

‘TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย’ สู่โครงการ ‘TCP Spirit’ ภายใต้แนวคิด ‘พยาบาลลุ่มน้ำ’
จากแรงบันดาลใจโครงการ ‘TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย’ นำไปสู่โครงการ ‘TCP Spirit’ จัดกิจกรรมภายใต้แนวคิด ‘พยาบาลลุ่มน้ำ’ ที่ไม่ได้พาอาสาสมัครไปช่วยกันปลูกป่า ถางดิน แต่ชักชวนอาสาสมัครคนรุ่นใหม่ไปเห็นปัญหาถึงพื้นที่ป่าต้นน้ำ สร้างความตระหนักรู้ รวมทั้งเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ อันจะนำไปสู่การจุดประกายสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนและความแตกต่างในแต่ละบริบท TCP จึงนำอาสาสมัครไปเรียนรู้ปัญหาและวิธีการจัดการน้ำในหลายพื้นที่ เพื่อนำกลับไปปรับใช้ในพื้นที่ของตัวเอง หรือแม้แต่ส่งต่อให้กับคนเมืองประยุกต์ใช้ได้   

 

 

ปีนี้ ‘TCP Spirit พยาบาลลุ่มน้ำ’ เปิดหลักสูตรพิเศษการจัดการลุ่มน้ำ Limited ยกก๊วน 60 ชีวิตไป ‘แอ่วกว๊าน’ เรียนรู้การจัดการน้ำแบบ ‘บ้านตุ่นโมเดล’ ที่ลำห้วยตุ่น จังหวัดพะเยา หนึ่งในต้นแบบการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน พื้นที่ที่มีแหล่งน้ำสำคัญที่หล่อเลี้ยงชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน มีต้นน้ำจากยอดดอยหลวง ผ่านที่ลุ่มเกษตรกรรม จนถึง ‘กว๊านพะเยา’ ทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ทางภาคเหนือของประเทศไทย และเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่เป็นชีวิตของคนพะเยา โดยเป็นแหล่งผลิตน้ำประปาเพื่ออุปโภคบริโภค และยังเป็นแหล่งที่อยู่ของปลาหลากชนิด ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำอิงไปรวมตัวกับแม่น้ำโขงในจังหวัดเชียงราย ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.)

 

ปี พ.ศ. 2559 ‘บ้านตุ่นโมเดล’ ได้รับเลือกจากมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริแห่งที่ 11 ของประเทศ และเป็นตัวอย่างความสำเร็จการบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กและแก้มลิง

 

สายน้ำจากลำห้วยตุ่นก่อนที่จะไหลลงสู่กว๊านพะเยาก็มีการจัดสรรเพื่อกระจายให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ตลอดสายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการขุดลำเหมืองเพื่อให้น้ำกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ และผันน้ำเข้านาผ่าน ‘ต๊างนา’ หรือร่องน้ำที่ใช้ในการลำเลียงน้ำเข้านา เมื่อน้ำเต็มนาก็เอาหินก้อนใหญ่หรือกระสอบทรายมาปิดกั้นไว้แทนประตูน้ำ และหากจำเป็น ในช่วงเก็บเกี่ยวที่ต้องเอาน้ำออกจากนา ก็จะมีร่องน้ำที่ต่ำกว่าที่เรียกว่า ‘ยอยน้ำ’ เพราะใช้ทยอยน้ำออกจากนานั่นเอง และทุกปีชาวบ้านทุกคนจะรวมกันขุดลอกลำราง ลำเหมือง และดายหญ้า เตรียมพื้นที่ให้พร้อมสำหรับการรับน้ำ ระบบเหล่านี้ล้วนเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่หาดูได้ยาก เพราะปัจจุบันมีระบบชลประทานเข้ามาแทนที่ 

 

 

หลักสูตรการเรียนการสอนแบบเรียนรู้ ดูให้เห็นถึงปัญหาจริงในกิจกรรม ‘TCP Spirit พยาบาลลุ่มน้ำ’ ทุกปี ยังได้รุ่นพี่อย่าง อเล็กซ์ เรนเดลล์ TCP Spirit Brand Ambassador ที่ทำงานเคียงข้างอาสาสมัครเสมอ แต่ปีนี้พิเศษหน่อยตรงที่อเล็กซ์เพิ่งได้เป็นทูตสันถวไมตรี โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ คนแรกของประเทศไทย (National Goodwill Ambassador for Thailand) การเดินทางครั้งนี้จึงเต็มไปด้วยประสบการณ์จากสถานที่จริง และเรื่องราวจากประสบการณ์การทำงานด้านสิ่งแวดล้อมในระดับวงกว้างที่อเล็กซ์มาแบ่งปันให้กับรุ่นน้องพยาบาลลุ่มน้ำได้ฟังกัน ประกอบกับองค์ความรู้จากภูมิปัญญาชาวบ้านกว๊านพะเยา กลั่นออกมาเป็น 7 วิชาความรู้ที่อาสาสมัครได้จากกิจกรรมครั้งนี้ 


 

 

วิชาที่ 1 รักษาดอยหลวง คืนผืนป่าแหล่งต้นน้ำบ้านตุ่น โดยขอพระราชทานอ่างเก็บน้ำห้วยตุ่น ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูผืนป่า ชาวบ้านใช้เวลาถึง 25 ปีถึงจะมีน้ำกลับมาใช้ได้เหมือนเดิม ทำให้วันนี้ น้ำจาก 13 ลำสาขาจากดอยหลวงไหลลงมารวมกันที่อ่างเก็บน้ำแห่งนี้ ก่อนจะไหลผ่านลำห้วย ลำเหมือง ดูแลชีวิตของคน 11 หมู่บ้านในตำบลบ้านตุ่น และไหลลงสู่กว๊านพะเยา น้ำจากกว๊านพะเยาจะไหลลงสู่แม่น้ำอิง หนึ่งในแม่น้ำไม่กี่สายที่ไหลจากทิศใต้ไปทิศเหนือ และไหลไปรวมกับแม่น้ำโขง หล่อเลี้ยงผู้คนหลายหมื่นชีวิตในอีก 4 ประเทศ

 

วิชาที่ 2 ใช้ภูมิปัญญาชนะสงครามน้ำและสร้างความปรองดอง ด้วย ‘แตปากฉลาม’ ปูนรูปทรงสามเหลี่ยมคล้ายลิ่ม ตั้งอยู่บริเวณทางแยกของแม่น้ำสองสาย เมื่อกระแสน้ำสายหลักไหลลงมาปะทะ ก็จะมีแรงดันให้น้ำส่วนหนึ่งไหลไกลไปยังที่สูงกว่าได้ และบางส่วนก็ไหลลงลำเหมืองเหมือนเดิม รวมถึงความร่วมมือร่วมใจกันของชาวบ้านทุกคน การแบ่งปันกันทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำอย่างเท่าเทียม การช่วยกันดูแลรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้อย่างต่อเนื่อง   

 

 

วิชาที่ 3 เรียนรู้การเก็บกักน้ำ แบบบ้านตุ่นโมเดล แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน คือ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยต้นน้ำจะเปิดประตูน้ำ 3 วัน เพื่อให้น้ำไหลลงไปที่กลางน้ำ ก่อนปิดอีก 10 วัน เพื่อสะสมน้ำ ที่กลางน้ำก็จะเปิดประตูน้ำอีก 3 วัน ให้น้ำไหลลงไปปลายน้ำ และที่ปลายน้ำจึงค่อยจ่ายน้ำ 4 วัน เพื่อให้แบ่งปันให้ทุกคนมีโอกาสใช้น้ำอย่างเท่าเทียมกัน ทุกปีชาวบ้านจะมีกิจกรรมร่วมกันดูแลระบบการจ่ายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการขุดลอกลำเหมือง กำจัดวัชพืช หรือปลูกหญ้าแฝก

 

 

วิชาที่ 4 ปลูกแฝก เสริมไผ่ พลิกคืนความชุ่มชื้นให้ผืนดิน เพราะหญ้าแฝกเป็นพืชที่มีรากหนาแน่นและหยั่งลึก ช่วยอุ้มดิน และลดการกัดเซาะของตลิ่ง ถัดจากแนวหญ้าแฝก เราปลูกเสริมไผ่ พืชโตไวสารพัดประโยชน์ เพียงแค่ปีเดียวต้นไผ่ก็ยืนต้นสูงกว่าเราแล้ว และสามารถใช้ประโยชน์ได้ใน 3 ปี 

 

 

วิชาที่ 5 กว๊านคือแหล่งน้ำ กว๊านคือวิถีชีวิตของคนพะเยา การจัดการลุ่มน้ำไม่ใช่การจัดการเฉพาะน้ำเท่านั้น แต่ยังเป็นการจัดการให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม และจัดการทรัพยากรในน้ำอย่างปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ อีกด้วย 

 

 

วิชาที่ 6 สิ่งมีชีวิตในน้ำ ตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำ ‘น้ำใสไม่ได้แปลว่าเป็นน้ำที่ดี’ ถ้ามีสิ่งมีชีวิตใช้ชีวิตในแหล่งน้ำ ก็บ่งชี้ได้ว่าคุณภาพน้ำดี โดยเราไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษเลย

 

 

วิชาที่ 7 การจัดการน้ำไม่มีสูตรสำเร็จ การจัดการน้ำทุกอย่างทำตามภูมิสังคม ทำตามสภาพแวดล้อมในพื้นที่ ทุกอย่างเราต้องลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลและเพื่อให้เห็นผลจริง ที่สำคัญต้องประสานความร่วมมือจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านเอง ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน

 

แรงกายและแรงใจของอาสาสมัครคนรุ่นใหม่ที่มาร่วมกิจกรรม ‘TCP Spirit พยาบาลลุ่มน้ำ’ ในทุกปี แม้จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในชั่วข้ามคืน แต่ประสบการณ์ที่ทุกคนได้รับ ปัญหา และทางแก้ที่ทุกคนได้เห็นและได้ลงแรงช่วยกัน จะนำไปสู่การส่งต่อพลังขับเคลื่อนสังคม และสร้างความยั่งยืนในอนาคตให้เกิดขึ้นได้จริง  

 

 

อย่างน้อยๆ อาสาสมัครหลายร้อยชีวิตที่เคยร่วมเดินทางกับ TCP Spirit จะมีทัศนคติและพฤติกรรมการใช้น้ำที่เปลี่ยนไปตลอดกาล และยังได้ทำธีสิสสรุปความรู้ที่น่าสนใจมากๆ แชร์ลงในช่องทางโซเชียลมีเดียของตัวเองเพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้างต่อไปอีกด้วย

 

สำหรับคนปลายน้ำอย่างเราที่เปิดก๊อกก็มีน้ำใช้ไม่ขาด สามารถช่วยดูแลทรัพยากรน้ำได้ง่ายๆ เช่น ล้างจานทีละหลายๆ ใบ เก็บน้ำฝนมาใช้รดน้ำต้นไม้ เลือกกินผักอินทรีย์ช่วยลดการใช้สารเคมีที่อาจปนเปื้อนลงในแหล่งน้ำ หรือแค่พกขวดน้ำก็ช่วยลดการใช้น้ำจากการผลิตบรรจุภัณฑ์ขวดพลาสติก และยังช่วยลดขยะอีกด้วย

 

เพียงเท่านี้ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน ก็สามารถเป็น ‘พยาบาลลุ่มน้ำ’ ได้เหมือนกัน

 

 

ติดตามธีสิสของอาสาสมัคร ‘TCP Spirit พยาบาลลุ่มน้ำ’ และกิจกรรมดีๆ ครั้งต่อไปได้ที่ www.tcp.com หรือ https://www.facebook.com/TCPGroupThailand

 

พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising