×

ไฟป่า พายุยักษ์ PM2.5 รวมภัยพิบัติ 2019 โลกกำลังส่งสัญญาณอะไรกับเรา

11.12.2019
  • LOADING...
now next 2020

HIGHLIGHTS

9 Mins. Read
  • ปี 2019 ที่ผ่านมา โลกได้ส่งสัญญาณเตือนเราในหลากหลายเหตุการณ์ภัยพิบัติครั้งใหญ่ ตั้งแต่พายุยักษ์ที่โหมกระหน่ำ สภาพอากาศแปรปรวนทำให้อุณหภูมิร้อนสุด หนาวสุดเป็นประวัติการณ์ รวมถึงฝุ่นพิษ PM2.5 ที่แพร่กระจาย ทำให้หน้ากาก N95 กลายเป็นอวัยวะที่ 33 ของคนยุคใหม่ 
  • ทั้งหมดนี้คือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในปี 2019 ที่ THE STANDARD รวบรวมเอาไว้ในที่เดียว 

รู้ตัวอีกทีก็ใกล้ถึงสิ้นปีกันอีกรอบ ปี 2019 นี้ประเด็นสิ่งแวดล้อมกลายเป็นประเด็นใหญ่ที่คนทั่วโลกหันมาสนใจเป็นอันดับต้นๆ ด้วยการนำโดยนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมรุ่นเยาว์อย่าง เกรตา ธันเบิร์ก ขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกาก็ช็อกคนทั้งโลกด้วยการถอนตัวจากความตกลงปารีสอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้โลกในรอบปีที่ผ่านมายังเต็มไปด้วยภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกมากมาย ราวกับว่าธรรมชาติกำลังส่งสัญญาณเตือนมนุษย์โลกอยู่ และนี่คือเช็กลิสต์ภัยพิบัติแห่งปี 2019 

 

ไฟป่าคร่าชีวิตโคอาลา โหมไหม้ ‘ปอดของโลก’ 

 

now next 2020

 

“โคอาลาเสียชีวิตแล้ว หลังถูกไฟป่าคลอกที่ออสเตรเลีย”

ภาพโคอาลาที่เต็มไปด้วยแผลไฟไหม้และผ้าพันแผลสีชมพู ที่ได้รับการขนานนามต้อนรับชีวิตใหม่อย่างน่ารักว่า ‘ลูอิส’ อาจทำให้ใครหลายคนน้ำตาตกเมื่อล่าสุด ‘ลูอิส’ ทนพิษบาดแผลไม่ไหวเสียชีวิตลงในที่สุด 

 

ขณะที่สถานการณ์ล่าสุด ไฟป่าครั้งใหญ่ในรัฐเซาท์ออสเตรเลียได้ลุกโหมกินพื้นที่ไปแล้วกว่า 9 แสนไร่ โคอาลาอีกไม่น้อยกว่า 350 ตัวต้องสังเวยชีวิต รวมถึงสัตว์ป่าอีกหลากหลายสายพันธุ์ และชาวออสเตรเลียจำนวนมากที่ต้องต่อสู้ภัยธรรมชาติอันรุนแรงนี้

 

now next 2020

 

ล่าสุดยอดผู้เสียชีวิตคาดว่าอาจจะถึง 230 รายแล้ว บ้านเรือนถูกทำลายมากกว่า 700 หลัง และประชาชนไม่มีที่อยู่ราว 5,000 คน แถมไฟป่ายังทำให้สภาพอากาศในเมืองซิดนีย์เต็มไปด้วยหมอกควันปกคลุมจนมืดครึ้ม นับเป็นสถานการณ์ภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบหลาย 10 ปีของออสเตรเลีย

 

แต่ในปี 2019 ออสเตรเลียไม่ใช่ที่เดียวที่ต้องประสบปัญหา เพราะย้อนกลับไปต้นเดือนเมษายนที่ประเทศเกาหลีใต้ เมืองซกโซใกล้กับกรุงโซล ได้ตกอยู่ในภาวะฉุกเฉิน เพราะไฟป่าลุกลามเข้าสู่เมืองอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทางการสั่งอพยพผู้คนกว่า 4,000 คนอย่างเร่งด่วน ไฟป่ารุนแรงระดับ 3 นี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บ 11 ราย

 

now next 2020

 

ในซีกโลกตะวันตกสถานการณ์รุนแรงยิ่งกว่า เมื่อป่าแอมะซอนในประเทศบราซิล ป่าฝนเขตร้อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่เรียกได้ว่าเป็น ‘ปอดของโลก’ ต้องเจอกับไฟป่าที่รุนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โซเชียลมีเดียร่วมติด #PrayForAmazon จนขึ้นอันดับ 1 ในทวิตเตอร์ ข้อมูลสำรวจจากดาวเทียมล่าสุดพบว่า เกิดไฟไหม้ป่ามากกว่า 72,000 จุด กระแสลมแรงยังพัดกลุ่มควันไฟไปยังเมืองเซาเปาลู ซึ่งอยู่ห่างออกไปราว 2,700 กิโลเมตรทางตอนใต้ของประเทศ ทำให้ทั้งเมืองอยู่ในความมืดนานหลายชั่วโมง

 

now next 2020

 

ไม่นานหลังไฟป่าแอมะซอน ถัดมาในเดือนตุลาคม รัฐแคลิฟอร์เนียทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกาก็ประกาศภาวะฉุกเฉินเนื่องจากไฟป่าที่ลามไปทั่วรัฐ ทางการตัดไฟฟ้าสำหรับประชาชนหลายล้านคน เพื่อช่วยหยุดการแพร่กระจายของไฟป่า ประชาชนราวสองแสนคนต้องอพยพหนีไฟป่าในเขตโซโนมา เคาน์ตี้ ทั่วทั้งรัฐเกิดไฟป่าขึ้นหลายจุด ที่รุนแรงที่สุดในขณะนั้นคือ ‘ไฟป่าคินเคด’ ที่กินพื้นที่กว่า 120 ตารางกิโลเมตร

 

จนถึงขณะนี้ ประชาชนราวสองแสนคนต้องอพยพหนีไฟป่าในเขตโซโนมา เคาน์ตี้ ทางเหนือของนครซานฟรานซิสโก ซึ่งถือว่าเป็นการอพยพประชาชนจากไฟป่าในรัฐแคลิฟอร์เนียครั้งใหญ่ที่สุดกว่า 50,000 ไร่ ทำให้แคลิฟอร์เนียต้องเผชิญไฟป่าติดต่อกันถึง 2 ปี นับตั้งแต่ปี 2561

 

ฝุ่นพิษ PM2.5 ระบาด

 

มาสก์ปิดจมูกอาจเป็นภาพคุ้นตาของใครหลายคนไปแล้วในปีนี้ เพราะฝุ่น PM2.5 ที่รุนแรงมาตั้งแต่ต้นปีในหลายภูมิภาคทั่วโลก กรมควบคุมมลพิษระบุว่าในช่วงพฤศจิกายน 2018 ถึงเมษายน 2019 กรุงเทพฯ มีฝุ่น PM2.5 ปกคลุมเกินค่ามาตรฐานอยู่นานถึง 49 วัน

 

now next 2020

 

ปลายเดือนมกราคม หลังตรวจพบค่าฝุ่นละอองระหว่าง 60-143 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ยาวนานกว่า 1 สัปดาห์ เกินกว่ามาตรฐานที่ตั้งไว้ที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก็ตัดสินใจประกาศเขตควบคุมมลพิษทางอากาศในกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก รวมถึงกระทรวงศึกษาธิการได้สั่งปิดโรงเรียนในสังกัด กทม. ทั้งหมด 437 โรงเรียน วันที่ 31 มกราคม ถึง 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

 

now next 2020

 

ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศนี้เกิดขึ้นทั่วประเทศไทยไม่ใช่ในกรุงเทพฯ เท่านั้น ในวันที่ 2 พฤษภาคม จังหวัดเชียงใหม่ได้ขึ้นเป็นเมืองอากาศแย่ที่สุดอันดับหนึ่ง แซงหน้าอินเดียและจีนไปด้วยค่า PM2.5 กว่า 513.29 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

 

และในปัจจุบันสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 คลี่คลายลงกว่าเมื่อต้น-กลางปี แต่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ฝุ่น PM2.5 ยังเกินมาตรฐานอยู่ราว 20 จุด และเป็นอันดับที่ 12 เมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก

 

now next 2020

 

อินเดียเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบปัญหา PM2.5 อย่างหนัก แต่มลพิษที่ชาวอินเดียต้องเผชิญไม่ใช่แค่ในอากาศ เพราะต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา แม่น้ำยมุนาสายสำคัญในเมืองนิวเดลี ประเทศอินเดียเต็มไปด้วยโฟมพิษ โดยโฟมเกิดจากสารเคมีที่ถูกปล่อยลงสู่แม่น้ำมานาน และแม่น้ำยมุนามีผู้คนมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนามากมาย และบางส่วนได้ลงไปจุ่มตัวในแม่น้ำที่เต็มไปด้วยโฟมพิษ

 

สภาพอากาศแปรปรวน หนาวสุด ร้อนสุดเป็นประวัติการณ์

สภาพอากาศอันแปรปรวนอย่างรุนแรงของปีนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี เมื่อทวีปอเมริกาเหนือเจอสถานการณ์หนาวจนกัดกระดูกจาก ‘กระแสลมวนในเขตขั้วโลก’ หรือ ‘Polar Vortex’ ชาวอเมริกัน 50 รายถูกหามส่งโรงพยาบาลในชิคาโกเพราะเนื้อเยื่อถูกทำลาย และมีผู้เสียชีวิตจากความหนาวเย็นทั่วทั้งสหรัฐอเมริกาถึง 21 คน เพราะอุณหภูมิดิ่งไปถึงติดลบ 30 องศาเซลเซียส จนแม่น้ำหลายเส้นกลายเป็นน้ำแข็งอย่างผิดปกติ

 

now next 2020

 

ในช่วงเวลาเดียวกันที่ออสเตรเลียกลับเจออากาศร้อนชนิดทำลายสถิติร้อนที่สุดนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อใจกลางทวีปออสเตรเลียทำสถิติอุณหภูมิสูงพรวดถึง 49 องศาเซลเซียส ทำให้เกิดไฟป่าขนาดใหญ่หลายจุดบนเกาะแทสมาเนีย ต้องอพยพคนและสัตว์กันยกใหญ่

 

now next 2020

 

อุณหภูมิความร้อนของออสเตรเลียอาจฟังดูน่าสยอง แต่เดือนมิถุนายน 50 องศาเซลเซียสอาจดูเด็กไปเลย เมื่อสถานีวัดอากาศในเมืองมิตริบาห์ ทางตอนเหนือของคูเวต ระบุว่าคูเวตอุณหภูมิพุ่งทะลุ 63 องศาเซลเซียสแล้ว และอุณหภูมิที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์นี้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากอาการลมแดดหลายราย

 

now next 2020

 

แม้ไม่ร้ายแรงอย่างคูเวต แต่ฤดูร้อนของยุโรปปีนี้ก็ประสบกับคลื่นความร้อนอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม ทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับระดับอุณหภูมิสูงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ อุณหภูมิในกรุงปารีสเพิ่มขึ้นไปถึงระดับ 40.6 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าสถิติเดิมในปี ค.ศ. 1947 อยู่ 0.2 องศาเซลเซียส ใกล้เคียงกับเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์

 

ธารน้ำแข็งละลาย ภัยคุกคามมวลมนุษยชาติ

อุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้นราว 1 องศาเซลเซียส กำลังละลายหิมะบนเทือกเขาที่ใหญ่ที่สุดในโลก วันที่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมา The New York Times ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ กำลังทำให้ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยละลายลงอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับ 25 ปีก่อน โดยใน 2-3 ปีที่ผ่านมา ธารน้ำแข็งบนหิมาลัยได้ละลายไปถึง 8,000 ล้านตัน ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่พื้นที่ด้านล่างเทือกเขาหลายร้อยล้านคน

 

now next 2020

 

ขณะที่ปีนี้ในทวีปยุโรป วันที่ 18 สิงหาคม ชาวไอซ์แลนด์ต้องแสดงความอาลัยกับการสูญเสียธารน้ำแข็ง ‘โอคโยคุลล์’ อายุ 700 ปีที่ละลายลงจนแทบไม่เหลือสีขาวให้เห็นอีกต่อไป เช่นเดียวกันในเดือนถัดมา ชาวสวิตเซอร์แลนด์กว่าร้อยคนที่ร่วมใส่ชุดดำอาลัยต่อธารน้ำแข็ง ‘พิซโซล’ บนเทือกเขาแอลป์ใกล้กับพรมแดนลิกเตนสไตน์และออสเตรียที่ได้ละลายจากไป

 

น้ำท่วมใหญ่ทุบสถิติ

แม้สถานการณ์ไฟป่าปีนี้จะน่าสะเทือนใจ แต่ทางด้านน้ำท่วมก็รุนแรงไม่แพ้กัน เริ่มที่เมืองท่าอันโตฟากัสตาทางภาคเหนือของชิลี เกิดน้ำท่วมอย่างหนักในเดือนกุมภาพันธ์ เพราะฝนตกหนักอย่างผิดปกติติดต่อกันหลายวัน ทำให้ชาวชิลีกว่า 1,200 คน ต้องอพยพละทิ้งบ้านเรือนที่ถูกกระแสน้ำทำลาย

 

ถัดมาในเดือนมิถุนายนเกิดน้ำท่วมอย่างหนักทางใต้และตอนกลางของประเทศจีนยาวนานหลายสัปดาห์ ผู้เสียชีวิต 61 ราย บ้านเรือนประมาณ 9,300 หลังได้รับความเสียหาย ยังไม่รวมพื้นที่การเกษตรหลายล้านไร่ที่ได้รับผลกระทบ ทางการมีการประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

ทุกคนคงยังจำได้ว่าในประเทศไทยเองก็ประสบกับปัญหาอุทกภัยในช่วงเดือนกันยายน จังหวัดอุบลราชธานีเจอวิกฤตน้ำท่วมทั้ง 25 อำเภอ ตกอยู่ในภาวะภัยพิบัติฉุกเฉินถึง 10 อำเภอ แม่น้ำโขงสูงกว่าตลิ่ง 2.21 เมตร สถานการณ์น้ำท่วมอุบลราชธานียาวนานหลายสัปดาห์ มีประชาชนเดือดร้อน 24,974 ครัวเรือน และต้องอพยพไปอยู่ที่ศูนย์พักพิงถึง 8,470 คน

 

now next 2020

 

ฉุกเฉินยิ่งกว่ากับเมืองมรดกโลกเป้าหมายปลายทางอันดับ 1 ของนักท่องเที่ยวอย่าง ‘เวนิส’ ประเทศอิตาลีแม้จะเป็นเมืองที่ประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่เนืองๆ แต่ปีนี้ระดับน้ำถึง 187 เซนติเมตร ก็ทุบสถิติน้ำท่วมสูงที่สุดในรอบ 50 ปีไปเรียบร้อย ไม่เพียงกระทบกับประชาชนชาวเวนิส แต่ด้านการขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยวของเวนิสได้รับความเสียหายอย่างหนัก ลุยจิ บรุกนาโร นายกเทศมนตรีเมืองเวนิสประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นจนถึงตอนนี้ มีมูลค่ากว่า 1 พันล้านยูโร หรือกว่า 33,000 ล้านบาทแล้ว

 

now next 2020

 

พายุยักษ์โหมกระหน่ำตลอดทั้งปี

เมื่อต้นปีเราได้ต้อนรับปีใหม่ พ.ศ. 2562 ด้วยพายุปาบึกก็บุกเข้าภาคใต้อย่างรวดเร็ว แถมไม่ได้มาเล่นๆ พายุปาบึกมีความรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 50 ปี รัฐบาลต้องสั่งอพยพประชาชนกว่า 3 หมื่นคนออกจากพื้นที่เสี่ยง ใน 6 อำเภอที่อยู่ติดชายฝั่ง มีผู้เสียชีวิตบนเรือประมง 1 ราย ในขณะที่อีก 6 รายได้รับการช่วยเหลือได้ทัน

 

now next 2020

 

ในช่วงเดือนกันยายน ทวีปอเมริกาเหนือต้องเผชิญกับเฮอริเคนดอเรียน ซึ่งกลายเป็นพายุที่ทรงพลังที่สุดในมหาสมุทรแอตแลนติก ด้วยความรุนแรงถึงระดับ 5 ด้วยกำลังแรงลม 289 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อพายุซัดเข้าถล่มเกาะบาฮามาส ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนัก พายุยังทำให้เกิดสตอร์มเซิร์จ หรือคลื่นที่เกิดจากแรงพายุสูงถึง 7 เมตร มีผู้เสียชีวิต 30 ราย แม้จะเป็นเคราะห์ดีที่พายุอ่อนกำลังลงก่อนเข้าซัดชายฝั่งรัฐฟลอริดา แต่เกาะบาฮามาสต้องใช้เวลาฟื้นฟูอีกนานหลายปี

 

now next 2020

 

และทิ้งท้ายด้วยพายุยักษ์ใหญ่ในประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น อย่างพายุฮากิบิส ที่มีความรุนแรงระดับ 5 ความเร็วลมสูงสุด 252 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งได้ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา และเคลื่อนตัวใหญ่ยักษ์ที่ใหญ่กว่าประเทศญี่ปุ่นขึ้นชายฝั่งทางด้านตะวันตกของกรุงโตเกียว ทางการอพยพผู้คนไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราวถึง 1.8 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 70 ราย สูญหายราว 20 ราย บาดเจ็บอีกกว่า 200 คน และบ้านเรือนกว่า 13,000 หลังที่ได้รับความเสียหายจากพายุ

 

now next 2020

 

แผ่นดินไหว-ภูเขาไฟระเบิด ภัยฉับพลันที่โลกต้องรับมือ

รอยต่อของแผ่นเปลือกโลกมีการขยับขับเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา สถาบัน USGS Science for a Changing World ระบุว่า 1 ปีที่ผ่านมาเกิดแผ่นดินไหวขึ้นรวม 147 ครั้งทั่วโลก

 

now next 2020

 

วันที่ 26 พฤษภาคม เกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในปีนี้ขึ้นทางตอนเหนือของประเทศเปรู แผ่นดินไหวมีขนาด 8.0 ลึกลงใต้ผิวโลก 115 กิโลเมตร มีผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหว 1 ราย และบาดเจ็บอย่างน้อย 11 คน หลังแผ่นดินไหวสงบ อาคารบ้านเรือนจำนวนมากพังเสียหาย รวมไปถึงโรงเรียน 5 แห่ง ศาสนสถาน 2 แห่ง และสถานพยาบาลอีก 4 แห่ง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง

 

แม้จะไม่โดนตรงๆ ในปีนี้ แต่หลายคนในประเทศไทยอาจรับรู้แรงสั่นสะเทือนจนพื้นโยกเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน โดยเฉพาะคนที่อยู่บนตึกสูง หลังจากเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.4 ที่แขวงไซยะบูลี ประเทศลาว ตามมาด้วยแผ่นดินไหวอาฟเตอร์ช็อกอีก 10 ครั้ง ก่อความเสียหายให้กับอาคารบ้านเรือน

 

now next 2020

 

แน่นอนว่าการขยับตัวของแผ่นเปลือกโลกส่งผลไปในทิศทางอื่นด้วย เมื่อภูเขาไฟซินาบุง บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ปะทุขึ้นต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา พร้อมกับพ่นเถ้าถ่านสู่ท้องฟ้าสูงจากปากปล่องสูง 7 กิโลเมตร พื้นที่ในรัศมีอย่างน้อย 7 กิโลเมตรถูกปกคลุมด้วยม่านควันของภูเขาไฟ ทำให้รัฐบาลต้องประกาศเตือนภัยในระดับสูงสุด

 

ไม่นานต่อมาในเดือนกรกฎาคม ภูเขาไฟสตรอมโบลีในประเทศอิตาลีระเบิดอย่างรุนแรง 2 ครั้งซ้อน ทำให้นักปีนเขาเสียชีวิต 1 ราย และมีผู้บาดเจ็บอีกนับ 10 คน ขณะที่เจ้าหน้าที่อพยพผู้คนออกจากเกาะอย่างเร่งด่วน และเร่งดับไฟไหม้ที่เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟด้วย อย่างไรก็ดี ปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาภูเขาไฟสตรอมโบลีได้ปะทุพ่นเถ้าถ่านออกมาอีกครั้งจนท้องฟ้าดำมืด ทำให้ผู้คนรีบอพยพออกจากเกาะ และเคราะห์ดีที่ไม่มีผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บจากการปะทุครั้งนี้

 

สัตว์ตายหมู่จากสภาพอากาศแปรปรวน 

แน่นอนว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นไม่ได้ส่งผลเฉพาะต่อมนุษย์ สัตว์ป่าหลายชนิดไม่ได้รับผลกระทบทางพฤติกรรมเท่านั้น ตลอดปีมานี้มีปรากฏการณ์ตายหมู่ของสัตว์หลายชนิด จากม้าป่ากว่า 20 ตัวที่ตายจากอาการขาดน้ำและความร้อน สภาพอากาศแห้งแล้งร้อนจัดของออสเตรเลียเมื่อเดือนมกราคม ทำให้เกิดดีปโฮล แหล่งน้ำแห้งผาก ต่อมาในเดือนเมษายน ฮิปโปโปเตมัสอย่างน้อย 28 ตัวในอุทยานแห่งชาติของเอธิโอเปีย ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศโดยไม่ทราบสาเหตุ

 

now next 2020

 

ไม่เพียงแค่สัตว์ป่าในเขตร้อนเท่านั้น เมื่อกวางเรนเดียร์กว่า 200 ตัวถูกพบว่าอดตายนอนเกลื่อนในหมู่เกาะอาร์กติก เมืองสวาลบาร์ด ของนอร์เวย์ ในเดือนกรกฎาคม นักวิจัยจากสถาบันขั้วโลกของนอร์เวย์เชื่อว่า เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการขาดอาหารเพราะฝนที่ตกหนักในเมืองสวาลบาร์ดก่อนหน้านี้ และในเดือนเดียวกันก็พบปลาแซลมอนตายมากกว่า 850 ตัวเกลื่อนบริเวณแม่น้ำโคโยนุค รัฐอลาสกา สหรัฐอเมริกา ซึ่ง สเตฟานี ควินน์-เดวิดสัน นักชีววิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านปลาแซลมอนคาดว่า มีปลาที่ตายมากกว่าที่พบ 4-8 เท่า และสาเหตุน่าจะมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้อุณหภูมิน้ำสูงขึ้นมาก

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X