×

3 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปลายปี จะทำ GDP ขยายตัวได้แค่ไหน

โดย SCB WEALTH
28.11.2019
  • LOADING...

เกิดอะไรขึ้น:

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ 3 มาตรการใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2562 และสร้างแรงส่งให้เศรษฐกิจในปี 2563 ขยายตัวอย่างมีศักยภาพ โดยคาดมาตรการทั้งหมดจะมีเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจ 1.4 แสนล้านบาท (ราว 1% ของ GDP) ช่วยให้ GDP ปีนี้ขยายตัวได้ 2.6%YoY คือ

 

  1. เพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากใน 3 โครงการย่อย ได้แก่ ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานหมู่บ้าน โดยจัดสรรเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่ได้รับการประเมินอยู่ในระดับ A B และ C จำนวน 71,742 แห่ง แห่งละไม่เกิน 200,000 บาท ผ่านสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติภายใต้วงเงินรวม 1.4 หมื่นล้านบาท เพื่อให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ รวมทั้งยังมีโครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 5 หมื่นล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 0.01% ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี และโครงการพักชำระหนี้ 1 ปีให้แก่สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่สมัครใจ

 

  1. ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ผ่านโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวปีการผลิต 62/63 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในอัตราไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท และขยายเวลาการจ่ายเงินให้เกษตรกรที่เข้าร่วมอนุมัติโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิต จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2562 เป็นสิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 2563

 

  1. ลดภาระการซื้อที่อยู่อาศัย ภายใต้โครงการชื่อ ‘บ้านดีมีดาวน์’ เพื่อเป็นการลดภาระให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตน โดยภาครัฐสนับสนุนเงินเพื่อลดภาระการผ่อนดาวน์ (Cash Back) จำนวน 50,000 บาทต่อราย ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมมาตรการต้องเป็นผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อเดือน หรือไม่เกิน 1.2 ล้านบาทต่อปี จำนวน 1 แสนราย เริ่มโครงการตั้งแต่ 27 พฤศจิกายน 2562 ถึง 31 มีนาคม 2563 ผู้สนใจลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ ‘บ้านดีมีดาวน์.com’ ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคมนี้เป็นต้นไป

 

กระทบอย่างไร:

เมื่อวันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2562 SET Index ไม่ได้ตอบสนองต่อมาตรการเศรษฐกิจล่าสุดที่ภาครัฐออกมา เนื่องจากปัจจัยต่างประเทศที่ยังไม่แน่นอนในเรื่องข้อตกลงการค้าสหรัฐฯ-จีน โดย SET Index ยังคงแกว่งตัวในกรอบเดิมบริเวณ 1605-1620 จุด อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลา 2 วันดังกล่าว กลับพบว่าราคาหุ้นกลุ่มอสังหาฯ มีการตอบรับในเชิงบวกอยู่บ้างจากมาตรการ ‘บ้านดีมีดาวน์’ เช่น PF เพิ่มขึ้น 5.06%, SPALI เพิ่มขึ้น 2.92%, ANAN เพิ่มขึ้น 2.82%, AP เพิ่มขึ้น 2.27%, QH เพิ่มขึ้น 1.53%, LPN เพิ่มขึ้น 1.28% และ PSH เพิ่มขึ้น 0.64%

 

มุมมองระยะสั้น:

ในประเด็นเศรษฐกิจ SCBS มองว่ามาตรการครั้งนี้ของรัฐบาลออกมาเพียงเพื่อช่วยประคับประคองเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและผลจากสงครามการค้า แต่ไม่ได้สร้างแรงกระตุ้นต่อเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญแต่อย่างใด โดยจากการประเมินของเรา พบว่าจะมีผลทำให้เศรษฐกิจเติบโตเพิ่มขึ้นได้ 0.05-0.06% เท่านั้น 

 

โดยมาตรการที่จะให้ผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะสั้นคือ มาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจฐานราก เพราะเป็นมาตรการที่เกี่ยวข้องกับภาคการลงทุน โดยจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 0.035% ขณะที่มาตรการช่วยเหลือผู้ปลูกข้าว และมาตรการด้านที่อยู่อาศัยมีผลน้อยกว่า 

 

อย่างไรก็ตาม มาตรการลดภาระที่อยู่อาศัยด้วยการช่วยลดการผ่อนดาวน์นั้นอาจช่วยระบายสต๊อกของภาคอสังหาฯ ที่อยู่ในระดับสูงได้บ้าง และเป็นปัจจัยบวกระยะสั้นต่อหุ้นพัฒนาที่อยู่อาศัยในระดับกลางในการช่วยกระตุ้นให้ผู้ซื้อตัดสินใจได้เร็วขึ้น แต่จะไม่ช่วยกระตุ้นความต้องการซื้อใหม่ เนื่องจากเกณฑ์ LTV และ DSR ที่เข้มงวดมากขึ้นยังคงเป็นสิ่งที่สร้างแรงกดดันต่ออุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์

 

มุมมองระยะยาว:

SCBS มองว่า ระยะยาวหุ้นกลุ่มอสังหาฯ ยังถูกกดดันจากการขอสินเชื่อที่ทำได้ยากขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อตามมูลค่าหลักประกัน (LTV) และมาตรการคุมภาระหนี้ต่อรายได้สูงสุด (DSR) ที่เข้มงวดมากขึ้น และฐานรายได้ (ไม่รวมค่าล่วงเวลา) ที่ลดลง ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจไทยปีนี้และปีหน้ามีมุมมองว่า สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังดูเปราะบางและจะเป็นปัจจัยกดดันต่อตลาดหุ้นไทย ซึ่งเป็นประเด็นที่คงต้องติดตามว่าภาครัฐจะแก้ไขปัญหาหรือออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไปได้อย่าง

 

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X