×

พายุโพดุลถล่ม 24 จังหวัด เสียชีวิต 1 ราย

โดย THE STANDARD TEAM
02.09.2019
  • LOADING...

กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานอิทธิพลพายุโซนร้อนโพดุล ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังแรงตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2562 ถึงปัจจุบัน ทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 24 จังหวัด รวม 64 อำเภอ 148 ตำบล 356 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 3,663 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 1 คน ผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 คน ยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 15 จังหวัด ได้แก่ แพร่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ พิจิตร เชียงใหม่ อำนาจเจริญ ชัยภูมิ มุกดาหาร ยโสธร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มกำลัง พร้อมระบายน้ำที่ท่วมขังออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสำรวจและจัดทำบัญชีความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ

 

ชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่าจากอิทธิพลพายุโซนร้อนโพดุล ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรงตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2562 ถึงปัจจุบัน ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินสไลด์ในพื้นที่ 24 จังหวัด ได้แก่ อำนาจเจริญ กระบี่ ปราจีนบุรี แพร่ นครพนม เชียงใหม่ ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ระนอง เพชรบูรณ์ มหาสารคาม ขอนแก่น หนองบัวลำภู ยโสธร กาฬสินธุ์ น่าน ตราด มุกดาหาร อุตรดิตถ์ ชัยภูมิ สุรินทร์ พิษณุโลก พิจิตร และแม่ฮ่องสอน รวม 64 อำเภอ 148 ตำบล 356 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,663 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 1 คน (อุบลราชธานี) ผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 คน (ชัยภูมิ) ยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 15 จังหวัด ได้แก่ 

 

แพร่ น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอร้องกวาง และอำเภอลอง รวม 5 ตำบล 11 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 35 ครัวเรือน 

 

เพชรบูรณ์ น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชนแดน อำเภอวังโป่ง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอหนองไผ่ และอำเภอเขาค้อ รวม 9 ตำบล 25 หมู่บ้าน ประชาชนอพยพ 140 คน 

 

พิษณุโลก น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเนินมะปราง อำเภอวังทอง อำเภอนครไทย และอำเภอชาติตระการ รวม 13 ตำบล 73 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,510 ครัวเรือน 

 

อุตรดิตถ์ น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอน้ำปาด อำเภอท่าปลา และอำเภอฟากท่า รวม 5 ตำบล 23 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 107 ครัวเรือน 

 

พิจิตร น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามง่าม อำเภอทับคล้อ อำเภอวังทรายพูน และอำเภอสากเหล็ก รวม 7 ตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบ 10 ครัวเรือน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหายเพิ่มเติม 

 

เชียงใหม่ เกิดน้ำไหลหลากและดินสไลด์ในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอฮอด อำเภออมก๋อย อำเภอแม่แจ่ม และอำเภอจอมทอง รวม 6 ตำบล 16 หมู่บ้าน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหายเพิ่มเติม 

.

อำนาจเจริญ น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหัวตะพาน และอำเภอเมืองอำนาจเจริญ รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 65 ครัวเรือน 

 

ชัยภูมิ น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชัยภูมิ และอำเภอแก้งคร้อ รวม 2 ตำบล 5 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5 ครัวเรือน ผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 คน 

 

มุกดาหาร เกิดน้ำไหลหลากและวาตภัยในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอดงหลวง อำเภอหนองสูง อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดอนตาล อำเภอหว้านใหญ่ และอำเภอคำชะอี รวม 32 ตำบล 33 หมู่บ้าน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหาย 

 

ยโสธร น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่อำเภอป่าติ้ว รวม 4 ตำบล 11 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 847 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 5,080 ไร่ 

 

ขอนแก่น น้ำจากลำห้วยจิกหลากเข้าท่วมในพื้นที่ตำบลบ้านไผ่ และตำบลในเมือง อำเภอบ้านไผ่ ประชาชนอพยพ 516 คน 

 

กาฬสินธุ์ น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอห้วยเม็ก และอำเภอหนองกุงศรี รวม 8 ตำบล 31 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 410 ครัวเรือน 

 

อุบลราชธานี น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอน้ำขุ่น อำเภอน้ำยืน อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอกุดข้าวปุ้น อำเภอเขื่องใน อำเภอเขมราฐ อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล และอำเภอโขงเจียม รวม 18 ตำบล 46 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 798 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 1 ราย 

 

ร้อยเอ็ด น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสลภูมิ อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอเมยวดี และอำเภอเมืองร้อยเอ็ด รวม 12 ตำบล 38 หมู่บ้าน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 4,110 ไร่ 

 

มหาสารคาม น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่อำเภอเมืองมหาสารคาม ประชาชนได้รับผลกระทบ 40 ครัวเรือน 

 

โดยสถานการณ์ภาพรวมปัจจุบันทุกพื้นที่ระดับน้ำลดลง 

 

ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัด หน่วยทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้น โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ แจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบภัย รวมถึงจัดเจ้าหน้าที่สำรวจและประเมินความเสียหายเพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป 

 

อย่างไรก็ตาม ในระยะนี้หลายพื้นที่ยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงขอฝากเตือนประชาชนให้ติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมปฏิบัติตามคำเตือนและคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X