×

TECHJAM เป็นมากกว่าการแข่งขัน แต่นี่คือเวทีแห่งความหวังและขุมพลังของแรงบันดาลใจ [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
12.12.2018
  • LOADING...

TECHJAM เปรียบเสมือนเวทีแห่งโอกาสที่เปิดให้ผู้เข้าร่วมทุกเพศ วัย และทุกระดับการศึกษา ได้เข้ามามีส่วนในการแข่งขัน โดยจัดการแข่งขันทั่วประเทศ ตั้งแต่ระดับภูมิภาคไปจนถึงระดับประเทศ ที่มุ่งสร้างบุคลากรทางเทคโนโลยีและการออกแบบ

 

เบื้องหลังทางความคิดนี้เป็นอย่างไร เราขอเล่าเรื่องราวผ่านบทสนทนากับ คุณสมคิด จิรานันตรันต์ หัวเรือใหญ่แห่ง KBTG และผู้บริหารผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านอีก 3 ท่าน

 

สมคิด จิรานันตรัตน์ ประธานกสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป

 

การแข่งขัน TECHJAM เป้าหมายสำคัญและวิสัยทัศน์ของ KBTG

สมคิด: เรามองว่าเรื่องเทคโนโลยีมีผลต่อชีวิตคนอย่างมาก และทำให้พฤติกรรมการใช้ของคนก็เปลี่ยนไป ดังนั้น ทางด้านธุรกิจการธนาคารก็จำเป็นต้องเปลี่ยน และทำให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงนั้นด้วย ซึ่ง KBTG มองว่ามีเรื่องที่ต้องพัฒนาใน 3 ด้านด้วยกัน ได้แก่ ด้าน Coding, Data และ Design ซึ่งสะท้อนออกมาในการแบ่งทีมแข่งขันในแต่ละด้าน

 

เป้าหมายของการสร้าง TECHJAM คือต้องการสร้างความตื่นตัวให้กับการเรียนรู้และทำงานด้านเทคโนโลยีและการออกแบบเทคโนโลยี ว่ามีโอกาสและมีทางจะทำงานในด้านนี้ได้ ประเทศเรายังต้องการคนที่มีความเก่งระดับเซียนในด้านเหล่านี้เป็นการเฉพาะ เพราะมันส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

 

เป้าหมายแค่ KBank หรือวิสัยทัศน์ที่ไปไกลมากกว่า

สมคิด: เราไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อแค่องค์กรเราอย่างเดียวเท่านั้น แต่เรามองว่านี่เป็นเรื่องที่ดีและเป็นสิ่งที่ประเทศต้องการ ดังนั้น โครงการจึงทำไปเพื่อเปิดโอกาสให้คนที่สนใจและมีความสามารถได้มาแสดงออก นอกจากนี้ยังเป็นการจูงใจให้คนไม่ออกไปทำงานที่ต่างประเทศด้วย เรามีน้องที่เคยชนะเมื่อปีที่แล้วทั้ง Code, Data และ Design มาอยู่กับเรา และเป็นพนักงานของเราด้วย แต่เราไม่ได้บังคับว่าต้องทำงานกับเราเท่านั้น พวกเขาสามารถเลือกทำที่อื่นได้ เพราะถือเป็นการช่วยกันขับเคลื่อนพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศเราอยู่ดี สุดท้ายแล้วเราถือว่า TECHJAM เป็นโปรเจกต์ที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน

 

 

เราอยากให้ TECHJAM ไปไกลทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศได้ เพื่อเป็นพื้นที่ให้คนที่สนใจได้เข้ามาแข่งขัน มาแจมกันทำงานด้านเทคโนโลยี และเกิดพัฒนาการที่ดีขึ้น วัตถุประสงค์จึงไม่ใช่แค่เพื่อ KBank อย่างเดียว แต่เพื่อภาพรวมของการพัฒนาบุคลากรสายเทคโนโลยีในประเทศนี้

 

การขยับตัวสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ กับแนวคิดโปรเจกต์สร้างสรรค์

ทุกสิ่งล้วนต้องใช้เวลาทั้งนั้น สำหรับผมเองก็ใช้เวลาหลายปีในการค่อยๆ เปลี่ยนแปลง จนเราได้มี KBTG ส่วนเรื่องการริเริ่มทำ TECHJAM นั้นไม่ได้มีปัญหาอะไร เพราะว่า KBank ก็สนับสนุน เราเองก็ได้ประโยชน์ เพราะคนก็รู้จัก KBTG มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ทำให้ภาพรวมของประเทศดีขึ้น ได้เห็นลู่ทางของการสร้างศักยภาพ เราได้เห็นประโยชน์มากมายจากโปรเจกต์นี้

 

หากมองในมุมทางธุรกิจ มันเป็นเรื่องวัดผลได้ยาก เพราะเราไม่ได้มองเรื่อง Financial Justification เป็นหลัก ว่าทำไปแล้วได้กำไรต่อต้นทุนเท่าไร แต่เรามองว่าทำแล้วมันสร้างคุณค่าอะไร ผลกำไรหรือรายได้เป็นตัวเงินเป็นผลได้ระยะสั้น แต่การสร้างคุณค่าและพัฒนาคน พัฒนาประเทศ มันเป็นเรื่องที่ได้ผลระยะยาวและงอกงามแบบไม่สิ้นสุด การที่ TECHJAM ทำให้หลายคนตื่นตัวมากขึ้น และได้เจอคนไทยเก่งๆ ที่มีความสามารถไปโลดแล่นในเวทีโลกได้มากขึ้น เราต้องสร้างศักยภาพให้ตัวเราพร้อม เพื่อที่เมื่อโอกาสมาถึง เราจะได้คว้าโอกาสนั้นไว้ได้

 

 

หลังจากได้ฟังแนวคิดจากคุณสมคิดแล้ว เรายังมีโอกาสได้พูดคุยกับผู้บริหารที่รับผิดชอบดูแลการปฏิบัติงานในแต่ละด้าน ได้แก่ คุณจิรัฎฐ์ ศรีสวัสดิ์ Senior Visionary Architect, KLabs ผู้เชี่ยวชาญด้าน Coding คุณทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล Principal Visionary Architect ผู้เชี่ยวชาญด้าน Data Science และคุณอภิรัตน์ หวานชะเอม Principal Visionary Architect, KASIKORN Labs Managing Director, Beacon Interface ผู้เชี่ยวชาญด้าน Design Thinking

 

ทั้งสามได้มาร่วมกันขยายความถึงรายละเอียดของแนวคิด และการก่อร่างสร้าง TECHJAM ที่เป็นหนทางแห่งโอกาส

 

อภิรัตน์ หวานชะเอม Principal Visionary Architect, KASIKORN Labs Managing Director, Beacon Interface

 

TECHJAM กับการสร้างทักษะที่ต้องเริ่มจากอิฐทีละก้อน ด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ด้าน ที่ต่อยอดไปถึงการพัฒนาประเทศได้

อภิรัตน์ได้เล่าสิ่งที่น่าสนใจไว้ดังนี้

อภิรัตน์: 3 องค์ประกอบสำคัญสำหรับการสร้างนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี เราต้องมี 3 ด้าน ที่เกี่ยวโยงกันนั่นคือ Coding, Data Science และ Design Thinking สิ่งเหล่านี้นับเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการพัฒนา เราจึงอยากให้มีเวทีที่ทำให้เราได้เปิดโอกาสให้คนได้แสดงศักยภาพในแต่ละด้านออกมาได้ครบทุกมิติ เพราะองค์ประกอบทั้งหมด ผมมองว่าคือส่วนผสมที่สำคัญต่อกันและกันเป็นอย่างมาก มันคือ Mindset แบบเจ้าของธุรกิจ ควรต้องแวดล้อมด้วยความสามารถทั้ง 3 ด้านนี้ไว้ด้วยทัศนคติที่เหมาะสมของความเป็นผู้ประกอบการ หรือ Entrepreneurial Mindset ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเด็กต้องไปประกอบธุรกิจกันหมด แต่ว่าเขาต้องมี Mindset ของเจ้าของธุรกิจ คือมีความสามารถในการมองภาพรวม กล้าฝัน กล้าทำ และกล้าเสี่ยงอย่างมีหลักการ เราอยากได้คนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ทำงานเพื่อเงินเท่านั้น แต่ต้องอยากทำในสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเอง อยากทำให้ชีวิตของคนอื่นดีขึ้นด้วย แต่จะทำอย่างไรให้พวกเขาเห็นว่าต้องมี 3 สิ่งนี้ นี่จึงเป็นที่มาที่เราต้องมี TECHJAM ที่เหมือนเป็นเวทีแห่งโอกาสให้กับคน ตอนนี้เราเห็นความไม่สอดคล้องและช่องว่างระหว่างภาคธุรกิจและการศึกษา เราเห็นว่าหลายๆ คนที่จบด้านคอมพิวเตอร์อาจไม่ได้ทำงานในสายนั้น ในขณะที่คนอื่นที่ไม่ได้เรียนมาทางด้านนั้นโดยตรงกลับต้องการทำงานในด้านนี้ เรามีเด็กที่ไม่ได้เรียนในระบบ แต่มีความสนใจและมีความสามารถไม่แพ้กัน นี่จึงเป็นการเปิดโอกาสให้เราได้เห็นศักยภาพของคนที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษาหลัก

 

มันสะท้อนว่าการศึกษาของเราถูกออกแบบมาเพื่อยุคอุตสาหกรรม (Industrial Age) เราสามารถบอกได้ว่าต้องการคนที่อยู่ในสาขา (Discipline) ไหน และความเชี่ยวชาญแบบไหนบ้าง เราลิสต์สิ่งเหล่านี้มาแล้วไปให้โจทย์สถานศึกษาว่าให้ปั๊มคนแบบนี้ออกมา แล้วเราก็เรียกคนพวกนี้ว่าโปรแกรมเมอร์ หมอ พยาบาล แต่ตอนนี้โลกเราอยู่ในยุคข้อมูลและนวัตกรรม (Information And Innovation Age) แล้ว แนวคิดแบ่ง Discipline แบบเดิมมันเลือนรางลงไปเรื่อยๆ เราต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (Specialist) น้อยลงเรื่อยๆ และต้องการผู้ที่มีความสามารถรอบด้าน หรือ T-Shape Professional มากขึ้น คนที่มีความรู้ครอบคลุมหลายๆ ด้าน (Multi Disciplinary) แต่สถาบันการศึกษาที่ยังปรับตัวไม่ทันก็ยังคงปั๊มคนที่ดีไซน์ออกมาในยุคอุตสาหกรรมมาให้เรา แล้วเราก็มาบอกว่าเราต้องการคนที่มีความสามารถรอบด้าน (Well-Rounded หรือ All-Around Performer)”

 

จะเห็นว่ามีช่องว่างระหว่างความรู้ ถ้าไม่ได้อยู่ในแวดวงวิชาการก็แทบจะไม่มีใครอ่านตำราประเภท Textbook กันแล้ว แต่จะไปอ่านหนังสือที่เขียนโดย Practitioner กันมากกว่า บางที่อาจารย์ก็รู้ว่าการศึกษามันต้องเปลี่ยน แต่โครงสร้างทำให้เขาเปลี่ยนหลักสูตรไม่ได้หรือได้ไม่เร็วพอ

 

เราอยากให้ TECHJAM เป็นกระจกสะท้อนถึงนิยามของความเก่งที่เหมาะสมกับยุคปัจจุบันและอนาคต อันนำไปสู่ความต้องการระบบการศึกษาและการวัดผลรูปแบบใหม่ และการตั้งคำถามว่าทำไมคนเก่งๆ ในยุคนี้ไม่ได้จบหรือผ่านการเรียนแบบ Formal Education มันเกิดอะไรขึ้น และหวังว่า TECHJAM จะเป็นตัวอย่างหนึ่งของการวางมาตรฐานการวัดผลนอกระบบ ที่จะสามารถตอบโจทย์และรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมมากกว่า และเป็นการสร้างโอกาสให้คนเก่งนอกระบบจากทั่วประเทศ รวมไปถึงคนที่อยาก Reskill ตัวเองให้เหมาะกับทักษะการทำงานในยุคใหม่ ถ้าคุณทำได้ดีก็มีการรับรอง เราสร้างเวทีนี้เพื่อเป็นเครื่องยืนยันความสามารถ แม้จะไม่มีใบปริญญา และเป็นการเปิดโอกาสสู่การสร้างอาชีพต่อไป

 

ตัวอย่างของทางดีไซน์จากในระดับภูมิภาค เราคาดการณ์ไว้อยู่แล้วว่าต้องไม่เป็นดีไซเนอร์ และคนที่เรียนด้านดีไซน์ก็ต้องไม่ได้เปรียบกว่าคนอื่น แต่ต้องมีทักษะ 4 ด้านที่จะก้าวไปเป็นดีไซเนอร์ที่ดีได้ คือ Empathy, Critical Thinking, Creative Thinking และ Storytelling แล้วก็มาพัฒนาเขาในช่วง Incubation

 

จิรัฎฐ์ ศรีสวัสดิ์ Senior Visionary Architect, KLabs

 

ความใส่ใจในรายละเอียดของโอกาส ขยายอาณาเขตของการเรียนรู้

จิรัฎฐ์: คนส่วนใหญ่ที่ทำในด้าน Coding อาจจะขาดความรู้เรื่องออกแบบ ทำให้มีโอกาสเสียเปรียบคนอื่นๆ ในเวทีที่เคยมีการจัดมาก่อนหน้านี้ หรือในประเทศไทยเรายังไม่มีเวทีที่เปิดโอกาสเฉพาะด้านให้คนที่สนใจในด้าน Coding แบบเฉพาะเจาะจง นี่จึงเป็นพื้นที่ให้พวกเขาได้แสดงความสามารถด้านที่ตัวเองถนัดได้อย่างเต็มที่ และยังสร้างคอมมูนิตี้ให้เกิดขึ้นเป็นกลุ่มก้อนได้ ยกตัวอย่างกระบวนการ Incubation ของ Code Squad ใน TECHJAM เราให้โจทย์การเขียนโปรแกรมที่เป็นปลายเปิด แล้วให้เขาแก้โจทย์แล้วเขียนบล็อกขึ้นมาแลกเปลี่ยนกัน แล้วเราค่อยคัดเลือกคำตอบที่ดีมาเป็นตัวอย่าง ทำให้เกิดการเรียนรู้แบบ Two-Way Communication ตอนนี้ แทนที่จะมาเอาคำตอบจากผู้จัด กลายเป็นว่าเขานั่งอ่านบล็อกของกันและกัน ได้รู้ว่ามีทางแก้ปัญหาที่ดีๆ ทางอื่นอย่างไร และได้รู้ว่าคู่แข่งคิดอย่างไร การแข่งขันจึงไม่ใช่สิ่งที่หยุดยั้งการแลกเปลี่ยนความรู้กัน

 

ส่วนในด้าน Coding สิ่งสำคัญอาจไม่ได้แปลว่า คุณเขียนโค้ดได้เก่งที่สุด และคุณทำได้ดีที่สุด เพราะแบบนั้นความเก่งของคุณจะอยู่แค่ที่คอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีคอมพิวเตอร์คุณจะสามารถแก้ปัญหาได้ไหม มันต้องมีตรรกะของการแก้ปัญหามาใช้ประกอบ เช่น โจทย์ที่ให้ในการแข่งขันอันหนึ่งวัดการใช้ตรรกะ เราให้ผู้แข่งขันแก้ปัญหาโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์เลย และโจทย์ที่สองเป็นการแก้ปัญหา บางอันอาจจะแก้ปัญหาโดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมก็ได้ แต่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยวิธีการอื่น เช่น Excel ใช้เครื่องคิดเลข หรือวิธีการอื่นๆ ให้ลองคิดเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้องอันหนึ่งได้ดีที่สุดและเร็วที่สุด นี่คือตัวอย่างที่เราอยากให้เห็นว่าเราสามารถเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือที่ต่างออกไปได้

 

ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล Principal Visionary Architect

 

TECHJAM กับการสร้างนิยามใหม่ของคนเก่ง

นิยาม ‘ความเก่ง (Talent)’ อาจไม่ใช่เพียงความสามารถในทางสติปัญญาและความรู้ในเรื่องที่ทำเท่านั้น แต่ยังต้องมีทักษะอื่นๆ ที่พร้อมในการทำงานภายใต้ความกดดันและการวางแผนที่ดี

 

ทัดพงศ์: 3 สกิลสำคัญที่จะ Represent นิยามความเก่งรูปแบบใหม่ได้คือ  

  1. ความสามารถในการรับข้อมูล Absorb Data เพราะในโลกเราตอนนี้ความรู้อยู่แค่ปลายนิ้ว เราต้องดูว่าคุณเรียนรู้ได้เร็ว
  2. มีตรรกะ (Logic) ต้องมองให้เห็นว่าปัญหานั้นมีโครงสร้างอย่างไร อะไรที่จะทำให้ปัญหาที่ถูกแก้ไขได้ บางคนเรารู้เลยว่าคนที่มีตรรกะดีก็จะแก้ปัญหาได้ดี
  3. มีความคิดนอกกรอบได้อย่างไรบ้าง เพื่อจะทำให้คุณสามารถใช้ข้อมูลที่ได้มาได้แตกต่างจากคนอื่นๆ

 

ด้าน Data Science เรามีการนิยาม Talent ในหลายๆ ด้าน ซึ่งเราพยายามจำลองการทำงานจริงขึ้นมา ขั้นแรกคือ ต้องมีการ Explore Data ก่อน ต้องใช้ตามอง Data แล้วใช้เครื่องมือ Visualization เพื่อวิเคราะห์ ต่อมาเอาสิ่งที่ค้นพบ Pattern ตอบโจทย์ แล้วค่อยเขียนโปรแกรม เพื่อมาวิเคราะห์ว่าเป็นอย่างนั้นจริง เช่น การเขียนโปรแกรมเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอายุและการซื้อสินค้า คือการเขียนการวิเคราะห์ที่ได้จากการ Insight ที่พบ สุดท้ายคือต้องมีความสามารถในการสื่อสารข้อค้นพบตรงนี้ให้ทีมอื่น เราจะอธิบายเป็นภาษาที่อธิบายให้คนเข้าใจ และเอาไปใช้ประโยชน์จริงได้อย่างไร ดังนั้น Incubation ของเรา จึงมุ่งเป้าไปที่ 3 ทักษะเหล่านี้ คือ การเอา Data มาวิเคราะห์ด้วยตาเบื้องต้น เพื่อ Pattern การเอา Pattern นี้ไปเขียนเป็นโปรแกรม เพื่อให้ได้เป็นสถิติและตัวเลข แล้วเอาข้อมูลเหล่านี้ไป Present เพื่อให้นำข้อมูลไปใช้

 

นี่คือสิ่งที่ TECHJAM แตกต่างจากเวทีการแข่งขันอื่นๆ อย่าง Hackathon ก็คือ เวทีอื่นๆ จะมีความกว้างในการแก้ปัญหา แต่ของเราจะมีความเฉพาะทางและลึกไปเลย ซึ่งประเทศไทยยังไม่ค่อยมี เหมือนเป็นการหาสุดยอดของแต่ละด้าน แล้วข้อดีอีกอย่างของเราคือ จะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เขาสามารถจะมีช่วงเวลา Incubation ให้เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนจากคนที่เก่งกว่าได้ด้วยการคุยกันว่าโจทย์ข้อนี้ทำอย่างไร มีทางไหนที่แก้โจทย์ได้ง่ายกว่าหรือไม่ มีคนที่แชร์ความสนใจเดียวกัน

 

 

แม้ TECHJAM จะจัดขึ้นเป็นปีที่ 2 เท่านั้น แต่เราได้เห็นภาพการเติบโตของเวทีแห่งโอกาส ที่มุ่งหวังจะสร้างโอกาสและแรงบันดาลใจให้คนได้แสดงศักยภาพ การสร้างสรรค์งานที่ถูกครีเอทีฟมาอย่างดี ให้น่าตื่นตาตื่นใจ มีความสนุกเข้าถึงได้ง่าย และจากปีแรกในการจัดการแข่งขัน TECHJAM เสียงตอบรับในการเข้าร่วมปีนี้เติบโตกว่า 250% นับเป็นตัวเลขที่น่าทึ่ง และอนุมานได้ว่า เรายังมีแรงงานในสายเทคโนโลยีอีกมากมายที่รอการผลักดันและได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ประเทศนี้ได้

 

นี่อาจเป็นเรื่องราวคร่าวๆ ของแนวคิดจากการมุ่งสร้างสรรค์ความเปลี่ยนแปลง เราปิดท้ายการพูดคุยกับคำถามสำคัญที่ว่า เราคาดหวังจะสร้างเมล็ดพันธุ์ให้กับประเทศได้อย่างไร

สมคิด: เราหวังจะสร้างความกระตือรือร้น เราอยากให้เห็นว่าคนไทยมีความสามารถนะ แต่เราต้อง Focus พอที่จะมีแรงกระตุ้นและตัวอย่างที่ดี เราจะได้กองทัพของคนรุ่นใหม่ที่เก่งมากขึ้นทุกปีๆ เมื่อนั้นเราจะได้คนเก่งๆ มาช่วยทำให้ประเทศไทยสามารถไปถึงการแข่งขันระดับโลกได้อย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้ และแน่นอนว่าทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับความพยายาม เราจะรอให้การพัฒนาประเทศเป็นหน้าที่ของแค่ภาครัฐเท่านั้นไม่ได้ เราต้องเริ่มทำในส่วนที่เราทำได้ อยากย้ำว่า

 

“The dream start with passion. The journey starts with the first big step. And, the success starts with determination and perseverance.”

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X