×

P.S. Center คลินิกรักษาระงับปวด กับภารกิจเปลี่ยนความเข้าใจให้คนไทยไม่ต้องทนกับ ‘อาการปวด’ อีกต่อไป [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
02.05.2025
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

  • P.S. Center คลินิกเฉพาะทางด้านการระงับปวด ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อปิดช่องว่างในระบบสุขภาพ และเปลี่ยนมุมมองของคนไทยที่เคยชินกับความเจ็บปวดให้กลับมารักษาอย่างถูกจุด
  • ความปวดเรื้อรังคือ ‘โรค’ คนไทยส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิด คิดว่าเดี๋ยวก็หายหรือแค่ต้องทน
  • P.S. Center เสนอทางเลือกใหม่ที่แม่นยำและตรงจุดกว่าการรอรักษาแบบเดิม ด้วยการวินิจฉัยที่ต้นตอของความปวด ไม่ใช่การบรรเทาแค่ปลายเหตุ
  • ใช้เทคโนโลยีระดับโรงพยาบาลใหญ่ เช่น Epidural Balloon Neuroplasty และ Radiofrequency Ablation เพื่อรักษาอาการปวดแบบไม่ต้องผ่าตัด และได้ผลยาวนาน

ถ้าคุณเคยปวดหัวตอนเครียด ปวดหลังจากนั่งทำงานทั้งวัน หรือปวดไหล่จากการแบกเป้หนักๆ นั่นไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะ ‘ความปวด’ คือสัญญาณพื้นฐานที่ร่างกายส่งมาเตือนเรา แต่สิ่งที่น่ากังวลคือ เมื่อความปวดเหล่านั้น ‘เรื้อรัง’ และอยู่กับเรานานเกิน 3 เดือน มันไม่ใช่แค่อาการชั่วคราวอีกต่อไป แต่มันคือ ‘โรค’ ที่ต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างจริงจัง

 

THE STANDARD พาไปรู้จักกับ P.S. Center คลินิกระงับปวด ผ่านการพูดคุยกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์มาร์วิน เทพโสพรรณ ว.31140

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์มาร์วิน เทพโสพรรณ ว.31140

วิสัญญีแพทย์ และแพทย์เฉพาะทางด้านการระงับปวด

P.S. Center

 

จุดเริ่มต้น ‘คลินิกระงับปวด’

 

“ถ้ามีคลินิกตา คลินิกหัวใจ แล้วทำไมไม่มีคลินิกระงับปวด? ทั้งที่ทุกคนปวด แต่กลับไม่มีใครรักษาได้มันจริงๆ”

 

คำบอกเล่าของ ผศ.นพ.มาร์วิน ผู้ก่อตั้ง P.S. Center ด้วยความตั้งใจที่จะทำให้การรักษาอาการปวดแบบเฉพาะทางเข้าถึงได้ง่ายขึ้นสำหรับคนทั่วไป

 

P.S. Center (Pain Specialist Center)

 

“หมอเริ่มสนใจเรื่องอาการปวด เพราะหมอเองเคยปวดมาก่อน และมันไม่มีใครตอบได้ว่าควรไปหาหมอเฉพาะทางคนไหน”

 

จากแพทย์เฉพาะทางด้านวิสัญญี (ระงับความรู้สึก) เขาค้นพบว่า ผู้ป่วยจำนวนมากไม่ได้ต้องการผ่าตัด แต่ต้องการเพียง ‘การหายปวด’ เท่านั้น “หมอเจอเคสที่พอฉีดยาชาแล้วหายปวดทันที มันคือความรู้สึกว่า เราค้นพบต้นเหตุที่ไม่มีใครมองเห็น และเราช่วยให้เขากลับไปใช้ชีวิตได้จริงๆ”

 

P.S. Center จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อเติมเต็มช่องว่างในระบบการแพทย์ไทย ด้วยแนวคิดที่ว่าความปวดไม่ใช่เพียงภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่น แต่เป็น ‘โรค’ ที่ต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเป็นระบบ

 

ที่นี่ไม่ได้ใช้มอร์ฟีนเป็นคำตอบแรก แต่มุ่งเน้น ‘การวินิจฉัยจุดปวดให้เจอ แล้วรักษาให้ตรงจุด’ ด้วยเทคนิคเฉพาะทาง แนวคิดของคลินิกคือ “เราจะตรวจให้เจอจุดปวดที่แท้จริง แล้วรักษาให้หายก่อน หลังจากนั้นถ้าจำเป็น ค่อยไปทำกายภาพหรือฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ไม่ต้องวนเวียนที่เดิมตลอดชีวิต”

 

มายด์เซ็ตคนไทยที่ยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับ ‘อาการปวด’

 

คนไทยยังคงเข้าใจผิด คิดว่าความปวดเดี๋ยวก็หายเอง หรือกินยาแก้ปวดแล้วนอนพัก ซึ่งนั่นอาจใช้ได้ในกรณีเฉียบพลัน แต่ถ้าอาการยังอยู่กับคุณทุกวัน นั่นคือ ‘ความปวดเรื้อรัง’ ที่จะบั่นทอนคุณภาพชีวิตไปทีละน้อย

 

 

ผศ.นพ.มาร์วิน ชี้ให้เห็นว่า คนไทยส่วนใหญ่มีแนวโน้มประสบปัญหาความปวดในหลายระดับ และในแต่ละช่วงวัยก็มีลักษณะของอาการที่แตกต่างกัน

 

  • วัยทำงาน: ปวดคอ บ่า ไหล่ จากการนั่งทำงานหน้าคอม หรือใช้มือถือในท่าที่ไม่เหมาะสม
  • นักกีฬา หรือคนที่ออกกำลังกายหนัก: ปวดข้อมือ หัวไหล่ หรือกล้ามเนื้อ
  • ผู้สูงอายุ: ปวดหลังร้าวลงขา ปวดข้อ ปวดเข่า จากความเสื่อมของข้อต่อและกระดูก

 

และ ‘อาการปวดที่พบบ่อยที่สุด’ ไม่ใช่อาการปวดหลัง แต่คือ ‘ปวดหัวเรื้อรัง’ ตามมาด้วยปวดหลังและปวดคอ “บางคนคิดว่าตัวเองเป็นไมเกรน แต่พอมาตรวจจริงๆ เราพบว่าเขาปวดหัวจาก ‘ข้อต่อคอเสื่อม’ ไม่ใช่ไมเกรนเลย”

 

ที่น่าสนใจคือ ‘ออฟฟิศซินโดรม’ ซึ่ง ผศ.นพ.มาร์วิน อธิบายว่าแท้จริงแล้วไม่ใช่โรค แต่เป็นคำเรียกรวมของอาการปวดจากท่าทางซ้ำๆ และส่วนใหญ่มักเกิดจาก ‘ข้อต่อ’ หรือ ‘เส้นประสาท’ ไม่ใช่แค่กล้ามเนื้ออย่างที่เข้าใจกัน “กล้ามเนื้อคนเราแข็งแรงมาก และรักษาตัวเองได้ดี การที่ปวดไม่หายเกิน 3 เดือน มันไม่ใช่กล้ามเนื้อแน่ๆ”

 

ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่า ความปวดที่คนไทยกำลังเผชิญอยู่อาจไม่ได้เกิดจากสิ่งที่เราคิด และนั่นทำให้การรักษาด้วยวิธีเดิมๆ ที่แค่บรรเทาปลายเหตุ โดยที่ต้นเหตุยังอยู่เหมือนเดิม คนจำนวนมากยังคิดว่า “ปวดนิดหน่อย เดี๋ยวก็หาย” “ยอมทนเอาไว้ก่อน” หรือแม้กระทั่ง “ผ่าตัดคือทางออกสุดท้าย” ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการผ่าตัดที่ไม่ตรงจุดของอาการปวด สุดท้ายแล้วเมื่อผ่าตัดไป อาการปวดจะยังคงอยู่ต่อไป ทำให้การผ่าตัด ‘ไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดเสมอไป’

 

คลินิกระงับปวดควรเป็น ‘ด่านแรก’ ของการรักษา?

 

ในโลกที่มีคลินิกเฉพาะทางแทบทุกส่วนของร่างกาย (เช่น ตา หู หัวใจ) คำถามคือแล้วอาการปวดที่เราเผชิญกันแทบทุกวันล่ะ?

 

“เวลาปวดหัว คนไปหาหมอเฉพาะทางสมอง เวลาปวดหลัง คนไปหาหมอกระดูก แต่ไม่มีใครคิดว่าความปวดก็ควรมีหมอเฉพาะทางของมัน” ผศ.นพ.มาร์วิน

 

นี่อาจใหม่สำหรับคนไทย แต่ในต่างประเทศ เช่น เกาหลีใต้ที่มีแพทย์ระงับปวดกว่า 6,000 คน สิงคโปร์ที่มีคลินิกรักษาอาการปวดกระจายทั่วเมือง หรือสหรัฐอเมริกาที่มี Pain Management เป็นส่วนหนึ่งของระบบหลัก ไม่ใช่ทางเลือกเสริม ซึ่งคลินิกเฉพาะทางด้านการรักษาปวด มีอยู่ทั่วไปตามโรงพยาบาลหรือแม้แต่เป็นสถาบันเฉพาะทางแยกออกมา และเป็นด่านแรกที่ผู้ป่วยจะได้รับการดูแล

 

“เราเจอเคสคนไข้ที่ผ่าตัดหลังแล้ว แต่ยังปวดเหมือนเดิม ทั้งที่จริงๆ มันไม่ควรต้องถึงขั้นผ่าตัดเลยตั้งแต่แรก” ผศ.นพ.มาร์วิน กล่าวว่า ไม่ใช่ความปวดทุกอย่างต้องจบที่การผ่าตัด คนจำนวนมากมักได้รับการรักษาด้วยยา หรือถูกส่งตรงไปพบหมอศัลยกรรมกระดูก ซึ่งมีแนวโน้มจะแนะนำการผ่าตัดเป็นหลัก

 

 

จุดนี้ทำให้เห็นว่า ในต่างประเทศ คลินิกระงับปวดจะเป็นด่านแรกก่อน ทำให้หลายๆ เคสไม่ต้องผ่าตัดในกรณีที่ไม่จำเป็น

 

แต่ระบบของประเทศไทย ทำให้ คลินิกระงับปวดเป็นด่านหลังแทนที่จะเป็นด่านแรก

 

“เมื่อคุณมาที่ P.S. Center เราจะใช้วิธีที่แม่นยำมาก เช่น ฉีดยาชาเข้าไปตรงจุดที่สงสัย ถ้าหายปวดทันที นั่นคือจุดต้นเหตุของปัญหา แล้วเราจะไปรักษาที่นั่น ความปวดไม่ใช่อาการข้างเคียง แต่เป็นอาการที่สมควรจะได้รับการรักษาพอๆ กับโรคหัวใจหรือเบาหวาน”

 

บริการที่ตรงจุดของอาการปวดไม่ใช่รับยาไปกิน

 

เมื่อก้าวเข้ามาใน P.S. Center จะพบประสบการณ์ที่แตกต่างตั้งแต่แรก

 

  • เริ่มต้นด้วยการซักประวัติอย่างละเอียด โดยแพทย์เฉพาะทาง
  • จากนั้นจะมีการ ‘ตรวจเฉพาะทาง’ ด้วยเทคนิคเฉพาะของคลินิก เช่น
  • Ultrasound Nerve Mapping เพื่อดูเส้นประสาทหรือข้อต่อที่เป็นต้นเหตุ
  • เมื่อสงสัยจุดใด แพทย์จะทำ ‘Nerve Block Test’ หรือฉีดยาชาชั่วคราวเข้าไปที่ตำแหน่งนั้น
  • ถ้าอาการปวดหายไปทันที นั่นแปลว่าเจอต้นเหตุแล้ว

 

 

หลังจากวินิจฉัยได้แล้ว แพทย์จะอธิบายทางเลือกการรักษา โดยคำนึงถึงทั้งประสิทธิภาพ ความเหมาะสม และค่าใช้จ่าย โดยใช้เวลาการรักษาเพียง 1-3 ครั้งเป็นเพียงพอ โดยมีการออกแบบการบริการที่เข้าใจคนเมืองอย่างแท้จริง

 

  • นัดหมายง่าย ไม่ต้องรอนาน
  • ทีมแพทย์ใช้เวลาเฉลี่ยกับคนไข้คนละ 30-60 นาทีต่อครั้ง (มากกว่าคลินิกทั่วไปหลายเท่า)
  • อธิบายทุกขั้นตอนโดยไม่กดดัน ไม่เร่ง ไม่ขายคอร์ส
  • ไม่ใช้มอร์ฟีน และไม่แนะนำการผ่าตัดเป็นทางเลือกแรก

 

 

โดยแพทย์ที่ P.S. Center เป็นผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจความปวดในทุกมิติ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงอย่าง Ultrasound การฉีดยาชาแม่นยำระดับมิลลิเมตร และ X-ray Fluoroscopy เพื่อค้นหาและรักษาต้นตอความปวดที่แท้จริง โดยไม่พึ่งพาเพียงการให้ยาแก้ปวดหรือการผ่าตัดที่อาจไม่จำเป็น

 

สุดยอดเทคโนโลยีสำหรับอาการปวดในคลินิก

 

  1. Epidural Balloon Neuroplasty (บอลลูนขยายโพรงไขสันหลัง) นวัตกรรมการรักษาพังผืดที่กดทับเส้นประสาท เทคโนโลยีที่ออกแบบสำหรับผู้ป่วยที่มีพังผืดในโพรงไขสันหลังซึ่งกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรังหรือปวดร้าวลงขา ไม่ต้องผ่าตัด ทำเสร็จภายในวันเดียว ระยะเวลาพักฟื้นสั้น ลดการพึ่งพายาแก้ปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วิธีการรักษา:

  • ใช้เข็มนำทางเข้าสู่โพรงไขสันหลัง
  • สอดบอลลูนขนาดเล็กไปยังตำแหน่งที่มีพังผืด
  • ขยายบอลลูนเพื่อแยกพังผืดออก
  • ฉีดยาลดการอักเสบเข้าไปในจุดนั้น

 

เหมาะสำหรับ:

  • ผู้ที่เคยผ่าตัดหลังแล้วแต่ยังมีอาการปวด
  • ผู้ที่มีโพรงไขสันหลังแคบหรือหมอนรองกระดูกเสื่อม
  • ผู้ที่มีอาการปวดหลังร้าวลงขาเรื้อรัง

 

 

  1. Radiofrequency Ablation (RFA) (การจี้เส้นประสาทด้วยคลื่นวิทยุ) เทคโนโลยีระงับสัญญาณความปวดที่ต้นทาง เทคนิคการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัดหรือฉีดสารเคมี แต่ใช้พลังงานคลื่นวิทยุเพื่อยับยั้งการทำงานของเส้นประสาทที่ส่งสัญญาณความเจ็บปวดไปยังสมอง ซึ่งผลการรักษาอยู่ได้นาน 1-2 ปี ความแม่นยำสูงระดับมิลลิเมตร ปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องใช้ยาสลบ ใช้เวลาในการทำหัตถการเพียงประมาณ 30 นาที

 

เหมาะสำหรับ:

  • ผู้ที่มีอาการปวดคอ หลัง เข่า หรือไหล่จากข้อเสื่อม
  • ผู้ที่เคยรักษามาหลายวิธีแล้วไม่หาย
  • ผู้ที่ไม่ต้องการผ่าตัดและไม่สามารถใช้ยาต่อเนื่องได้

 

 

อย่างไรก็ตาม ต้องดำเนินการโดยแพทย์เฉพาะทางที่มีเครื่องมือและความชำนาญสูง และไม่เหมาะกับผู้ที่มีเส้นประสาทเสียหายถาวร

 

P.S. Center มุ่งมั่นเปลี่ยนมายด์เซ็ตเรื่อง ‘อาการปวด’ ทั้งระบบ

 

เจตนารมณ์ของ P.S. Center คือการให้คนไทยต้องเคยชินกับความเจ็บปวด ตื่นมาพร้อมอาการปวดศีรษะทุกเช้า ใช้เข็มขัดพยุงหลังเป็นประจำ หรือต้องพึ่งยาแก้ปวดไปตลอดชีวิต “หมอไม่อยากให้คนไข้รู้จักเราในวันที่สายเกินไป อยากให้มาในวันที่แค่ปวดเล็กน้อย แล้วหายก่อนจะลุกลาม”

 

 

P.S. Center มีภารกิจเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ทั้งระบบ

 

  • เปลี่ยนจาก ‘ทนได้ก็ทนไป’ เป็น ‘หายได้ถ้ารักษาถูกจุด’
  • เปลี่ยนจาก ‘ปวดแล้วผ่า’ เป็น ‘ตรวจให้เจอก่อนว่าต้องผ่าหรือไม่’
  • เปลี่ยนจาก ‘คนไข้ต้องรอระบบ’ เป็น ‘ระบบต้องเข้าใจคนไข้’

 

 

แม้จะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็กๆ แต่ ผศ.นพ.มาร์วิน เชื่อว่านี่จะเป็นต้นแบบของระบบใหม่ที่มุ่งเน้นคุณภาพชีวิตเป็นเป้าหมายหลัก ไม่ใช่จำนวนการผ่าตัดหรือยัดคอร์สบำบัด “เราจะไม่หยุดแค่การรักษา แต่จะพยายามให้ความรู้คนไทยให้มากที่สุดว่าความปวดนั้นมีทางออก”

 

โดย ผศ.นพ.มาร์วิน ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “ถ้าคุณปวดมาเกิน 3 เดือน นั่นคือสัญญาณเตือนที่ร่างกายพยายามบอกคุณ อย่ามองข้ามมัน และอย่ารอให้ต้องผ่าตัดเพื่อจะเริ่มมองมันจริงจัง”

 

และทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นแนวคิดที่ P.S. Center ยึดถือมาตั้งแต่วันแรก แนวคิดที่มอง ‘การรักษาอาการปวด’ ไม่ใช่เพียงแค่การบรรเทา แต่คือ ‘การดูแลร่างกายและจิตใจแบบองค์รวม’ เพื่อฟื้นตัวอย่างยั่งยืนและใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่อีกครั้ง ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องพึ่งยา ไม่ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่รัก เพียงเพราะร่างกายไม่ไหว

 

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising