×

เจาะลึกยุคทรัมป์ 2.0 หาผู้ชนะในโลกการลงทุน

20.01.2025
  • LOADING...

ยุค ‘ทรัมป์ 2.0’ เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2025 เมื่อ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐอเมริกา จะเข้ารับตำแหน่งเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งการกลับมาของทรัมป์ทำให้หลายต่อหลายคนคาดการณ์กันว่าจะส่งแรงกระเพื่อม พร้อมกับความผันผวนที่มากขึ้นในโลกของการลงทุน สำหรับผู้ลงทุนเองการเตรียมพร้อมรับมือให้ดีจะช่วยเพิ่มโอกาสให้เรากลายเป็นผู้ชนะได้

 

ส่องนโยบายหลักของทรัมป์

 

‘ภาษี’ เป็นหนึ่งในนโยบายหลักของทรัมป์ที่น่าจะถูกนำมาใช้อย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าความเข้มข้นจะมากน้อยแค่ไหนจากที่เคยหาเสียงไว้ หลักๆ แล้วนโยบายด้านภาษีของทรัมป์แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่

 

  1. ภาษีการค้าระหว่างประเทศ
    ทรัมป์ตั้งเป้าที่จะเพิ่มกำแพงภาษี โดยเฉพาะกับคู่ค้าและคู่แข่งสำคัญอย่างจีน ซึ่งอาจมีการปรับขึ้นภาษีสูงถึง 60% ขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น เม็กซิโกและแคนาดา รวมทั้งไทย อาจถูกปรับเพิ่มขึ้นในอัตรา 10% เพื่อผลักดันให้บริษัทในสหรัฐฯ ย้ายฐานการผลิตกลับมาในประเทศ

 

  1. ภาษีสำหรับภาคธุรกิจ
    ทรัมป์มีแผนจะปรับลดภาษีนิติบุคคลของสหรัฐฯ จาก 21% เหลือ 15% เพื่อจูงใจให้ธุรกิจขยายการลงทุนในประเทศ เพิ่มการจ้างงาน และกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม นโยบายถัดมาคือการให้ความสำคัญกับ ‘ความมั่นคงด้านพลังงาน’ โดยสนับสนุนอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในประเทศ ลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ ซึ่งนโยบายนี้มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจในระยะยาว

 

อีกหนึ่งนโยบายที่น่าจับตามองคือการคลายกฎการควบคุมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล พร้อมกับการสนับสนุนการพัฒนาและใช้คริปโตในสหรัฐฯ มากขึ้น เพื่อกระตุ้นภาคเทคโนโลยีและการเงิน

 

นอกจากนี้นโยบายหลักอื่นๆ ของทรัมป์ที่อาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ คือเรื่องของการเข้มงวดเกี่ยวกับการรับผู้อพยพและการให้วีซ่ากับคนต่างชาติ รวมทั้งลดการสนับสนุนเงินทุนต่อประเทศที่เป็นพันธมิตร 

 

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

 

 

นโยบายภาษีของทรัมป์คาดว่าจะนำไปสู่การปรับขึ้นของเงินเฟ้ออีกครั้ง และผลกระทบที่จะตามมาคือนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่อาจจะเข้มงวดมากยิ่งขึ้น ทำให้การลดดอกเบี้ยมีแนวโน้มจะช้าลง ส่งผลให้สภาพคล่องในตลาดอื่นๆ มีโอกาสจะไหลกลับไปยังสหรัฐฯ มากขึ้น ตามการแข็งค่าของเงินดอลลาร์และอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า

 

ขณะที่การค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ตามมาด้วยญี่ปุ่น เวียดนาม และไต้หวัน เนื่องจากกำแพงภาษีที่สูงขึ้น ในแง่ของผลตอบแทนของตลาดท่ามกลางสงครามการค้าที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคทรัมป์ 1.0 จะเห็นว่าตลาดหุ้นในเอเชียมีผลตอบแทนต่ำกว่าตลาดหุ้นโลก

 

และในครั้งนี้ก็คาดว่าตลาดในเอเชียเหนือ เช่น จีน, ฮ่องกง, ไต้หวัน และเกาหลีใต้ จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ โดยเฉพาะในภาคเทคโนโลยีและสินค้าอุตสาหกรรมทุน ในทางกลับกัน แนวโน้มของเอเชียอาจมีความน่าสนใจมากขึ้น หากมาตรการด้านภาษีของทรัมป์อยู่ในระดับที่เบากว่าที่คาดการณ์ไว้

 

ใครบ้างจะเป็นผู้ชนะในโลกการลงทุนยุคทรัมป์ 2.0

 

 

สำหรับหุ้นสหรัฐฯ ด้วยนโยบายที่หลากหลายอาจให้ผลลัพธ์ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ และทิศทางการดำเนินนโยบายของทรัมป์จะเป็นลักษณะแบบ Pro-growth คือเน้นการสร้างการเติบโตในประเทศ ก่อให้เกิดโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจทั้งหุ้นกลุ่มการเงิน กลุ่มเทคโนโลยี และหุ้นขนาดกลางและเล็กในสหรัฐฯ

 

สำหรับกลุ่มการเงิน จะได้แรงหนุนจากการผ่อนปรนกฎเกณฑ์ในการทำธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้ธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ สามารถจัดสรรเงินทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการขยายธุรกิจ, การจ่ายเงินปันผล, และ/หรือการซื้อหุ้นคืนเพิ่มขึ้น รวมทั้งนโยบายการลดภาษีนิติบุคคลจะช่วยให้ธุรกิจมีกำไรเพิ่มขึ้นได้

 

ด้านกลุ่มเทคโนโลยี จะได้ประโยชน์จากนโยบายที่มุ่งเน้นการเติบโต (Pro-growth) ของทรัมป์ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และการเติบโตของกำไรบริษัทเทคฯ ซึ่งได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ของ AI

 

หุ้นขนาดกลางและเล็กของสหรัฐฯ จะได้รับประโยชน์จากการลดภาษีที่อาจเกิดขึ้น และหุ้นขนาดเล็กมักเป็นธุรกิจภายในประเทศ ช่วยลดความเสี่ยงจากประเด็นการกีดกันทางการค้าทั่วโลก ด้านมูลค่าหุ้นยังคงอยู่ในระดับที่น่าสนใจ โอกาสที่หุ้นกลุ่มอื่นๆ นอกเหนือจากหุ้นขนาดใหญ่จะเป็นผู้นำตลาด และจะช่วยสนับสนุนหุ้นขนาดเล็ก

 

นอกจากนี้ UOB Privilege Banking ยังแนะนำให้นักลงทุนสร้างพอร์ตที่แข็งแกร่ง ทนทาน และเตรียมพร้อมรับมือกับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนด้านนโยบายของทรัมป์ผ่านการลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดี (Investment Grade) จะช่วยสร้าง Income ระหว่างการลงทุน และยังช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน และอีกกลยุทธ์คือ Multi-Asset เพื่อการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน อีกทั้งเพื่อไม่พลาดโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์ ภูมิภาค และอุตสาหกรรมที่หลากหลาย

 

อีกหนึ่งสินทรัพย์ที่ UOB Privilege Banking เพิ่มคำแนะนำ Tactical Call ในไตรมาส 1 ปี 2025 นี้คือ ทองคำ เรายังคงแนะนำให้จัดสรรในพอร์ตการลงทุนสัดส่วน 5-10% เพื่อใช้เป็นการป้องกันความเสี่ยง (Hedge) เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อทองคำจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น จากความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์และการกีดกันทางการค้าที่อาจเกิดขึ้น ความต้องการทองคำและเครื่องประดับของผู้บริโภคยังคงแข็งแกร่ง และธนาคารกลางในตลาดเกิดใหม่อาจเพิ่มการถือครองทองคำต่อเนื่อง

 

โดยภาพรวมนักลงทุนควรเตรียมพร้อมรับมือกับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนของนโยบายผลตอบแทนของดัชนีตลาดโดยรวมมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น แต่ไม่น่าจะอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งเหมือนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ความแตกต่างของผลตอบแทนในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมอาจมีมากขึ้น

 

นักลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม หรือติดต่อที่ปรึกษาทางการเงิน (Client Advisor) ของ UOB Privilege Banking ได้ที่ โทร. 0 2081 0999 หรือคลิก www.uob.co.th/privilegebanking 

 

คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

 

อ้างอิง:

 

UOB Privilege Banking

  • LOADING...

READ MORE



Latest Stories

Close Advertising