×

‘โลกต้องการวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ต้องการสตรี’ ลอรีอัลเชิดชู 3 นักวิจัยสตรี มอบทุนโครงการทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2567 [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
27.11.2024
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

3 min read
  • ลอรีอัล ในฐานะองค์กรด้านความงามชั้นนำของโลก ส่งเสริมบทบาทและผลงานของนักวิจัยสตรีในวงการวิทยาศาสตร์ ผ่านโครงการทุนวิจัยลอรีอัล เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ หรือ For Women in Science (FWIS) จากความร่วมมือระหว่างมูลนิธิลอรีอัล (Fondation L’Oréal) และองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO
  • ปัจจุบันมีนักวิจัยสตรีที่ได้รับการสนับสนุนภายใต้โครงการนี้มากกว่า 4,400 คน จาก 140 ประเทศทั่วโลก แต่ละปีได้สนับสนุนนักวิจัยสตรีรุ่นใหม่มากกว่า 250 คนในโครงการระดับประเทศและระดับภูมิภาคทั่วโลก และได้มอบทุนเกียรติยศระดับนานาชาติให้แก่นักวิจัยสตรีระดับ Laureates ไปแล้ว 132 คน ในจำนวนนี้มีถึง 7 คนที่ก้าวสู่ความสำเร็จได้รับรางวัลโนเบล
  • ในประเทศไทย ลอรีอัลดำเนินการโครงการนี้ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 22 โดยมอบทุนให้กับนักวิจัยสตรีใน 2 สาขา ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ปัจจุบันมีนักวิจัยสตรีไทยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการนี้รวมแล้วทั้งสิ้น 87 คน จากมากกว่า 20 สถาบัน
  • สำหรับปี 2567 โครงการทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ ได้มอบทุนวิจัยให้กับนักวิจัยสตรี 3 คน จาก 3 สถาบัน

แม้ว่าเราจะอยู่ในยุคที่ผู้หญิงมีบทบาทสำคัญในการสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม และประเทศชาติ ในหลากหลายอาชีพ โดยเฉพาะในแวดวง ‘วิทยาศาสตร์’ ที่เชื่อกันว่ามุมมองที่แตกต่างกันของผู้หญิงทำให้จำนวนนักวิจัยสตรีที่สร้างงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์มีเพิ่มมากขึ้น แต่เมื่อเทียบกับจำนวนนักวิจัยทั่วโลกแล้ว องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO เผยว่า มีนักวิจัยสตรีไม่ถึง 30% ยิ่งไปกว่านั้นแม้ว่าจะมีนักวิจัย 1 ใน 3 คนที่เป็นผู้หญิง แต่การมีส่วนร่วมของผู้หญิงในสายงานวิจัยยังคงไม่เพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ชาย ยิ่งเมื่อพิจารณาในระดับอาวุโสด้านวิทยาศาสตร์ในยุโรปมีสัดส่วนของผู้หญิงเพียง 18% เท่านั้น

 

ความไม่เสมอภาคทางเพศและการเลือกปฏิบัติที่ผู้หญิงยังคงต้องเผชิญ คือปัญหาที่ทำให้ผู้หญิงที่ได้รับการเชิดชูในแวดวงวิทยาศาสตร์มีน้อยเกินไป ลอรีอัล กรุ๊ป (L’Oréal Group) ในฐานะองค์กรด้านความงามชั้นนำของโลก จึงเดินหน้าผลักดัน ส่งเสริม สร้างความตระหนักรู้ และสนับสนุนนักวิจัยสตรีในสายงานวิทยาศาสตร์ ผ่านโครงการทุนวิจัยลอรีอัล เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ หรือ For Women in Science (FWIS) 

 

 

ลอรีอัลกับพันธกิจผลักดันความเสมอภาคทางเพศในวงการวิทยาศาสตร์ 

 

โครงการทุนวิจัยลอรีอัล เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ หรือ For Women in Science (FWIS) ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2540 จากความร่วมมือระหว่างมูลนิธิลอรีอัล (Fondation L’Oréal) และองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO

 

เป้าหมายของโครงการ ไม่เพียงสนับสนุนและเชิดชูผลงานของนักวิจัยสตรีทั่วโลก เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมของสตรีในวงการวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ยังตั้งใจให้เวทีนี้เป็นตัวแทนของความเสมอภาคทางเพศในวงการวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กหญิงรุ่นใหม่เลือกทำงานในสายวิทยาศาสตร์ และเน้นย้ำความสำคัญของผู้หญิงต่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์

 

ปัจจุบันมีนักวิจัยสตรีที่ได้รับการสนับสนุนภายใต้โครงการนี้มากกว่า 4,400 คน จาก 140 ประเทศทั่วโลก แต่ละปีได้สนับสนุนนักวิจัยสตรีรุ่นใหม่มากกว่า 250 คนในโครงการระดับประเทศและระดับภูมิภาคทั่วโลก และได้มอบทุนเกียรติยศระดับนานาชาติให้แก่นักวิจัยสตรีระดับ Laureates ไปแล้ว 132 คน ในจำนวนนี้มีถึง 7 คนที่ก้าวสู่ความสำเร็จได้รับรางวัลโนเบล

 

 

แพทริค จีโร กรรมการผู้จัดการลอรีอัล ประเทศไทย เมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา เชื่อว่า โลกต้องการวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ต้องการสตรี

 

“อย่างไรก็ตาม บทบาทระดับสูงของสตรีในแวดวงวิทยาศาสตร์ไทยยังคงต้องมีการผลักดันอีกมาก ในบรรดานักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นนับตั้งแต่ปี 2525 จนถึงปัจจุบัน มีนักวิทยาศาสตร์หญิงที่ได้รับรางวัลอยู่เพียงร้อยละ 16 เท่านั้น แม้จะมีผู้หญิงอยู่ในแวดวงวิทยาศาสตร์ไทยเป็นจำนวนเทียบเท่ากับผู้ชายก็ตาม

 

“วันนี้ลอรีอัล กรุ๊ป (L’Oréal Group) ก้าวเข้าสู่ปีที่ 115 ในฐานะบริษัทความงามระดับโลก เราเชื่อว่าความงามมีรากฐานมาจากวิทยาศาสตร์ เหนือสิ่งอื่นใดนวัตกรรมวิทยาศาสตร์มีส่วนสำคัญในการพัฒนาโลกใบนี้ ลอรีอัลจึงเดินหน้าเชิดชูเกียรติผลงานวิจัยอันโดดเด่นของสตรีผ่านโครงการเพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 22 เพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับผู้หญิงรุ่นใหม่ที่ต้องการเติบโตในสายงานวิทยาศาสตร์ และพิสูจน์ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่าผู้หญิงทุกคนสามารถเปล่งประกายในแบบของตนเองได้”

 

ในประเทศไทย ลอรีอัลดำเนินการโครงการนี้ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 22 โดยมอบทุนให้กับนักวิจัยสตรีไทยที่มีอายุไม่เกิน 40 ปีใน 2 สาขา ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Sciences) และสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Sciences) โดยงานวิจัยจะต้องมีศักยภาพชัดเจนในการสร้างประโยชน์ต่อสังคม มีกระบวนการวิจัยที่เหมาะสม โดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมของลอรีอัล ผู้ได้รับเลือกจะได้รับทุน 250,000 บาทเพื่อนำไปต่อยอดการวิจัย ที่สำคัญเป็นทุนให้เปล่า ปัจจุบันมีนักวิจัยสตรีไทยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการนี้รวมแล้วทั้งสิ้น 87 คน จากมากกว่า 20 สถาบัน

 

3 ผลงานวิจัยขับเคลื่อนโลกโดย 3 นักวิจัยสตรี ผู้ได้รับทุนในโครงการทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย 

 

สำหรับปี 2567 โครงการทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ ได้มอบทุนวิจัยให้กับนักวิจัยสตรี 3 คน จาก 3 สถาบัน ได้แก่

 

รศ. ดร.อัญญานี คำแก้ว

 

รศ. ดร.อัญญานี คำแก้ว จากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้รับทุนสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพกับงานวิจัยหัวข้อ ‘การพัฒนาสารไวแสงและระบบนาโนนำส่ง เพื่อเป็นทางเลือกแบบแม่นยำสำหรับการรักษาโรคมะเร็ง’ กล่าวว่า “งานวิจัยชิ้นนี้ไม่เพียงสร้างองค์ความรู้ด้านกลยุทธ์การออกแบบโมเลกุลอินทรีย์ที่ไวแสงและการพัฒนาระบบนำส่งระดับนาโนเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสสู่ความร่วมมือและการต่อยอดการนำไปใช้ประโยชน์อีกมากมาย เพื่อเพิ่มทางเลือกในการรักษามะเร็งและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับมะเร็ง การตรวจคัดกรองมะเร็ง และการเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาโรคมะเร็งในประเทศไทยอีกด้วย” 

 

รศ. ดร.อัญญานี คำแก้ว

 

รศ. ดร.อัญญานี อธิบายต่อว่า งานวิจัยชิ้นนี้พุ่งเป้าไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามะเร็ง ด้วยการพัฒนาตัวนำส่งที่มุ่งเป้ามะเร็งร่วมกับการกระตุ้นด้วยแสงเฉพาะที่ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ส่งผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยลดลง “ทางทีมวิจัยใช้เทคนิคการบำบัดด้วยโฟโตไดนามิก (PDT) และการบำบัดด้วยความร้อนจากแสง (PTT) ร่วมกับวัสดุนาโนที่ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย โดยเน้นไปที่วิธีพัฒนาและสังเคราะห์สารไวแสงที่ตอบสนองต่อแสงได้อย่างดีเยี่ยม และมีฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสงเท่านั้น 

 

“การได้รับทุนวิจัยจากลอรีอัลเป็นกำลังใจที่ยิ่งใหญ่ให้เรามีพลังที่จะทำงานวิจัยต่อไป เป้าหมายของเราคือต่อยอดงานวิจัยนี้ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง และส่งต่อความรู้ให้กับนักศึกษาและนักวิจัยรุ่นต่อไป เชื่อว่ารางวัลที่ได้รับในวันนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักวิจัยสตรีได้เห็นว่าความตั้งใจและมุ่งมั่นของเราจะถูกมองเห็นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เหมือนกับที่ลอรีอัลหยิบยื่นและมอบโอกาสนี้ให้กับเรา”

 

ดร.ปองกานต์ จักรธรานนท์

 

ดร.ปองกานต์ จักรธรานนท์ จากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้รับทุนในสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพกับงานวิจัยหัวข้อ ‘การเร่งปฏิกิริยาเชิงเคมีไฟฟ้าเพื่อความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อม’ กล่าวว่า ตัวเธอเองสนใจเรื่องพลังงานทดแทนและเล็งเห็นถึงปัญหาภาวะโลกร้อนที่จะส่งผลกระทบต่อทุกคนบนโลก จึงมุ่งมั่นทำงานวิจัยในขอบเขตด้านพลังงานเพื่อความยั่งยืนมาตั้งแต่ตอนเรียนปริญญาเอก และทำต่อเนื่องในฐานะนักวิจัยมากว่า 10 ปี

 

ดร.ปองกานต์ จักรธรานนท์

 

“ปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมหาศาลจากภาคพลังงานและภาคการผลิตเป็นวิกฤตที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ จึงอยากใช้ความเชี่ยวชาญและความรู้ที่มีมาช่วยแก้ปัญหา เพื่อนำพาประเทศไทยสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน

 

“งานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งเป้าพัฒนาเซลล์ไฟฟ้าที่สามารถเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นเคมีภัณฑ์ที่มีมูลค่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับการออกซิไดซ์ชีวมวลจากอุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมกระดาษ ให้กลายเป็นวัสดุและสารเคมีที่มีมูลค่าสูงขึ้นได้ด้วย

 

“การที่ลอรีอัลฉายแสงไปยังนักวิจัยสตรีมันสะท้อนให้เห็นว่าความเท่าเทียมในวงการวิทยาศาสตร์ได้เกิดขึ้นแล้ว มันเป็นกำลังใจที่ดีมากๆ โดยเฉพาะกับนักวิจัย เพราะอย่างน้อยก็มีคนที่ให้ความสำคัญกับสิ่งที่เราทำ เป้าหมายต่อจากนี้คือ เปลี่ยนงานวิจัยให้นำไปสู่การใช้งานจริงและสร้างประโยชน์ให้กับผู้คนในวงกว้างต่อไป”

 

ผศ. ดร.วลีพร ดอนไพร

 

ผศ. ดร.วลีพร ดอนไพร จากภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อีกหนึ่งนักวิจัยสตรีที่ได้รับทุนสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพกับงานวิจัยหัวข้อ ‘การใช้ประโยชน์ของก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกการเร่งปฏิกิริยาเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนมุ่งสู่ Net Zero Emission’ มองว่า การเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ประเทศไทยก็ตั้งเป้าที่จะเป็น Net Zero ภายในปี 2608 หลายภาคส่วนจึงพยายามใช้ประโยชน์จากก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทน

 

ผศ. ดร.วลีพร ดอนไพร

 

“ส่วนตัวสนใจเรื่องภาวะโลกร้อนอยู่แล้ว งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทน ให้เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงผ่านกลไกการเร่งปฏิกิริยา โดยเน้นที่ปฏิกิริยาการแตกตัวของมีเทนและปฏิกิริยาดรายรีฟอร์มมิ่งที่สามารถผลิตพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาดได้

 

“จุดมุ่งหมายของนักวิจัยทุกคนคงเหมือนกันคือ อยากเห็นงานวิจัยของตัวเองพัฒนาต่อยอดไปในระดับอุตสาหกรรม สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เราเองก็อยากให้งานวิจัยนี้ต่อยอดและพัฒนาได้ถึงอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ การได้รับทุนมันสะท้อนให้เห็นว่ามีคนที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของงานวิจัยที่เราทำและเป็นกำลังใจให้เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนางานวิจัยต่อไป”

 

และนี่คือหลักฐานชิ้นสำคัญที่ตอกย้ำถึงเป้าหมายหลักของลอรีอัล ในฐานะองค์กรด้านความงามชั้นนำของโลกที่ดำเนินธุรกิจมากว่า 115 ปี ด้วยความมุ่งหมายในการ ‘สร้างความงามที่ขับเคลื่อนโลก’ (Create The Beauty That Moves The World) ภายใต้การให้ความสำคัญต่อวิทยาศาสตร์ และมองนักวิจัยทุกเพศสภาพเป็นบุคลากรที่สำคัญในการผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรม

 

รางวัลทุนวิจัยลอรีอัล เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ นอกจากจะช่วยตอกย้ำเป้าหมายการขับเคลื่อนสตรีในวงการวิทยาศาสตร์แล้ว ยังสะท้อนถึงการเป็นองค์กรที่พร้อมเดินเคียงข้างผู้หญิงในทุกบทบาท และช่วยผลักดันให้ผู้หญิงเห็นถึงคุณค่าของตัวเองและเชื่อมั่นว่าพวกเขาก็สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ 

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X