×

ทีทีบี ระดมผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าระหว่างประเทศ แชร์กลยุทธ์รุกตลาดเอเชียปี 2025 [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
31.10.2024
  • LOADING...
TTB

HIGHLIGHTS

3 min read
  • ทีทีบีระดมผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าระหว่างประเทศ แชร์โอกาสและความท้าทายแก่ผู้ประกอบการไทย พร้อมปรับกลยุทธ์รุกตลาดเอเชียในปีหน้า ในงาน ttb I Global Trade & FX Forum ภายใต้หัวข้อ ‘The Future of Asia: Economic Trends and Trade Challenges for Thailand 2025’
  • แนวโน้มการเติบโตของจีนจะสร้างความท้าทายในหลายมิติให้กับประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องของคลื่นสินค้าจีนทะลัก ผู้ประกอบการไทยควรเตรียมตั้งรับและรุกกลับ รวมถึงกระจายความเสี่ยงไปยังตลาดเกิดใหม่ในเอเชียและประเทศอื่นๆ เช่น อินเดีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา 
  • ความเสี่ยงที่ผู้ประกอบการที่ทำการค้าต่างประเทศต้องเผชิญคือ ‘ความผันผวนของค่าเงิน’ โดยเฉพาะสกุลเงินดอลลาร์ที่แกว่งตัวเฉลี่ย 10-12% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการสามารถบริหารความเสี่ยงด้วยการหันมาใช้สกุลเงินท้องถิ่น หรือ Local Currency ให้มากขึ้น เพราะมีความผันผวนต่ำกว่าสกุลเงินดอลลาร์
  • ทีทีบีมีบริการ ‘Local Currency Solution’ ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการบริหารจัดการธุรกิจด้วยสกุลเงินท้องถิ่น ครอบคลุมสกุลเงินท้องถิ่นของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย เช่น เงินหยวน, รูปีอินเดีย, ริงกิตมาเลเซีย, รูเปียห์อินโดนีเซีย, ดองเวียดนาม, วอนเกาหลี และเปโซฟิลิปปินส์ มาพร้อม ttb multi-currency account (MCA) บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงินด้วยบัญชีเดียว ที่จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้สะดวกยิ่งขึ้น

หาก “การเติบโตของการค้าโลกถูกขับเคลื่อนโดยภูมิภาคเอเชีย” เป็นจริงดังที่ ศรัณย์ ภู่พัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต กล่าวบนเวทีงานสัมมนา ttb I Global Trade & FX Forum ภายใต้หัวข้อ ‘The Future of Asia: Economic Trends and Trade Challenges for Thailand 2025’ ถึงเวลาที่ผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกไทย ที่ต้องการขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตต้องเร่งปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือกับสมรภูมิการค้าโลก

 

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี พร้อมเป็นพันธมิตรที่ช่วยผลักดันผู้ประกอบการไทย จึงจัดงานสัมมนานี้ขึ้น พร้อมระดมผู้เชี่ยวชาญและพันธมิตรจากภาครัฐและเอกชนมาร่วมเปิดมุมมองและประสบการณ์ตรงในการทำการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดในเอเชีย ร่วมวิเคราะห์เจาะลึกสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยและการค้าโลกในปี 2025 แนะผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกไทย พร้อมปรับกลยุทธ์รับมือเพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตในสมรภูมิการค้าโลกได้อย่างแข็งแกร่ง 

 

ศรัณย์ ภู่พัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต

 

‘จีน’ ดาวเด่นภูมิภาคเอเชีย 

 

ศรัณย์กล่าวว่า “การค้าโลกตั้งแต่ปี 2005 จนถึงปัจจุบันเติบโตมากถึง 2 เท่า ภายใต้การเติบโตนี้ถูกขับเคลื่อนโดยภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเติบโตมากขึ้นถึง 3 เท่า โดยเฉพาะจีนเติบโตขึ้นถึง 5 เท่า ภูมิภาคเอเชียจึงเป็นดาวเด่นและเป็นจุดที่ทั่วโลกให้ความสนใจ

 

“หากพูดถึงเอเชียก็ต้องให้ความสำคัญกับประเทศจีน ในอดีตประเทศจีนเติบโตโดยอาศัยการลงทุนเป็นหลัก สัดส่วนการลงทุนเทียบกับ GDP ของจีนมีสูงถึงเกือบ 45% ในขณะที่สหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น อยู่ที่ประมาณ 20-25% ผลของการเติบโตผ่านการลงทุนทำให้หลายอุตสาหกรรมในจีนเกิดกำลังการผลิตส่วนเกินเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้สินค้าจีนไหลเข้ามาในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในเอเชียและอาเซียนซึ่งมีมาตรการกีดกันสินค้าจีนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ และยุโรป ปรากฏการณ์นี้คงจะไม่ใช่เหตุการณ์ชั่วคราว แต่จะเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ผู้ประกอบการต้องเฝ้าติดตามและจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับตัว” 

 

TTB

นริศ สถาผลเดชา ประธานกลุ่มงาน Data และ Analytics ทีเอ็มบีธนชาต

 

แนวโน้มเศรษฐกิจโลกปี 2025 เติบโตแบบชะลอตัว 

 

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกปี 2025 นริศ สถาผลเดชา ประธานกลุ่มงาน Data และ Analytics ทีเอ็มบีธนชาต ประเมินว่ายังสามารถเติบโตได้แบบชะลอตัว ท่ามกลางความท้าทายหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการเงินที่เริ่มเห็นสัญญาณของดอกเบี้ยขาลงโดยเฉพาะในฝั่งของสหรัฐฯ และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลกนับเป็นต้นทุนสำคัญที่ส่งผลต่อการส่งออก

 

“แนวโน้มเศรษฐกิจไทยยังคงเติบโตได้แต่ไม่ก้าวกระโดด การบริโภคที่มีสัดส่วน 60% ของ GDP เริ่มมีการเติบโตในอัตราที่ชะลอตัว ผลมาจากภาวะหนี้ครัวเรือน ส่วนภาคการท่องเที่ยวกลับสู่ภาวะปกติแล้ว ถึงจะเริ่มมีสัญญาณชีพที่ดีแต่ก็มีสัดส่วน 12% ของ GDP เท่านั้น ขณะที่ภาคการส่งออกคาดการณ์ว่าจะเติบโตดีขึ้นด้วยสัดส่วน 60% ของ GDP และผลของการค้าโลกมีตลาดใหม่ที่กำลังเติบโตอยู่มากโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย” 

 

ขณะที่ตลาดจีน นริศมองว่ายังเป็นปัจจัยสำคัญถึงขนาด ‘หากจีนสะอึก โลกก็กระอัก’ รวมถึงประเทศไทย แม้ว่าแนวโน้มการเติบโตของจีนจะสร้างความท้าทายในหลายมิติให้กับประเทศไทย แต่ก็เป็นโอกาสสำคัญของผู้ส่งออกไทยในการหาตลาดใหม่ ซึ่งหัวใจสำคัญอยู่ที่การปรับตัวเพื่อรู้เท่าทันกับความท้าทายต่างๆ 

 

ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

5 กลยุทธ์ตั้งรับและรุกกลับ ‘คลื่นสินค้าจีน’ 

 

ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คาดว่าเศรษฐกิจจีนยังคงเติบโต 3-5% โดยมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีมากขึ้น ขณะที่ประเทศในภูมิภาคอาเซียนและไทยยังคงต้องเจอกับคลื่นสินค้าจากจีนที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

 

“หลังจากนี้ประเทศในภูมิภาคเอเชียจะต้องทำการค้าระหว่างกันให้มากขึ้น สำหรับผู้ประกอบการไทยควรเตรียมตั้งรับและรุกกลับด้วย 5 กลยุทธ์ดังต่อไปนี้ 1) บุกตลาดสหรัฐฯ และยุโรป โดยเข้าไปแทนที่สินค้าจากจีน 2) บุกตลาดจีน 3) บุกตลาดอาเซียน 4) กระจายความเสี่ยงไปยังตลาดเกิดใหม่ และ 5) ปรับกลยุทธ์ หันมาปรับปรุงประสิทธิภาพและผลิตภาพในการผลิต”

 

ทำการค้าระหว่างประเทศให้สำเร็จ ‘ต้องเข้าใจตลาดและมีพาร์ตเนอร์ที่ดี’

 

ด้าน ดร.ธนภัท แสงอรุณ ผู้แทนกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ อดีตรองกงสุลฝ่ายพาณิชย์ ณ เมืองมุมไบ กล่าวว่า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศพร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการตั้งแต่เริ่มต้นการส่งออก ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบสินค้าให้สอดรับความต้องการ การสร้างแบรนด์ การเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการ การทดลองตลาด การจับคู่ธุรกิจ การนำผู้ประกอบการเปิดตลาดต่างประเทศ รวมถึงการจัดงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ

 

“ตอนนี้ตลาดของชาวอินเดียและมุสลิมเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีแนวโน้มขยายตัวในหลายประเทศ ทั้งในอาเซียนและเอเชียใต้ โดยเฉพาะอินเดีย ซึ่งมีคนรุ่นใหม่ที่พร้อมจะเปิดรับสินค้าจากไทย ซึ่งผู้ประกอบการสามารถทดลองตลาดกับชาวอินเดียและมุสลิมที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยก่อนได้ โดยศึกษาจากสินค้าที่กลุ่มลูกค้าเหล่านี้มองหาและซื้อกลับประเทศ นอกจากนี้ยังมีโอกาสในตลาดชาวมุสลิมที่อยู่ในตะวันออกกลางด้วย”

 

 

อรรถ เมธาพิพัฒนกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงิน บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด และ ปิยจิต รักอริยะพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) มาร่วมแชร์มุมมองและประสบการณ์ในการทำธุรกิจในต่างประเทศได้อย่างน่าสนใจ

 

อรรถเล่าว่า มิตรผลขยายตลาดไปจีนและอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดที่เติบโตสูงและมีการแข่งขันสูง โดยมองว่ามีความท้าทายใน 2 มิติ คือ ความท้าทายในเชิงธุรกิจ และความท้าทายในด้านตลาดทุน ตลาดเงิน และอัตราแลกเปลี่ยน

 

“การรับมือกับความท้าทายในเชิงธุรกิจ ผู้ประกอบการต้องมีความเข้าใจในตลาดและกฎระเบียบท้องถิ่น สิ่งสำคัญคือต้องมีพาร์ตเนอร์ที่ดี เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางภูมิประเทศ สงครามการค้าโลก รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งล้วนส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและราคาสินค้าที่ผันผวน

 

“สำหรับความท้าทายในด้านตลาดทุน ตลาดเงิน และอัตราแลกเปลี่ยน จากนโยบายการเงินการคลังที่กระทบต่อต้นทุนการเงิน และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน จึงต้องให้ความสำคัญกับการบริหารสภาพคล่องอย่างมาก ต้องอาศัยเครื่องมือทางการเงินต่างๆ จากธนาคารมาช่วยบริหารความเสี่ยง รวมถึงการใช้เทคโนโลยี เช่น AI ช่วยเสริม Visibility และ Scenario Planning ช่วยผู้ประกอบการในการตัดสินใจ และโอกาสทางธุรกิจจากการดำเนินงานด้าน ESG ควบคู่การขยายธุรกิจ”

 

ด้านปิยจิตเล่าว่า เซ็ปเป้เริ่มจากการเข้าไปทดลองตลาดก่อน เพื่อศึกษาผู้บริโภคว่าให้การตอบรับสินค้าของเราหรือไม่ หลังจากนั้นจึงค่อยขยายและลงทุนเพิ่ม อย่างการกระจายช่องทางการทำตลาดที่เหมาะสม

 

“สิ่งสำคัญคือควรมีพาร์ตเนอร์ที่มีความต้องการในการทำตลาดร่วมกัน การศึกษากฎระเบียบต่างๆ ซึ่งแต่ละประเทศจะมีระยะเวลาการขออนุมัติที่ไม่เท่ากัน นอกจากนี้ต้องจับตาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์ สงครามการค้า สุดท้ายคืออัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์และเงินบาท ซึ่งผู้ส่งออกควรจะหาผู้ช่วยเข้ามาบริหารความเสี่ยง เพื่อให้ธุรกิจสามารถเดินต่อได้อย่างไร้กังวล” 

 

บริหารความเสี่ยงในการทำการค้าระหว่างประเทศด้วย ‘Local Currency Solution’

 

ความเสี่ยงที่ผู้ประกอบการที่ทำการค้าต่างประเทศต้องเผชิญคือ ‘ความผันผวนของค่าเงิน’ โดยเฉพาะสกุลเงินดอลลาร์ที่แกว่งตัวเฉลี่ย 10-12% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หากผู้ประกอบการไม่มีการบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีอาจเสี่ยงขาดทุนได้

 

บุษรัตน์ เบญจรงคกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต กล่าวว่า ผู้ประกอบสามารถบริหารความเสี่ยงในการทำการค้าระหว่างประเทศด้วยการหันมาใช้สกุลเงินท้องถิ่น หรือ Local Currency มากขึ้น เพราะมีความผันผวนต่ำกว่าสกุลเงินดอลลาร์ โดยทีทีบีมีบริการ ‘Local Currency Solution’ โซลูชันที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการบริหารจัดการธุรกิจด้วยสกุลเงินท้องถิ่น ครอบคลุมสกุลเงินท้องถิ่นของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยกว่า 52% เช่น สกุลเงินหยวน, รูปีอินเดีย, ริงกิตมาเลเซีย และรูเปียห์อินโดนีเซีย โดยมี 3 สกุลเงินใหม่ที่เพิ่มเข้ามา ได้แก่ ดองเวียดนาม (VND), วอนเกาหลี (KRW) และเปโซฟิลิปปินส์ (PHP) นอกจากนั้นยังมี ttb multi-currency account (MCA) บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงินที่ดีที่สุดเพื่อธุรกิจนำเข้าและส่งออกด้วยการใช้บัญชีเดียว สามารถใช้ซื้อ ขาย รับ จ่าย ได้ทั้งในและต่างประเทศ ที่จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้สะดวกยิ่งขึ้น

 

เพราะต่อให้รู้ทันเกมตลาดโลก วางกลยุทธ์ตั้งรับและรุกกลับไว้อย่างดี ก็ต้องมีเครื่องมือที่ช่วยขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจให้ราบรื่นในทุกสถานการณ์ ทีทีบี ในฐานะธนาคารที่ขับเคลื่อนองค์กรภายใต้ปรัชญา ‘Make REAL Change เปลี่ยน…เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น’ จึงพร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการไทยที่ทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยบริหารความเสี่ยงสำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก เพื่อการวางแผนการบริหารงานและกลยุทธ์การเติบโตขององค์กรได้อย่างยั่งยืน

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising