×

8 ข้อควรรู้ ก่อนจองซื้อ IPO โอ้กะจู๋ แบรนด์อาหารสุขภาพ มูลค่า 4 พันล้านบาท

18.09.2024
  • LOADING...
IPO โอ้กะจู๋

‘โอ้กะจู๋’ หรือ บมจ.ปลูกผักเพราะรักแม่ (OKJ) กำลังจะกลายมาเป็นหุ้นน้องใหม่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผ่านการเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) และเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของดัชนี SET 

 

ล่าสุดโอ้กะจู๋กำหนดราคาหุ้น IPO ที่จะเสนอขายที่ 6.70 บาท คิดเป็นมูลค่าการระดมทุนไม่เกิน 1,065.3 ล้านบาท และจะเปิดให้จองซื้อระหว่างวันที่ 23-25 กันยายน 2567 

 

สำหรับใครที่กำลังสนใจที่จะซื้อหุ้นโอ้กะจู๋ THE STANDARD WEALTH ขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับหุ้น OKJ ให้มากขึ้นผ่าน 8 ข้อควรรู้ 

 

  1. ธุรกิจของโอ้กะจู๋

 

โอ้กะจู๋เป็นผู้ให้บริการและจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ภายใต้คอนเซปต์ ‘Be Organic from Farm to Table’ 

 

ปัจจุบันรายได้หลักของบริษัทมาจากแบรนด์โอ้กะจู๋เกือบ 100% ส่วนใหญ่ขายผ่านร้านโอ้กะจู๋ที่เราพบเห็นตามสถานที่ต่างๆ แต่ในช่วงครึ่งปีแรกบริษัทขยายแบรนด์ใหม่เพิ่มเติมอีก 2 แบรนด์ คือ OHKAJHU WRAP and ROLL และ Oh! Juice ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีรายได้บ้างแล้ว แต่ยังมีสัดส่วนรวมกันไม่ถึง 1% ของรายได้ทั้งหมด 

 

จุดเด่นที่สำคัญอย่างหนึ่งของโอ้กะจู๋คือวัตถุดิบผักที่ปลูกด้วยตัวเอง ปัจจุบันบริษัทมีสวนปลูกผักทั้งหมด 5 สวนในจังหวัดเชียงใหม่ บนพื้นที่รวม 380 ไร่ โดยยังมีกำลังการผลิตเหลือประมาณ 38% จากพื้นที่สวนที่สามารถรองรับได้ 

 

ส่วนสาขาของธุรกิจต่างๆ แบ่งเป็น 

  • Full-service Restaurant 33 สาขา
  • Delivery and Kiosk 4 สาขา
  • ผลิตเพื่อจำหน่ายในร้าน Café Amazon กว่า 450 สาขา 
  • ขายผลผลิตในซูเปอร์มาร์เก็ต 12 สาขา 
  • OHKAJHU WRAP and ROLL 1 สาขา
  • Oh! Juice 6 สาขา

 

  1. การเติบโตที่ผ่านมา

 

ช่วงเวลาเกือบ 4 ปีที่ผ่านมา รายได้ของโอ้กะจู๋เพิ่มขึ้นจาก 797.8 ล้านบาท มาเป็น 1,712.8 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ย 46.5% ต่อปี ส่วนครึ่งปีแรกของปี 2567 บริษัทมีรายได้ 1,097 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 41.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

 

ขณะที่กำไรสุทธิของโอ้กะจู๋จากปี 2564 ที่ขาดทุน 84.55 ล้านบาท พลิกกลับมามีกำไร 38.32 ล้านบาทในปี 2565 ก่อนจะเติบโตขึ้นเป็น 140.65 ล้านบาทในปี 2566 ส่วนครึ่งปีแรกของปี 2567 มีกำไรสุทธิ 102.36 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

 

ในมุมความสามารถในการทำกำไร โอ้กะจู๋มีอัตรากำไรสุทธิ (NPM) ประมาณ 9% และมีอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) ประมาณ 28% ส่วนอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) อยู่ที่ประมาณ 12% 

 

  1. หุ้น IPO 6.70 บาท

 

โอ้กะจู๋จะขายหุ้น IPO ทั้งหมด 159 ล้านหุ้น คิดเป็น 26.1% ของหุ้นทั้งหมด 609 ล้านหุ้น โดยจะขายให้กับนักลงทุน 4 กลุ่ม ได้แก่ 

  1. บุคคลตามดุลยพินิจของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ 43% 
  2. ผู้มีอุปการคุณของบริษัท 3.9%
  3. กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท 3.4%
  4. นักลงทุนสถาบัน 49.7%


จากราคา IPO ที่กำหนดไว้ 6.70 บาท หากอิงจากราคานี้จะทำให้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) ของโอ้กะจู๋อยู่ที่ 4,080 ล้านบาท ขณะที่อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ เช่น อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) อยู่ที่ 24.13 เท่า อิงจากกำไร 12 เดือนที่ผ่านมา อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (P/BV) อยู่ที่ 5 เท่า อิงจากมูลค่าตามราคาบัญชีที่ 1.34 บาทต่อหุ้น

 

  1. เทียบกับหุ้น AU และ MAGURO

 

จากหนังสือชี้ชวนของโอ้กะจู๋ มองว่าหุ้นที่ใกล้เคียง ได้แก่ บมจ.อาฟเตอร์ ยู (AU) และ บมจ.มากุโระ (MAGURO) ซึ่งประกอบธุรกิจจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มเช่นกัน 

 

จากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ ณ วันที่ 17 เมษายน ที่ผ่านมา AU และ MAGURO มีมาร์เก็ตแคปอยู่ที่ 7.78 พันล้านบาท และ 2.19 พันล้านบาท ตามลำดับ และมี P/E อยู่ที่ 34.20 เท่า และ 33.32 เท่า ตามลำดับ 

 

ส่วนรายได้รวมและกำไรสุทธิ

  • AU
    – ปี 2566 รายได้รวม 1,233.76 ล้านบาท กำไรสุทธิ 178.17 ล้านบาท

– ครึ่งแรกปี 2567 รายได้รวม 724.92 ล้านบาท กำไรสุทธิ 126.86 ล้านบาท

  • MAGURO 

– ปี 2566 รายได้รวม 1,045.81 ล้านบาท กำไรสุทธิ 72.48 ล้านบาท

– ครึ่งแรกปี 2567 รายได้รวม 619.29 ล้านบาท กำไรสุทธิ 33.04 ล้านบาท

 

  1. ระดมทุนไปทำอะไร

 

หลังจากหักค่าใช้จ่ายในการระดมทุน โอ้กะจู๋คาดว่าจะได้รับเงินประมาณ 1,023.9 ล้านบาท ซึ่งจะถูกนำไปใช้ใน 4 ด้าน ได้แก่ 

  • 753.9-758.9 ล้านบาท

ขยายธุรกิจ ทั้งสาขาของโอ้กะจู๋, OHKAJHU WRAP and ROLL และ Oh! Juice รวมทั้งการขยายสาขาสำหรับธุรกิจหรือแบรนด์ใหม่ๆ 

  • 190-230 ล้านบาท

ก่อสร้างครัวกลางแห่งใหม่ ลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและระบบอื่นๆ 

  • 30-35 ล้านบาท

ลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะปลูก และสร้างสถานที่ตรวจสอบคุณภาพการผลิต

  • 0-50 ล้านบาท

ชำระคืนเงินกู้สถาบันการเงิน

 

  1. ความเสี่ยงของธุรกิจ

 

ความเสี่ยงธุรกิจตามหนังสือชี้ชวนมีอยู่หลากหลายด้าน เช่น 

  • ปริมาณผลผลิตและวัตถุดิบผักและผลไม้ที่อาจน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ส่วนหนึ่งจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • ราคาวัตถุดิบที่ผันผวน และอาจเพิ่มสูงขึ้นตามปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้
  • การแข่งขันในอุตสาหกรรม
  • ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
  • การไม่ประสบความสำเร็จของสาขาที่เปิดใหม่หรือแบรนด์ใหม่ 
  • ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวของร้านอาหารในโซนกรุงเทพฯ และปริมณฑล
  • ความเสี่ยงในการต่อสัญญาเช่าพื้นที่สาขา

 

  1. ผู้ถือหุ้นใหญ่

 

กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ของโอ้กะจู๋ แบ่งเป็น 5 กลุ่มหลัก ภายหลังการเสนอขายหุ้น IPO ได้แก่ 

  1. ครอบครัวเอกชัยพัฒนกุล ถือหุ้นรวม 190.356 ล้านหุ้น คิดเป็น 31.26% 
  2. บริษัท มอดูลัส เวนเจอร์ จำกัด (บริษัทย่อยของ OR) ถือหุ้นรวม 121.8 ล้านหุ้น คิดเป็น 20% 
  3. จิรายุทธ ภูวพูนผล ถือหุ้นรวม 93.394 ล้านหุ้น คิดเป็น 15.34% 
  4. ครอบครัวสุชัยบุญศิริ ถือหุ้นรวม 44.45 ล้านหุ้น คิดเป็น 7.30% 
  5. ประชาชนทั่วไป ถือหุ้นรวม 14 ล้านหุ้น คิดเป็น 2.30% 

 

  1. จองซื้อผ่านโบรกเกอร์ไหน

 

หุ้น IPO ที่จะเสนอขายจำนวน 159 ล้านหุ้น สามารถจองซื้อได้ผ่านทาง 6 บริษัทหลักทรัพย์ ได้แก่ 

  • บล.บัวหลวง ผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย
  • บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย
  • บล.ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย
  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising