×

รำลึก #46ปี6ตุลา ที่ธรรมศาสตร์ เหยื่อความรุนแรง ‘ขวาพิฆาตซ้าย’ ประวัติศาสตร์แผลลึกการเมืองไทย

โดย THE STANDARD TEAM
06.10.2022
  • LOADING...
46ปี6ตุลา

วันนี้ (6 ตุลาคม) มีการจัดกิจกรรมงานรำลึก 46 ปี 6 ตุลา 2519 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์ โดยใช้ชื่องานว่า ‘รำลึก 46 ปี 6 ตุลา ตามหาอยุติธรรม’ ขณะที่ในวันนี้มีบุคคลทางการเมือง ตัวแทนพรรคการเมือง และคนเดือนตุลา ร่วมวางพวงมาลาอย่างต่อเนื่อง เช่น พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล, พรรณิการ์ วานิช ตัวแทนคณะก้าวหน้า, นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย, น.ต. ศิธา ทิวารี เลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย, ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย, จาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย, กัณวีร์ สืบแสง ประธานยุทธศาสตร์และรองหัวหน้าพรรคเป็นธรรม

 

46ปี6ตุลา 46ปี6ตุลา

 

ขณะที่ยังมี อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล, ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล, สมหมาย บุญเฮง พรรคเสรีรวมไทย, นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช และกลุ่มแคร์, จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน, ธนพัฒน์ กาเพ็ง กลุ่มทะลุฟ้า, สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ, พรรคชาติพัฒนากล้า, มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ พรรคไทยศรีวิไลย์, พรรคเพื่อชาติ รวมถึงนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง และประชาชนคนเดือนตุลาเข้าร่วมกิจกรรม

 

46ปี6ตุลา 46ปี6ตุลา 46ปี6ตุลา 46ปี6ตุลา

 

พิธาได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน โดยระบุว่า เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 คือบทเรียนว่าสังคมไทยจะต้องร่วมกันทบทวนเงื่อนไขในการปราบปรามของรัฐ การรัฐประหาร ไปจนถึงการเข่นฆ่าประชาชน ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร

 

พรรคก้าวไกลมีข้อเสนอทางการเมืองเพื่อให้ประเทศไทยสามารถเกิดความสมานฉันท์ ให้ความคิดที่แตกต่างกันอยู่ร่วมกันได้ในสังคมไทยจริงๆ และเหตุการณ์อย่าง 6 ตุลาจะไม่เกิดขึ้นอีก นั่นคือจะต้องมีการคืนความเป็นธรรมให้กับเหยื่อคดีการเมือง ผู้ต้องคดีการเมืองต้องได้รับการยุติการดำเนินคดี ยุติวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด และจะต้องมีการเสาะหาข้อเท็จจริง ทั้งในเหตุการณ์ 6 ตุลา 19, พฤษภา 35 และทุกเหตุการณ์การเมือง รวมถึงเหตุการณ์ในปี 2557 ด้วย

 

46ปี6ตุลา 46ปี6ตุลา 46ปี6ตุลา

 

ด้านนพ.ชลน่าน ให้สัมภาษณ์ว่า เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 เป็นความสูญเสียทั้งความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย ภาพของการแขวนคอและเข่นฆ่าก็เป็นข้อเท็จจริง แต่ในด้านบวกคือข้อเท็จจริงหลายเรื่องถูกเปิดเผยออกมา เข้าไปสัมผัสจับต้องได้ จนทำให้ภาพเหล่านี้เกิดขึ้นมา มีการจัดงานอย่างต่อเนื่อง และคนรุ่นใหม่มีส่วนร่วม ได้เห็นภาพการต่อสู้ในครั้งนั้นและนำมาเป็นบทเรียน ปรับวิธีการกระบวนการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยโดยแท้จริงต้องไม่สูญเสีย

 

46ปี6ตุลา 46ปี6ตุลา 46ปี6ตุลา

 

สำหรับบรรยากาศภายในงาน มีการประกอบพิธีทำบุญในช่วงเช้าตรู่และการวางพวงมาลาที่ลานประติมานุสรณ์ 6 ตุลา รวมถึงมีการอ่านบทกวีโดยนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการปาฐกถารำลึกเหตุการณ์ 6 ตุลา หัวข้อ ‘ฆ่าอย่างไรก็ไม่ตาย คนรุ่นใหม่ในความขัดแย้งทางการเมืองไทยร่วมสมัย’ โดย รศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ อดีตคณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

46ปี6ตุลา 46ปี6ตุลา 46ปี6ตุลา

 

ขณะที่ภายในงานมีการประกาศ ‘รางวัลจารุพงษ์ ทองสินธุ์ เพื่อประชาธิปไตย’ ประจำปี 2565 โดยผู้ที่ได้รับคือ วาฤทธิ์ สมน้อย เยาวชนอายุ 15 ปี ที่ถูกยิงเสียชีวิตระหว่างการร่วมชุมนุมบริเวณหน้าสถานีตำรวจนครบาล (สน.) ดินแดง เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564 โดยมีตัวแทนรับรางวัลแทน

 

46ปี6ตุลา 46ปี6ตุลา 46ปี6ตุลา

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising