×

5 หัวหน้าคณะรัฐประหารที่เป็นนายกรัฐมนตรี

21.05.2021
  • LOADING...
คณะรัฐประหาร

22 พฤษภาคม 2557 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทำการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

 

24 สิงหาคม 2557 ประกาศราชกิจจานุเบกษา พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของไทย 

 

พลเอก ประยุทธ์ ถือเป็นผู้นำคณะรัฐประหารคนที่ 5 ที่ยึดอำนาจเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีเสียเอง 

 

วันที่ 22 พฤษภาคม 2564 ครบ 7 ปีการยึดอำนาจโดย คสช. สังคมไทยยังอยู่ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีคนเดิมคือ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม้การกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 จะพูดได้ว่าเป็นนายกรัฐมนตรีหลังจัดการเลือกตั้ง แต่ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า ส.ว. แต่งตั้ง 250 คน ซึ่งมีอำนาจร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ พลเอก ประยุทธ์ กลับมาได้อีกครั้ง ซึ่งหากเขาอยู่จนครบวาระก็จะเป็นนายกรัฐมนตรีนานถึง 9 ปี เกือบทาบสถิติ จอมพล ป. พิบูลสงคราม และจอมพล ถนอม กิตติขจร และสถิตินี้อาจไม่หยุดลงแค่นั้น เพราะตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ส.ว. แต่งตั้งมีวาระร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีได้ถึง 5 ปี เท่ากับมีโอกาสร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีได้อย่างน้อยถึง 2 ครั้ง นี่คือต้นทุนทางการเมืองของ พลเอก ประยุทธ์ ที่ทำให้มีโอกาสขยายสถิติการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป

 

อ่านบทความ: 7 ปี คสช. รัฐประหาร พล.อ. ประยุทธ์ หัวหน้าคณะรัฐประหารที่เป็นนายกฯ นานกว่า จอมพล สฤษดิ์ ใกล้ทาบสถิติจอมพล ป. และจอมพล ถนอม

 

คณะรัฐประหาร

 

ภาพประกอบ: กริน วสุรัฐกร

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X