×

ครม. ต่อลมหายใจเกษตรกรไทย พักชำระหนี้ต่ออีก 5 เดือน ครอบคลุมลูกหนี้ NPL ธนาคารรัฐ 4 แห่ง

08.04.2025
  • LOADING...

เช็กเงื่อนไขที่เกษตรกรไทยต้องรู้ หลัง ครม. ไฟเขียวขยายเวลา ‘พักหนี้เกษตรกร’ ยาว 5 เดือน ครอบคลุมลูกหนี้ NPL ธนาคารรัฐ 4 แห่ง

 

วันนี้ 8 มีนาคม 2568 อนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีมีมติพิจารณาตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้

 

  1. รับทราบผลดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส), ธนาคารออมสิน, ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)

 

  1. เห็นชอบให้เกษตรกรที่ได้รับสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 ต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรถูกต้องครบถ้วน และเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan: NPLs) ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567

 

  1. เห็นชอบให้ธนาคารของรัฐทั้ง 4 แห่ง คิดดอกเบี้ยและเบิกจ่ายเงินชดเชยเงินต้นครึ่งหลัง (ร้อยละ 50) ที่พักไว้ทั้งจำนวนของเกษตรกร จำนวน 16,794 ราย และที่แจ้งเพิ่มเติมภายหลังที่ได้รับสิทธิเข้าร่วมโครงการฯตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 ได้ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 

 

ทั้งนี้ ให้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ต้องควบคุมกรอบวงเงินที่ได้รับจัดสรรของแต่ละธนาคาร โดยไม่เกินกรอบวงเงินรวมทั้งสิ้นจำนวน 15,481.66 ล้านบาท ตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566

 

  1. เห็นชอบให้ขยายเวลาการดำเนินโครงการฯ ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2568 โดยให้ระยะเวลาในการดำเนินโครงการสิ้นสุดลงภายใน 150 วัน นับจากวันที่ คณะรัฐมนตรีมีมติ ทั้งนี้ต้องเป็นเกษตรกรที่มาแสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ ภายในวันที่ 21 มีนาคม 2568 

 

ทั้งหมดได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกับธนาคารของรัฐทั้ง 4 แห่ง นำมติคณะรัฐมนตรีไปดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกรอบการขยายเวลาข้างต้นตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ

 

สำหรับเกษตรกรต้องปฏิบัติตามแนวทางดังนี้

 

  1. เกษตรกรและสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ส่งเอกสารแบบแจ้งประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ โดยเป็นเอกสารแบบ ปคน.1 ตามด้วย ปคน.2 และแบบ ผค.1/4 ส่งให้สถาบันเจ้าหนี้ให้เสร็จภายใน 20 วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ

 

  1. ให้สถาบันเจ้าหนี้ดำเนินการทำสัญญาให้แล้วเสร็จภายใน 150 วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ

 

  1. ในกรณีที่เกษตรกรไม่สามารถทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ได้แล้วเสร็จจภายใน 150 วัน เช่น ติดปัญหาเรื่องหลักประกัน หรืออยู่ระหว่างการดำเนินการทางกฎหมาย หรืออยู่ระหว่างการดำเนินการของส่วนราชการ ให้ขยายระยะเวลาการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารออกไปอีกแต่ไม่เกิน 150 วัน 

 

นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง หรือคำพิพากษาถึงที่สุดหรือวันที่ได้รับแจ้งผลการดำเนินการจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

 

ภาพ: Kachenpr / Shutterstock

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising