×

เจาะลึก 5 หัวใจหลักด้านความยั่งยืนในการเร่งสังคมสู่ Net Zero ภายในปี 2050 เพิ่มโอกาสธุรกิจเติบโตระยะยาว [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
22.09.2024
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

  • นี่คือ ‘5 หัวใจหลักด้านความยั่งยืน’ ที่จะมีส่วนสำคัญช่วยผลักดันองค์กรขับเคลื่อนเป้าหมายสู่ Net Zero Emission 2050 ได้สำเร็จ
  • เพิ่มการใช้พลังงานสะอาดและปรับซัพพลายเชนให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อรับมือกับมาตรการปรับราคาคาร์บอนของ EU ในสหรัฐอเมริกา มี Eversource ที่ใช้ความร้อนใต้พิภพสร้างพลังงาน และ SCG ร่วมมือกับ Rondo Energy สหรัฐอเมริกา พัฒนา ‘แบตเตอรี่กักเก็บความร้อนจากพลังงานสะอาด (Heat Battery)’ รวมถึงมี SCG Cleanergy ที่ช่วยบริหารจัดการพลังงานสะอาดด้วยระบบ Smart Grid 
  • เปลี่ยนขยะให้เป็นทรัพยากรที่มีค่า นำขยะหรือวัสดุเหลือใช้กลับเข้าสู่ระบบการรีไซเคิล ซึ่งสวีเดนนำขยะมาแปรรูปเป็นพลังงานความร้อน ไฟฟ้า และก๊าซชีวภาพ ด้าน SCGC ร่วมกับ Avantium N.V. ทดสอบการนำก๊าซ CO₂มาอัปไซเคิลเป็นสารตั้งต้นผลิตพอลิเมอร์ PLGA ‘พอลิเมอร์ที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นลบ’
  • ยกระดับสู่กรีนโลจิสติกส์ เช่นHINO MOTORS ที่มีรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้า หรือ SCGJWD ที่นำร่องใช้รถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าขนส่งสินค้าและนำเทคโนโลยีการจัดเก็บสินค้าอัตโนมัติมาใช้ในคลังสินค้า รวมถึงร่วมกับ DHL Express นำ Sustainable Aviation Fuel (SAF) หรือเชื้อเพลิงการบินที่ผลิตจากน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วและนำไปกลั่นใหม่ ผสมกับน้ำมันเครื่องบินทั่วไป ซึ่งจะช่วยลดการปล่อย CO₂  ได้มากถึง 80% เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงแบบเก่า
  • การก่อสร้างและอยู่อาศัยที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เช่น ที่รัฐออริกอน สหรัฐอเมริกา มีนโยบายลดคาร์บอนสะสมในวัสดุก่อสร้าง ส่วนที่ไทยมี KIT CARBON จาก SCG ที่ช่วย ‘คิดก่อนสร้าง’ คำนวณก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการก่อสร้าง ‘ระหว่างการสร้าง’ พัฒนานวัตกรรมวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ‘ตอนอยู่’ ก็มีเทคโนโลยีช่วยทำให้บ้านและอาคารเป็น Low Carbon Building 
  • พัฒนาเมืองแบบยั่งยืน เช่น โครงการ Greenhaus ในอังกฤษ และ ‘สระบุรีแซนด์บ็อกซ์’ ที่ภาครัฐ-เอกชน-ประชาชน ร่วมกันเร่งสร้างโมเดลเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกในไทย
  • ‘ยิ่งเร่งเปลี่ยน ยิ่งเพิ่มโอกาส’ พิชิตเป้าหมายสังคม Net Zero ที่งาน ‘ESG SYMPOSIUM 2024: Driving Inclusive Green Transition’ วันที่ 30 กันยายน 2567 เวลา 11.00-16.30 น. ณ Hall 1 ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชมการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook / Youtube: SCGOfficial ได้ตั้งแต่เวลา 12.15 น. พร้อมชมนวัตกรรมเพื่อเมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำที่บูธ SCG ภายในงาน SUSTAINABILITY EXPO 2024 โซน Better Community ชั้น G ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน – 6 ตุลาคม 2567

การมุ่งหน้าสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี 2050 ตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกในระดับที่ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม และจำกัดการเพิ่มขึ้นให้อยู่ที่ระดับ 1.5 องศาเซลเซียส ถือเป็นความท้าทายใหญ่ที่ทั่วโลกต้องเผชิญ

 

ในกรอบเวลาอีกไม่เกิน 26 ปีต่อจากนี้ จะต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นแบบจับต้องได้จริง เป็นความท้าทายทั้งการทุ่มสรรพกำลังเพื่อเร่งเปลี่ยนทั้งองคาพยพ ตั้งแต่ระบบงานภายในองค์กร ซัพพลายเชน กระบวนการต่างๆ เทคโนโลยี หรือแม้แต่วิธีคิดของบุคลากรในองค์กร

 

เพื่อเป็นไอเดียและแนวทางที่ปรับตัวสู่ Net Zero Emission 2050 ทาง THE STANDARD ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจที่มีการเปิดเผยโดย World Economic Forum (สภาเศรษฐกิจโลก) เรื่อยไปจนถึง Fastcompany และ IBM Sustainability Trends 2024 แล้วสรุปออกมาเป็น 5 เทรนด์ด้านความยั่งยืนน่าจับตาประจำปี 2024 มาไว้ให้แล้ว

 

1. ทะยานเข้าเส้นชัย Net Zero ด้วยพลังงานสะอาดและซัพพลายเชนแบบยั่งยืน 

 

ภายในปี 2024 องค์กรหลายแห่งทั่วโลกจะพุ่งเป้าไปที่ 2 แนวทางเพื่อในการพาตัวเองพุ่งทะยานสู่เป้าหมาย Net Zero ให้สำเร็จภายในปี 2050 ประกอบด้วย

 

  • การใช้พลังงานสะอาด (Clean Energy)

มีการคาดการณ์กันว่า การเปลี่ยนผ่านพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่พลังงานสะอาด เช่น ลม แสงอาทิตย์ หรือแม้แต่ความร้อนใต้พิภพถือเป็น ‘เรื่องสำคัญ’

 

  • การเปลี่ยนซัพพลายเชนทั้งห่วงโซ่ให้เกิดความยั่งยืน (Sustainable Supply Chains)

ส่วนการเปลี่ยนซัพพลายเชนให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเกิดความยั่งยืน ถือเป็นประเด็นที่ถูกเร่งปฏิกิริยาจาก ‘การตื่นตัวของผู้บริโภค’ ซึ่งฝั่งสหภาพยุโรป (EU) ก็เตรียมออกมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ CBAM ซึ่งเป็นการกำหนดราคาสินค้านำเข้าบางประเภทเพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเข้ามาใน EU ดังนั้น ผู้ผลิตที่อยู่ตลอดซัพพลายเชนจึงต้องเร่งปรับกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อโลก

 

ดังนั้น การจะมุ่งสู่ Net Zero 2050 ได้สำเร็จจะต้องช่วยให้ตลอดทั้งซัพพลายเชนสามารถเร่งทำ Green Transition ไปด้วยกัน 

 

เคสตัวอย่าง:

 

Eversource ผู้ให้บริการด้านพลังงานรายใหญ่ในสหรัฐอเมริกา นำร่องใช้ประโยชน์จากความร้อนใต้พิภพเปลี่ยนเป็นพลังงาน แจกจ่ายให้ประชาชนผ่านโครงข่ายระบบท่อใต้ดิน โดยทางการสหรัฐอเมริกา ยังเตรียมศึกษาความเป็นไปได้เพื่อขยายการนำความร้อนใต้พิภพไปใช้ทั้งประเทศในอนาคต

 

 

ส่วนประเทศไทย โซลูชันพลังงานสะอาด ‘SCG Cleanergy’ เครือข่ายอัจฉริยะเพื่อการบริหารจัดการพลังงานสะอาด Smart Grid ที่ SCG พัฒนาให้กับลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรม โรงงาน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม หรือโรงพยาบาลที่มีปริมาณการใช้พลังงานมหาศาล ซึ่งทำได้ตั้งแต่การแจ้งรายละเอียดข้อมูลการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งผลิตไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ พร้อมคาดการณ์ปริมาณการใช้และการผลิตในแต่ละช่วงเวลา ทั้งยังรองรับการซื้อขายผ่านระบบสายส่ง และการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตอีกด้วย

 

นอกจากนั้น ยังมีการพัฒนา ‘แบตเตอรี่กักเก็บความร้อนจากพลังงานสะอาด (Heat Battery)’ ภายใต้ความร่วมมือกับ Rondo Energy สหรัฐอเมริกา ที่ร่วมกันพัฒนาอิฐทนไฟ (Thermal Media) ในการกักเก็บความร้อน จนสามารถกักเก็บความร้อนได้ที่อุณหภูมิสูงถึง 1,500 องศาเซลเซียส และนำความร้อนดังกล่าวมาใช้งานได้ทั้งในรูปแบบลมร้อน (Hot Air) และไอน้ำ (Steam) โดยปราศจากกระบวนการเผาไหม้ หมายความว่า Heat Battery ถือเป็นการผลิตพลังงานสะอาดโดยแท้จริง

 

 

2. เศรษฐกิจหมุนเวียนที่เปลี่ยนขยะให้เป็น ‘ทรัพยากรทรงคุณค่า’ 

 

‘From Waste to Value’ ขยะกลายเป็นทรัพยากรที่มีค่า คือความพยายามของผู้ประกอบการธุรกิจ และผู้บริโภคที่จะเพิ่มมูลค่าให้ขยะ ผ่านการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้คงทน นำกลับมาใช้ซ้ำหรือรีไซเคิล เพื่อใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด ลดการสร้างขยะที่เกิดขึ้นจากการผลิตและบริโภคให้มากที่สุด โดยมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการที่ซับซ้อน ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า การที่ภาคอุตสาหกรรมร่วมเปลี่ยนผ่านสู่แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน จะส่งผลให้การเติบโตของภาคเศรษฐกิจสูงที่ระดับ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2030

 

เทรนด์การพัฒนานวัตกรรมตอนนี้ไม่ได้หยุดอยู่แค่เพียงการนำขยะจากภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมกลับเข้าสู่ระบบการรีไซเคิลเท่านั้น แต่ยังขยับไปสู่การอัปไซเคิลวัสดุเหลือใช้จากพืชผลทางการเกษตรและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย

 

เคสตัวอย่าง:

 

สวีเดนเป็นผู้นำระดับโลกในการจัดการและรีไซเคิลขยะ ด้วยระบบที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้ 99.3% ของขยะครัวเรือนถูกนำกลับมาใช้ใหม่หรือผลิตพลังงาน ความร้อน ไฟฟ้า ก๊าซชีวภาพ และปุ๋ย โดยใช้วิธีจัดการที่เหมาะสมกับประเภทของขยะ ซึ่งนอกจากปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังให้พลังงานสำหรับระบบทำความร้อนในเมืองและผลิตไฟฟ้าอีกด้วย

 

ในฝั่งของไทยนั้น SCGC ได้ร่วมกับ Avantium N.V. ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านเคมีทดแทน (Renewable Chemistry) จากแดนกังหัน พัฒนานวัตกรรมแห่งอนาคต ทดสอบการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂ ) มาอัปไซเคิลเป็นสารตั้งต้นผลิตพอลิเมอร์ PLGA ‘พอลิเมอร์ที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นลบ’ ที่ย่อยสลายได้ทั้งในสภาวะธรรมชาติและในทะเล นำไปผลิตเป็นพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ 

 

 

นอกจากนี้ยังได้ร่วมทุนกับ Braskem ผู้นำด้านพลาสติกชีวภาพระดับโลกจากบราซิล ผลิตเอทิลีนชีวภาพ (Green-Ethylene) จากเอทานอลโดยใช้ผลิตผลจากการเกษตร เพื่อผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพ หรือ Green-PE (Green-Polyethylene) ที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นลบและรีไซเคิลได้ โดยสามารถนำไปเป็นวัตถุดิบผลิตสินค้าได้หลากหลายประเภทภายใต้แบรนด์ ‘I’m green™’

 

ด้านการออกแบบให้บรรจุภัณฑ์สามารถรีไซเคิลได้ เช่น บรรจุภัณฑ์ Mono-Material Packaging ที่ลดวัสดุที่แตกต่างกันให้เป็นพลาสติกเพียงชนิดเดียว แต่ยังคงคุณภาพ ความแข็งแรง ปกป้องสินค้าที่บรรจุภายในได้ใกล้เคียงเดิม ทำให้สามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ง่าย นวัตกรรมจาก SCGC GREEN POLYMER และ SCGP เหล่านี้ ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการคิดค้นและนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้พัฒนานวัตกรรมที่สร้างโอกาสให้เราเข้าใกล้สังคม Net Zero ได้เร็วยิ่งขึ้น

 

3. ปฏิวัติภาคขนส่งโลจิสติกส์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

ธนาคารโลกเชื่อว่าอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากโลจิสติกส์จะขยับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศกลุ่มกำลังพัฒนา และการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่เติบโตมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ภาคโลจิสติกส์ในญี่ปุ่นได้ออกมาตรการควบคุมเรื่องระยะเวลาการทำงานของคนขับรถบรรทุกอย่างเคร่งครัดที่ 960 ชั่วโมงต่อปีเป็นครั้งแรก รวมถึงนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ เพื่อยกระดับให้การดำเนินงานโดยรวมมีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดผลกระทบเชิงลบที่จะตามมา

 

เคสตัวอย่าง: 

 

ผู้ผลิตรถบรรทุกและรถบัส HINO MOTORS ในญี่ปุ่นได้พัฒนาระบบ ‘NeLOSS’ ระบบจัดส่ง โหลดสินค้าแบบอัตโนมัติ โดยนำคอมพิวเตอร์ควอนตัมมาบริหารจัดการ และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน จากเดิมที่การขนส่งจะใช้เวลาในกระบวนการการโหลดคาร์โกมากถึง 2 ชั่วโมง แต่เมื่อติดตั้งระบบนี้ก็จะย่นเวลาเหลือเพียง 40 วินาที

 

SCGJWD ก็กำลังยกระดับวงการโลจิสติกส์ ทั้งการใช้ EV แทนเชื้อเพลิงแบบสันดาป โดยปี 2566 ได้นำร่องใช้รถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าขนส่งสินค้า ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงไปได้ถึง 217,500 ลิตร ลดต้นทุนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงกว่า 6.57 ล้านบาท และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 588.97 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี 

 

ไม่เพียงเท่านั้น ยังได้นำเทคโนโลยีการจัดเก็บสินค้าอัตโนมัติ (Automated Storage Retrieval System-ASRS) มาใช้ในคลังสินค้า สามารถลดการใช้ Forklift ได้กว่า 40 คัน ช่วยลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงประมาณ 49,920 ลิตรต่อปี ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 135 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และช่วยลดการใช้ไฟฟ้าภายในอาคารได้กว่า 698,880 กิโลวัตต์ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 392.4 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

 

SCGJWD ยังได้ร่วมกับ DHL Express นำ Sustainable Aviation Fuel (SAF) หรือเชื้อเพลิงการบินที่ผลิตจากน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วและนำไปกลั่นใหม่ โดยผสมกับน้ำมันเครื่องบินทั่วไป ซึ่งจะช่วยลดการปล่อย CO₂ ได้มากถึง 80% เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงแบบเก่า

 

4. ก่อร่างสร้างเมืองและการอยู่อาศัยแบบยั่งยืน 

 

หนึ่งในพันธกิจหลักที่ท้าทายของ UN ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในปี 2030 คือการเร่งสร้างเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมถึงการก่อสร้างบ้านเรือนมากกว่า 600 ล้านหลังคาเรือนเพื่อให้พลเมืองโลกได้มีที่พักพิงอยู่อาศัย เน้นไปที่แอฟริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

 

แต่ในยุคนี้ การพัฒนาสิ่งปลูกสร้างต้องคำนึงถึงกระบวนการที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนก่อสร้าง ไปจนถึงการบริหารจัดการอาคารภายหลังก่อสร้างเสร็จ ดังนั้น ผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างจึงเป็นส่วนสำคัญที่ต้องพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันที่จะเป็น Game Changers พลิกโฉมวงการก่อสร้างและการอยู่อาศัยให้เป็นมิตรและดีต่อโลก

 

เคสตัวอย่าง

 

เมืองพอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน สหรัฐอเมริกา มีนโยบายลดคาร์บอนสะสมในวัสดุก่อสร้าง ได้แก่ การส่งเสริมการใช้วัสดุที่มีคาร์บอนต่ำ เช่น คอนกรีตคาร์บอนต่ำ วัสดุชีวภาพ การสนับสนุนการใช้สิ่งก่อสร้างเดิมให้เกิดประโยชน์ใหม่ การอนุรักษ์อาคารประวัติศาสตร์เพื่อลดความจำเป็นในการก่อสร้างใหม่ การจัดหาวัสดุในท้องถิ่นเพื่อลดการปล่อยก๊าซจากการขนส่ง และการลดของเสียจากการก่อสร้างโดยเน้นการรีไซเคิลและการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ 

 

 

นอกจากนี้ พอร์ตแลนด์ยังสนับสนุนการรื้อถอนอาคารเก่าอย่างระมัดระวังเพื่อนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของพอร์ตแลนด์ในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน และลดคาร์บอนในสิ่งแวดล้อมที่ก่อสร้าง

 

ข้ามมายังฝั่งประเทศไทย ก็มีแพลตฟอร์ม KIT CARBON ที่พัฒนาโดย SCG ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชัน ด้วยแนวคิด ‘คิดก่อนสร้าง’ เพื่อช่วยคำนวณก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการก่อสร้างตั้งแต่การออกแบบ ให้สามารถปรับและเลือกรูปแบบการดีไซน์อาคาร และการเลือกใช้วัสดุคาร์บอนต่ำได้ก่อนการสร้างอาคารจริง เพื่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด อีกทั้งแพลตฟอร์มนี้ยังสามารถติดตามการใช้ได้ นี่จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นของการยกระดับการก่อสร้างสู่ Green Construction 

 

 

‘ระหว่างการสร้าง’ ก็พัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ปูนงานโครงสร้าง เอสซีจี คาร์บอนต่ำ (เจเนอเรชัน 2) ที่ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 15-20% เทียบเท่ามาตรฐานสากล โดยถือเป็นผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายแรกของประเทศที่ได้รับรองมาตรฐานปูนไฮดรอลิกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงคอนกรีตคาร์บอนต่ำซีแพค ที่ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างน้อย 25 กิโลกรัม ต่อคอนกรีต 1 คิว หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 2.5 ต้น โดยคงคุณสมบัติเทียบเท่าหรือดีขึ้นกว่าเดิม 

 

‘ตอนอยู่’ ไม่ว่าจะเป็นในอาคารเก่าหรือใหม่ ก็สามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อทำให้บ้านและอาคารเป็น Low Carbon Building เช่น การติดตั้งเทคโนโลยีบำบัดอากาศเสียภายในอาคาร ONNEX Air Scrubber โดย SCG เพื่อให้ช่วยบำบัดอากาศเสียพวกก๊าซพิษภายในอาคาร และลดภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศ จากการลดการนำเข้าของอากาศจากภายนอก จึงช่วยประหยัดพลังงานจากระบบปรับอากาศได้สูงถึง 30% ทั้งยังช่วยลดต้นทุนค่าไฟ พร้อมยกระดับคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีให้กับผู้คนในอาคาร เหล่านี้นับเป็นนวัตกรรมและโซลูชันเพื่อการอยู่อาศัยที่น่าสนใจในยุคนี้

 

 

5. ปูพื้นฐานเมืองที่เป็น ‘มิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ’ ให้มั่นคง แล้วขยายผลจาก Local สู่ Global 

 

งานประชุมประจำปีผู้นำโลกโดย WEF ครั้งที่ 54 (54th World Economic Forum Annual Meeting 2024) เมื่อต้นปีที่ผ่านมา มีการนำเสนอมุมมองที่น่าสนใจว่า แม้หลายๆ เมืองทั่วโลกจะได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ แต่เมืองเหล่านี้ก็เป็นพื้นที่เพาะบ่มนวัตกรรมด้านความยั่งยืนใหม่ๆ ให้กับโลก 

 

เทรนด์นี้ชี้ให้เห็นว่า การเริ่มต้นวางแผนการพัฒนาประเทศให้มีความยั่งยืน ต้องเริ่มต้นจากความร่วมมือกัน และเริ่มทดลองทำจากโมเดลในระดับเมือง เพื่อจำลองวิธีการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดจนได้ผลลัพธ์ที่นิ่ง และค่อยๆ ขยายการดำเนินงานไปสู่ระดับประเทศและระดับโลก

 

เคสตัวอย่าง: 

 

โครงการ Greenhaus ที่ซัลฟอร์ด ประเทศอังกฤษ เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างบ้าน 96 หลังที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการติดตั้งกระจกสามชั้น ฉนวนกันความร้อนล่าสุด ระบบระบายอากาศที่ดีขึ้น ปั๊มความร้อนแบบอากาศสู่อากาศ และจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ช่วยลดการใช้พลังงานในการทำความร้อนลง 68% เมื่อเทียบกับบ้านทั่วไป ถือเป็นต้นแบบการพัฒนาชุมชนเมืองในอนาคต

 

‘สระบุรีแซนด์บ็อกซ์’ คือความร่วมมือของภาครัฐ-เอกชน-ประชาชน เพื่อยกระดับจังหวัดสระบุรีเป็นจังหวัดต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย ที่มุ่งดำเนินงานใน 5 มิติ เช่น 

 

 

  • เปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด เร่งการปลดล็อกเรื่องพื้นที่ สายส่ง และเปิดเสรีซื้อ-ขายไฟฟ้าพลังงานสะอาดด้วยระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ พร้อมขยายผลการใช้พื้นที่ว่างเพื่อผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ร่วมกับระบบจัดเก็บพลังงาน เพื่อยกระดับเสถียรภาพของการใช้พลังงาน ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงพลังงานสะอาด 
  • อุตสาหกรรมสีเขียว เปลี่ยนการผลิตปูนซีเมนต์เป็นคาร์บอนต่ำ พร้อมลงทุนในเทคโนโลยีดักจับกักเก็บคาร์บอน
  • การจัดการของเสีย ทั้งจากการเกษตร อุตสาหกรรม และชุมชน นำมาสร้างคุณค่าใหม่ เป็นวัตถุดิบหรือพลังงานตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน 
  • เกษตรกรรมคาร์บอนต่ำ ส่งเสริมเกษตรกรทำนาเปียกสลับแห้ง ลดการใช้น้ำ ลดต้นทุน และลดก๊าซมีเทนจากการทำนาข้าว พร้อมส่งเสริมการปลูกพืชพลังงาน เช่น หญ้าเนเปียร์ เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน
  • เพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยสนับสนุนให้ปลูกป่าชุมชน เพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำและแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ต่อยอดสู่การซื้อขายคาร์บอนเครดิตเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน โดยมุ่งมั่นว่าสระบุรีแซนด์บ็อกซ์คือก้าวสำคัญของความร่วมมือเพื่อ ‘เร่งเปลี่ยน’ ประเทศไทยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคม Net Zero เพราะเชื่อว่าหากเปลี่ยนสระบุรีได้สำเร็จ จังหวัดอื่นๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน

 

ทุกเทรนด์และเรื่องราวที่เราได้นำเสนอทำให้เห็นถึงความพยายามที่ต่างคนต่างช่วยกันลงมือทำเพื่อมุ่งหน้าสู่เป้าหมาย Net Zero ในปี 2050 แม้ว่าการเดินทางครั้งนี้จะท้าทาย แต่หากเรา ‘ร่วมมือและเร่งเปลี่ยนสู่ Green Transition’ ปลุกความเชื่อร่วมกันว่า ‘ยากไม่เท่ากับเป็นไปไม่ได้’…ความมุ่งมั่น ทุ่มเท และความพยายามของเราจะนำไปสู่เป้าหมายที่เราตั้งไว้ได้อย่างแน่นอน

 

มา ‘ร่วมมือ-เร่งเปลี่ยน’ เพื่อพิชิตเป้าหมายสังคม Net Zero ไปด้วยกันที่งาน ‘ESG SYMPOSIUM 2024: Driving Inclusive Green Transition’ วันที่ 30 กันยายน 2567 เวลา 11.00-16.30 น. ณ Hall 1 ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

 

พร้อมชมนวัตกรรมเพื่อเมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำที่บูธ SCG ภายในงาน SUSTAINABILITY EXPO 2024 โซน Better Community ชั้น G ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน – 6 ตุลาคม 2567

 

ชมคลิป ‘ยากไม่เท่ากับเป็นไปไม่ได้’ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจสู่สังคมคาร์บอนต่ำไปด้วยกันที่

 

 

#ยากไม่เท่ากับเป็นไปไม่ได้ #ยิ่งเร่งเปลี่ยนยิ่งเพิ่มโอกาส 

#DrivingtoInclusiveGreenTransition #ESGSymposium2024 

#SCG #PassionforInclusiveGreenGrowth 

#NetZeroSociety #สังคมคาร์บอนต่ำ #ESG

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising