×

ถอดบทสรุป 2020 Shell Forum: Energy Transition COVID-19 and Beyond สู่ยุคเปลี่ยนผ่านพลังงาน [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
23.11.2020
  • LOADING...
ถอดบทสรุป 2020 Shell Forum: Energy Transition COVID-19 and Beyond สู่ยุคเปลี่ยนผ่านพลังงาน [Advertorial]

HIGHLIGHTS

  • ทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงปัญหาโลกร้อน อันเป็นปัญหาที่สะสมมานาน จะเป็นตัวคร่าชีวิตและทรัพย์สินของมวลมนุษย์ในอนาคต อันตรายหนักกว่าโควิด-19 เพราะต้องใช้เวลาเยียวยานานกว่า 
  • ประเทศไทยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 25% ภายในปี 2030 
  • ปัจจุบันเรามีอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจ แต่เรายังไม่มีอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อม
  • รัฐกับเอกชนต้องพูดคุยไปในทางเดียวกันให้เร็วที่สุด เพื่อรักษาการเป็นผู้นำฐานผลิตรถยนต์ระดับโลกต่อไปได้
  • เชลล์ยืนยันนำนวัตกรรมพลังงานและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ เพื่อสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้ได้ตามเป้าหมายที่รัฐกำหนด เพราะไม่ใช่แค่ความสำเร็จของเชลล์ แต่เป็นการพัฒนาประเทศและมนุษยชาติอย่างยั่งยืน

วันนี้ทั่วโลกกำลังคุยกันเรื่อง Energy Transition หรือการเปลี่ยนผ่านพลังงาน เพื่อให้ได้แนวทางที่ชัดเจนขึ้นว่าทำไม Sustainable Energy และ Green Recovery จึงเป็นทางออกของการฟื้นฟูประเทศหลังโควิด-19 ที่เราต้องให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วน 

 

‘เชลล์’ ในฐานะผู้นำองค์กรพลังงานระดับโลก จัดงานเสวนา ระดมสมองและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในงานเสวนา 2020 Shell Forum หัวข้อ ‘Energy Transition: COVID-19 and Beyond’ ในรูปแบบเสวนาทางออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom

 

งานนี้ THE STANDARD เข้าร่วมฟังสัมมนาด้วย โดยมีผู้เชี่ยวชาญพลังงานระดับโลก นักเศรษฐศาสตร์ ตลอดจนผู้นำทางความคิดและซีอีโอหลายท่าน ที่นำข้อมูลเปิดกางอย่างน่าสนใจ เพื่อ Rethinking the 2020s กันว่าทำอย่างไรให้พลังงานเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสร้างความยั่งยืนเพื่อให้ชีวิตของผู้คนมีความสุข

 

สิ่งที่น่ากลัวหลังจากโควิด-19

จากโควิด-19 ทำให้มนุษย์ต้องตื่นตัวกับ ‘โรคระบาด’ อีกครั้ง ปีนี้มีคนบนโลกติดโควิด-19 กว่า 50 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1.2 ล้านคน พังเศรษฐกิจโลกกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ หรือเป็นตัวเลขมากกว่า 28 ล้านล้านดอลาร์สหรัฐ ทั้งหมดเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่กี่เดือนเท่านั้น

 

สำหรับประเทศไทย ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายวิจัยลูกค้าบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด เห็นพ้องตรงกับ ดร.เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก ว่าแม้ไทยจะประสบความสำเร็จในการจัดการกับโควิด-19 แต่เราได้เห็นกันแล้วว่าผลกระทบของมันรุนแรงแค่ไหน 

 

 

โควิด-19 ทำให้เห็นโครงสร้างเศรษฐกิจไทยอย่างทะลุปรุโปร่งขึ้น นั่นคือการพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นฟันเฟือง รายได้ในประเทศของเราไม่สามารถทดแทนรายได้จากนอกประเทศได้ 

 

นอกจากนี้ยังเห็นปัญหาความเหลื่อมล้ำชัดเจน โรคระบาดส่งผลกระทบต่อกลุ่มอาชีพที่มีข้อจำกัดทางการเข้าถึงโอกาสและวิธีการรับมือกับวิกฤติ เช่น กลุ่มใช้แรงงาน 

 

ในปีนี้เราเห็นแน่ๆ แล้วว่าเศรษฐกิจจะหดตัวกว่า 7-10% แต่ที่น่ากลัวคือน่าจะใช้เวลามากกว่า 2 ปี กว่าตัวเลข GDP จะกลับไปสู่จุดในช่วงก่อนมีการระบาด ตรงนี้คือคลื่นระลอกสองที่ถึงอย่างไรก็ต้องเจอ ต้องวางแผนรับ และอดทนกันต่อไป

 

และที่สำคัญกว่านั้นคือ ปัญหาสภาพแวดล้อม ‘โลกร้อน’

 

ต้องบอกว่าตอนนี้ทั่วโลกไม่ได้หวาดกลัวแค่เรื่องโรคระบาดแล้ว แต่คาดการณ์ว่าปัญหาภัยคุกคามจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างปัญหาโลกร้อน อันเป็นปัญหาที่สะสมมานาน จะแสดงผลหนักหน่วงชัดเจนขึ้น และจะเป็นตัวคร่าชีวิตและทรัพย์สินของมวลมนุษย์ในอนาคต อันตรายหนักกว่าโควิด-19 เพราะต้องใช้เวลาเยียวยานานกว่า 

 

ไทยตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 25% ภายในปี 2030

ดร.โชอุนคง หัวหน้านักวิเคราะห์ด้านการเมือง เชลล์ อินเตอร์เนชันแนล สรุปอย่างน่าสนใจว่า โลกในทศวรรษ 2020 จะให้ความสำคัญกับ 3 เรื่อง ระหว่างความมั่งคั่ง (Wealth) ความมั่นคงปลอดภัย (Security) และสุขภาพ (Health) แต่ละสังคมจะเลือกจัดลำดับความสำคัญอย่างไร

 

 

ซึ่งหากเราปล่อยให้การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศแย่ลง จะนำไปสู่วิกฤตโลกอีกครั้ง คนยากจนจะล้มตายมากขึ้น ยิ่งคนบุกรุกพื้นที่ธรรมชาติ ใช้ทรัพยากรมากขึ้น เมื่อระบบนิเวศสูญเสียก็อาจเกิดความสูญเสียคนเจ็บตายเป็นล้านได้ไม่ต่างกับโรคระบาดโควิด-19

 

สอดคล้องกับความเห็นของ เคส พิเทอร์ ราเดอ เอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย ที่มองว่า วิกฤตครั้งนี้ก็เป็นโอกาสที่รัฐบาลทั่วโลกจะต้องออกแบบมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ส่งเสริมพลังงานสะอาดต่างๆ โดยหลายๆ ประเทศประกาศความร่วมมืออย่างจริงจังไปแล้ว วางงบประมาณอัดฉีดเข้าสู่ระบบถึง 19 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และประเทศไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญเช่นกัน

 

ด้าน สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ชี้ว่า ทิศทางของรัฐบาลไทยไม่ได้นิ่งนอนใจเช่นกัน มีการตั้งเป้าหมายลดภาวะโลกร้อนและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน เช่นเดียวกับสหภาพยุโรปและประชาคมโลกกว่า 200 ประเทศที่มีภารกิจร่วมกันในนาม COP21

 

 

ปัจจุบันประเทศไทยได้ขับเคลื่อนนโยบายพลังงานทดแทน ทั้งไบโอดีเซล ไบโอแมส ไฟฟ้า และไบโอเคมิคัล มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 25% ภายในปี 2030 และวัดผลทุก 3-5 ปี หากทำได้ดีกว่าเป้าหมาย ก็จะเป็นบันไดให้เราก้าวไปเช่นเดียวกับยุโรป

 

ด้านบริษัทเชลล์ ในฐานะผู้นำด้านพลังงาน ปนันท์ ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ย้ำในจุดยืนของเชลล์ ประเทศไทย ในการเป็น พันธมิตรที่ไว้ใจได้ (Trusted Partner for Better Life) ในฐานะผู้นำสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปทั้งในวันนี้และอนาคต

 

เชลล์ขับเคลื่อนองค์กรภายใต้กลยุทธ์ #Energy Ambition พลังงานดี ชีวิตมีสุข ที่มุ่งสร้างความคล่องตัวหรือการมี Agility การปรับสู่ความเป็นดิจิทัล Digitalization และการนำเสนอโซลูชันจากความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย Inclusive Solutions 

 

 

ผู้บริหารเชลล์ย้ำว่า ความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านพลังงานนั้นจำเป็นที่ต้องได้รับความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน โดยเชลล์ยืนยันจะผลิตนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ เพื่อลดภาวะการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้ได้ตามเป้าหมายที่รัฐกำหนด เพราะไม่ใช่แค่ความสำเร็จของเชลล์ แต่เป็นการพัฒนาประเทศและมนุษยชาติอย่างยั่งยืน

 

ทั้งนี้ มร.อเมอร์ อเด็ล รองประธานเชลล์ รีเทล อีสต์ ได้นำเสนอแนวโน้มระบบขนส่งในอนาคต ‘Mobility of the Future’ โดยมองว่า ความต้องการของผู้บริโภคที่จะปรับตัวสู่เศรษฐกิจดิจิทัลและให้ความสำคัญกับความยั่งยืน เป็นหัวใจสำคัญในการกำหนดอนาคตการเดินทางและขนส่งในประเทศไทย ขณะที่รัฐบาลอาศัยนโยบายคมนาคมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรรมจัดหาโครงสร้างพื้นฐานและการวิจัยพัฒนาพลังงานให้ดียิ่งขึ้น

 

 

เตรียมพร้อมสู่ยุคเปลี่ยนผ่านพลังงานให้เร็วที่สุด

นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมเสวนายังเห็นตรงกันว่า แม้ปัจจุบันเรามีอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจ แต่เรายังไม่มีอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อม

 

ดังนั้นบริบทการเปลี่ยนผ่านพลังงานของโลกชัดเจนแล้วว่า อย่างไรก็ต้องไปทาง EV ตรงนี้ที่รัฐกับเอกชนต้องพูดคุยไปในทางเดียวกันให้เร็วที่สุด 

 

 

นี่จะเป็นตัวแปรภาพการเติบโตในระยะยาวที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ถ้าไทยเราต้องการที่จะเป็นผู้นำฐานผลิตรถยนต์ต่อไป รัฐบาลกับผู้ประกอบการจะต้องมีความร่วมมือที่เราจะสามารถผลิตรถ EV จำหน่ายในราคาที่จับต้องได้มากขึ้น

 

ช่วง 4-5 ปีนี้จะเป็นช่วง Transition อย่างแท้จริง มีความเป็นไปได้สูงที่เราจะเห็นบริษัทรถยนต์ที่เราไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยินชื่อเลย เช่นเดียวกัน แบรนด์รถยนต์ที่เคยยิ่งใหญ่ในอดีต แต่ไม่ปรับตัวสู่ยุคเปลี่ยนผ่าน ก็จะทยอยหายไปดังแบรนด์มือถือหลายยี่ห้อในอดีต

 

ถึงเวลาแล้วที่ผู้กำหนดนโยบาย ผู้ขับเคลื่อนการให้บริการ ตลอดจนผู้บริโภค จะต้องมีเจตจำนงร่วมกัน เพื่อปูทางไปสู่วิถีพลังงานสะอาดและการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างแท้จริง 

 

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising