สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ เผยแนวทางแผนรับมือของโรงพยาบาลแพทย์สนาม หากช่วยเหลือทีมหมูป่าทั้ง 13 ชีวิตแล้ว ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. หน่วยเตรียมขนส่ง จะต้องนำผู้ประสบภัยให้อยู่บนบอร์ดลำเลียงและประเมินการตอบสนองของผู้ป่วยเบื้องต้น ก่อนนำผู้ป่วยลำเลียงออกจากปากถ้ำและขึ้นบันไดมาที่รถพยาบาล
2. หน่วยให้การรักษาเบื้องต้น หากทีมพบเจอผู้ประสบภัยแล้วจะมีการประเมินอาการว่าอยู่ในระดับไหน ถ้าหากอยู่ในระดับที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ก็จะนำออกมาบริเวณหน้าถ้ำและขึ้นรถพยาบาลทันที แต่หากผู้ประสบภัยอยู่ในอาการวิกฤต ทางทีมแพทย์จะปฐมพยาบาลเบื้องต้นภายในถ้ำเลย หากอาการดีขึ้นจึงจะนำออกมาขึ้นรถพยาบาลทันที
3. หน่วยลำเลียงผู้ป่วยขึ้นรถพยาบาลไปยังโรงพยาบาลสนาม (ลักษณะเป็นห้องผ่าตัดแบบเร่งด่วน) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณใกล้ปากทางเข้าถ้ำ
4. หน่วย Triage and Resuscitation หรือหน่วยแพทย์ที่วิเคราะห์อาการตามความรุนแรง จะทำการคัดแยกอาการของผู้ประสบภัยตามความรุนแรงและความเร่งด่วน ให้การรักษา และตัดสินใจด้านวิธีการในการส่งต่อ โดยคำนึงถึงความเร่งด่วน หากผู้ป่วยที่มีอาการเร่งด่วนอาจจะต้องรักษาที่โรงพยาบาลสนาม
5. หน่วยขนส่งผู้ป่วยไปยังท่าอากาศยาน หากทีมแพทย์วิเคราะห์อาการแล้วพบว่าสามารถไปรักษาที่โรงพยาบาลเชียงรายได้ ก็จะรีบลำเลียงผู้ป่วยขึ้นรถพยาบาลไปลานบินจักกะผัก
6. หน่วยดูแลผู้ป่วยขณะส่งทางอากาศ ทางทีมแพทย์ Sky Doctor จำนวน 2 ท่านจะปฐมพยาบาลผู้ป่วยบนเฮลิคอปเตอร์ โดยทีมแพทย์จากโรงพยาบาลตำรวจและทหารจะรับผิดชอบในการเป็นแพทย์ดูแลขณะขนส่งทางอากาศ
7. หน่วยดูแลผู้ประสบภัยที่ลานบินเป้าหมายจะมีทีมแพทย์ดูแลผู้ประสบภัยจากสนามเก่าไปยังโรงพยาบาลเชียงราย
8. หน่วยดูแลผู้ประสบภัยที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เมื่อได้มีการประเมินผู้ป่วยเบื้องต้นที่โรงพยาบาลสนามแล้ว ไม่มีการสื่อสารมาแจ้งให้ทีมแพทย์ที่โรงพยาบาลรายเพื่อเตรียมการรักษา
ขั้นตอนของการปฐมพยาบาลจะทำภายใน 30 นาที
อ้างอิง: