วันนี้ (24 กรกฎาคม) จากกรณีที่มีการลงมติของรัฐสภาเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา ในการตีความข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ให้ ‘การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี’ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 159 เป็น ‘ญัตติ’ ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 41 ซึ่งกำหนดว่า ‘ญัตติใดตกไปแล้ว ห้ามนำญัตติซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกันขึ้นเสนออีกในสมัยประชุมเดียวกัน’ การเสนอชื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งที่ 2 จึงทำไม่ได้นั้น
คณาจารย์นิติศาสตร์ตามรายชื่อข้างท้าย จำนวน 115 คนจาก 19 สถาบัน ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ เรื่อง ไม่เห็นด้วยกับมติของรัฐสภาที่ให้ข้อบังคับการประชุมรัฐสภาใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ โดยเห็นว่ามตินี้มีความไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายหลายประการ ดังจะได้กล่าวดังต่อไปนี้
1. ‘ญัตติ’ ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อ 41 นั้นหมายถึง ญัตติตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมรัฐสภาเท่านั้น ซึ่งข้อ 29 กำหนดว่า ‘ญัตติทั้งหลายต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานรัฐสภา และต้องมีสมาชิกรัฐสภารับรองไม่น้อยกว่า 10 คน’ ดังนั้นญัตติที่ตกไปแล้วที่เสนอซ้ำไม่ได้จึงหมายถึง ญัตติตามข้อ 29 ที่ต้องการ ส.ส. รับรองเพียง 10 คนเท่านั้น
เหตุผลที่ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 41 ให้เสนอญัตติซ้ำไม่ได้ เพราะญัตติใช้เสียง ส.ส. สนับสนุนเพียง 10 คนเท่านั้น ถ้าเสนอซ้ำๆ ได้ แม้จะตกไปแล้ว จะทำให้มีญัตติซ้ำๆ มากเกินไป ซึ่งชอบด้วยเหตุผลที่ควรจะเสนอได้เพียงครั้งเดียวในสมัยประชุมหนึ่งๆ
ส่วนการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีนั้นเป็นเรื่องที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นการเฉพาะ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 159 วรรคสอง บัญญัติว่า ‘ต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร’ ซึ่งก็คือ 50 คน ไม่ใช่ต้องการ ส.ส. รับรองแค่ 10 คนดังเช่นการเสนอญัตติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อ 29 ดังนั้นการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจึงไม่ใช่ญัตติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 41
2. ที่สำคัญคือรัฐธรรมนูญ มาตรา 159 และ 272 ไม่ได้บัญญัติไว้แต่ประการใดว่าการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนเดิมจะกระทำไม่ได้ ส่วนควรจะเสนอคนเดิมหรือไม่ หรือจะเสนอกี่ครั้งเป็นอีกเรื่องหนึ่ง การที่รัฐสภาลงมติให้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนเดิมได้เพียงครั้งเดียว เป็นการเอาข้อบังคับการประชุมรัฐสภามาอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่อาจที่จะกระทำได้
3. ตามลำดับชั้นของกฎหมายนั้น รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด กฎหมายในลำดับต่ำกว่า ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายระดับพระราชบัญญัติซึ่งออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ กฎหมายลำดับรองที่ออกโดยฝ่ายบริหาร รวมถึงข้อบังคับการประชุมรัฐสภาซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ในการประชุมของรัฐสภาและใช้กับรัฐสภาเท่านั้น ต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ หาไม่แล้วย่อมใช้บังคับมิได้ ดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 5 ว่า ‘รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทำใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้’ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภาจึงจะอยู่เหนือกว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้
4. ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อ 41 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่เป็นปัญหาเรื่องรัฐสภาตีความข้อบังคับของตนเองโดยขัดต่อรัฐธรรมนูญ แม้รัฐสภาจะสามารถตีความข้อบังคับของตนเองได้ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 151 แต่ต้องเป็นการตีความข้อบังคับโดยไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะข้อบังคับการประชุมรัฐสภาอยู่ในลำดับชั้นกฎหมายที่ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ และแท้ที่จริงแล้วมติของรัฐสภาที่ตีความว่าการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 159 และ 272 อยู่ในบังคับของข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อ 41 นั้นเป็นการ ‘ตีความรัฐธรรมนูญ’ ว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 159 และ 272 อยู่ใต้ข้อบังคับของรัฐสภา ซึ่งรัฐสภาหาได้มีอำนาจที่จะทำเช่นนั้นไม่
5. ผลของการลงมตินี้ไม่ใช่แค่เรื่องของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกล แต่คือบรรทัดฐานที่ผิดพลาดของรัฐสภาในการพิจารณาญัตติที่เป็นกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ ที่จากนี้ไปจะเสนอได้ครั้งเดียวทั้งหมด โดยไม่สนใจเรื่องลำดับชั้นของกฎหมาย และที่สำคัญที่สุดคือบรรทัดฐานที่เสียงข้างมากของรัฐสภาสามารถตีความข้อบังคับการประชุมของตนเองให้ใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดได้
คณาจารย์นิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ตามรายชื่อข้างท้าย เห็นว่ามติของรัฐสภาในวันที่ 19 กรกฎาคม ที่ให้ข้อบังคับการประชุมรัฐสภาใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ เป็นการเอาการเมืองมาอยู่เหนือหลักกฎหมาย และขัดต่อรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุด
จึงขอเรียกร้องให้รัฐสภายกเลิกมตินี้ หาไม่แล้วการเรียนการสอนนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในเรื่องลำดับชั้นของกฎหมาย และหลักการปกครองโดยกฎหมายที่มีหลักรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ยากที่จะดำเนินโดยปกติในประเทศไทยต่อไปได้
รายชื่อ
- กนกนัย ถาวรพานิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- กรกนก บัววิเชียร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- กรรภิรมย์ โกมลารชุน คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- กฤษฎา ใจแก้วทิ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
- กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- กษมา เดชรักษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
- กษิดิศ อนันทนาธร มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- กัญจน์ศักดิ์ เพชรานนท์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- กัญญารัตน์ โคตรภูเขียว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- กีระเกียรติ พระทัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ขรรค์เพชร ชายทวีป มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- เขมชาติ ตนบุญ
- จารุประภา รักพงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เฉลิมวุฒิ ศรีพรหม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ชาคริต สิทธิเวช มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ฐิตินันท์ เต็งอำนวย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ณรงค์เดช สรุโฆษิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ณัฏฐพร รอดเจริญ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ณัฐ สุขเวชชวรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
- ณัฐดนัย นาจันทร์ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ดามร คำไตรย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
- ดิศรณ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ตรีเนตร สาระพงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ตามพงศ์ ชอบอิสระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ติณเมธ วงศ์ใหญ่ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- ทวีศักดิ์ เอื้ออมรวนิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ธนภัทร ชาตินักรบ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ธนรัตน์ มังคุด คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- ธนัญชัย ทิพยมณฑล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
- ธีทัต ชวิศจินดา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ธีรยุทธ ปักษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
- ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- นพดล ทัดระเบียบ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
- นพร โพธิ์พัฒนชัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- นวกาล สิรารุจานนท์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
- นวพร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- นัษฐิกา ศรีพงษ์กุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- นาฏนภัส เหล็กเพ็ชร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- นิฐิณี ทองแท้ นักวิชาการอิสระ
- นิรมัย พิศแข มั่นจิตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- นิสิต อินทมาโน อาจารย์สอนกฎหมายและนักวิชาการอิสระ
- เนรมิตร จิตรรักษา คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
- บงกช ดารารัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
- บุญญภัทร์ ชูเกียรติ คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
- ปราโมทย์ เสริมศีลธรรม คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ปรีญาภรณ์ อุบลสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ปารณ บุญช่วย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ปารีณา ศรีวนิชย์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปิยอร เปลี่ยนผดุง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
- ปิยากร เลี่ยนกัตวา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ปีดิเทพ อยู่ยืนยง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พงษ์พันธ์ บุปเก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พลอยแก้ว โปราณานนท์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พลอยขวัญ เหล่าอมต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
- พวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พัชร์ นิยมศิลป์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พัชราภรณ์ ตฤณวุฒิพงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พินัย ณ นคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พีรพล เจตโรจนานนท์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- เพชรณพัฒน์ ศรีวุทธิยประภา สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- ภีชญา จงอุดมการณ์ สาขานิติศาสตร์ คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มาติกา วินิจสร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มาโนช สุขสังข์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- มุนินทร์ พงศาปาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ยศสุดา หร่ายเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ยอดพล เทพสิทธา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- รุ่งโรจน์ สุวรรณสิชณน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- ฤทธิภัฏ กัลป์ยาณภัทรศิษฏ์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- วริษา องสุพันธ์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- วาทิศ โสตถิพันธุ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- วิทูรย์ ตลุดกำ
- ศรัณย์ จงรักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
- ศรัณย์ พิมพ์งาม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ศรีประภา เพชรมีศรี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศุภกร ชมศิริ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
- โศภิต ชีวะพานิชย์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- สกุนา ทิพย์รัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- สถาพร สระมาลีย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- สมศักดิ์ แนบกลาง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
- สหรัฐ โนทะยะ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
- สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- สุทธิพงษ์ บุญพอ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
- สุปรียา แก้วละเอียด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- สุรพี โพธิสาราช
- สุรศักดิ์ บุญญานุกูลกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- สุรศักดิ์ บุญเรือง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- สุรินรัตน์ แก้วทอง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- สุวิทย์ ปัญญาวงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
- เสสินา นิ่มสุวรรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- อจิรวดี เหลาอ่อน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
- อภินพ อติพิบูลย์สิน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อรพรรณ พนัสพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อริศรา เหล็กคำ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- อัคคกร ไชยพงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
- อารยา สุขสม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- อำนาจ ตั้งคีรีพิมาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อุดม งามเมืองสกุล มหาวิทยาลัยพะเยา
- เอื้อการย์ โสภาคดิษฐพงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย