×

เจาะลึก Supply ทองคำ: 10 ประเทศที่ขุดทองคำได้มากที่สุดในโลก

21.02.2023
  • LOADING...
การขุดทองคำ

เชื่อว่านักลงทุนทองคำทุกท่านจะคุ้นชินกับการติดตามเกี่ยวกับอุปสงค์ (Demand)  หรือปริมาณความต้องการใช้ทองคำเป็นอย่างดี เพราะดีมานด์ทองคำเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของราคา แต่วันนี้ YLG จะมาพูดถึงฝั่งของอุปทาน (Supply) หรือการหมุนเวียนทองคำในส่วนของการผลิตทองคำกันบ้าง

 

ต้องขอเกริ่นก่อนว่า ทองคำเป็นแร่หายาก แม้เป็นธาตุอิสระในธรรมชาติ แต่มักเกิดผสมกับธาตุอื่น และต้องใช้ความชำนาญหลายด้าน เทคโนโลยีขั้นสูง และใช้ต้นทุนสูงในการผลิตแร่ทองคำมาใช้ประโยชน์ ดังนั้นกว่าจะมาเป็นทองคำแต่ละบาทนั้นต้องผ่านกระบวนการมากมาย นับตั้งแต่กระบวนของเหมืองทองคำที่ต้องมีการสำรวจ (Exploration) การพัฒนาเหมืองทองคำ (Gold Mine Development) และขั้นตอนการขุดเหมืองทอง (Gold Mining Operation) ซึ่งจะมีทั้งขุดเจาะ สกัดแร่ การแต่งแร่ (Refining Stage) เพื่อให้ได้ทองคำบริสุทธิ์ 99.99% 

 

ทองคำ

 

เหมืองขุดทองเป็นธุรกิจระดับโลกที่มีการดำเนินงานในทุกทวีป ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา และทองคำจะถูกสกัดจากเหมืองที่มีขนาดความแตกต่างกันอย่างมาก 

 

จากข้อมูลล่าสุดของสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey: USGS) พบว่า การปริมาณการผลิตเหมืองทองคำทั่วโลกในปี 2022 อยู่ที่ประมาณ 3,100 ตัน และสอดคล้องกับปี 2021 (3,090 ตัน) ขณะที่จีนยังคงครองแชมป์เป็นผู้ผลิตทองคำรายใหญ่ที่สุดในโลกของปี 2022 ตามมาด้วยออสเตรเลียและรัสเซีย  

 

ทั้งนี้ จีนผลิตทองคำในปี 2022 ได้ 330 ตันโดยประมาณ คิดเป็น 11% ของปริมาณการผลิตทองคำทั่วโลก ตามมาด้วยออสเตรเลีย ซึ่งแซงหน้ารัสเซียขึ้นมาเป็นผู้ผลิตทองคำเป็นอันดับ 2 ของโลกด้วยปริมาณ 320 ตัน ขณะที่รัสเซียผลิตทองคำได้ในปริมาณ 320 ตัน ทางด้านประเทศในฝั่งของทวีปอเมริกาเหนือ ทั้งแคนาดา สหรัฐอเมริกา และเม็กซิโก เป็นผู้ผลิตทองคำอันดับ 3-5 ของโลกตามลำดับ

 

แน่นอนว่าขั้นตอนการผลิตทองตำมีต้นทุน แม้ราคาซื้อ-ขายปลีกของทองคำในตลาดโลกจะสูงกว่าต้นทุนการผลิตจากเหมืองทองคำ แต่เพราะกว่าจะได้ทองคำมาหนึ่งออนซ์ (31.167 gram) ต้องถลุงก้อนแร่ที่มีทองคำอยู่เป็นจำนวนหลายตัน และต้องขุดเหมืองลึกลงไปหลายสิบเมตร ทำให้ขั้นตอนที่มีค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุดและสัดส่วนที่มีผลต่อราคาขายปลีกมากที่สุดคือ ต้นทุนการผลิตจากเหมืองทองคำนั่นเอง เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นจึงขอยกตัวอย่างในปี 2022 ที่ราคาทองคำในตลาดโลกมีค่าเฉลี่ยตลอดทั้งปี 2022 อยู่ที่ 1,800.094 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่ต้นทุน AISC ของทองคำตามการรายงานล่าสุดในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2022 นั้นสูงกว่า 1,250 ดอลลาร์ต่อออนซ์ นั่นเท่ากับว่าต้นทุน AISC ทองคำคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 70% เลยทีเดียว  

 

“ดังนั้นในฝั่งของอุปทานก็มีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของราคาทองคำไม่แพ้ฝั่งอุปสงค์ จึงแนะนำนักลงทุนให้ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับทองคำให้รอบด้าน เพื่อใช้ในการประกอบการลงทุนทองคำ”


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising