ธงสีรุ้งที่โบกสะบัดอยู่กลางถนนสายหลักพร้อมกับขบวนของกลุ่มคนมากมายในทุกๆ ปี คือสัญลักษณ์ความสำเร็จของการต่อสู้อย่างยาวนานของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQIA+ ของประเทศไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2568 คือวันที่ชาว LGBTQIA+ รวมถึงประเทศไทยได้รับ ‘ชัยชนะ’ เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง นั่นก็คือ วันที่ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 หรือ ‘กฎหมายสมรสเท่าเทียม’ ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ เป็นวันที่ ‘ความรัก’ ชนะทุกอุปสรรคทั้งในเชิงกฎหมาย สังคม และวัฒนธรรม
แต่อย่างไรก็ตาม กว่าจะถึงวันที่ทุกเสียงมีความหมาย กลุ่ม LGBTQIA+ ในประเทศไทยต้องผ่านอะไรมาบ้าง?
ตัวตนที่ไร้ตัวตนของ LGBTQIA+ ในอดีต
‘กะเทย’ ‘ตุ๊ด’ หรือคำอย่าง ‘ประเทือง’ ที่ถูกทำให้เป็นเพลงฮิต สะท้อนอดีตที่ไม่สวยงามของกลุ่ม LGBTQIA+ แม้อดีต ประเทศไทยจะมีภาพเป็นประเทศพหุวัฒนธรรมและดูเปิดกว้าง แต่ทว่า ความรักของคนเพศเดียวกันเคยเป็นสิ่งที่ต้องหลบซ่อน ทั้งจากสายตาสังคม บทลงโทษทางกฎหมาย และการเหมารวมในสื่อบันเทิง
ในอดีตจริยธรรมทางศาสนาปิดกั้นเรื่องความหลากหลายทางเพศกว่าปัจจุบันมาก
LGBTQIA+ ถูกมองผ่านเลนส์ของความตลกขบขัน ความเบี่ยงเบน หรือแม้แต่ความบกพร่องทางจิตใจ บริบทในศาสนาและบรรทัดฐานของรัฐไทยในอดีตของกลุ่มคนที่มีเพศไม่ตรงกับเพศกำเนิด เป็น ‘บาป’ หรือ ‘ผิดกฎหมายและจริยธรรม’
อำนาจต่อรองทางสังคมที่เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่ม
ปลายศตวรรษที่ 20 เริ่มมีสัญญาณที่ดีเริ่มขึ้น โดยปี 2499 ประเทศไทยได้ปรับปรุงกฎหมายอาญาฉบับใหม่ และยกเลิกบทลงโทษการรักร่วมเพศ ที่เคยมีมาแต่อดีต
กฎหมายในอดีตยังไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เหมือนกันของกลุ่ม LGBTQIA+
ต่อมาสังคมไทยเริ่มเปิดพื้นที่ LGBTQIA+ ในวงกว้างมากขึ้น แม้ในเชิงสังคมจะยังไม่ยอมรับอย่างเต็มที่ แต่ก็เริ่มมีการรวมกลุ่มเพื่อสร้างพลังและอำนาจต่อรองมากขึ้น พูดถึงสิทธิ และสร้างพื้นที่ของตัวเองในสื่อ นิตยสารสำหรับเกย์เริ่มตีพิมพ์ และมีหนังไทยที่เล่าเรื่องตัวละครเกย์อย่างจริงจัง
แรงเสียดทานที่ยังเหลือในพื้นที่สื่อ
กลุ่ม LGBTQIA+ มีพื้นที่สื่อมากขึ้นในหนังไทยอย่าง เพลงสุดท้าย (2528/2529) ละครเวที ฉันผู้ชายนะยะ (2530) ละครโทรทัศน์กระแสหลักหลายเรื่องที่มีบทตัวละครเกย์หรือสาวประเภทสอง เช่น น้ำตาลไหม้, ชายไม่จริงหญิงแท้, เมืองมายา ฯลฯ
แม้หลายเรื่องจะยังใช้คาแรกเตอร์เพศหลากหลายเพื่อความตลก แต่ก็เป็นการเปิดพื้นที่ในสื่อกระแสหลักให้สังคมได้เห็นตัวตนของกลุ่ม LGBTQIA+ มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม แรงเสียดทานจากสังคมยังมีหลงเหลือ เช่น หนังเรื่อง เกมส์ (2519) ก็เป็นการเล่าถึงความผิดหวังที่หญิงสาวพบว่าสามีเป็นเกย์ หรือการใช้สื่อในด้านลบกับกลุ่ม LGBTQIA+ เช่น คดีนายถั่วดำล่อลวงเด็กชาย และการเชื่อมโยงโรคเอดส์เข้ากับกลุ่มชายรักชาย
เมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดจากการร่วมมือ
ภาพสังคมที่เปลี่ยนไปต่อกลุ่ม LGBTQIA+ เกิดจากการรวมพลังของหลายภาคส่วน โดยเฉพาะสื่อบันเทิง ภาคประชาชน และนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนที่ทำงานอย่างต่อเนื่องมานานหลายทศวรรษ
ในด้านสื่อบันเทิง หนังไทยอย่าง สตรีเหล็ก (2543), Beautiful Boxer (2546) และ รักแห่งสยาม (2550) ได้จุดประกายการพูดคุยเรื่องความหลากหลายทางเพศในสังคมอย่างกว้างขวาง ช่วยให้คนไทยได้เข้าใจชีวิตของผู้ที่แตกต่างจากตนมากขึ้น
ภาพยนตร์ รักแห่งสยาม เปรียบเสมือนคลื่นการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
นั่นทำให้คนในวงการก็มีการ Come Out หรือออกมาเปิดเผยเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศมากขึ้น สร้างแรงกระเพื่อมต่อการยอมรับในสังคมไทยหลายกรณี เช่น ปอย ตรีชฎา (นางงามและนักแสดงสาวข้ามเพศ) ที่คว้าตำแหน่งนางงามระดับนานาชาติในปี 2547 และเป็นที่รักและชื่นชอบของคนทุกเพศ
ภาคประชาชนเองก็ไม่ได้นิ่งเฉย ตั้งแต่การเรียกร้องสิทธิในการแต่งกายตามเพศสภาพในโรงเรียน การรณรงค์ไม่ให้ระบุสาวประเภทสองว่า ‘โรคจิตถาวร’ ในใบตรวจเลือกทหาร ไปจนถึงการผลักดัน พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นกฎหมายแรกที่ห้ามการเลือกปฏิบัติโดยเหตุแห่งเพศอย่างชัดเจน
‘สมรสเท่าเทียม’ เบ่งบานในประเทศไทย
กิจกรรมไพรด์พาเหรดมีส่วนอย่างยิ่งในการสร้างพื้นที่เชิงสัญลักษณ์ให้กลุ่มหลากหลายทางเพศ ย้อนกลับไปปี 2542 กรุงเทพฯ เคยจัดขบวนพาเหรดเกย์ไพรด์ครั้งแรกๆ โดยความริเริ่มขององค์กรเอกชนและนักกิจกรรม ก่อนจะจัดต่อเนื่องทุกปีถึงราวปี 2549
ทุกเพศทุกวัยทั้งไทยและเทศต่างฉลอง Pride Month อย่างชื่นมื่นที่ประเทศไทย
ต่อมาขบวนพาเหรดก็เริ่มกลับมาจัดในปี 2565 และต่อเนื่องถึงปี 2566 ในหลายจังหวัด มีผู้ร่วมงานจำนวนมาก ทั้งชาวไทยและต่างชาติ ภายในงานมีการรณรงค์ โบกธงสีรุ้ง การแสดง และการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน สะท้อนการเปิดรับความหลากหลายทางเพศ ข้อเรียกร้องเรื่องสมรสเท่าเทียมก็เป็นประเด็นสำคัญในการจัดงาน
และในที่สุด จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ก็มาถึง นั่นคือการรับรองกฎหมายสมรสเท่าเทียมในประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2568 ถือเป็นผลของการเดินทางอันยาวนานกว่า 20 ปีของภาคประชาชน องค์กรสิทธิ และประชาชนผู้ร่วมลงชื่อมากกว่าแสนราย เพื่อผลักดันให้ความรักทุกรูปแบบได้รับการยอมรับในทางกฎหมาย
ซีรีส์วาย ผลลัพธ์สู่บรรทัดฐานใหม่ของสังคมไทย
ประวัติศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงมาพร้อมกับบรรทัดฐานใหม่บนพื้นที่สื่อที่ขับเคลื่อนด้วย ‘ซีรีส์วาย’ หรือซีรีส์ที่ถ่ายทอดความรักของ LGBTQIA+ มากขึ้น
จากเนื้อหาที่เริ่มต้นเพียงเพื่อความบันเทิงและความฟินของกลุ่มแฟนคลับเฉพาะกลุ่ม วันนี้ซีรีส์วายของไทยได้กลายเป็นสื่อกระแสหลักที่มีอิทธิพลอย่างสูงทั้งในประเทศและระดับโลก ความจิ้นไม่ใช่จุดขายหลักอีกต่อไป แต่คือ ‘การเล่าเรื่องของมนุษย์’ ผ่านความสัมพันธ์ของคนเพศเดียวกันอย่างจริงจัง ละเอียด และมีมิติที่หลากหลายมากขึ้น
ซีรีส์หลายเรื่องไม่เพียงแค่โด่งดังในหมู่แฟนคลับไทย แต่ยังถูกซื้อลิขสิทธิ์ฉายในหลายประเทศทั่วเอเชียและยุโรป แบรนด์ระดับโลกเลือกนักแสดงวายไปเดินพรมแดง พรีเซนต์สินค้า หรือแม้แต่ร่วมแคมเปญเพื่อความเท่าเทียม
Y Economy หรือเศรษฐกิจจากซีรีส์วาย กลายเป็นหนึ่งใน Soft Power ที่สำคัญของประเทศไทย สะท้อนการเปลี่ยนผ่านของบรรทัดฐานทางสังคม และความเข้าใจต่อความหลากหลายทางเพศในระดับสากล
ICONSIAM PRIDE OUT LOUDER กับการสนับสนุน LGBTQ+ ในประเทศไทย
ปี 2568 ถือเป็นปีประวัติศาสตร์ของประเทศไทยในฐานะประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่บังคับใช้ กฎหมายสมรสเท่าเทียม อย่างสมบูรณ์ และในเดือน Pride Month นี้ หนึ่งในแลนด์มาร์กสำคัญของกรุงเทพฯ อย่าง ICONSIAM และ ICS ก็ลุกขึ้นมาเป็นแนวหน้าในการเฉลิมฉลองความหลากหลายด้วยแคมเปญ ‘ICONSIAM PRIDE OUT LOUDER – ให้เสียงของความภูมิใจ ไปไกลกว่าที่เคย’
แคมเปญนี้ไม่เพียงแค่สร้างบรรยากาศสีรุ้งทั่วพื้นที่ แต่ยังเต็มไปด้วยกิจกรรมที่แสดงถึงพลังของความเข้าใจ ยอมรับ และผลักดันความเท่าเทียมในทุกมิติของสังคม
กิจกรรมสำคัญที่จัดขึ้น ได้แก่
- PRIDE SUCCESSORS SERIES ถ่ายทอดเรื่องราวของ LGBTQIA+ ผู้สร้างแรงบันดาลใจ
- Fan Meet ซีรีส์ ‘กี่หมื่นฟ้า’ ที่ผสมผสาน Soft Power จากวายเข้ากับการสนับสนุนความหลากหลาย
- Reflection of Pride ศิลปะแสงสีสะท้อนอารมณ์แห่งความภาคภูมิใจ
- Pride Out Wall พื้นที่เปิดรับเสียงจากคนรุ่นใหม่ ว่าภาพของ Pride Era ควรเป็นอย่างไร
- MERGE Pop-Up สนับสนุนสินค้าและแฟชั่นที่แสดงจุดยืนของความหลากหลาย
ICONSIAM ไม่ได้มอง Pride เป็นเพียงเทศกาล แต่คือโอกาสในการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นในการผลักดัน ความเท่าเทียมทางเพศในประเทศไทย สู่ระดับสากล ด้วยพลังของพื้นที่สร้างสรรค์ วัฒนธรรม และ Soft Power ไทย
PRIDE OUT LOUDER คือเสียงสะท้อนของยุคสมัยใหม่ ที่ทุกหัวใจไม่เพียงมีสิทธิ์รัก แต่ยังมีสิทธิ์ภาคภูมิใจในความเป็นตัวเองได้อย่างเต็มที่
LGBTQIA+ กับอนาคตของสังคมไทยที่เปิดกว้างมากขึ้น
จากอดีตที่ LGBTQIA+ ต้องซ่อนตัวตนในเงามืด สู่วันที่สามารถแต่งงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และเฉลิมฉลองเสียงของตนเองในแลนด์มาร์กอย่าง ICONSIAM คือหลักฐานของพัฒนาการทางสังคมที่สำคัญ
ความเท่าเทียมทางเพศในประเทศไทย คือ ‘โครงสร้างของสังคม’ ที่กำลังเปลี่ยนไปสู่การยอมรับทุกตัวตนอย่างแท้จริง และตราบใดที่เสียงของผู้คนยังเปล่งออกมาอย่างไม่หยุดยั้ง ความเปลี่ยนแปลงก็จะยังคงเดินหน้า
เพราะทุกหัวใจควรได้เปล่งประกายในแบบของตัวเอง อย่างเต็มภาคภูมิที่สุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง: