×

HSBC ยก ‘เอเชีย-ตะวันออกกลาง’ เป็น Super Region แนะไทยคว้าโอกาสดึงเงินลงทุนสู่อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน, Data Center และ Digital Infrastructure

28.05.2025
  • LOADING...
HSBC

HSBC มองแนวโน้มเศรษฐกิจเอเชียและตะวันออกกลางยังคงสดใส โดยคาดการณ์ว่าการค้าและการลงทุนใน 2 ภูมิภาคนี้จะยังคงเติบโตได้ดีในระยะยาว แม้จะมีความตึงเครียดทางการค้าโลกและการปรับขึ้นภาษีของสหรัฐฯ

 

โจ มิยาเกะ หัวหน้าฝ่ายธนาคารสำหรับภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลางของ HSBC กล่าวว่า บริษัทข้ามชาติต่างๆ กำลังมองหาตลาดและโอกาสใหม่ๆ มากขึ้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง เช่น การกระจายความเสี่ยงในระดับภูมิภาคและการเชื่อมโยงระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญสำหรับการค้าโลกและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เนื่องจากเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก 

 

นอกจากนี้ภูมิภาคนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการดึงดูดการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศได้ดีแม้เผชิญกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก

 

มิยาเกะยังกล่าวอีกว่า กระแสเงินทุนระหว่างเอเชียและตะวันออกกลางยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการพลังงานหมุนเวียน ภูมิภาคตะวันออกกลาง กำลังเปลี่ยนผ่านจากเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมันและก๊าซแบบดั้งเดิม ไปสู่อุตสาหกรรมที่หลากหลายมากขึ้น รวมถึงเทคโนโลยี

 

สำหรับประเทศไทย มิยาเกะมองว่ากำลังกลายเป็นศูนย์กลางสำคัญสำหรับการค้าและการลงทุนข้ามพรมแดน โดยเฉพาะในภาคส่วนต่างๆ เช่น พลังงานหมุนเวียน ดิจิทัลและเทคโนโลยี อาหารและเครื่องดื่ม และการบริการ 

 

ด้าน จอร์โจ แกมบา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและหัวหน้าฝ่ายธนาคาร HSBC ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า นักลงทุนจากตะวันออกกลางแสดงความสนใจอย่างมากในการลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งสอดคล้องกับลำดับความสำคัญด้านความมั่นคงทางอาหาร

 

นอกจากนี้นักลงทุนจากตะวันออกกลางยังมองเห็นโอกาสในภาคการบริการ การดูแลสุขภาพ โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และ Data Center ของไทยอีกด้วย โดย HSBC คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดของ Data Center ของไทย จะเติบโตเป็น 3.19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2573 จากปี 2567 ที่มีมูลค่าตลาดราว 1.56 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567

 

“เรายังมองเห็นโอกาสสำคัญในประเทศไทยผ่านความร่วมมือระหว่างรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย” กัมบากล่าว

 

แคนาดาเปิดตัวสำนักงานตัวแทนในประเทศไทย หนุนผู้ส่งออกลุกอาเซียน 

 

สำนักงานพัฒนาการส่งออกแคนาดา (Export Development Canada: EDC) เปิดเผยว่า ทางสำนักงานได้ตัดสินใจเปิดสำนักงานตัวแทนประจำภูมิภาคเอเชียแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ ประเทศไทย ซึ่งการเปิด EDC แห่งใหม่นี้ เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์เจาะตลาดอินโด-แปซิฟิก อันเป็นก้าวที่สำคัญของ EDC 

 

 

พิธีเปิดสำนักงานตัวแทนประจำภูมิภาคเอเชียแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ ประเทศไทย

 

ทั้งนี้ สำนักงานตัวแทนในกรุงเทพฯ แห่งใหม่ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของหัวหน้าสำนักงานตัวแทน ซินดี้ ลิม จะเป็นส่วนเติมเต็มให้กับสำนักงานตัวแทนอื่นๆ ที่มีอยู่แล้วในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกของ EDC ทั้งในกรุงนิวเดลี มุมไบ เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง จาการ์ตา โซล โตเกียว โฮจิมินห์ซิตี้ มะนิลา ซิดนีย์ รวมถึงสำนักงานสาขาในสิงคโปร์   

 

ประเทศไทยถือเป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภูมิภาค โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) มีมูลค่าสูงถึง 5 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2024 ทั้งตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ที่ตั้งอยู่ใจกลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนาแล้วและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อธุรกิจ ล้วนทำให้ประเทศไทยอยู่ในฐานะศูนย์กลางที่สำคัญทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกของชาวแคนาดา ผู้ส่งออกชาวแคนาดาประสบความสำเร็จในตลาดไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยตัวเลขการค้าในประเทศไทยเติบโตถึง 1 พันล้านดอลลาร์หรือ 17% ในระหว่างปี 2019 ถึง 2024

 

โดยในปี 2024 EDC ได้สนับสนุนลูกค้ากว่า 200 รายในประเทศไทย จนสามารถสร้างรายได้ทางธุรกิจมากกว่า 350 ล้านดอลลาร์ ท่ามกลางศักยภาพที่ยังมีอยู่อีกมากมาย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพสูงและก้าวขึ้นเป็นตลาดสำคัญของบริษัทแคนาดา 

 

 

ซาร่า วิลชอว์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีช่วยว่าการอาวุโสด้านการค้าต่างประเทศ และหัวหน้าผู้แทนการค้าแห่งกระทรวงการต่างประเทศแคนาดา

 

ซาร่า วิลชอว์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีช่วยว่าการอาวุโสด้านการค้าต่างประเทศ และหัวหน้าผู้แทนการค้าแห่งกระทรวงการต่างประเทศแคนาดา แสดงทัศนะ กล่าวว่า “ตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์และการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ทำให้ประเทศไทยเป็นคู่ค้าทางการค้าและการลงทุนที่มีค่าในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกสำหรับแคนาดา และยังสอดคล้องกับกลยุทธ์ในภาพรวมของแคนาดา เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าแบบทวิภาคีให้แข็งแกร่ง 

 

ทั้งนี้ แคนาดาและประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางการค้าที่แน่นแฟ้น โดยมีมูลค่าการค้าแบบทวิภาคีสูงถึง 6 พันล้านดอลลาร์ในปี 2024 ทั้งการเข้าร่วมในเขตการค้าเสรีของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ของประเทศไทย และแคนาดาที่เข้าร่วมในข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก (CPTPP) ล้วนช่วยเสริมสร้างสถานะการค้าในภูมิภาคดังกล่าว ประเทศไทยมีความมุ่งมั่นที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 ดังนั้น นี่จึงเป็นโอกาสสำคัญสำหรับบริษัทแคนาดาที่เชี่ยวชาญด้านพลังงานหมุนเวียน โซลูชันประสิทธิภาพทางพลังงาน และเทคโนโลยีความยั่งยืน 

 

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising