THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์สูงขึ้นหนุน เงินดอลลาร์ แข็งค่า แต่กดดันสินทรัพย์เสี่ยง

... • 27 ก.พ. 2023

HIGHLIGHTS

8 MIN READ
  • สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดการเงินปรับตัวลดลงแรงขึ้นจากสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้น เช่น ดัชนีรวม (Composite PMI) ของสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 50.2 สูงสุดในรอบ 8 เดือน
  • ภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรปท่ีดีขึ้นเช่นเดียวกับเงินเฟ้อท่ีมีทิศทางชะลอตัวช้ากว่าคาด ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่านโยบายการเงินจะตึงตัวขึ้นและกดดันสินทรัพย์เสี่ยง
  • อย่างไรก็ตาม InnovestX มองว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกนั้นเป็นการฟื้นตัวของภาคบริการเป็นหลัก ขณะที่ภาคการผลิตยังหดตัว 
  • ส่วนเงินเฟ้อที่เริ่มมีทิศทางสูงขึ้น และ/หรือชะลอลงน้อยกว่าคาด บางส่วนอาจเป็นเพราะความคาดหวังนโยบายการเงินที่จะผ่อนคลายขึ้น ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรผ่อนคลายลง ซึ่งเป็นการเพิ่มสภาพคล่องทางอ้อม ทำให้ธนาคารกลางต่างๆ อาจต้องขึ้นดอกเบี้ยสูงยาวนานขึ้น (Higher for Longer) และนำไปสู่ความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยในระยะถัดไป 
  • อีกทั้งความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์เริ่มสูง จะทำให้ดอลลาร์มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นและกดดันการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงในระยะต่อไป

สัปดาห์นี้ตลาดปรับตัวลดลงแรงขึ้นจากภาพเศรษฐกิจที่ดูดีขี้น ขณะที่เงินเฟ้อยังคงสูงต่อเนื่อง ทำให้ความกังวลทิศทางดอกเบี้ยมีมากข้ึน สาเหตุหลักมาจาก

 

1. ตัวเลขเศรษฐกิจ Flash PMI เดือนกุมภาพันธ์ที่ดูดีขึ้นต่อเนื่อง โดยดัชนีรวม (Composite PMI) ของสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 50.2 สูงสุดในรอบ 8 เดือน ผลจากการฟื้นของดัชนีภาคบริการที่ 50.5 จาก 46.8 ขณะที่ดัชนีภาคการผลิตยังคงหดตัวที่ 48.4 จาก 46.9 ด้านดัชนีรวมยุโรปอยู่ที่ 52.3 จาก 50.3 โดยเป็นการฟื้นของภาคบริการเป็นหลัก ขณะที่ของอังกฤษก็ฟื้นตัวขึ้นจาก 48.5 เป็น 53.0 เช่นกัน ซึ่งภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรปท่ีดีขึ้นเช่นเดียวกับเงินเฟ้อท่ีมีทิศทางชะลอตัวช้ากว่าคาด ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่านโยบายการเงินจะตึงตัวขึ้นและกดดันสินทรัพย์เสี่ยง 

 

2. รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ (Fed Minutes) ยังคงส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย โดยเสียงส่วนใหญ่ให้ขึ้นในระดับ 0.25% ต่อเนื่องเพื่อคุมเงินเฟ้อ และยังส่งสัญญาณกังวลในความเสี่ยงเงินเฟ้อ และมองว่านโยบายยังไม่ตึงตัวเพียงพอ (Insufficient Restrictive) เพื่อจะลดทอนเงินเฟ้อลง นอกจากนั้นประเด็นท่ีประธาน Fed เคยกล่าวหลังการประชุมว่าเริ่มเห็นถึง “กระบวนการเงินเฟ้อเริ่มลดลง” (Disinflationary Process) นั้นถูกตัดออกไปในรายงานฉบับนี้ บ่งชี้ว่า Fed อาจส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยยาวนานขึ้น 

 

3. ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์เริ่มสูงข้ึนหลังจากประธานาธิบดีโจ ไบเดนเยือนยูเครนโดยไม่บอกล่วงหน้า ขณะท่ีประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินประกาศยกเลิกสนธิสัญญานิวเคลียร์ที่ทำกับสหรัฐฯ ด้านท่ีปรึกษาการต่างประเทศ ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง เยือนรัสเซียพร้อมยกระดับความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศ รวมถึงเปิดทางนำไปสู่การพบกันระหว่างผู้นำจีนและรัสเซียในช่วงต่อไป

 

3 ความเสี่ยงกดดันธนาคารกลางขึ้นดอกเบี้ยยาว-ดอลลาร์แข็งค่า

บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ หรือ InnovestX วิเคราะห์ว่า ภาพเศรษฐกิจการลงทุนในปัจจุบันมีความเสี่ยงมากขึ้นใน 3 จุด อันได้แก่

 

1. ภาพเศรษฐกิจโลก ที่ในภาพรวมดูเหมือนจะดูดีขึ้นจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Flash Composite PMI) ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ปรับเพิ่มขึ้น แต่หากในรายละเอียดจะพบว่าเป็นการฟื้นตัวของภาคบริการเป็นหลัก ขณะที่ภาคการผลิตยังคงหดตัว ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index) ซึ่งจากการติดตามของเราพบว่า 30 ใน 42 ประเทศ ดัชนีมีทิศทางชะลอลงหรือหดตัวมากขึ้น 

 

2. เงินเฟ้อเริ่มมีทิศทางสูงขึ้น และ/หรือชะลอลงน้อยกว่าคาด ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นในเดือนมกราคม และส่วนหนึ่งเป็นผลจากค่าจ้างที่ปรับตัวสูงขึ้นเพื่อตอบสนองต่อราคาที่เพิ่มขึ้น (Wage Price Spiral) และบางส่วนอาจเป็นเพราะความคาดหวังนโยบายการเงินที่จะผ่อนคลายขึ้น ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรผ่อนคลายลง ซึ่งเป็นการเพิ่มสภาพคล่องทางอ้อม ทำให้ธนาคารกลางต่างๆ อาจต้องขึ้นดอกเบี้ยสูงยาวนานขึ้น (Higher for Longer) และนำไปสู่ความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยในระยะถัดไป 

 

3. ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์เริ่มสูงขึ้นหลังไบเดนเยือนยูเครนโดยไม่บอกล่วงหน้า ในโอกาสครบรอบ 1 ปี สงครามรัสเซีย-ยูเครน ขณะที่ปูตินประกาศยกเลิกสนธิสัญญานิวเคลียร์ท่ีทำกับสหรัฐฯ ด้านท่ีปรึกษาการต่างประเทศสีจิ้นผิงประกาศพร้อมยกระดับความร่วมมือกับรัสเซียหลังเข้าพบปูติน บ่งชี้จีนเริ่มเพิ่มน้ำหนักในประเด็นการต่างประเทศมากขึ้นหลังจากมีประเด็นเรื่องบอลลูนสอดแนมกับสหรัฐฯ ไปเมื่อสัปดาห์ก่อน ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ดอลลาร์มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นและกดดันการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงในระยะต่อไป

 

กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย

ช่วงสั้นมอง SET จะแกว่งตัวในลักษณะ Sideway Down โดยหลังสิ้นสุดการประกาศผลประกอบการ 4Q65 แล้ว คาดตลาดจะกลับไปโฟกัสเศรษฐกิจมหภาคมากข้ึน ซึ่งน่าจะยังกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น รวมท้ังความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ 

 

ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนแนะนำ ‘Selective Buy’ ในธีมที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว โดยเน้นรอซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว ไม่ไล่ราคา ดังนี้

 

1. หุ้นที่คาดผลบวกเชิงจิตวิทยาและอานิสงส์จากเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในช่วงเลือกตั้ง เลือกกลุ่มสื่อ BEC, MAJOR และกลุ่มค้าปลีก CPN, HMPRO

 

2. หุ้นปันผลที่มีคุณภาพดี โดยเน้นจ่ายปันผลต่อเนื่อง 20 ปีข้ึนไป คาดให้ Div. Yield (หลังหักจ่ายระหว่างกาลไปแล้ว) ปี 2565 สูงเกิน 4% และปี 2566 คาด Div. Yield ดีขึ้น หรือใกล้เคียงเดิม อีกท้ังปี 2566 ผลประกอบการยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง อีกท้ังราคาหุ้นยังมี Upside เกิน 15% เลือก KTB, KKP และ AP

 

ขณะที่ช่วงสั้นหุ้นแนะนำให้เพิ่มความระมัดระวังการลงทุนสำหรับ

 

1. หุ้นที่คาดเผชิญแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติ ได้แก่ AOT, KBANK, PTTEP, EA และ TIDLOR

2. หุ้นที่แนวโน้มผลประกอบการ 1Q66 คาดยังหดตัวต่อ YoYและ QoQ ได้แก่ GFPT, TCAP, BTS, ASP และ MST

 

เหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

1. ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการเดือนมกราคมประกาศครั้งสุดท้ายของสหรัฐฯ และยุโรปว่ามีทิศทางดีขึ้นตาม Flash PMI หรือไม่

 

2. เงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์ประกาศครั้งแรกของยุโรปว่าจะชะลอลงจาก 8.5% ในเดือนมกราคมหรือไม่

 

3. ยอดค้าปลีกยุโรปว่าจะหดตัวชะลอลงจาก -2.8% ในเดือนมกราคมหรือไม่ 

 

4. ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการของจีน ว่าจะฟื้นตัวขึ้นตามการเปิดประเทศหรือไม่ 

 

5. ตัวเลขเศรษฐกิจไทย ทั้งการค้าระหว่างประเทศ การบริโภค และลงทุน ตามรายงาน ธปท. ว่าจะฟื้นตัวขึ้นหรือไม่ หลังจากตัวเลข GDP ไตรมาส 4/65 ต่ำกว่าคาด จากภาคส่งออกและภาครัฐ 

 

6. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ จาก Conference Board ว่าจะมีการปรับเพิ่มขึ้นหรือไม่

 

รวมถึงสถานการณ์ในประเทศ คือ 

 

1. ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่มีแนวโน้มตึงเครียดขึ้นในช่วงใกล้ครบรอบ 1 ปี สงครามรัสเซีย-ยูเครน 

 

2. ความชัดเจนของไทม์ไลน์การยุบสภาและการเลือกตั้งของไทย

 

3. กลยุทธ์และแนวโน้มผลการดำเนินงานปี 2566 ของบริษัทจดทะเบียนไทย หลังมีการจัดประชุมนักวิเคราะห์

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: ZEN - กำไรมีแนวโน้มดีขึ้น

สัปดาห์นี้เราเลือกแนะนำ บมจ.เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป หรือ ZEN เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

 

1. เป็นผู้นำธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นระดับพรีเมียมและอาหารไทยภายใต้แบรนด์ที่รู้จักดีในไทย เช่น ZEN, AKA, On the Table, ตำมั่ว, ลาวญวน และเขียง เป็นต้น รวมทั้งยังเร่งขยายธุรกิจใหม่อย่างธุรกิจอาหารค้าปลีกและธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อเสริมสร้างการเติบโตของกำไรในระยะยาว

 

2. มองได้ผลบวกโดยตรงจากการบริโภคภาคเอกชนที่ฟื้นตัว เพราะมีฐานลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูงที่มีความอ่อนไหวต่อราคาน้อย จึงสามารถส่งผ่านต้นทุนอาหารท่ีสูงขึ้นทั้งทางตรง (ปรับราคาเมนูเพิ่มขึ้น) และทางอ้อม (จัดโปรโมชันลดลง ปรับชุดอาหารใหม่)

 

3. ไตรมาส 4/65 คาดจะเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดของปี โดยมองกำไรสุทธิจะทำสถิติสูงสุดที่ 58 ล้านบาท เพิ่มขึ้นก้าวกระโดด YoY และเพิ่มขึ้น 14%QoQ แรงหนุนจากธุรกิจร้านอาหารและธุรกิจอาหารค้าปลีกที่แข็งแกร่ง ซึ่งจะสามารถชดเชยต้นทุนค่าแรงท่ีสูงข้ึนได้

 

4. ผ่านจุดเลวร้ายที่สุดไปแล้ว โดยคาดผลประกอบการจะฟื้นตัวจากขาดทุนปกติ 93 ล้านบาทในปี 2564 สู่กำไรปกติ 147 ล้านบาทในปี 2565 (สูงกว่าระดับก่อนเกิดโควิด) จากนั้นจะเติบโต 23%YoY ในปี 2566 ปัจจัยหนุนจากการขยายสาขาของบริษัทเอง โดยเน้นที่ AKA และตำมั่ว

 

5. เราประเมินราคาเป้าหมายไว้ที่หุ้นละ 18.00 บาท (อิงวิธี DCF) และคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2565 อีกหุ้นละ 0.39 บาท คิดเป็น Div. Yield 2.4%

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

สภาพคล่อง/เงินสด

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

เรามีมุมมองเป็น Neutral ต่อสินทรัพย์สภาพคล่อง/เงินสด เนื่องจากความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยท่ีลดลง อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์เสี่ยงยังคงถูกปัจจัยกดดันจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง อัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับลดลง แต่ยังอยู่ในระดับสูง และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ท่ียังน่ากังวล

 

พันธบัตรรัฐบาลไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

UST Yield มีแนวโน้มเพิ่มข้ึนในช่วงสั้น หลังรายงานการประชุม Fed ล่าสุดค่อนข้าง Hawkish แต่คาดว่าจะเร่ิมลดลงหลัง Fed หยุดขึ้นดอกเบี้ย และความกังวลเศรษฐกิจมีมากขึ้น ในส่วน 10y TH Yield เร่งตัวไปกับ 10y UST แต่ YTD ยังลดลง โดยยังมีแรงซื้อจากบริษัทประกันและ บมจ. เข้ามาชดเชยการขายออกของต่างชาติ

 

กองทุนแนะนำ

 

 

Krungsri Yenjai Fund

  • กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนกองทุนในตราสารหนี้ หุ้นไทย และหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่คาดหวังความเจริญเติบโตของสินทรัพย์ในระยะยาว

 

หุ้นกู้ไทยและต่างประเทศ

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

เราคาดว่า Credit Spread ของ US IG มีแนวโน้มทรงตัวถึงลดลงเล็กน้อยตามตลาดแรงงานและภาคบริการที่เริ่มมีโมเมนตัมดีขึ้น สําหรับ IG TH Yield เร่งขึ้นตาม Gov’t Yield โดยเฉพาะอายุ < 10y ขณะที่ Corporate Spread ยังคงทรงตัวต่ำโดยเฉพาะอายุ < 3y นอกจากน้ีกลุ่ม BBB Spread ปรับลดลงมาใกล้ก่อนโควิด

 

ความกังวลต่อเศรษฐกิจถดถอยท่ีลดลงจะช่วยผ่อนคลายแรงกดดันที่มีต่อหุ้นกู้ HY แต่ความผันผวนของตลาดการเงินและค่าเงินยังคงเป็นความเสี่ยงที่อาจกดดันตลาดพันธบัตรและหุ้นกู้ โดยเฉพาะ HY ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่สูงจะยังกดดันความสามารถในการชําระหน้ีของกลุ่ม HY ในบางกลุ่ม เช่น อสังหาริมทรัพย์ในเวียดนาม

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ตลาดมีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันจากการคาดการณ์ผลประกอบการ บจ.สหรัฐฯ ปี 2566 ที่ยังมีแนวโน้มถูกปรับประมาณการลงต่อ ท่ามกลางต้นทุนอัตราดอกเบี้ย ต้นทุนแรงงานท่ียังสูง รวมทั้งผลกระทบจากการเพิ่มการเก็บภาษีธุรกิจ แม้ความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยลดลง ขณะที่ Valuation ของตลาดเริ่มกลับมาตึงตัวขึ้น

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

Valuation ของดัชนีฯ เมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่ม DM โดยเฉพาะสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่หนุนให้มี Fund Flow ไหลกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นยุโรป อย่างไรก็ตาม นโยบายการเงินท่ีมีแนวโน้มตึงตัวยังเป็นปัจจัยกดดัน ในขณะท่ียังมีความกังวลกับผลกระทบท่ีเกิดจากความเสี่ยงสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

แนวโน้มการเริ่มเปลี่ยนผ่านนโยบายการเงินของ BOJ ทิศทางของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัว และค่าเงินเยนที่แข็งค่า มีแนวโน้มส่งผลกดดันให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นผันผวนในช่วงสั้น อย่างไรก็ดี Valuation ที่อยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศตามการเปิดเมือง จะช่วยจํากัด Downside ให้กับตลาด

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 5

 

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มรับแรงหนุนจากการเปิดเมืองต่อเนื่อง มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน/การคลัง มาตรการเยียวยาภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมถึง Sentiment ของรายย่อยจีนที่มีแนวโน้มฟื้นตัว ความคืบหน้าในการส่งเสริมและพัฒนาตลาดทุนจีน ประกอบกับดัชนีฯ ยังค่อนข้าง Laggard เมื่อเทียบดัชนีหุ้นจีนในฝั่ง Offshore

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

ดัชนีฯ ยังมีแนวโน้มได้อานิสงส์จากแนวโน้มการเปิดเมืองของจีน ความเสี่ยงการเพิกถอน บจ.จีนจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ลดลง ความชัดเจนในเรื่องกฎเกณฑ์การเพิ่มทุนในตลาดต่างประเทศ และการคุมเข้มด้านกฎระเบียบกับกลุ่ม Platform ที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ ยังมีแนวโน้มเผชิญความผันผวนจากข้อพิพาทกับสหรัฐฯ

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

ท่องเที่ยวฟื้นตัว หนุนกําลังซื้อและความเชื่อมั่นผู้บริโภค ดีต่อ GDP Growth ยังผลให้ EPS เติบโต โดยเฉพาะกลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศและเกี่ยวข้องการท่องเที่ยว (แม้ไตรมาส 4/65 GDP จะออกมาต่ำกว่าคาดมาก) โดย EPS ของไทยโตได้ดีหากเทียบกับ EM และ TIP ท่ามกลาง Valuation ที่ยังน่าลงทุน แต่ควรหลีกเลี่ยงกลุ่มส่งออก

 

กองทุนแนะนำ

 

 

SCB Dividend Stock Open End Fund

  • กองทุน SCBDV เป็นกองทุนหุ้นไทยที่เน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

แม้ Valuation ของดัชนีฯ อยู่ในระดับที่ไม่แพง และความคาดหวังบนการแก้กฎหมายการออกหุ้นกู้จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในระยะยาว แต่ความกังวลการผิดนัดชําระหนี้หุ้นกู้ การดําเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัว ภาคการผลิต และส่งออกที่ลดลง รวมทั้งผลประกอบการ บจ. ที่ชะลอลง จะทําให้ Upside ตลาดในระยะสั้นถูกจํากัด

 

ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ดัชนีฯ มีแนวโน้มได้รับแรงกดดันจากการขายทํากําไรในหุ้นกลุ่มถ่านหิน และมีความเสี่ยงจากการที่เม็ดเงินลงทุนต่างชาติไหลออก รวมถึงการคาดการณ์ EPS Growth ในปีนี้ที่ไม่น่าดึงดูดเท่ากลุ่มอาเซียน โดยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนมีแนวโน้มฟื้นตัวไม่มากนัก และเศรษฐกิจอินโดนีเซียได้รับประโยชน์จากจีนเปิดเมืองท่ีน้อยกว่า

 

กองทุนแนะนำ

 

 

SCB Indonesia Equity Fund

  • กองทุน SCBINDO เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ กองทุน VanEck Indonesia Index ETF (กองทุนหลัก), สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) บนความคาดหวังการเจริญเติบโตและการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศอินโดนีเซีย

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

ราคาทองคํายังคงมีแนวโน้มผันผวนหลังจากที่ตลาดเริ่มปรับคาดการณ์ Terminal Rate ของอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯ สูงขึ้น ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มกลับมาแข็งค่า ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้นมีแนวโน้มส่งผลให้ความต้องการทองคําในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยปรับลดลง

 

น้ำมัน

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

แนวโน้มเป็นอุปทานส่วนเกินช่วง 1H66 เป็นปัจจัยสร้างความผันผวนแก่ราคาน้ํามันในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ตลาดได้รับรู้ประเด็นนี้ไปพอสมควรแล้ว ในขณะท่ีอุปสงค์ตามการเปิดเมืองของจีนจะเป็นปัจจัยหนุนในช่วง 2H66 นอกจากนี้น้ํามันยังสามารถใช้ในการป้องกันความเสี่ยงจากปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์

 

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

 

 

แรงกดดันจาก Bond Yield ในระยะข้างหน้าคาดว่าลดลง แต่ US REITs Index ที่ฟื้นมาใกล้เคียง Pre-COVID ทําให้ความน่าสนใจในตลาดนี้ลดลง ขณะท่ีญี่ปุ่นคงถูกกดดันจากนโยบายการเงินของ BOJ ท่ีกระทบ Bond Yield และ EU ยังถูกกดดันจากนโยบายการเงินที่ยังตึงตัว และอัตรา Leverage ที่สูงกว่าภูมิภาคอื่น

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ความน่าสนใจระดับ 4

 

 

จีนเปิดเมืองและประเทศ หนุนท่องเที่ยวและการใช้จ่ายในกลุ่มอาเซียน ซึ่งส่งผลดีต่อรายได้ Retail และโรงแรม ซึ่ง REITs อาเซียนมีอัตราเงินปันผลอยู่ในระดับที่น่าสนใจกว่า DM ขณะที่ในระยะข้างหน้าแรงฉุดจาก Bond Yield ลดลง (โดยเฉพาะช่วง Fed Pause ท่ีกําลังจะเกิดขึ้น) จึงเป็นจังหวะเข้าสะสมช่วง Bond Yield เร่งตัว

 

Private Asset

ความน่าสนใจระดับ 2

 

 

Slightly negative on Private Equity & Private Real Estate; Neutral on Private Debt: ดอกเบี้ยในระดับสูงมีแนวโน้มส่งผลกระทบ Valuation ของบริษัทในกองทุน Private Equity และราคาอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วที่จะเป็นผลลบต่อ Private Real Estate; สําหรับกองที่ลงทุนด้วยสกุลเงินต่างประเทศ แนะนําให้ป้องกันความเสี่ยง FX เนื่องจากเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าในปี 2566


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 27 ก.พ. 2023

READ MORE




Latest Stories