THE STANDARD WEALTH - สำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน

×
THE STANDARD HOME ECONOMIC MARKET BUSINESS CRYPTOCURRENCY OPINION WEALTH MANAGEMENT WORK & LEADERSHIP LIFESTYLE & PASSION
ขึ้นดอกเบี้ย และ Supply Chain
EXCLUSIVE CONTENT BY SCB WEALTH

แบงก์ชาติทั่วโลกส่งสัญญาณเร่งขึ้น ดอกเบี้ย ลุ้นปัญหา Supply Chain คลี่คลาย หลังราคาปุ๋ย-ค่าระวางเรือเริ่มลดลง

... • 13 มิ.ย. 2022

HIGHLIGHTS

8 Mins. Read
  • เครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ บ่งชี้ความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะ Technical Recession ขณะที่ยอดการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยลดลงในระดับ 7% มากสุดในรอบ 22 ปี 
  • เริ่มเห็นสัญญาณว่าปัญหา Supply Chain อาจกำลังจะคลี่คลายในอนาคต หลังดัชนีค่าระวางเรือและดัชนีราคาปุ๋ยในอเมริกาเหนือลดลงจากจุดสูงสุดในเดือนมีนาคม
  • ความเสี่ยงนโยบายการเงินตึงตัวในทั่วโลกมีมากขึ้น ขณะที่ ธปท. ส่อขยับดอกเบี้ยขึ้น 1-2 ครั้งในปีนี้ และอาจปรับขึ้นอีก 3-5 ครั้งในปีหน้า 
  • ตลาดหุ้นไทยยังคงผันผวนจากปัจจัยภายนอก กลยุทธ์การลงทุนแนะนำหุ้นที่มีแนวโน้มการเติบโตต่อเนื่องในกลุ่มท่องเที่ยว ประกันภัย ขนส่ง รวมถึงหุ้นที่ได้ประโยชน์จากภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น

สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดการเงินปรับตัวสะท้อนประเด็นเรื่องการปรับขึ้น ดอกเบี้ย เป็นหลัก ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นในขณะที่ตลาดหุ้นผันผวนตลอดสัปดาห์ โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้ 

 

  1. ตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯ โดยเฉพาะการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ดีเกินคาด ขณะที่ค่าจ้างยังคงปรับเพิ่มขึ้นในระดับสูง ซึ่งแม้จะดีต่อเศรษฐกิจแต่ก็ทำให้ตลาดกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะขึ้นดอกเบี้ยเร็วเกินคาด 

 

  1. กลุ่ม OPEC+ ประกาศเพิ่มกำลังการผลิตที่ 6.48 แสนบาร์เรลต่อวัน เพิ่มกว่าเดิม 50% แต่ราคาน้ำมันยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นท่ามกลางการเปิดประเทศของจีน และการคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซียของยุโรป 

 

  1. ธนาคารกลางประเทศต่างๆ ยังคงส่งสัญญาณตึงตัวนโยบายการเงินต่อเนื่อง โดยล่าสุด ได้แก่ ธนาคารกลางออสเตรเลียที่เพิ่มดอกเบี้ยเกินตลาดคาดที่ 0.50% ส่วนธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีมติไม่เอกฉันท์คงดอกเบี้ย และส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ 

 

  1. องค์กรระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจ เช่น World Bank และ OECD ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลก และส่งสัญญาณความเสี่ยง Stagflation 

 

  1. ดัชนีเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปัจจุบัน เช่น GDPNow บ่งชี้ความเสี่ยงเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะ Technical Recession ขณะที่ยอดการขอกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยลดลงในระดับ 7% สูงสุดในรอบ 22 ปี 

 

อย่างไรก็ตาม ตลาดมีปัจจัยบวกบ้าง เช่น (1) รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังพิจารณาลดทอนภาษีสินค้านำเข้าจากจีน (2) ตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 1 ของญี่ปุ่นและยุโรปดีขึ้นกว่าเมื่อประกาศครั้งแรก และ (3) รายงานข่าวจาก Bloomberg ระบุว่าเริ่มมีดัชนีชี้นำด้าน Supply Chain บางตัว เช่น ราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า DRAM ดัชนีค่าระวางเรือ และดัชนีราคาปุ๋ยในอเมริกาเหนือที่ลดลงจากจุดสูงสุดในเดือนมีนาคมบ่งชี้ว่า ปัญหา Supply Chain อาจกำลังจะคลี่คลายในอนาคต

 

ฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ (SCBS) ระบุว่า ความเสี่ยงนโยบายการเงินตึงตัวทั่วโลกเริ่มมีมากขึ้นจาก 

 

  1. ปัญหาอุปทานตึงตัวในเชื้อเพลิงโดยเฉพาะน้ำมัน โดยแม้ว่า OPEC จะมีกำลังการผลิตส่วนเกินประมาณ 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน (จากการคำนวณของเรา) แต่การเพิ่มกำลังการผลิตอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่ความต้องการใช้ที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในจีนและประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะสหรัฐฯ จะกดดันให้ราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับสูงต่อไป 

 

  1. ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่ยังตึงตัว แม้ว่าการขยายตัวค่าจ้างจะเริ่มลดลงแต่ก็ยังอยู่ในระดับสูงที่ประมาณ 4% ทำให้ความเสี่ยงเงินเฟ้อในสหรัฐฯ จากค่าจ้างยังมีอยู่ต่อเนื่อง 

 

  1. แรงกดดันเงินเฟ้อจากโภคภัณฑ์ รวมถึงความแตกต่างของนโยบายการเงินประเทศพัฒนาแล้ว (โดยเฉพาะสหรัฐฯ) กับประเทศอื่นๆ ทำให้ธนาคารกลางในประเทศกำลังพัฒนาจำเป็นต้องปรับขึ้นนโยบายการเงิน มิฉะนั้นจะเผชิญกับปัญหาเงินทุนเคลื่อนย้ายที่กระทบต่อค่าเงิน ซึ่งปัจจัยทั้งสามจะกดดันให้ธนาคารกลางในเอเชียรวมถึงไทยต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยแม้เศรษฐกิจจะเพิ่งเริ่มฟื้นตัว 

 

อย่างไรก็ตาม ในส่วนนโยบายการเงินของไทย เรามองว่า ธปท. จะปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยในปีนี้ดอกเบี้ยนโยบายอาจปรับขึ้นได้ 1-2 ครั้ง ไปอยู่ที่ 0.75-1% ในขณะที่ในปี 2023 อาจปรับขึ้นได้ 3-5 ครั้ง ทำให้ดอกเบี้ยไปพีคที่ 1.5-2% ในปี 2023

 

จับตาผลประชุม Fed สัปดาห์นี้

สัปดาห์นี้จับตายอดค้าปลีกว่าจะชะลอลงจากเดือนเมษายนที่ 8.2% หรือไม่ ท่ามกลางความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ที่ลดลงต่อเนื่อง รวมถึงจับตาการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐ (FOMC) โดยตลาดมองว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ย 0.50% และทำ QT ต่อเนื่อง โดยต้องจับตาว่าประมาณการเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และ Dot Plot ว่าจะปรับเปลี่ยนจากตัวเลขประมาณการเดือนมีนาคมอย่างไร โดยเฉพาะ Dot Plot ที่เคยมองว่าจะขึ้นดอกเบี้ยไปอยู่ที่ 1.88% (7 ครั้ง) ณ สิ้นปีนี้ ขณะที่ตลาดมองว่าจะอยู่ที่ 2.63% (10 ครั้ง)

 

ในสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดทั่วโลกปรับตัวลดลง 1.8% แบ่งเป็น ตลาดเกิดใหม่(EM) เพิ่มขึ้น 0.6% ส่วนตลาดพัฒนาแล้ว (DM) ลดลง 2.1% โดยได้รับแรงกดดันจากภาพนโยบายการเงินที่ตึงตัวของ ECB และเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงของสหรัฐฯ ซึ่งอยู่ในช่วงการปรับประมาณการแนวโน้มกำไร ในขณะที่กลุ่มประเทศ EM นั้นยังได้ภาพของการคลายมาตรการล็อกดาวน์ของจีนเป็นสำคัญ

 

หุ้นกลุ่ม Growth (-1.7%) ให้ผลตอบแทนมากกว่ากว่าหุ้นกลุ่ม Value (-1.8%) หุ้นขนาดใหญ่ (-1.7%) ให้ผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นขนาดเล็ก (-1.9%) หุ้นกลุ่มพลังงานให้ผลตอบแทนเป็นบวกเพียงกลุ่มเดียว +1% ทั้งนี้ มองว่าได้รับแรงหนุนจากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น หุ้นกลุ่มธนาคารปรับตัวลดลง 3.7% จากความกังวลการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ และยังมีความเสี่ยงการชะลอตัวลง ส่วนหุ้นกลุ่มเชิงรับปรับตัวลดลง 1.5-2.5%

 

ประเด็นที่ต้องติดตามสัปดาห์นี้

 

  1. ท่าทีของธนาคารหลัง Fed, ECB และ BOJ ที่คาดว่ามีเพียง BOJ ที่ยังไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ย 

 

  1. การประชุม WTO ที่ว่าด้วยเรื่องการต่อสู้กับเงินเฟ้อ 

 

  1. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเยอรมนีที่คาดว่าจะฟื้นตัวขึ้น 

 

  1. ตัวเลขเศรษฐกิจจีนเดือนพฤษภาคมที่คาดว่าจะยังหดตัวแต่ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 

 

  1. ผลประกอบการไตรมาสที่ 1 ของ Adobe, Oracle, DiDi

 

“ตลาดยังคงผันผวนและเป็นการฟื้นตัวในช่วงปรับฐาน ความเสี่ยงหลักยังไม่เปลี่ยนแปลงและอยู่ในระดับสูง ทั้งนโยบายการเงินที่ตึงตัวกว่าที่คาด ซึ่งมาพร้อมกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทำให้ตลาดมองไปที่ Downside มากกว่า Upside ซึ่งจะทำให้ตลาดผันผวน ดูเหมือนตลาดจะใช้ความคาดหวังเป็นกลยุทธ์ เรามองว่าให้จับตาดูห่วงโซ่อุปทานที่มีแนวโน้มคลี่คลายในระยะสั้น ซึ่งประเด็นนี้น่าจะพอเป็นปัจจัยช่วยให้ตลาดคลายความกังวล

 

กลยุทธ์การลงทุนในตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้

การลงทุนในระยะสั้นมีความผันผวนจากปัจจัยภายนอกเป็นสำคัญ ปัจจัยภายในประเทศมีผลค่อนข้างจำกัด และหาจังหวะในการลงทุนในช่วงที่ความผันผวนเพิ่มสูงขึ้น

 

  • หุ้นที่มีแนวโน้มการเติบโตต่อเนื่องในกลุ่มท่องเที่ยว ประกันภัย ขนส่ง อย่าง AOT, AWC, BLA และ BEM

 

  • หุ้นที่ได้ประโยชน์จากภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น เลือก KBANK, BBL 

 

สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงสูงและสนใจหุ้นที่ราคาปรับลงมาแรงแล้ว มองมี Risk/Reward ที่ดี แต่ล่าสุดแนวโน้มปัญหาอุปทานคลี่คลาย และอุปสงค์ปรับตัวดีขึ้น มองเลือกเก็งกำไรในหุ้น Recovery อย่าง DELTA, KCE, MAKRO และ CBG 

 

แนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุนใน 1. หุ้นที่ได้รับผลกระทบลบจากดอกเบี้ยขาขึ้น เช่น อสังหา โรงไฟฟ้า ไฟแนนซ์ และ 2. หุ้นที่ได้อานิสงส์ลดลงจากปัญหาอุปทานเรือคลี่คลาย เช่น กลุ่มเดินเรือและโลจิสติกส์ 

 

หุ้นเด่นประจำสัปดาห์: BBL - ได้ประโยชน์วัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น

สัปดาห์นี้เราเลือกแนะนำ บริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เนื่องจาก 5 เหตุผลหลัก ดังนี้

 

  1. BBL อยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุด ที่จะได้โอกาสในการขยายสินเชื่อจากการย้ายฐานธุรกิจมายังอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย และการส่งออกที่คาดว่าจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นธนาคารที่ใหญ่สุดในไทย และมีเครือข่ายในต่างประเทศมากที่สุด

 

  1. ความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ต่ำสุดในกลุ่ม เนื่องจากมีสัดส่วนของลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่สูงที่สุดในกลุ่ม โดยมีสัดส่วนเงินให้สินเชื่อภายใต้มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ต่ำที่ 11% และมี LLR Coverage สูงถึง 217%

 

  1. ช่วงที่เหลือปีนี้คาดกำไรจะฟื้นตัว YoY และ QoQ ขณะที่ทั้งปี 2022 คาดกำไรเติบโต 20%YoY จาก Credit Cost ที่จะลดลง 38bps หลังเร่งตั้งสำรองล่วงหน้าไปแล้ว และคาดสินเชื่อโต 6% ส่วน NIM ทรงตัว และ Non-NII คาดลดลง 14% จากการลดลงของกำไรในเครื่องมือทางการเงิน

 

  1. ได้ประโยชน์จากวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นและ Valuation ปัจจุบันน่าสนใจ โดยซื้อขายด้วย PBV ปี 2022F ที่ 0.5x เทียบกับ ROE ที่ 6.3% ทำให้ราคาหุ้น BBL ยัง Laggard และมองยังไม่สะท้อนแนวโน้มกำไรที่โตดีขึ้น 

 

  1. เราประเมินราคาเป้าหมายอยู่ที่หุ้นละ 163 บาท และคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2022 ที่หุ้นละ 4.00 บาท คิดเป็น Div. Yield ราวปีละ 3.0%

 

เงินทุนเคลื่อนย้ายในสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่า 

  • เริ่มมีแรงขายในตราสารหนี้ภาคเอกชนจากแนวโน้มเงินเฟ้อและดอกเบี้ยขาขึ้นที่อาจจะส่งผลให้ High Yield มีการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้น 
  • มีแรงซื้อในตลาดหุ้นจีนจากการคลายล็อกดาวน์ และนโยบายที่เป็นมิตรกับตลาดมากขึ้น 
  • มีแรงเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มพลังงานจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น หลังจากการเพิ่มกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC ไม่สามารถทดแทนที่หายไปจายรัสเซียได้ 
  • นักลงทุนกลับมากังวลเรื่องเงินเฟื้อและการขึ้นดอกเบี้ยที่มากกว่าที่คาดอีกครั้ง 
  • หุ้นกลุ่มเชิงรับอย่าง Healthcare และ Utilities เงินไหลเข้าแต่ปริมาณไม่สูงมากนัก 
  • นักลงทุนยังหลีกเลี่ยงในการลงทุนที่มีความเสี่ยงอย่างตลาดหุ้นยุโรปจากความกังวลภาพเศรษฐกิจและนโยบายการเงินที่ตึงตัว 
  • ตลาดหุ้น EM และโลหะมีค่ายังได้รับแรงกดดันจากค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า

 

มุมมองการลงทุนต่อตลาดต่างๆ โดย SCB CIO

 

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว

ความน่าสนใจระดับ 3

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว ยังมีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวน จากวิกฤตยูเครนที่ยืดเยื้อ ซึ่งยังกดดัน Sentiment ตลาด นอกจากนี้ตลาดยังเผชิญปัจจัยกดดันจากแนวโน้มการใช้นโยบายการเงินตึงตัวของ Fed, BOE และ ECB 

 

อย่างไรก็ดี การทยอยเปิดเศรษฐกิจมากขึ้นของประเทศกลุ่ม DM รวมทั้งผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ปี 2022 ที่ YTD ยังถูกปรับเพิ่มขึ้น และแนวโน้มถูกปรับประมาณการดีขึ้นได้ต่อ จะสามารถช่วยประคองให้ตลาดหุ้น DM ยังมีแนวโน้มทรงตัวถึงฟื้นตัวได้

 

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ความน่าสนใจระดับ 3

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวนจากความกังวลวิกฤตยูเครน และการที่ Fed มีแนวโน้มเร่งขึ้นดอกเบี้ย 0.5% ในการประชุมเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม และได้เริ่มลดขนาดงบดุลตั้งแต่เดือนมิถุนายน ขณะที่เริ่มมีความกังวลในตลาดมากขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ 

 

อย่างไรก็ดี EPS ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในปีนี้ที่ยังมีแนวโน้มถูกปรับประมาณดีขึ้นต่อ และการซื้อหุ้นคืนที่มีมากขึ้นจะช่วยประคองตลาดได้ ขณะที่ราคาและ Valuation ตลาดที่ปรับลดลงมามาก YTD จะช่วยจำกัด Downside ตลาด

 

 

ตลาดหุ้นยุโรป

ความน่าสนใจระดับ 3

ตลาดหุ้นยุโรป แม้ว่าการคลายมาตรการล็อกดาวน์ในจีนจะช่วยผ่อนคลายปัญหาห่วงโซ่อุปทานไปได้บ้าง แต่วิกฤตในยูเครนที่ยืดเยื้อยังคงส่งผลกดดันต่อเศรษฐกิจ และทำให้เงินเฟ้อยุโรปเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับ ECB มีแนวโน้มดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวมากขึ้น เพื่อสกัดกั้นแรงกดดันเงินเฟ้อ แม้ว่าจะมี Valuation ที่ถูก แต่เรามองว่ามีความเสี่ยงที่ EPS ตลาดหุ้นยุโรปตั้งแต่ 2Q22 เป็นต้นไป และทั้งปีนี้จะถูกปรับประมาณการลงและกดดันหุ้นยุโรป

 

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ความน่าสนใจระดับ 3

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น แม้ในช่วงท้ายเดือนพฤษภาคมเริ่มเห็นการเร่งตัวขึ้นของดัชนี ตามความคาดหวังของนักลงทุนต่อมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศที่อาจจะกลับมาใช้ การคลายล็อกดาวน์ในเซี่ยงไฮ้ และเงินเยนที่อ่อนค่าสนับสนุนการส่งออก แต่ปัญหา Supply Constraint น่าจะส่งผลให้การลงทุนและภาคการผลิตของญี่ปุ่นใช้เวลาในการฟื้นตัว 

 

ขณะที่มาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวยังมีข้อจำกัด (คาดว่าจะ Entry Without Limit ในปี 2023) และการบริโภคในประเทศยังมีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่สูง (แม้การบริโภคภาคเอกชนใน 1Q22 จะได้อานิสงส์จากการระบาดของโควิดที่คลี่คลายลง)

 

 

ตลาดหุ้นจีน H-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

หุ้นจีน H-Share เนื่องจาก Valuation ของดัชนียังอยู่ในระดับที่ไม่แพง และการคุมเข้มด้านกฎระเบียบกับกลุ่ม Platform ที่ส่วนใหญ่ อาจผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงเรื่อง Delisting หุ้นจีน ADRs ที่ยังมีอยู่ ตามที่สหรัฐฯ มีแนวโน้มผ่านร่างกฎหมายที่เร่งกระบวนการ Delisting ให้เร็วขึ้นจาก 3 ปี เหลือ 2 ปี ในช่วงก่อนการเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐฯ และผลประกอบการ บจ.จีน โดยเฉพาะกลุ่ม Platform ที่ส่วนใหญ่มีแนวโน้มทำจุดต่ำที่สุดช่วง 2Q22 จะยังกดดันการฟื้นตัวของดัชนี 

 

 

ตลาดหุ้นจีน A-Share

ความน่าสนใจระดับ 3

ตลาดหุ้นจีน A-Share มีแนวโน้มได้แรงหนุนจากการที่บรรดารัฐบาลท้องถิ่นมีแนวโน้มเร่งออกพันธบัตรพิเศษให้ครบเต็มจำนวนโควตาทั้งปี ภายในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ และต้องนำเงินที่ได้ไปใช้จ่ายลงทุนให้หมดภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ ประกอบกับเซี่ยงไฮ้และปักกิ่งได้ผ่อนคลายล็อกดาวน์ แม้ว่าการยังดำเนินนโยบาย Zero-COVID ในจีนต่อจะกดดันแนวโน้มเศรษฐกิจ และผลประกอบการ บจ.จีนในช่วง 2Q22 ก็ตาม

 

 

ตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจระดับ 5

ตลาดหุ้นไทย มีแนวโน้มได้รับแรงหนุนหลักจากปัจจัยในประเทศ ได้แก่ จำนวนผู้ติดเชื้อที่ลดลง การเปิดเศรษฐกิจ และการออกมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวของภาครัฐ เช่น ขยายเวลาและเพิ่มสิทธิ ‘เราเที่ยวด้วยกัน’ และผ่อนปรนเงื่อนไขการเดินทางสำหรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 

 

อย่างไรก็ดี แม้เราคาดว่า กนง. มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น แต่จะเป็นการทยอยปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และ ไม่มากเท่ากลุ่ม DM นอกจากนี้เรามองว่า Valuation ตลาดสมเหตุสมผลมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยตัวเองในอดีต ดังนั้นเราจึงแนะนำลงทุนบนตลาดหุ้นไทย

 

กองทุนแนะนำ

 

 

  • SCB Dividend Stock Open End Fund

กองทุน SCBDV เป็นกองทุนหุ้นไทยที่เน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีนโยบายหรือมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ

 

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

ความน่าสนใจระดับ 5

ตลาดหุ้นเวียดนาม เผชิญแรงกดดันจากปัจจัยเฉพาะตัวในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับการคุมเข้มในตลาดทุนและตลาดหุ้นกู้ แต่เราเชื่อว่าความกังวลข้างต้นจะจำกัด Upside ของตลาดหุ้นเวียดนามเพียงช่วงสั้นเท่านั้น ขณะที่ Downside ของตลาดเริ่มมีจำกัด ตามที่ Margin Loan ลดลงค่อนข้างมาก ตามแรงขายจาก Margin Call/Forced Sell ที่เริ่มบรรเทา และความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ในภาคอสังหายังต่ำ ดังนั้นเราจึงมองเป็นจังหวะทยอยเข้าสะสมหุ้นเวียดนาม ตามที่ตลาดยังได้แรงหนุนจากเศรษฐกิจ และผลประกอบการ บจ.ที่ขยายตัวต่อ ประกอบกับ Valuation ตลาดที่ยังน่าสนใจ

 

กองทุนแนะนำ

 

 

  • SCB Vietnam Equity Fund

กองทุน SCB Vietnam ลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศเวียดนาม และ/หรือ บริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องหรือได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม

 

 

ทองคำ

ความน่าสนใจระดับ 3

ทองคำมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยที่ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ท่ามกลางสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังยืดเยื้อ รวมไปถึงทิศทางเงินดอลลาร์ที่พักฐานช่วงสั้นจากการที่ธนาคารกลางในหลายประเทศเริ่มมีท่าที Hawkish มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำยังมีแนวโน้มถูกกดดันจาก Bond Yield สหรัฐฯ ที่ยังเพิ่มสูงขึ้น (โดยเฉพาะใน 2Q22) ตามแนวโน้มการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ Fed

 

 

น้ำมัน

ความน่าสนใจระดับ 3

อุปทานน้ำมันยังมีแนวโน้มตึงตัว เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ของจีน จะทำให้อุปสงค์น้ำมันในจีนเพิ่มขึ้น ขณะที่อุปทานมีแนวโน้มลดลง จากการที่รัสเซียลดการผลิตน้ำมัน หลังสหภาพยุโรปใช้มาตรการคว่ำบาตรน้ำมันจากรัสเซีย และกลุ่มสมาชิก OPEC ยังไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ตามเป้า แม้ว่าจะมีการปรับเพิ่มโควตาการผลิต ขณะที่ข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านยังไม่มีความคืบหน้า อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก มีแนวโน้มส่งผลกดดันต่อราคาน้ำมัน

 

 

REITs ประเทศพัฒนา

ความน่าสนใจระดับ 3

REITs ประเทศพัฒนาแล้ว เริ่มได้รับปัจจัยบวกจากความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนที่ผ่อนคลายลง และเศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตจากการทยอยเปิดประเทศของหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางคุมเข้มนโยบายการเงินของ Fed และ ECB รวมทั้งการระบาดในบางประเทศที่ยังคงมีอยู่บ้าง ทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจถูกกดดัน และ Upside ของตลาดถูกจำกัด

 

 

REITs เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) 

ความน่าสนใจระดับ 5

REITs ไทย และสิงคโปร์ยังคง Laggard เมื่อเทียบกับ DM REITs ด้านสิงคโปร์มีการยกเลิกมาตรการคุมโควิดเกือบทั้งหมด ส่งผลให้เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวมีทิศทางที่ดีขึ้น ขณะที่ประเทศไทยเตรียมทยอยผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มด้านโควิด เช่น อาจปรับลดเกณฑ์การสวมหน้ากากอนามัยในจังหวัดนำร่องช่วงกลางเดือนนี้ อาจประกาศให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่นในต้นเดือนกรกฎาคม รวมทั้งมาตรการที่ยืดหยุ่นขึ้นเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติให้ได้มากขึ้น (จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดือนพฤษภาคมเร่งตัวขึ้นอยู่ที่ประมาณ 4-5 แสนคน เทียบกับ 2.9 แสนคน)

กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความ EXCLUSIVE CONTENT ฟรี!

อีเมลนี้ถูกใช้สมัครสมาชิกเข้ามาในระบบแล้ว

กรุณาตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมลที่ใช้สร้างบัญชีกับ
The STANDARD จากนั้นทำการยืนยันอีเมลของคุณ

หากค้นหาไม่พบอีเมลที่กล่องจดหมายเข้า (inbox)
กรุณาตรวจสอบที่กล่องจดหมายขยะ (junk mail)

... • 13 มิ.ย. 2022

READ MORE



Latest Stories